Google earth ทําอะไรได้บ้าง

บางคนอาจเคยใช้ กูเกิลเอิร์ธ (Google Earth) ในการค้นหาหลังคาบ้านตัวเองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือบางคนก็อาจจะไม่เคย แต่กว่าจะเป็น Google Earth ที่มีทั้งความสวยงามและความละเอียดของข้อมูล ทีมงานต้องเก็บภาพอย่างไร ? มีขั้นตอนอะไรบ้างที่ทำให้ภาพจาก Google Earth สวยงามและข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ขอบอกว่าเบื้องหลังการสร้างแผนที่บน Google Earth มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ลองเลือกสารบัญเนื้อหาด้านล่างนี้ แล้วอ่านกันเลย

บทความเกี่ยวกับ Google อื่นๆ

Google Earth คืออะไร ?

กูเกิลเอิร์ธ (Google Earth) คือ ซอฟต์แวร์สำหรับดูข้อมูลแผนที่โลก ลักษณะภูมิประเทศ ผังเมือง เขตแดนและอื่น ๆ ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนมือถือ ที่พัฒนาโดย Google ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544)

โดยการแสดงผลของ Google Earth นั้น จะมีให้เลือกทั้งแบบ 2 มิติ (2D View) และ 3 มิติ (3D View) โดยมีจุดเด่นที่หน้าแรกของ Google Earth นั้นจะเป็นลูกโลก 3 มิติดูสวยงาม

สำหรับวิธีการใช้งานก็ง่าย ๆ เพียงเลื่อนซ้าย-ขวาไปมา ซูมเข้า-ออกเพื่อเจาะจงพื้นที่เฉพาะจุด หรือพิมพ์ชื่อประเทศ เมือง สถานที่ที่ต้องการเพื่อค้นหา

ตัวอย่างการใช้งาน Google Earth ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

Google Earth แตกต่างจาก Google Maps ยังไง ?

ถึงแม้ว่า Google Earth และ Google Maps จะมีไว้เช็คสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศเหมือน ๆ กัน แต่ Google Earth จะเน้นการแสดงผลภาพพื้นผิวโลก สถานที่ในแต่ละพื้นที่และการเปลี่ยนแปลง ณ พื้นที่นั้น ๆ มากกว่า ส่วน Google Maps มีจุดประสงค์หลักสำหรับนำทางในขณะเดินทาง เช็คสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์  แม้จะแสดงผลคล้ายกัน แต่จุดประสงค์ที่ใช้นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ประโยชน์ของ Google Earth

นอกจาก Google Earth จะมีไว้สำรวจสถานที่แบบไม่ต้องออกจากบ้านแล้ว ยังมีประโยชน์ในการศึกษาวิจัย การทำงานด้านภูมิศาสตร์ สำรวจภูมิประเทศในด้านต่าง ๆ ไม่ต้องดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนมาก เพราะ Google Earth แสดงข้อมูลครบถ้วนผ่านเบราว์เซอร์ เข้าไปสืบค้นได้ทุกเวลา นอกจากนี้ เว็บไซต์บางแห่งใช้ข้อมูลแผนที่ดาวเทียมจาก Google Earth เป็นหลัก เช่น เว็บไซต์ ClimateEngine.org เป็นต้น

Google Earth ถ่ายภาพ ได้อย่างไร ?

แต่กว่าจะเป็นภาพสวย ๆ บน Google Earth นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องแสดงภาพทุกระยะด้วยมุมมองจากนอกโลก แล้วซูมเข้ามาใกล้เรื่อย ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะของทวีป ประเทศ ตัวเมือง รวมถึงรายละเอียดแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นภูเขา มหาสมุทร ป่าไม้ ถนน ตึก ฯลฯ จึงทำให้ต้องใช้อุปกรณ์และเทกนิกการถ่ายภาพที่ช่วยให้บันทึกภาพให้ได้มากที่สุด

โดยวิธีการถ่ายภาพเพื่อนำไปประกอบเป็น Google Earth แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. การถ่ายภาพมุมสูง 3 มิติ จากเครื่องบิน
  2. การถ่ายภาพ 2 มิติ ด้วยดาวเทียม
  3. การถ่ายภาพทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์

