เครื่องหมายปลอดภัยมีอะไรบ้าง

สัญลักษณ์ความปลอดภัย มีไว้สำหรับการเตือนความเป็นอันตราย แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงสถานะต่างๆที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดโรคจากการทำงานได้ ปัจจุบันนิยมนำมาติดไว้บนป้ายโดยมีสัญลักษณ์ต่างๆ และ พื้นของสีที่กำหนดความหมายลงไปบนป้าย เช่น ระบุการกระทำที่จำเป็น หรือ กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ppe ที่จำเป็น การห้ามการกระทำ หรือ วัตถุอันตรายต่างๆ การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ความปลอดภัย เป็นต้น

เราจะพบสัญลักษณ์ความปลอดภัยได้ในพื้นที่ที่มีอันตรายโดยส่วนมาก เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล บนท้องถนน เขตก่อสร้าง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตราย จำพวกห้องเก็บสารเคมี ห้องควบคุมไฟฟ้า พื้นที่อับอากาศ เป็นต้น

การติดป้ายหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญช่วยให้พนักงานหรือผู้ที่เข้ามาในพื้นที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นป้ายหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยในบางครั้งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับพื้นที่ประเทศหรือภูมิภาคแต่เป้าหมายที่เหมือนกันคือการสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยให้ผู้พบเห็นได้รับรู้และปฏิบัติตาม

สัญลักษณ์ความปลอดภัยมีกี่ประเภท

สัญลักษณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานมีลักษณะเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ รูปร่าง คำ วลี ประโยค หรือ ข้อความ รูปร่างแต่ละรูปสื่อความหมายที่แตกต่างกัน และ สีที่แสดงบนสัญลักษณ์ก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน ซึ่งสัญลักษณ์ความปลอดภัย สามารถแบ่งตามความสำคัญได้เป็น 4 ประเภท คือ

  1. สัญลักษณ์ห้าม

เป็นสัญลักษณ์ประเภทหนึ่ง ที่บอกถึงคำสั่งห้าม มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ไม่เพียงแต่บุคคลแต่ต่อพื้นที่และผู้อื่นด้วย ซึ่งสัญลักษณ์ห้าม มีลักษณะเป็นวงกลมแถบสีแดง มีเส้นทแยงมุม 45 องศา 

  1. สัญลักษณ์เตือน

เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับสื่อสารคำเตือนหรืออันตรายในพื้นที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมสีเหลืองหรือสีเหลืองอำพันและข้อความสีดำ เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังอันตราย

  1. สัญลักษณ์บังคับ

เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ดำเนินการเฉพาะ เพื่อช่วยปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องบุคคลจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

  1. สัญลักษณ์ฉุกเฉิน

เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไปและเข้าใจได้ง่าย สัญลักษณ์ฉุกเฉินมักใช้ในการบอกถึงทางออกฉุกเฉิน จุดปฐมพยาบาล จุดรวมพล เป็นต้น ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นหลังสีเขียวและรูปสัญลักษณ์สีขาว 

ทำไมต้องใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ป้ายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารด้านความปลอดภัย ซึ่งช่วยส่งข้อความคำแนะนำ และคำเตือนที่ชัดเจน โดยไม่ต้องใช้คำพูดมากเกินไป โดยสัญลักษณ์ความปลอดภัยช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทั้งในส่วนของพนักงานและบุคคลซึ่งไม่ใช่พนักงาน และยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยมากขึ้น

 

มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

มาตรฐานสำหรับสัญลักษณ์และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย มีทั้งของกฎหมายไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีความเหมือนกันเนื่องจากเป็นรูปแบบสากลหากจะแตกต่างก็เพียงรูปภาพและภาษา เช่น 

มาตรฐาน ISO 3864

กำหนดมาตรฐานสากลสำหรับป้าย และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และ สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ มีลักษณะเป็นป้ายกราฟิกเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค์ทางภาษาให้ผู้มองเห็นสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  • ISO 3864-1:2011 ส่วนที่ 1 : หลักการออกแบบป้ายความปลอดภัย และ ความปลอดภัย
  • ISO 3864-2:2016 ส่วนที่ 2 : หลักการออกแบบฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
  • ISO 3864-3:2012 ส่วนที่ 3 : หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิกเพื่อใช้ในป้ายความปลอดภัย
  • ISO 3864-4:2011 ส่วนที่ 4 : คุณสมบัติสี และ โฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย

มาตรฐาน ISO 7010 

เป็นมาตรฐานที่แนะนำสัญลักษณ์ความปลอดภัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ ให้สัญลักษณ์เกี่ยวกับอันตรายหรือการเตือนด้านสุขภาพและการอพยพกรณีฉุกเฉิน สำหรับรูปร่างและสีของสัญลักษณ์ มีการอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 3864-1

มาตรฐาน ANSI Z535 

มาตรฐานเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับ ISO 3864 โดยกำหนดมาตรฐาน

ไว้ 6 มาตรฐาน ดังต่อไปนี้

  • ANSI Z535.1 มาตรฐานแห่งชาติของอเมริกาสำหรับสีเพื่อความปลอดภัย
  • ANSI Z535.2 มาตรฐานสำหรับป้ายความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก
  • ANSI Z535.3 มาตรฐานสำหรับเกณฑ์สัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัย
  • ANSI Z535.4 มาตรฐานสำหรับป้ายและฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
  • ANSI Z535.5 มาตรฐานสำหรับป้ายความปลอดภัยและเทปกั้น (สำหรับอันตรายชั่วคราว)
  • ANSI Z535.6 มาตรฐานสำหรับข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในคู่มือ คำแนะนำ และเอกสารประกอบอื่นๆ
  • ANSI มีหน้าที่ในการรับผิดชอบกำหนดมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศ

ถึงแม้ว่า ANSI จะไม่ได้บังคับใช้แต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติตามมาตรฐานของ ANSI เนื่องจากว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับมาตรฐานการให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการทำงาน (ANSI : American National Standard Institute) ANSI จะมีการอัพเดทมาตรฐานทุกๆ 5 ปี ซึ่งในปี 2017 ได้มีการอัพเดทมาตรฐานสำหรับสีเพื่อความปลอดภัย (Z535.1) ปัจจุบัน ANSI Z535.1-2017

มอก.635-2554

เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สี และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสีที่ใช้ในการชี้บ่งความปลอดภัยและหลักการออกแบบเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยที่ใช้ในสถานที่ทำงานและพื้นที่สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนภัย หรือให้ข้อมูลในการป้องกันอุบัติเหตุ อัคคีภัย อันตรายที่เกี่ยวกับสุขภาพ และอพยพฉุกเฉิน รวมถึงใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการจัดทำมาตรฐานที่มีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย แต่ไม่รวมเครื่องหมายทางการจราจร

ซึ่งในส่วนของ มอก.635-2554 ได้กำหนดประเภทของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยเป็น 5 ประเภท ดังนี้
  • เครื่องหมายห้าม
  • เครื่องหมายบังคับ
  • เครื่องหมายเตือน
  • เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย
  • เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย

นอกจากกำหนดประเภทของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยแล้ว ในมาตรฐานยังกำหนดรายละเอียดต่างๆ ไว้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น รูปทรงเรขาคณิต สีพื้น สีตัดของเครื่องหมายเสริม รูปร่าง ขนาดของเครื่องหมายเสริม และยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่ระบุเอาไว้อย่างครบถ้วน หากต้องการทราบรายละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก มอก.635-2554

สรุป

สัญลักษณ์ความปลอดภัยอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะอันตราย หรือ ความต้องการสื่อสารมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปในสถานที่นั้นๆ ซึ่งนอกจากรูปแบบที่เหมาะสมของสัญลักษณ์ความปลอดภัยแล้ว จุดที่ติดตั้งก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน ต้องติดตั้งในที่ที่เห็นได้ง่าย ชัดเจน หากติดตั้งในมุมอับมองเห็นได้ยาก สัญลักษณ์ความปลอดภัยนั้นอาจไม่เกิดประโยชน์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้