ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Illustrator ที่มีคำสั่งใช้งานต่าง ๆ คือข้อใด *

Psv      Google     YouTube      สพม.11

หน่วยที่1

Introduction

Illustrator คืออะไร และทำอะไรได้บ้าง

โปรแกรมพื้นฐานที่นักออกแบบทุกคนต้องเรียนรู้ในการสร้างงานกราฟิกมี 2 ชนิด คือโปรแกรมประเภทวาดภาพ และโปรแกรมประเภทตกแต่งภาพ

Illustrator คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่า Vector Graphic จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในการออกแบบระดับสากลสามารถทำงานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เว็บ และภาพเคลื่อนไหวตลอดจนการสร้างภาพเพื่อใช้เป็นภาพประกอบในการทำงานอื่นๆ เช่น การ์ตูน ภาพประกอบหนังสือ เป็นต้นแนะนำเครื่องมือต่างๆ ในโปรแกรมเมื่อเราเข้าสู่โปรแกรมหรือเมื่อเราสร้างไฟล์ใหม่ด้วยการคลิกที่เมนู File>New จะปรากฏหน้าตาของโปรแกรมเหมือนตัวอย่างข้างล่างนี้

แถบคำสั่ง (Menu Bar)

เป็นเมนูคำสั่งหลักโปรแกรม แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ดังนี้

File: เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับไฟล์และโปรแกรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการ เปิด-ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์ การนำภาพเข้ามาใช้ (Place) ตลอดจนการออกจากโปรแกรม (Exit)

Edit: เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการแก้ไข เช่น Undo Cut Copy Paste Select รวมทั้งการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพด้วย เช่นการสร้างรูปแบบ (Define Pattern) การกำหนดค่าสี (Color Setting)เป็นต้น

Type: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้จัดการตัวหนังสือ เช่น Fonts Paragraph เป็นต้น

Select: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้ในการเลือกวัตถุ สามารถเลือกด้วยคุณสมบัติได้ เช่น เลือกวัตถุที่มี Fill และStroke แบบเดียวกัน วัตถุที่อยู่บน Layer เดียวกัน เป็นต้น

Filter: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพ โดยจะมีผลต่อรูปร่างของ Path

Effect: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพคล้าย Filter แต่จะไม่มีผลกับรูปร่างของ Path

View: เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับการมองทุกสิ่งในงาน เช่น Zoom Show/Hide Ruler Bounding BoxOutline Mode/Preview Mode เป็นต้น

Window: เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดหน้าต่างเครื่องมือต่างๆ เช่น Palette Tool Box เป็นต้น

Help: เป็นหมวดที่รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โปรแกรม

กล่องเครื่องมือ (Tool Box)

Tool Box เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับภาพทั้งหมด ซึ่งจะแบ่งออกเป็นช่วงๆ

ตามกลุ่มการใช้งาน ดังนี้

1. กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการเลือกวัตถุ

2. กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดและการสร้างตัวหนังสือ

3. กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการปรับแต่งวัตถุ

4. กลุ่มเครื่องมือในการสร้าง Symbol และ Graph

5. กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการกำหนดสี

6. กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการตัดแบ่งวัตถุ

7. กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับพื้นที่ทำงาน

8. กรอบที่ใช้ระบุสีให้วัตถุและสีของเส้น

9. ปุ่มกำหนดรูปแบบของมุมมองในหน้าจอโปแกรม

พื้นที่ทำงาน (Art board Area)

เป็นขอบเขตของพื้นที่การทำงาน ซึ่งมีจุดที่ต้องระวังคือ บริเวณที่อยู่ในเส้นประเป็นพื้นที่ที่จะถูกพิมพ์ออกมา และส่วนของภาพที่อยู่นอกเส้นนี้จะถูกตัดขาดไปเวลาพิมพ์

จานเครื่องมือต่างๆ (Palette)