โดยการถ่ายภาพทั้ง 3 แบบ มีจุดเริ่มต้นที่เหมือนกัน คือ กำหนดสถานที่ที่ต้องการเริ่มถ่ายภาพ และทำการบันทึกภาพแต่ละมุมของสถานที่ พื้นที่นั้น ๆ ให้ได้มุมมองที่หลากหลายที่สุด เช่น การถ่ายภาพดาวเทียม จะให้มุมมองของโลกจากภายนอก และภาพ 2 มิติ ในมุมมองแบบสายตานก (Bird Eye View) หรือการมองเหมือนที่นกเห็นนั่นเอง

ส่วนภาพถ่าย 3 มิติ และ ภาพถ่ายทางอากาศ ทาง Google จะให้ทีมงานขึ้นเครื่องบินไปเก็บภาพ แบบเดียวกับที่ใช้รถยนต์เก็บข้อมูลภาพสำหรับ Google Street View ลักษณะเส้นทางการบินจะเริ่มจากทิศเหนือไปทิศใต้แบบการตัดหญ้าแบบซิกแซก และช่วยให้ภาพถ่ายทุกภาพมีมุมมองที่ซ้อนกันพอดี ง่ายต่อการไปปะติดปะต่อให้เป็นภาพเดียว


ภาพจาก : //www.youtube.com/watch?v=suo_aUTUpps

ส่วนกล้องที่ใช้บันทึกภาพถ่ายทางอากาศ มีถึง 5 ตัวด้วยกัน กล้องทุกตัวจะถูกจัดตำแหน่งให้ถ่ายภาพในมุมมองที่แตกต่าง ประกอบด้วย

  • มุมมองภาพจากด้านบน (Down)
  • มุมมองภาพด้านซ้าย (Left)
  • มุมมองภาพด้านขวา (Right)
  • มุมมองภาพด้านหน้า (Forward)
  • มุมมองภาพด้านหลัง (Back)


ภาพจาก : //www.youtube.com/watch?v=suo_aUTUpps

จากนั้น นำไฟล์ภาพที่ได้ทั้งหมดมาเข้ากระบวนการทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (Photogrammetry) และสร้างแบบจำลอง 3 มิติขึ้นมา แต่ก่อนที่จะสร้างภาพ 3 มิติ ภาพถูกภาพจะถูกนำไปรีทัช ลบเมฆหมอกในภาพถ่ายออก, แก้ไขสีให้สมจริงที่สุด รวมถึงการลบรถยนต์บนท้องถนนออกไป

ส่วนกระบวนการสร้างแผนที่แบบ 3 มิติ ทาง Google มีซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลภาพว่า ภาพไหนมีมุมมองภาพ ตำแหน่งสถานที่ที่เหมือนกัน ทับซ้อนกัน นอกจากนี้ ภาพถ่ายทุกภาพมีพิกัด GPS บันทึกไว้ ประกอบกับขณะถ่ายภาพจากบนเครื่องบิน จะมี GPS จากดาวเทียมที่ช่วยระบุตำแหน่งกล้องว่ากล้องตัวใดอยู่ที่พิกัดใด และตรวจสอบภาพถ่าย มุมมองจากกล้องแต่ละตัวได้ไม่ยาก


ภาพจาก : //www.youtube.com/watch?v=suo_aUTUpps

และขั้นตอนต่อมาที่ยากที่สุดก็คือ การสร้างแผนที่เชิงลึก เพื่อนำภาพ 2 มิติทั้งหลายมาสร้างมุมมองความลึก ให้กลายเป็น 3 มิติ นำภาพแผนที่ทั้งหมดมาวางทับซ้อนแล้วสร้างความลึกตื้นตามข้อมูลที่ประมวลไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากการวัดระยะจากกล้องบนเครื่องบิน จนถึงพื้นที่ ณ จุดนั้น ๆ ส่วนจุดที่เป็นสิ่งก่อสร้างแนวสูง จะถูกนำมาคลี่ให้แบนแล้วประกอบขึ้นมาเป็น 3 มิติ คล้ายกับการประกอบกล่อง

