การยกเลิกกฎหมายแบ่งออกเป็นประเภทใด

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พรป.)ออกมาบังคับใช้แล้วใน 2 เรื่องใหญ่ๆก็คือการประกาศใช้พรบ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เป็นต้นมา โดยที่ก่อนหน้านั้นก็ได้มีคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 และได้มีการประกาศใช้พรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2560 โดยที่ก่อนหน้านั้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 57/2557 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2557 ห้ามมิให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วดำเนินการประชุม หรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตกลงจะเอาอย่างไรกันแน่

ฝ่ายรัฐบาลหรือ คสช.ก็ยังยืนยันที่จะบังคับใช้คำสั่งและประกาศของตนเองต่อไปทั้งๆที่มีพรบ.และพรป. ประกาศใช้แล้วโดยอ้างว่าบ้านเมืองยังไม่เรียบร้อย จึงเกิดเป็นประเด็นปัญหาสำหรับนักกฎหมายว่าตกลงจะเอาอย่างไรกัน เพราะที่ร่ำเรียนเขียนอ่านกันมาจากครูบาอาจารย์และตำหรับตำราก็บอกว่าถ้ากฎหมายในเรื่องเดียวกันที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันก็ให้ถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าไปโดยปริยาย ตามหลัก “กฎหมายใหม่ย่อมเลิกกฎหมายเก่าซึ่งมีเนื้อหาอย่างเดียวกัน” นั่นเอง

แต่บางคนก็แย้งว่าคำสั่งหรือประกาศ คสช.นั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมก็บอกว่าทั้งพรบ.การชุมนุมสาธารณะฯและพรป.พรรคการเมืองฯก็มาจากรัฐธรรมนูญเช่นกันและมีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายเท่ากันกับคำสั่งและประกาศ คสช.ทั้ง 2 ฉบับเหมือนกัน

ปกติแล้วกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการยกเลิกกฎหมายนั้น ซึ่งมีหลักการ ดังนี้

1)การยกเลิกโดยตรง

1.1 มีการกำหนดเวลายกเลิกกฎหมายไว้ในกฎหมายฉบับนั้นเอง เช่น ให้กฎหมายนี้สิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี 5ปี เป็นต้น

1.2 มีกฎหมายฉบับใหม่ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันระบุยกเลิกไว้โดยตรง ซึ่งอาจเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกัน หรือกฎหมายอื่น ๆ หรือกฎหมายฉบับต่อ ๆ มาได้บัญญัติยกเลิกไว้ ซึ่งในการยกเลิกนี้อาจเป็นการยกเลิกกฎหมายทั้งฉบับ หรือเป็นการยกเลิกเฉพาะบางบทบางมาตราก็ได้ โดยการจะยกเลิกอย่างไรต้องระบุไว้ให้ชัดเจนในกฎหมายฉบับนั้น

1.3 เมื่อพระราชกำหนดได้ประกาศใช้แต่ต่อมาสภาฯไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้น มีผลทำให้พระราชกำหนดนั้นถูกยกเลิกไป ทั้งนี้ ไม่มีผลกระทบต่อกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างที่บังคับใช้พระราชกำหนดนั้น

2)การยกเลิกโดยปริยาย หมายถึง กรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอย่างชัดแจ้งให้ยกเลิก แต่เป็นที่เห็นได้จากเนื้อหาของกฎหมายฉบับใหม่ว่าเป็นการยกเลิกกฎหมายเก่าไปโดยปริยาย เช่น

2.1 กฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีข้อความขัดแย้งหรือไม่ตรงกัน คือ กฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีการบัญญัติข้อความไว้ไม่เหมือนกัน จึงถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยปริยาย

2.2 กรณีที่กฎหมายเก่ามีข้อความขัดกับกฎหมายใหม่ คือ ข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเก่ากับกฎหมายใหม่นั้นบัญญัติไว้ตรงข้ามกัน ทั้ง ๆที่เป็นเรื่องเดียวกัน จึงถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยปริยาย

2.3 กฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีบทบัญญัติในกรณีใดกรณีหนึ่งเป็นอย่างเดียวกัน กรณีนี้ยังต้องถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าในกรณีเช่นเดียวกัน โดยกฎหมายใหม่ไม่ประสงค์จะให้ใช้หรืออ้างอิงกฎหมายเก่า แม้ว่าจะมีข้อความเดียวกับกฎหมายใหม่ก็ตาม มิเช่นนั้นจะออกกฎหมายใหม่มาทำไม

