เทคโนโลยีด้านการผลิตมีอะไรบ้าง

สำหรับโรงงานที่ต้องผลิตวัตถุดิบ วัสดุ หรือสินค้าต่างๆ ขึ้นมา หากในการผลิตไม่ได้มี “ระบบ” หรือ “กระบวนการ” เข้ามาช่วยจัดการ โรงงานคงไม่สามารถควบคุมและคาดการณ์ต้นทุน-ผลลัพธ์อะไรจากการผลิตได้เลย 

ซึ่งบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจ ความสำคัญของ ระบบการผลิต (Production System) ว่าส่งผลต่อการผลิตอย่างไร และระบบนี้จะสร้างประโยชน์อย่างไรให้กับธุรกิจของคุณได้บ้าง

อ่านตามหัวข้อ

ระบบการผลิต (Production System) คืออะไร 

ระบบการผลิต คือ กลุ่มขั้นตอนและองค์ประกอบต่างๆ ในการผลิตเพื่อให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาจากวัสดุ วัตถุดิบ ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตต่างๆ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ 

ซึ่งระบบการผลิต ก็จะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 

  • ปัจจัยการผลิต 
  • กระบวนการแปลงสภาพ 
  • ผลผลิต
ที่มารูปภาพ slideteam.net

1. ปัจจัยการผลิต (Input/Material) 

หมายถึง องค์ประกอบตั้งต้นที่จะต้องมีเพื่อให้ระบบการผลิตสามารถสร้างผลผลิตขึ้นมาได้ เช่น แรงงานคน วัสดุ/วัตถุดิบ เครื่องมือจักร พลังงานไฟฟ้า เงิน ข้อมูล ฯลฯ

2. กระบวนการแปลงสภาพ (Processing) 

หมายถึง ขั้นตอนต่างๆ ที่จะช่วยแปรสภาพปัจจัยการผลิตให้กลายเป็นผลผลิตที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น การเตรียมวัตถุดิบ การขึ้นรูปทรง การหล่อ การหลอม การปรุง การตกแต่ง ฯลฯ

3. ผลผลิต (Output/Product) 

หมายถึง ผลลัพธ์จากกระบวนการแปรสภาพ หรือผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการจากระบบการผลิต ซึ่งก็คือ ผลิตภัณฑ์ (Products)

ในระบบการผลิตจะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไปไม่ได้ เพราะจะส่งผลให้ระบบไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาให้ได้

กระบวนการผลิต Production Process มีอะไรบ้าง

การจะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง นอกจากองค์ประกอบของการผลิตที่ต้องมีแล้ว ในขั้นตอนการสร้างระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณ คุณภาพ เวลา ต้นทุนและราคา ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตต้องการการวางแผนและการควบคุมที่ดี

ภายในกระบวนการผลิต (Production Process) โดยทั่วไป มีอยู่ 3 กิจกรรมสำคัญด้วยกัน คือ การวางแผน (Planning) การดำเนินงาน (Operation) และการควบคุม (Control)

  1. ขั้นตอนการวางแผน (Planning) หมายถึง ขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำมาวางแผนการผลิตและการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตต่างๆ ทั้งวัสดุ วัตถุดิบ แรงงาน เวลา รวมไปถึงการควบคุมกรอบเวลา (timeline) และค่าใช้จ่าย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
  1. ขั้นดำเนินงาน (Operation) หมายถึง ขั้นตอนของการดำเนินการทำตามแผนการผลิตที่วางไว้ ใช้ทรัพยากรอะไร อย่างไร ปริมาณเท่าไหร่ และลำดับขั้นตอนในการแปลงสภาพหรือผลิต
  1. ขั้นการควบคุม (Control) หมายถึง ขั้นตอนในขณะที่ระบบการผลิตกำลังดำเนินการอยู่ แล้วเราพยายามควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่การควบคุมเวลา การควบคุมแรงงาน การควบคุมการใช้ทรัพยากร ไปถึงการตรวจสอบและให้คำแนะนำ (Feedback) ตัวระบบหรือผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ทำความรู้จัก “ประเภทของระบบการผลิต” และเลือกใช้ให้ถูก