ซึ่งทางทีมงาน Google Earth บอกว่า จุดที่สร้างเป็น 3 มิติยากที่สุดคือ สถานที่ทางธรรมชาติ หรือสถานที่ที่มีต้นไม้หนาแน่น เนื่องจากต้นไม้มีรายละเอียดจำนวนมาก ทั้งกิ่งก้านและใบไม้ จะทำอย่างไรไม่ให้ต้นไม้กลายเป็นวัตถุอย่างอื่น เช่น อมยิ้ม แต่ทางทีมงานก็สามารถสร้างภาพ 3 มิติที่ดูดีขึ้นมาได้ เช่น อุทยานแห่งชาติโยเซมิตี (Yosemite National Park) และผลงานออกมามีรายละเอียดแม่นยำแบบของจริงมาก ๆ โดยเฉพาะรายละเอียดของโขดหินที่เป็นจุดเด่นของอุทยาน


ตัวอย่างโขดหินจากอุทยานแห่งชาติโยเซมิตีบน Google Earth ที่ให้รายละเอียดสมจริง
ภาพจาก : //www.youtube.com/watch?v=suo_aUTUpps

ทีมงาน Google Earth ไขข้อสงสัยข้อนี้ว่า จะทำการอัปเดตแผนที่ทุก 2-3 ปี ยกเว้นเมืองหลวงสำคัญที่จะอัปเดตข้อมูลแบบปีต่อปี หรือบางเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอาจใช้ระยะเวลาอัปเดตข้อมูลไม่เกิน 1 ปีกันเลยทีเดียว

และนอกจากนี้แล้ว ทาง Google Earth ยังมีแพลตฟอร์มย่อยอย่าง Earth Engine แหล่งรวมข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลเชิงพื้นที่สำหรับเช็คอัปเดตพื้นผิวโลกในแต่ละช่วงเวลา และนี่เองที่เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีสำหรับนักวิจัยและอาชีพที่เกี่ยวข้อง

แน่นอนว่า Google ได้ทำการรวบรวมภาพ Photo Sphere จากผู้ใช้งาน ผู้อาศัยย่านนั้นโดยตรง เพื่อเสริมข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ แต่คุณภาพภาพถ่ายจากผู้ใช้งานแตกต่างจากภาพถ่ายทางดาวเทียมหรือภาพถ่ายอากาศพอสมควร ถ้ารู้สึกว่าสีสันของภาพแปลก ๆ ก็อย่าตกใจไป

นอกจากนี้ Google Earth ไม่ได้แสดงข้อมูลเฉพาะพื้นที่ทวีป ประเทศ เมืองด้วยนะ แต่ยังจัดการชุดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ค้นหาง่าย ไม่น่าเบื่อ เช่น ลำดับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิจากทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงของป่าไม้ ธารน้ำแข็งทั่วโลกในรูปแบบ Timelapse นอกจากนี้ ยังมีเกม Quiz ให้ลับสมอง ประลองความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทั่วโลกอีกด้วย

Google Earth ถ่ายจากอะไร

ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศบน Google Earth ถ่ายจากกล้องบนดาวเทียมและเครื่องบิน ซึ่งกล้องจะเก็บรวบรวมแต่ละภาพที่วันที่และเวลาที่เฉพาะเจาะจงเราอาจใช้ภาพเหล่านั้นใน Google Earth เป็นภาพเดี่ยวซึ่งมีวันที่เก็บรวบรวมที่เฉพาะเจาะจง แต่ในบางครั้งจะมีกรณีต่อไปนี้

Google Earth ทำงานยังไง

การทำงานของโปรแกรม Google Earth นั้น จะทำงานผ่านรูปแบบภาษาที่เรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) และจะทำงานแบบ Client-Server โดยจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า Google Earth Client ในการเชื่อมต่อ ควบคุมการและแสดงผล โดยดึงภาพที่อยู่บน Server ของกูเกิลมาแสดง ซึ่งโปรแกรม Google Earth จะดึงภาพถ่ายทางอากาศของ U.S. public domain ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้