2.4 เมื่อยกเลิกกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าแล้วกฎหมายในลำดับรองที่ออกโดยอ้างอิงอำนาจตามกฎหมายที่สูงกว่าย่อมถูกยกเลิกไปโดยปริยาย เช่น เมื่อยกเลิกพระราชบัญญัติแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอำนาจของพระราชบัญญัตินั้นจะถูกยกเลิกไปในตัวด้วยเพราะพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิกไปแล้ว พระราชกฤษฎีกาซึ่งออกมาเพื่อจะให้มีดำเนินการให้เป็นกฎหมายแม่บทก็จะถูกยกเลิกไปด้วย ฯลฯ แต่ในเรื่องของรัฐธรรมนูญเมื่อถูกฉีกหรือถูกยกเลิกแล้วไทยเรายังมีความลักลั่นกันอยู่อย่างมาก เช่น เมื่อประชาชนจะยื่นเสนอร่างกฎหมายก็อ้างว่ารัฐธรรมนูญเก่าถูกยกเลิกไปแล้วรัฐธรรมนูญใหม่(ชั่วคราวปี 57) ไม่มีเรื่องนี้จึงเสนอไม่ได้ แต่ในกรณีองค์กรอิสระทั้งหลายที่ตั้งขึ้นโดยพรป.ทั้งปี40และ50 กลับยังคงอยู่ต่อหน้าตาเฉยโดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปก็จริงแต่พรป.ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วยนี่ อย่างนี้ก็มี

จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าเมื่อมีพรบ.การชุมนุมสาธารณะฯออกมาบังคับใช้แล้วคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 ที่ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปย่อมสิ้นผลไปโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เป็นต้นมาแล้ว และในทำนองเดียวประกาศ คสช.ที่ 57/2557 ในส่วนของการห้ามดำเนินการประชุม หรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมืองย่อมสิ้นผลไปโดยปริยายเช่นกัน

กอปรกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 279 วรรคแรก บัญญัติให้การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคำสั่งของคสช.หรือหัวหน้าคณะคสช.ให้กระทำได้โดยทำเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งทั้งสองกรณีก็มีพรบ.ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะฯและพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองฯออกมาบังคับใช้แล้วอีกด้วยเช่นกัน

แต่ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือการเลือกปฏิบัติหรือการเลือกบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่ยังลักลั่นในเรื่องของการชุมนุมสาธารณะ เดี๋ยวใช้พรบ.ชุมนุมฯ เดี๋ยวใช้คำสั่งคสช.ฯ และการไม่กล้าดำเนินการประชุม หรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมืองของพรรคการเมืองตามพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองฯ(ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงแล้วพรรคการเมืองมีการดำเนินกิจโดยพฤตินัยกันอยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นจะมีแถลงการณ์ในนามของพรรคฯออกมาได้อย่างไรหากไม่มีการประชุมกัน) เพราะเกรงจะถูกดำเนินคดีหรือถูกดำเนินการด้วยวิธีอื่นใด

ผมอยากเรียกร้องให้นักกฎหมายได้ใช้ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพและความกล้าหาญที่จะยืนหยัดและยืนยันความถูกต้องตามหลักวิชาการในการตีความกฎหมายเพื่อที่จะให้บ้านเมืองกลับสู่ทำนองคลองธรรมตามหลักนิติรัฐนิติธรรม

ผู้มีอำนาจมาแล้วก็ไป แต่ผู้ปฏิบัติหรือเจ้าหน้าที่ยังคงอยู่พร้อมด้วยพยานหลักฐานต่างๆ สิ่งที่ทำผิดทำนองคลองธรรม ผิดหลักวิชาการในตอนนี้อาจจะยังไม่ได้ส่งผลต่อผู้ปฏิบัติเพราะคิดว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น เสียงกฎหมายก็เงียบลง” แต่อย่าลืมนะครับว่า “เมื่อเสียงปืนเงียบลง เสียงกฎหมายก็ดังขึ้น” ได้เช่นกันครับ ใครทำเลอะๆเทอะๆไว้ก็รอรับผลแห่งการกระทำนั้นนะครับ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้