สี อะไร กันแดด ได้ ดี

ผ้าใบของเต็นท์เป็นส่วนที่ปะทะแดดและฝนโดยตรง การติดตั้งเต็นท์จึงควรเลือกผ้าใบที่มีความแข็งแรง ทนต่อแดดและฝน แล้วสีของผ้าใบสามารถกันแดดได้เท่ากันหรือไม่ ? เราจะพาไปหาคำตอบกันในบทความนี้


โทนสีผ้าใบที่ได้รับความนิยม

โทนสีผ้าใบมีให้เลือกหลากหลาย สำหรับโทนสีที่ได้รับความนิยม ขอแบ่งออกเป็น 2 โทนสีหลัก ๆ คือ โทนสีเข้ม และโทนสีอ่อน

โทนสีเข้มเป็นโทนสีที่มักพบเห็นทั่วไป โดยสีที่ได้รับความนิยม คือ สีดำ สีเทา สีน้ำตาล สีเขียวขี้ม้า  

โทนสีอ่อนเป็นโทนสีที่ให้ความรู้สึกสดใส โดดเด่นเห็นแล้วสะดุดตาแม้จะอยู่ในความมืด ทำให้ผ้าใบโทนสีอ่อนก็เป็นโทนที่ได้รับความนิยมเช่นกัน สำหรับสีโทนอ่อนยอดฮิต คือ สีขาว สีครีม สีฟ้าอ่อน สีเหลือง สีชมพูอ่อน

เลือกสีผ้าใบกันแดดโทนไหนดีที่สุด

หลายคนตัดสินใจเลือกสีผ้าใบตามความชอบ เลือกตามความเข้ากันของอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในเต็นท์ ธีมของร้านค้า หรือสินค้าที่วางขาย แต่รู้หรือไม่ว่าสีของเต็นท์ผ้าใบแต่ละสีสามารถกันแดดและความร้อนได้ต่างกัน ดังนั้นหากเป็นการติดตั้งเต็นท์กลางแจ้งหรือติดตั้งอยู่ในจุดที่แดดแรงตลอดทั้งวัน ควรเลือกสีผ้าใบโทนสีเข้ม เช่น สีดำ สีเทา สีเขียวขี้ม้า เพราะสีเข้มจะกันความร้อนได้ดี ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกร้อนมากนักเมื่อเทียบกับโทนสีอ่อนหรือสีสว่าง เช่น สีครีม สีขาว

สีผ้าใบกันแดดมีผลต่อการกันฝนหรือไม่

ในส่วนของการกันฝน สีไม่ได้มีผลต่อการกันฝน แต่จะขึ้นอยู่กับเนื้อผ้า ซึ่งโดยปกติผ้าใบที่นำมาทำเต็นท์จะมีคุณสมบัติทนทาน กันฝน และกันน้ำซึมได้อยู่แล้ว ดังนั้นสีผ้าใบจึงไม่มีผลต่อการกันฝนเช่นเดียวกับสีผ้าใบกันแดด

สีเต็นท์ผ้าใบสำคัญอย่างไร

นอกจากการเลือกสีผ้าใบจะต้องคำนึงถึงความร้อนที่จะเกิดขึ้นแล้ว สีผ้าใบยังมีความสำคัญในด้านอื่น ๆ อีก ดังนี้ 

1. สีผ้าใบกับการมองเห็น

ผ้าใบโทนสีสว่างหรือสีสด จะทำให้มองเห็นได้ง่าย และมีความโดดเด่นเมื่ออยู่รวมกันกับเต็นท์อื่น ๆ หรือหากมีการจัดกิจกรรมกลางแจ้งและใช้เต็นท์ผ้าใบสีสว่างทั้งหมดจะทำให้สะดุดตาคนที่ผ่านไปผ่านมา และให้ความรู้สึกคึกคักกว่าการใช้ผ้าใบโทนสีเข้ม และหากมีการสกรีนลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเพิ่มเข้าไปอีก ยิ่งจะช่วยเสริมความโดดเด่นให้กับเต็นท์ของคุณได้มากขึ้น

