ฮอร์โมนในเพศหญิงมีอะไรบ้าง

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนผลิตจากคอร์ปัสลูเทียม (Corpus luteum) ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากการตกไข่ เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และมีระดับสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์หรือมีรอบเดือน

โปรเจสเตอโรนมีหน้าที่สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อเตรียมพร้อมตั้งครรภ์หลังการตกไข่ โดยกระตุ้นให้เยื่อบุหนาขึ้นเพื่อรองรับไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว นอกจากนี้ ยังช่วยยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อในมดลูกที่อาจทำให้ร่างกายปฏิเสธไข่ ร่างกายจะไม่ตกไข่ในช่วงที่มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายสูง

หากไม่เกิดการตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายลดลงทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวออก และเกิดเป็นประจำเดือน แต่หากมีการตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างหลอดเลือดในเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ เมื่อรกพัฒนาขึ้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับของโปรเจสเตอโรนยังคงสูงตลอดการตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายไม่ผลิตไข่เพิ่มขึ้น และยังช่วยเตรียมเต้านมสำหรับการผลิตน้ำนมอีกด้วย

โปรเจสติน (Properties) เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ถูกสร้างขึ้นมักใช้ร่วมกับเอสโตรเจน มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน สามารถเปลี่ยนเยื่อบุโพรงมดลูกและหยุดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกได้ ฮอร์โมนโปรเจสตินถูกพัฒนามาเป็นยาคุมกำเนิดเนื่องจากมีคุณสมบัติดูดซึมได้ดีกว่าโปรเจสเตอโรน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการรักษาอาการวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง

ปัญหาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ

ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศอาจทำให้เกิดปัญหาได้ ดังนี้

ฮอร์โมนแอนโดรเจน และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ต่ำเกินไปในผู้ชายอาจทำให้มีอาการขนร่วง สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ความต้องการทางเพศลดลง ขนาดอัณฑะเล็ก จำนวนอสุจิลดลง เกิดภาวะมีบุตรยาก หน้าอกขยาย อารมณ์แปรปวน กระดูกเปราะ และร้อนวูบวาบ สำหรับผู้หญิงอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ความต้องการทางเพศลดลง กระดูกเปราะ และขาดสมาธิ

หากผู้ชายมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงอาจทำให้จำนวนอสุจิต่ำ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย โรคตับ สิว บวมน้ำ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ปวดหัว มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ลิ่มเลือด และอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว สำหรับผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูง ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีปัญหากลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ อาจทำให้เกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ความต้องการทางเพศลดลง มีขนบนใบหน้า แขนขา และลำตัว ศีรษะล้าน ผิวคล้ำ น้ำหนักขึ้น ซึมเศร้า และวิตกกังวล

ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ต่ำเกินไปมักเกิดขึ้นในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้ที่ผ่านการผ่าตัดรังไข่ อาจทำให้มีอาการร้อนวูบวาบ ประจำเดือนหยุดหรือมาน้อย ปัญหาการนอนหลับ ช่องคลอดแห้ง ความต้องการทางเพศต่ำ อารมณ์แปรปรวน และผิวแห้ง สำหรับผู้ชายอาจทำให้เกิดไขมันส่วนเกินสะสมที่หน้าท้องและความต้องการทางเพศต่ำ

ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงมักทำให้เกิดปัญหาน้ำหนักขึ้น มีไขมันสะสม โดยเฉพาะบริเวณเอว สะโพก และต้นขา ประจำเดือนไม่ปกติ ปวดท้องก่อนมีประจำเดือน มีก้อนที่เต้านม เนื้องอกในมดลูกที่ไม่เป็นมะเร็ง เหนื่อยล้า วิตกกังวล และความต้องการทางเพศต่ำ สำหรับผู้ชายอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก หน้าอกขยาย และอวัยวะเพศไม่แข็งตัว