เปรียบเสมือนแผ่นหรือจานผสมสีของจิตรกร ที่เป็นแหล่งกำเนิดของเส้นสายหรือสีสันของภาพ จานเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เป็นหน้าต่างขนาดเล็กที่รวบรวมคำสั่งและคุณสมบัติของเครื่องมือต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่การเรียกใช้ Palette ให้คลิกที่เมนู Window จะเห็นรายชื่อ Palette ต่างๆ ให้เลือกตามต้องการ ซึ่งPalette ที่ใช้บ่อยๆ มีดังนี้

1. Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีและเส้นได้แก่

Color Palette: เหมือนจานสีที่ใช้ผสมสีไว้ใช้เอง โดยระบุค่าสีหรือสุ่มเลือกที่แถบสีด้านล่างก็ได้ เพื่อให้ได้สีใหม่ไม่จำกัดอยู่แต่สีที่ผสมไว้ให้ใน

Swatch

Swatch Palette: เหมือนกล่องเก็บสีที่ผสมสำเร็จรูปไว้ใช้ได้ทันที ทำให้ไม่ต้องผสมใหม่ทุกครั้งที่จะใส่สี

Gradient Palette: ใช้กำหนดค่าการไล่โทนสีให้วัตถุ ทั้งการกำหนดรูปแบบการไล่สีระหว่างแบบเส้นตรงหรือรัศมี และปรับแต่งโทนโดยใช้แทบ Gradient Bar ด้านล่างทำให้รูปมีมิติและความลึกมากขึ้น

Stroke Palette: ใช้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ เช่นขนาดของเส้น รูปแบบของรอยต่อหรือปลายเส้น ฯลฯ

Brushes Palette: บรรจุชนิดของหัวพู่กันสำเร็จรูปไว้ให้เลือกใช้ โดยสามารถเลือกกำหนดคุณสมบัติของหัวพู่กันได้ด้วย ทำให้เส้นสายพลิ้วพราย มีลูกเล่นไม่ธรรมดา

2.Palette ที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งและจัดการวัตถุ

Transform Palette: ใช้กำหนดตำแหน่ง ขนาดและปรับแต่งรูปร่างของวัตถุ โดยการระบุค่าเป็นตัวเลข เพื่อให้ได้ระยะที่ถูกต้องและแม่นยำ

Align Palette: ใช้ควบคุมการจัดเรียงวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นการจัดแนวของวัตถุให้ตรงกันในแนวต่าง ๆ หรือการจัดระยะห่างระหว่างวัตถุ โดยคลิกเลือกวัตถุก่อน แล้วเลือกวิธีการจัดเรียงที่ต้องการ ช่วยให้งานมีระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

Pathfinder Palette: ใช้สร้างวัตถุใหม่ จากการรวมรูปร่างของวัตถุเดิมเข้าด้วยกัน ช่วยในการสร้างวัตถุ โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มวาดเองใหม่ทั้งหมดใช้ร่วมกันให้เกิดเป็นรูปร่างใหม่ได้สะดวกและรวดเร็ว

3. Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานตัวหนังสือ

Character Palette: ใช้กำหนดรูปแบบตัวหนังสือ โดยกำหนดได้ละเอียดมาก ทั้งชนิด ขนาด ความสูง ความกว้าง ตัวยก ตัวห้อย ฯลฯ เพื่อทำให้ตัวอักษรดูหลากหลายและมีลูกเล่นต่าง ๆ

Paragraph Palette: ใช้กำหนดรูปแบบการจัดเรียงข้อความ โดยกำหนดได้ละเอียดมาก ทั้งการจัดชิดซ้าย ขวา กลาง ฯลฯ ตลอดจนระยะย่อหน้าต่างๆ ซึ่งสามารถระบุค่าเป็นตัวเลขได้ เพื่อทำให้ข้อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

4. Palette ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและการจัดการในหน้ากระดาษ

Layers Palette: ใช้จัดการวัตถุที่บรรจุอยู่ในแต่ละเลเยอร์ ซึ่งทำงานเหมือนเป็นแผ่นใสที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ใช้ควบคุมทั้งการมองเห็น การล็อควัตถุการจัดลำดับซ้อนทับกัน ฯลฯ