2. สีผ้าใบบ่งบอกความเป็นตัวคุณ

สีผ้าใบสามารถบ่งบอกความเป็นตัวคุณ หรือสะท้อนความเป็นแบรนด์ได้เช่นกัน เพราะแต่ละสีจะให้ความรู้สึกแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกสีที่สอดคล้องกับธีมของแบรนด์ ธีมของสินค้า หรืองานที่จะใช้ เช่น

ในวันที่เราต้องเผชิญแสงแดดหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง หลายคนมีตัวช่วยเป็นครีมกันแดดหลากยี่ห้อ แต่รู้หรือไม่ว่า ตัวช่วยปกป้องผิวกายที่ปลอดภัยและง่ายยิ่งกว่าอีกอย่างก็คือ เสื้อกัน UV ซึ่งนอกเหนือจากประสิทธิภาพในการกันแดดแล้ว เสื้อผ้ากันแดดหรือที่หลายคนเรียก UV Protection ยังถูกออกแบบให้สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้สะดวกสบาย แถมยังไม่เหนอะหนะผิวเหมือนกับครีมกันแดดและไม่ต้องคอยทาซ้ำ ๆ วันละหลายครั้ง

รังสียูวีหรือรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation: UV) เป็นรังสีชนิดหนึ่งที่อยู่ในแสงแดด ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และเป็นอันตรายต่อสุขภาพผิวหนังค่อนข้างมาก โดยรังสี UV ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเรานั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ตามช่วงความยาวของคลื่น ดังนี้ 

  • รังสียูวีเอ (Ultraviolet A: UV-A) สามารถทะลุผ่านผิวหนังได้จนถึงชั้นหนังแท้และจะไปทำลายเนื้อเยื่อและเซลล์ผิวหนังภายใน ส่งผลให้ผิวคล้ำแดด ผิวหนังเสื่อมสภาพ เหี่ยวย่น และดูแก่กว่าวัย แต่จะไม่ก่อให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ 
  • รังสียูวีบี (Ultraviolet B: UV-B) สามารถทะลุผ่านผิวหนังได้ถึงชั้นหนังกำพร้า ส่งผลให้ผิวหนังอักเสบ และมีอาการของผิวหนังไหม้แดดอย่างผิวหนังบวมแดง พอง และผิวลอก ผู้ที่ได้รับรังสีชนิดนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจพัฒนาไปสู่มะเร็งผิวหนังได้ 

เสื้อผ้าแบบไหนช่วยป้องกันรังสี UV 

โดยปกติ เสื้อผ้ากันแดดจะผลิตจากผ้าที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UV ซึ่งต้องมีค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวีของสิ่งทอ (UPF: Ultraviolet Protection Factor) อย่างน้อย UPF 15 โดยวัดจากรังสียูวีทั้งหมดที่ทะลุผ่านเสื้อผ้าเข้าสู่ผิวหนัง จึงจะผ่านมาตรฐานการผลิตและถือว่าป้องกัน UV ได้จริง เสื้อผ้าที่มีค่า UPF สูงก็จะช่วยป้องกันรังสียูวีเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น โดยมีเกณฑ์วัดดังนี้ 

  • ค่า UPF 15-20 จะแสดงถึงคุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวีที่ดี
  • ค่า UPF 25-35 จะแสดงถึงคุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวีที่ดีปานกลาง
  • ค่า UPF 40-50 ขึ้นไป จะแสดงถึงคุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวีที่ดีมาก

หลายคนอาจสงสัยว่าค่า UPF และค่า SPF (Sun-Protection Factor: SPF) นั้นเหมือนกันหรือไม่ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าค่า UPF นั้นใช้ในการวัดประสิทธิภาพการป้องกันรังสียูวีทั้ง UV-A และ UV-B ของเสื้อผ้า ในขณะที่ค่า SPF จะเป็นการวัดประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV-B ของครีมกันแดดและเครื่องสำอาง แต่จะไม่สามารถวัดรังสี UV-A ได้ โดยจะมีตัวเลขกำกับอย่างเช่น SPF 15 หรือ SPF 30 เพื่อบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด 