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่ต่ำเกินไปอาจทำให้รอบเดือนผิดปกติและมีปัญหาการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะมีบุตรยาก แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด สัญญาณของโปรเจสเตอโรนต่ำ ได้แก่ เลือดออกผิดปกติในมดลูก ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างตั้งครรภ์ แท้งบุตรบ่อยครั้ง

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ทุกคนรู้จักกันว่าเป็น ฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับรังไข่ มดลูก ประจำเดือน และการตั้งครรภ์ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบอย่างละเอียดว่าแท้จริงแล้วฮอร์โมนนี้มีหน้าที่อย่างไร สำคัญแค่ไหน แล้วหากพบปัญหาฮอร์โมนต่ำหรือสูงเกินไป ต้องทำอย่างไร

สารบัญบทความ

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง มีหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนชนิดนี้น้อยลง และในวัยที่หมดประจำเดือน ระดับเอสโตรเจนจะไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากผิดปกติ หนาวสั่น เป็นลม หรือวิงเวียนศีรษะได้ง่าย

ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำหน้าที่อะไร

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนหลักของผู้หญิง ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมการมีประจำเดือนและการหมดประจำเดือน
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนรับผิดชอบต่อความหนาของผิว การไหลของเลือด คอลลาเจน และน้ำในผิว ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” (LDL) และเพิ่มระดับของคอเลสเตรอลที่ “ดี” (HDL)
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถส่งผลกระทบต่อการที่ไขมันถูกจัดเก็บในร่างกาย ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การจัดเก็บไขมันมากขึ้นในทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ความสำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

  1. ทำให้ผู้หญิงมีผิวพรรณเนียนนุ่ม สะโพกผาย เต้านมขยายขนาด เสียงแหลม
  2. กระตุ้นการทำงานของมดลูก รังไข่ เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกและมีประจำเดือน
  3. ช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนานุ่มพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน เพื่อจะเติบโตเป็นทารกในครรภ์ต่อไป
  4. ควบคุมการทำงานของมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ขยายขนาดและมีเลือดมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ
  5. ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่าง ๆ ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะข้อต่อในอุ้งเชิงกราน เพื่อการขยายตัวระหว่างคลอด
  6. ทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารช้าลง ส่งผลให้ท้องอืดในง่ายขณะตั้งครรภ์
  7. ยับยั้งการสลายตัวของกระดูก จึงช่วยลดภาวะกระดูกพรุน

ฮอร์โมนเอสโตรเจน กับ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ฮอร์โมนเอสโตรเจน

เป็นฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งทำหน้าที่พัฒนาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยส่วนใหญ่ผลิตจากรังไข่ แต่เมื่อตั้งครรภ์ฮอร์โมนนี้จะถูกผลิตออกมาจากรกอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างร่างกายของคุณแม่ให้เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ และช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่และรกในระหว่างตั้งครรภ์ มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น เพื่อให้ไข่ที่ถูกผสมจนเกิดการปฏิสนธิฝังตัวและเติบโตเป็นทารกได้

การวัดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

สำหรับค่าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน จะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มบุคคล โดยมีหน่วยเป็น pg/ml

  • ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน ค่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะอยู่ที่ 26 – 149 pg/ml
  • ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ค่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะอยู่ที่ 0 – 34 pg/ml
  • ผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ค่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะอยู่ที่ 2 – 30 pg/ml
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ค่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะอยู่ที่ 3 – 10  pg/ml

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป ส่งผลเสียอย่างไร

อย่างที่รู้ๆกันว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนถือว่าเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญกับผู้หญิงมาก แต่ถ้ามีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไปก็อาจจะส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันได้ง่ายและมากขึ้นทำให้เกิดเป็นโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ยังทำให้มีอารมณ์แปรปรวน และยังเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลายชนิด รวมไปถึงโรคไขมันในหลอดเลือด เมื่อไขมันเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง ก็อาจส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตอีกด้วย

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล เกิดจากสาเหตุใด

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุลอาจเกิดจากหลายๆสาเหตุ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ความเครียดเรื้อรัง อาหารการกิน สารเคมีที่ได้รับ การทานยาคุมกำเนิด หรือยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ ทำให้เกิดความผิดปกติ ดังนี้