Links Palette: ใช้ควบคุมการเชื่อมต่อข้อมูลกับภาพต้นฉบับที่นำเข้ามาใช้โดยสามารถเลือก ให้ไฟล์ภาพที่นำเข้ามาลิงค์อยู่หรือฝังอยู่ในไฟล์ก็ได้ส่วนใหญ่มักจะเลือกลิงค์ภาพเพื่อไม่ให้ไฟล์งานมีขนาดใหญ่เกินไป

5. Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใส่ลูกเล่นหรือเอฟเฟ็กต์ให้วัตถุ

Transparency Palette: ใช้กำหนดค่าความโปร่งแสงของวัตถุ โดยคลิกเลือกรูปแบบของ Blending Mode ที่ต้องการและกำหนดค่าความทึบที่ช่องOpacity เพื่อทำให้ภาพมีลูกเล่นแปลก ๆ โดยสัมพันธ์กับวัตถุอื่น ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ด้านล่าง

Styles Palette: ใช้กำหนดสี เส้น และเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ แบบสำเร็จรูป โดยคลิกเลือกวัตถุแล้วคลิกเลือกไอคอนสไตล์ที่ต้องการ ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น เพราะเป็นการเก็บคุณสมบัติไว้ใช้กับวัตถุอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องกำหนดใหม่ทีละอัน ๆ

Symbols Palette: บรรจุชนิดของวัตถุสำเร็จรูปให้ใช้ซ้ำ โดยใช้ร่วมกับ

เครื่องมือในกลุ่ม Symbolism Tool เป็นการเอาวัตถุเดียวมาใช้ซ้ำไปซ้ำมา

ในงาน จึงมีข้อมูลเพียงอันเดียวของวัตถุสำเร็จรูปนั้น ช่วยลดขนาดของ

ไฟล์ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวกับเว็บ

     นอกจากนี้ยังมี Palette อื่น ๆ อีกบางอันที่ไม่ได้กล่าวถึงในตอนนี้ เพราะไม่ได้ใช้มากนัก จะนำไปไว้ในส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงในภายหลัง

ส่วนประกอบของโปรแกรม Illustrator ที่มีคำสั่งใช้งานต่าง ๆ คือข้อใด

1. Menu Bar คือ ค าสั่งใช้งานต่าง ๆ เช่น 2. Option Bar คือ ค าสั่งที่ก าหนดคุณสมบัติหรือตัวปรับแต่งการท างานให้กับวัตถุ 3. Tool Bar คือ เครื่องมือชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการท างาน 4. Document คือ พื้นที่ส าหรับพิมพ์งานและใส่รูปร่าง ตาราง ต่าง ๆ เพื่อใช้งาน 5. Pasteboard คือ พื้นที่ว่าง รอบเอกสาร ไม่สามารถใช้งานใด ๆ ได้ 6. ...

ส่วนประกอบ ของโปรแกรม Adobe Illustrator มี กี่ ส่วน อะไร บ้าง

ส่วนประกอบโปรแกรม Illustrator CS6 โปรแกรม Illustrator CS6 ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักได้แก่ Menu Bar, Toolbox, Panel, และ Artboards I. หนาตาโปรแกรม Illustrator CS6 Introduction.

โปรแกรม Adobe Illustrator เหมาะกับงานทางด้านใดบ้าง

ไฟล์ AI เป็นไฟล์เวกเตอร์ในระบบของ Adobe Illustrator ไฟล์ AI ช่วยให้นักออกแบบสามารถปรับขนาดกราฟิก ภาพวาด และรูปภาพของตนได้โดยไม่มีขีดจำกัดและไม่มีผลต่อความละเอียด มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของรูปแบบไฟล์รูปภาพ AI และเรียนรู้วิธีการสร้าง เปิด และแก้ไขไฟล์

ข้อใดคือลักษณะของงานที่สร้างจากโปรแกรม Illustrator

Adobe Illustrator เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพกราฟิกในรูปแบบ Vector โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือคุณภาพของผลงานที่สร้างขึ้นนั้น จะไม่มีปัญหาเรื่องความละเอียดในการแสดงภาพตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะนำไปขยาย หรือลดแค่ไหนก็ตาม ภาพจะไม่ต้องเสียความละเอียด หรือความคมชัดแม้แต่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่แก้ไขโดยใช้ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้