แต่ละธุรกิจผลิตโปรดักต์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นระบบการผลิตเพียงรูปแบบเดียวจึงไม่สามารถใช้กับทุกโรงงานหรือธุรกิจได้ เพื่อที่จะเลือกระบบที่ใช้ได้เหมาะสม มาทำความรู้จักประเภทของระบบการผลิตดู ว่าโรงงานหรือผลิตภัณฑ์แบบไหน ควรใช้ระบบการผลิตประเภทใด

1. การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing)

การผลิตแบบโครงการ คือ ระบบการผลิตที่ผลิตสิ่งของขนาดใหญ่ มีมูลค่าสูง มีลักษณะเฉพาะที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า และต้องอาศัยทรัพยากรในการผลิตสูง ซึ่งต้องผลิตเสร็จเป็นโครงการโครงการไป เช่น งานก่อสร้างอาคาร การสร้างเขื่อน การสร้างเรือ การต่อเครื่องบิน เป็นต้น

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า การผลิตแบบนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานเพื่อที่จะผลิตโปรดักต์ชิ้นหนึ่ง (หรือหนึ่งโครงการ) จนแล้วเสร็จ การผลิตจึงเกิดขึ้นที่สถานที่ตั้งของโครงการ (Site) ทรัพยากรต่างๆ จะถูกนำมาไว้ ณ สถานที่นั้นให้พร้อม และเมื่อจบโครงการจึงค่อยย้ายทรัพยากร เช่น เครื่องจักร แรงงาน วัสดุ ฯลฯ ไปเก็บหรือย้ายไปสถานที่การผลิตโครงการต่อไป

ลักษณะของการผลิตแบบโครงการ

  • ผลิตทีละชิ้น ความต้องการซื้อต่ำ
  • มูลค่าสูงมาก
  • ใช้ทรัพยากรสูงและหลากหลาย (แรงงาน วัสดุ เครื่องจักร พลังงาน เวลา)
  • ใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรเฉพาะตามฟังก์ชัน
  • ต้องอาศัยแผนการผลิตที่ละเอียด ซับซ้อน

2. การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermittent Production)

การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง หรือ Job Shop หมายถึง การผลิตโปรดักต์ในจำนวนไม่มาก เพราะโปรดักต์มีความเฉพาะเจาะจง ตามดีไซน์หรือเงื่อนไขของลูกค้า โดยจะผลิตเป็นล็อตๆ ทำให้ปริมาณในการผลิตไม่สูงและโปรดักต์ที่ได้จะมีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ดีไซน์ออกมาเป็นรุ่น หรือสมาร์ทโฟนที่ออกมาเป็นรุ่นๆ เป็นต้น 

การผลิตประเภทนี้ ต้องการเครื่องจักร เทคโนโลยี หรือฝีมือในการผลิตที่เฉพาะเจาะจงเพื่อผลิตชิ้นส่วนต่างๆ แต่กระบวนการผลิตจะสม่ำเสมอ ได้ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้ และเมื่อผลิตสินค้าเสร็จตามปริมาณที่วางแผนไว้ ก็จะผลิตสินค้าชิ้นหรือรุ่นต่อไป

ลักษณะของการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง

  • โปรดักต์มีความหลากหลาย แต่ความต้องการไม่ได้มาก (Mass)
  • ใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรเฉพาะตามฟังก์ชัน
  • อาศัยความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความแตกต่างจากโปรดักต์ประเภทเดียวกัน
  • แผนการผลิตชัดเจน มีรายละเอียดมาก

3. การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production)

การผลิตแบบกลุ่ม หรือ Batch Production จริงๆ แล้วคล้ายคลึงกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง เพียงแต่การผลิตแบบกลุ่มจะผลิตโปรดักต์ที่ “แมส” (Mass) มากกว่า และการผลิตแบบกลุ่มจะเน้นผลิตโปรดักต์ที่หลากหลาย มีความโดดเด่นเฉพาะตัว 