ทั้งนี้ เสื้อกันยูวีส่วนใหญ่จะมีค่า UPF 40-50 ขึ้นไป และสามารถป้องกันรังสียูวีได้สูงราว 90 เปอร์เซ็นต์ แต่การใช้งานเป็นประจำหรือการซักทำความสะอาดเสื้อแบบไม่ระวังจนทำให้เส้นด้ายที่ใช้ถักทอนั้นยืดออกหรือหลวมก็อาจทำให้คุณสมบัติในด้านนี้ลดลง จึงควรใช้ทั้งเสื้อกันแดดและครีมกันแดดร่วมกันจึงจะช่วยดูแลผิวหนังได้ดีที่สุด  

วิธีเลือกซื้อเสื้อกัน UV อย่างถูกต้อง  

แม้เสื้อกัน UV หรือ UV Protection จะเป็นเกราะป้องกันผิวหนังที่ดี ปลอดภัย สะดวกและเหมาะสำหรับทุกคน แต่ไม่ใช่เสื้อผ้าทุกชนิดจะสามารถป้องกันรังสียูวีได้ และบางชนิดอาจป้องกันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ใช้จึงควรเลือกซื้อเสื้อกัน UV อย่างถูกวิธี ซึ่งสำหรับคนที่ต้องออกแดดเป็นเวลานานหรือไปยังสถานที่ที่มีแดดจัดเป็นประจำนอกจากการดูค่า UPF สูง ๆ ตามที่ระบุบนเสื้อแล้ว ยังสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ 

สีย้อมผ้า

การนำสีย้อมผ้าที่มีคุณสมบัติในการป้องกัน UV มาใช้ในปริมาณเข้มข้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับรังสียูวีของเสื้อผ้าได้ดียิ่งขึ้น จึงจะเห็นได้ว่าเสื้อผ้าที่มีสีเข้มจะดูดซับแสงแดดมากกว่าเสื้อสีขาวหรือสีอ่อนถึง 5 เท่า 

ชนิดของผ้า

หลายคนอาจไม่ทราบว่าผ้าบางชนิดสามารถป้องกัน UV ได้น้อยหากไม่เติมสารเคมีช่วยป้องกันรังสียูวีลงไป เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าเรยอน ผ้าลินิน เป็นต้น ผิดกับผ้าโพลีเอสเตอร์ ผ้าไนลอน และผ้าไหมที่สามารถปกป้องผิวหนังโดยสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตออกไปได้ดีกว่า   

การถักทอ

เสื้อผ้าที่ถูกทอมาหลวมจะป้องกันแดดได้น้อยกว่าเสื้อผ้าที่ทอมาแน่นชิดกัน โดยเราอาจสังเกตง่าย ๆ จากแสงที่ทะลุผ่านเนื้อผ้า หากมีแสงทะลุผ่านมากก็แสดงว่าเสื้อถูกทอมาหลวมเกินไป จึงป้องกันแสงแดดได้น้อยลง

ความสะดวกสบายในการสวมใส่ 

แม้เสื้อผ้าหนา ๆ อาจจะช่วยกันแดดได้ดี แต่ก็สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่น้อย เนื่องจากมีน้ำหนักมาก หากใส่ติดต่อกันนานก็อาจทำให้รู้สึกร้อนและมีเหงื่อออก ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการผลิตเสื้อกัน UV ให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น โดยมีเนื้อผ้าบางเบา กระชับ ไม่รัดแน่นจนเกินไป สามารถระบายเหงื่อได้ดีเพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศเขตร้อน ช่วยระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์ และง่ายต่อการดูแล 

อย่างไรก็ตาม เสื้อกัน UV หรือ UV Protection จะปกป้องผิวหนังได้เฉพาะบริเวณที่อยู่ใต้ร่มผ้าเท่านั้น การเลือกใช้เป็นเสื้อฮู้ดหรือเสื้อแขนยาวจึงมีส่วนช่วยมากกว่าเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อยืด รวมทั้งควรทาครีมกันแดดในส่วนที่พ้นเสื้อร่วมด้วย เพื่อไม่ให้ผิวหนังส่วนนั้นได้รับผลกระทบจากแสงแดด อีกทั้งยังอาจปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างการหลีกเลี่ยงการออกแดดหรือพยายามอยู่ในที่ร่มให้ได้มากที่สุดก็อาจช่วยลดความเสี่ยงจากรังสียูวีและปัญหาสุขภาพผิวหนังได้เช่นกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้