เทคโนโลยีที่ช่วยด้านการศึกษา มีอะไรบ้าง

บทความนี้เราจะพาผู้อ่านมารู้จักกับเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งในบทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงหลักการออกแบบ เทคโนโลยีต่างๆ และนวัตกรรมต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า

ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านใดทุกด้านล้วนมีความสำคัญทั้งหมด ที่จะส่งผลถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ฉะนั้นบทความนี้เราจึงไม่พลาดที่จะนำเรื่องของ “เทคโนโลยีการศึกษาคืออะไร” มาฝากกันเพื่อให้ผู้อ่านได้เปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ใช่เฉพาะในแง่ของการสร้างหรือการลงทุน แต่ด้านอื่นๆ ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาไว้เช่นกันครับ

ต้องขอบอกก่อนว่าผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ต่างก็นิยามและให้ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” ที่แตกต่างกันออกไป แต่ในเรื่องของความหมายนั้นก็เชื่อมโยงกัน ฉะนั้นเราไปดูกันเลยว่าเทคโนโลยีการศึกษาในบทความนี้ที่เราได้นำมาฝากกันเป็นอย่างไร อาจจะเปิดมุมมองให้ผู้อ่านได้อีกในมิติหนึ่งครับ

ตัวอย่างเช่น

ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายไว้ว่า : เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการ หรือการศึกษา คือระบบการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ อุปกรณ์เครื่องมือ และแนวความคิดใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา (ทั้งด้านการขยายงาน / ด้านการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน) เป็นต้น

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เช่น

1.  เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) 

จะมีความหมายว่า : ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการศึกษา ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยให้ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้ดีขึ้น โดยเทคโนโลยีการศึกษาจะครอบคลุมองค์ประกอบอยู่ 3 ประการได้แก่

  1. วัสดุ
  2. วิธีการ
  3. เครื่องมือหรืออุปกรณ์

2. เทคโนโลยี + การศึกษา

เป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า : การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการ (เพื่อไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้) และที่สำคัญยังรวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย

เทคโนโลยีการศึกษาจะเน้นเรื่อง

ซึ่ง 3 อย่างนี้จะถูกนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพราะมีหลายคนมากที่สับสนกับคำว่า (เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษา) โดยจะมีความคล้ายคลึงกันมาก ส่วนนี้เลยทำให้เกิดการสับสน

ตัวอย่างเช่น

นวัตกรรมการศึกษา : เป็นการประยุกต์นำสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในการศึกษา (เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตมาจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

เปรียบเทียบระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเสมือน = ต้นกล้วย

นวัตกรรมการศึกษาเปรียบเสมือน = หน่อกล้วย

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ถ้าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นต้นกล้วย นวัตกรรมการศึกษาก็เปรียบเสมือนหน่อกล้วยนั่นเอง

จึงสรุปคร่าวๆ ได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง : ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา หรืออีกความหมายคือการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบ เพื่อใช้ปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอนเป็นต้น

เทคโนโลยีการศึกษาที่น่าจับตามอง (และมีอยู่ทั่วไป)

เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งผู้คนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ ที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดทางด้านการเรียนรู้ได้อีกมากหมายในอนาคต คือ

  1. การเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Learning)
  2. การเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล (Digital Storytelling)
  3. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)
  4. การเรียนรู้แบบไมโคร (Microlearning)
  5. เทคโนโลยีการเกม (Gamification)
  6. tech-enabled immersive learning
  7. e-Learning

    และอื่นๆ อีกมากมายที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วย ในเรื่องการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากๆ

ดังนั้น “เทคโนโลยีการศึกษาคืออะไร” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราได้นำมาฝากกันเพราะจะทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดมุมมองใหม่ๆ เกิดไอเดียใหม่ๆ ที่ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต แน่นอนเทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่ถ้าหากเราใช้อย่างถูกวิธีเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาตัวเราได้อีกมากมายเลยล่ะ

อย่างไรก็ตามหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้าหากผู้อ่านสนใจอยากสร้างช่องทางการเรียนรู้เช่นการสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างกันสามารถสอบถามได้ที่ wynnsoft-solution ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

สุดท้ายนี้ : อย่าพลาดที่จะหัดคิดนอกรอบ เรียนรู้โลกกว้าง ฝึกสร้างไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ด้วยนะครับ เพราะเป็นประตูสู่โอกาสได้อย่างดีเลยล่ะ

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—

(Learning about Technology) ได้แก่  เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น

      2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี(Learning by Technology) ได้แก่  การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น

      3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่  การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น

      การเรียนรู้ในลักษณะที่ 2 และ 3 เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ที่มีคุณค่ามหาศาลซึ่งแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้  มีดังนี้

       การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา  กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือกระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ  การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus),  การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด(Concept),  การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์หลักการ (Rule)  ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive),  การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)  และการสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)

      ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทาง ปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความ คิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
 

       การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา  การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เราสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme)

      ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะ นำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพ ผลการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นการจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้


      ปัจจัยพื้นฐาน คือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็น ปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ

      ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือการที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบ

      การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

      ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้   ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็น ตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับ หลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครูและนักเรียน

      สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้  ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่ จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Softwares  แถบบันทึก  วีดิทัศน์ รวมถึงCD – Rom และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น

      การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถาน ศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือนรายงาน Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือ สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็น ประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครูและนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วย เทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practicesจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครูและนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน

      ในการจัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือ  IT  นั้น  ซึ่งการจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือ สารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว  ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์   

      ดังนั้นจึงมีความคาดหวังว่า ในอนาคตสถานศึกษา น่าจะได้พบกับความสมบูรณ์  ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคืออะไร

เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่างๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำคำ “เทคโนโลยี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่ง ...

เทคโนโลยีมีความสําคัญกับการศึกษาอย่างไร

1เทคโนโลยีการศึกษาทาให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้นทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทาให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น 2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถ ของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี

เทคโนโลยีดิจิตัล คืออะไร มีกี่ประเภท

11 เทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล.
AI หรือ Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ ... .
IoT หรือ Internet of Thing. ... .
Big data. ... .
Blockchain. ... .
5G. ... .
3D printing. ... .
Robots. ... .
Drone โดรน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้