แต่จะเหมือนกันตรงที่ผลิตโปรดักต์ออกมาเป็นล็อตๆ ใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรที่ตรงฟังก์ชั่นตามกระบวนการผลิตต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเสื้อยืดเป็นล็อตๆ ที่มีความต้องการสูง (Mass) 

การผลิตแบบกลุ่ม (Batch) จะผลิตตามออร์เดอร์เป็นล็อตๆ หรือผลิตเพื่อทำเป็นสต็อกสินค้าเพื่อรอจำหน่ายก็ได้

อ่านเพิ่มเติม: ระบบจัดการคลังสินค้าใช้ทำอะไร? มีประโยช์อย่างไรกับธุรกิจ

ลักษณะของการผลิตแบบกลุ่ม

  • เน้นผลิตโปรดักต์ที่มีความต้องการสูง
  • ผลิตเป็นล็อตๆ ตามออร์เดอร์หรือเพื่อสต็อกสินค้าได้
  • แผนการและกระบวนการผลิตชัดเจน 
  • เมื่อต้องการผลิตโปรดักต์ชิ้นใหม่ ต้องกำหนดค่าการผลิตใหม่
  • Lead time (ระยะเวลาที่ลูกค้ารอสินค้า) และต้นทุนการผลิตต่ำ

4. การผลิตแบบไหลผ่าน (Mass Production) 

การผลิตแบบไหลผ่าน หรือ Mass Production คือ การผลิตโปรดักต์หรือสินค้าที่เหมือนกันในปริมาณมากๆ เช่น การผลิตน้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก สบู่ แชมพู ฯลฯ 

โดยการผลิตแบบไหลผ่านจะใช้เครื่องมือในการผลิตที่เฉพาะแยกตามสายผลิต ไม่ใช้เครื่องจักรร่วมกัน เครื่องมือไหนผลิตโปรดักต์อะไร ก็ใช้ผลิตสิ่งนั้นเท่านั้น การผลิตประเภทนี้ผลิตได้ปริมาณมากและผลิตได้รวดเร็ว เหมาะกับการผลิตโปรดักต์ที่รอจำหน่ายได้ 

ลักษณะของการผลิตแบบไหลผ่าน

  • โปรดักต์มีความต้องการสูง
  • โปรดักต์และกระบวนการผลิตมีมาตรฐาน
  • เครื่องมือจักรหนึ่งเครื่อง หนึ่งฟังก์ชั่นการทำงาน ใช้ผลิตโปรดักต์เดียว
  • ระบบการผลิตมีความแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา
  • ควบคุมแผนและการผลิตง่าย
  • ระบบการผลิตง่ายต่อการทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ

5. การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Flow Production)

การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Flow Production) เป็นการผลิตโปรดักต์ชนิดเดียวในปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องใช้เครื่องจักรในการผลิตที่เฉพาะและทำงานต่อเนื่องไม่หยุด ส่วนใหญ่แล้วระบบการผลิตประเภทนี้จะเป็นการแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นวัตถุดิบหรือวัสดุตั้งต้นที่มีความต้องการสูงมาก เช่น การกลั่นน้ำมัน การหลอมเหล็ก การทำสารเคมี การทำกระดาษ ฯลฯ

ลักษณะของการผลิตแบบต่อเนื่อง

  • โปรดักต์มีความต้องการสูงมาก และมักจะผลิตวัสดุหรือสารตั้งต้น (Raw Materials)
  • โปรดักต์และกระบวนการผลิตมีมาตรฐาน
  • เครื่องมือจักรหนึ่งเครื่อง หนึ่งฟังก์ชั่นการทำงาน ใช้ผลิตโปรดักต์เดียว
  • ระบบการผลิตมีความแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา
  • ควบคุมแผนและการผลิตง่าย
  • ระบบการผลิตง่ายต่อการทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ

ประโยชน์ของระบบการผลิตและแนวทางการปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

เมื่อพิจารณาประเภทการผลิตในรูปแบบต่างๆ แล้ว เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบการผลิตแบบใด แต่เมื่อจะนำมาใช้จริงนั้น ก็มีคำแนะนำการนำระบบไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพจริงในโรงงานหรือธุรกิจ