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • มีอาการก่อนมีประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่น ตัวบวม หิวของหวาน กินเยอะ น้ำหนักขึ้นไว ไขมันเพิ่มง่าย ปวดหัวไมเกรน ตึงคัดเต้านม จะเรียกว่า อาการ PMS (Premenstrual Syndrome) 
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดบ่อย นอนหลับยากขึ้น
  • อาจทำให้เกิดเนื้องอก ถุงน้ำที่เต้านม มดลูก หรือ รังไข่

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ อาจทำให้มีลูกยาก

อาการที่ส่งสัญญาณเตือนฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำกว่าปกติ

  • นอนไม่หลับ เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ จะทำให้มีเซโรโทนินต่ำ อาจตามมาด้วยปัญหาในการนอนหลับ
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน เนื่องจากการนอนหลับไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ขาดสมาธิ หลงลืม ไม่สามารถโฟกัสอยู่กับเรื่องที่ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • อารมณ์แปรปรวน เป็นหนึ่งในอาการของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล อาการนี้อาจจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เมื่อรวมกับการนอนหลับไม่เพียงพอ
  • อาการซึมเศร้า ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีความเชื่อมโยงกับเซโรโทนิน ที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้า เมื่อมีเอสโตรเจนต่ำ นั่นคือระดับเซโรโทนินก็จะต่ำไปด้วย ซึ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ 
  • กระดูกเปราะ เอสโตรเจนช่วยเสริมความหนาแน่นของกระดูก เมื่อระดับเอสโตรเจนที่ต่ำ ความหนาแน่นของกระดูกก็จะลดลง
  • ขณะมีเพศสัมพันธ์จะรู้สึกเจ็บ ช่วงที่เอสโตรเจนลดต่ำลง ช่องคลอดจะแห้งมากขึ้น ผนังช่องคลอดบางลง จึงทำให้รู้สึกเจ็บในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • ช่องคลอดฝ่อตัว เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ จะทำให้ช่องคลอดแคบลง และสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้หลั่งสารหล่อลื่นได้ช้าลง 

สำหรับผู้ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำและเตรียมตั้งครรภ์ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว การทำ ICSI เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม >> การรักษาภาวะมีบุตรยาก รักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง รักษาที่ไหนดี เลือกอย่างไรดี

วิธีบำรุงเสริมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

การทานอาหารที่มีส่วนช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

  • ถั่วเหลือง หรืออาหารที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าหู้ หรือน้ำเต้าหู้ เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูงสะสมอยู่ มีฮอร์โมนไฟโตเอสโตรเจนทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน การรับประทานอาหารที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ นอกจากสารอาหารที่มีอยู่ในถั่วเหลืองจะช่วยปรับฮอร์โมนของผู้หญิงที่ขาดไป ยังช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ และยังมีสารอาหารที่จำเป็นอีกมากมายด้วย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม วิตามินบีคอมเพล็กซ์ สังกะสี 
  • ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยเสริมสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งผลไม้สดที่มีสารไบโอฟลาโวนอยด์อยู่มาก เช่น มะขาม ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะนาว เป็นต้น หรืออาจเลือกทานเป็นผลไม้จำพวกสตรอเบอรี่ อะโวคาโด กล้วย ฝรั่ง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระตัวนี้จะคอยช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน และยังสามารถควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย นอกจากจะมีสารไบโอฟลาโวนอยด์แล้วยังมีวิตามินอีที่ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส ไม่แก่ก่อนวัยอันควรอีกด้วย
  • เมล็ดแฟลกซ์ การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์มีส่วนช่วยในการต่อต้านผลกระทบของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งท่อปัสสาวะ และมะเร็งรังไข่อีกด้วย
  • วิตามินบี เพราะมีส่วนสำคัญในการสร้างและกระตุ้นฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย หากร่างกายมีวิตามินบีในระดับที่ต่ำอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงด้วย
  • วิตามินดี วิตามินดีและเอสโตรเจนทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเชื่อมโยงระหว่างฮอร์โมนสองตัวนี้ เกิดจากบทบาทของวิตามินดีในการสังเคราะห์เอสโตรเจน ซึ่งบ่งบอกได้ถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการเสริมวิตามินดีในระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำ
  • น้ำมะพร้าว ในน้ำมะพร้าวจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน ช่วยกระชับผิวพรรณให้เต่งตึง ชะลอการเกิดริ้วรอยได้ นอกจากนี้ก็มีส่วนช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย ด้วยกระบวนการที่คล้ายกับการดีท็อกซ์อีกด้วย