สรุปประโยชน์ของระบบการผลิต

  • ช่วยให้ธุรกิจมองภาพรวมของการผลิต เพื่อการวิเคราะห์และวางแผนการผลิต ทั้งทรัพยากรที่ต้องใช้ กระบวนการผลิต เพื่อผลิตโปรดักต์หนึ่งชิ้นขึ้นมา 
  • ช่วยให้ธุรกิจมีแนวทางในการควบคุมการผลิต รู้ว่าต้องใช้ทรัพยากรเท่าไหร่ บริหารทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นไปตามแผน
  • ช่วยให้มีแนวทางในการตรวจสอบ รีวิว และสอบทานข้อผิดพลาด ตลอดจนปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่าย ต้นทุน และคำนวณผลประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม 
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการผลิตเพื่อเสนอต่อลูกค้า วางแผนการตลาด การส่งมอบงานให้กับลูกค้าได้

คำแนะนำในการใช้ระบบให้เกิดประสิทธิภาพจริงๆ ในการผลิต

  • เลือกใช้ระบบการผลิตที่เหมาะสมกับการผลิตโปรดักต์สำเร็จ (Final product) 
  • วางระบบโดยพิจารณาองค์ประกอบของระบบการผลิตทั้ง 3 ได้แก่ ทรัพยากร/ปัจจัยการผลิต กระบวนการแปรสภาพ และผลผลิตอย่างรอบคอบ
  • ยึดกระบวนการในการทำระบบการผลิต ทั้ง 3 กระบวนการ ได้แก่ วางแผน ดำเนินงาน และควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามแผน
  • ควรตรวจสอบและรีวิวระบบผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการใช้ทรัพยากรลง
  • ระบบการผลิตควรดำเนินงานตามความต้องการสินค้าในตลาด ไม่ผลิตสินค้าออกมาล้นเกิน ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนการสต็อก 
  • บางระบบการผลิตควรยืดหยุ่น
  • บางระบบการผลิตที่มีกระบวนการชัดเจน ควรปรับเป็นระบบอัตโนมัติ
  • คำนึงถึงต้นทุนและความคุ้มค่าในการผลิตตามสถานการณ์อยู่เสมอ ไม่ยึดระบบจนเกินไป

สรุปท้ายบทความ

ระบบการผลิต ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ทรัพยากร กระบวนการแปรสภาพ และผลผลิต ซึ่งการจะผลิตโปรดักต์หนึ่งๆ ขึ้นมาได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบข้างต้นและกระบวนการที่รอบคอบทั้งการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุม

โดยระบบการผลิตมีหลากหลากประเภทขึ้นอยู่กับผลผลิตและปริมาณ โรงงานและธุรกิจควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ปรับใช้ระบบเพื่อให้สามารถควบคุมงาน จัดการและบริหารการผลิตได้ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนลงได้ 

เทคโนโลยีการผลิตสินค้ามีอะไรบ้าง

การใช้เทคโนโลยีในการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลิตการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน การนำวิทยาการใหม่ ๆ มาช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า การใช้โทรศัพท์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น

ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีในการผลิตมีอะไรบ้าง4ข้อ

2. เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะการผลิตสินค้าจำนวนมากจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น และอาจทำให้สินค้ามีราคาถูกลง 3. เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นการเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีแบบให้เลือกหลากหลาย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพขึ้น 4. เพื่อลดแรงงานหรือกำลังคนทำงานได้น้อยลง

การใช้เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

5 เทรนด์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2565.
เทรนด์#1 :เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics).
เทรนด์#2 :ระบบอัตโนมัติที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม.
เทรนด์ #3 : หุ่นยนต์.
เทรนด์#4 : อาศัยห่วงโซ่อุปทานที่มาจากพื้นที่ใกล้เคียง.
เทรนด์#5 : การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล.

เทคโนโลยีที่สามารถนำไปช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการมีอะไรบ้าง

ทั้ง 3 ด้านได้แก่ เทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีด้านการ จัดการข้อมูลไปช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้