การใช้ฮอร์โมนเสริมทดแทน

การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน จำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ไม่ควรซื้อมารับประทานเองต้องได้มาจากการที่แพทย์จ่ายให้เท่านั้น วิธีการใช้ฮอร์โมนทดแทนมี 2 วิธี ดังนี้

  • ยาชนิดทาน
    • รักษาภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ รับประทาน 0.3-0.625 มิลลิกรัม/วัน ในทุกรอบเดือน อาจปรับปริมาณยาได้ในช่วง 6-12 เดือน ใช้ร่วมกับฮอร์โมนโพรเกสตินเพื่อคงระดับความหนาแน่นของมวลกระดูกเมื่อโครงสร้างของกระดูกสมบูรณ์
    • รักษาภาวะช่องคลอดฝ่อ ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ช่องคลอดหรือปากช่องคลอดแห้ง แสบ มีอาการคัน รับประทานยา 0.3 มิลลิกรัม/วัน
    • ป้องกันโรคกระดูกพรุนให้ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เริ่มแรกให้รับประทานยาในปริมาณ 0.3 มิลลิกรัม/วัน ทุกวันหรือทุกรอบเดือน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ส่วนการปรับปริมาณยานั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของมวลกระดูกและการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย 
    • รักษาภาวะรังไข่หยุดทำงาน รับประทานยา 1.25 มิลลิกรัม/วัน ในทุกรอบเดือน ปรับปริมาณยาตามการตอบสนองของผู้ป่วย และคงการใช้ยาในปริมาณต่ำสุดที่เห็นผลการรักษา
  • ยาชนิดฉีด
    •  รักษาภาวะมีเลือดออกในมดลูกผิดปกติ จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อในปริมาณ 25 มิลลิกรัม สามารถให้ซ้ำได้ใน 6-12 ชั่วโมง หากจำเป็น หลังการรักษาควรใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำร่วมด้วย

ข้อสรุป

ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ หน้าที่ในการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายมีรายละเอียด ดังนั้นการดูแลสุขภาพกาย ก็จะช่วยให้สร้างฮอร์โมนและทำงานได้อย่างสมดุล โอกาสในการตั้งครรภ์ก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 

ฮอร์โมนเพศหญิงมีชื่อเรียกว่าอะไร

ฮอร์โมนเอสโตรเจน – เป็นฮอร์โมนสนับสนุนการพัฒนาของเต้านมและมดลูกควบคุมการตกไข่ และมีผลต่อสภาพร่างกาย และอารมณ์ของเพศหญิง ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน – เป็นฮอร์โมนควบคุมรอบประจำเดือน และเตรียมมดลูกให้เหมาะสมต่อการฟักตัวของไข่หากได้ รับการปฏิสนธิ

ฮอร์โมนเพศหญิงกี่ชนิด

ฮอร์โมนนเพศหญิงมีหลายตัว ฮอร์โมนที่สำคัญที่น่ารู้จักเพื่อจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแสดงและโรคของรังไข่และมดลูกมีดังนี้ เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน FSH และ LH เรามาดูรายละเอียดกัน - เอสโตรเจน (Estrogen)

ฮอร์โมนเพศหญิงมาจากอะไร

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และมีส่วนน้อยที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน โดยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิง การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้