การจัดการข้อมูลที่เป็น Big Data มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ในโลกยุคดิจิทัล 4.0 บริษัทชั้นนำของประเทศไทยหลายแห่งได้นำโซลูชั่นด้าน Big Data เข้ามาปรับใช้ในเชิงธุรกิจเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและโอกาสทางการตลาด อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ เช่น ใช้ในการวิเคราะห์การบริหารจัดการกระบวนการดำเนินงานธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิผล ลดต้นทุน ช่วยบริหารการเงินและจัดสรรทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Close X

SOLUTIONS CORNER
5 ขั้นตอนในการทำ Big Data Project ให้ประสบความสำเร็จ

วิธีที่จะช่วยให้องค์กรเห็นมุมมองแบบ end-to-end เกี่ยวกับ Data Pipeline ของพวกเขา

Big Data มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจเพื่อเพิ่มผลกำไรและสามารถใช้ในการแก้ปัญหาสำคัญๆ ของธุรกิจได้ ในขณะที่เครื่องมือทั้งหมดในระบบนิเวศ (Ecosystem) ได้ผุดขึ้นมาไล่เลี่ยกันกับ Hadoop  เพื่อการวิเคราะห์และจัดการกับข้อมูล แต่เครื่องมือเหล่านั้นกลับมีความเชี่ยวชาญที่น้อยกว่าและช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นหากเป็นกระบวนการขนาดใหญ่
เมื่อองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก Hadoop ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดศักยภาพทางธุรกิจและผลกำไรทางด้านไอทีมากเป็นพิเศษเช่นเดียวกับเทคโนโลยีใดๆก็ตามที่มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ก็จะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเข้ามาเป็นคู่แข่งรายใหม่ในตลาด โดยเฉพาะในเรื่องของการนำ Hadoop ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Analytics)เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากHadoop ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงจำเป็นที่ต้องทบทวนและทำการตรวจวิเคราะห์เกี่ยวกับ Data Pipeline ของพวกเขาโดยใช้มุมมองแบบ end-to-end ตามวิธีดังต่อไปนี้
 

1: รับรองการส่งผ่านข้อมูลที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้

ขั้นตอนแรกของ Data Pipeline ในองค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับระบบต้นทางการสื่อสารข้อมูล (Source Systems) และข้อมูลดิบ (Raw Data) โดยจะส่งข้อมูลจากต้นทาง(Ingest)ผสมผสาน (Blended)และวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) การผสมสานของข้อมูลที่หลากหลายจากไซโลทั่วทั้งองค์กรนั้นมักนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญที่สุด
ด้วยเหตุนี้ ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากชนิดข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ และแหล่งที่มา จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญมากในโครงการข้อมูลและการวิเคราะห์ของHadoop
ในปัจจุบัน องค์กรไม่เพียงแต่จะต้องเตรียมพร้อมข้อมูลที่พวกเขาวางแผนจะรวมเข้ากับHadoopแต่พวกเขาจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลที่สำหรับการใช้งานอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้ในอนาคตรวมถึงการวางแผนเพื่อลดภาระงานที่ต้องทำเองด้วยตนเอง วางแผนรูปแบบการนำเข้าข้อมูลที่สามารถใช้ซ้ำได้และการออกแบบเวิร์กโฟลว์การนำเข้าข้อมูลแบบไดนามิกที่เป็นส่วนสำคัญของสิ่งนี้
 

2: ขับเคลื่อนการประมวลผลและการผสมผสานข้อมูลขนาดใหญ่

เมื่อองค์กรประสบความสำเร็จในการดึงข้อมูลอันหลากหลายเข้าสู่ Hadoop ในรูปแบบที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อไป ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนของการประมวลผล (Processing) การแปลงสภาพข้อมูล (Transforming) และการผสมผสานข้อมูล (Data Blending) กับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่บนคลัสเตอร์ของHadoop
การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Big data ยังต้องอาศัยหลักการพื้นฐานและเทคนิคบางอย่าง จึงมีระดับของความเป็นนามธรรมที่ต่างจาก Hadoop หรือเครื่องมืออื่นๆ ดังนั้นการบำรุงรักษาและพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ใช้ข้อมูลจำนวนมากจึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ไม่ได้จำกัดเพียงกลุ่มเล็กๆ ของผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโค้ดเท่านั้น
ในโลกที่ Big Data มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แผนกไอทีก็ยังต้องรักษาและออกแบบการแปลงสภาพของข้อมูล (Data Transformation) โดยไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน องค์กรควรพยายามหาแนวทางที่เป็นการผสานรวมระหว่างการการควบคุม ความสามารถในการมองเห็นข้อมูลในเชิงลึกและการใช้งานที่ง่ายขึ้น แทนที่การใช้กล่องดำ (Black Box) ในการแปลงข้อมูลบน Hadoop
 

3: ส่งมอบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการวิเคราะห์Big Data ที่สมบูรณ์

สิ่งสำคัญที่จะช่วยปลดล็อคการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุดจากHadoop นั่นก็คือ การพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจแอพพลิเคชั่นและผู้ใช้ปลายทาง โดยข้อมูลผู้บริโภคที่แตกต่างกันนั้นก็อาจจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือและวิธีการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขานั้นต้องการข้อมูลอะไร แผนต่างๆที่พวกเขาวางไว้สำหรับข้อมูลเหล่านั้น และมีระดับความซับซ้อนแค่ไหน
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลและนักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญขั้นสูง พวกเขาเริ่มทำการสืบค้นและสำรวจชุดข้อมูลในHadoopโดยพวกเขามักจะใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และเทคโนโลยีประมวลผลเลเยอร์คล้ายSQL (SQL-like) เช่น Hive (ที่ทำหน้าที่ในการแปลSQL like ให้มาเป็น MapReduce) และ Impala (ซึ่งเป็นเครื่องมือที่คล้ายกับ Hive) นับว่าโชคดีที่เครื่องมือเหล่านี้ใช้เวลาในการเรียนรู้ไม่นาน เนื่องจากมันเป็นภาษาที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือ Query Language (QL) ที่คุ้นเคย ฐานข้อมูล NoSQL ที่มีประสิทธิภาพสูงและปรับขนาดได้นั้นมีการใช้งานควบคู่กับHadoop มากขึ้น การรวบรวมBig Data จากเว็บมือถือและปริมาณงานของIoT นั้นได้ถูกสร้างในระบบ NoSQL ก่อนที่จะถูกส่งเข้าสู่ซอฟต์แวร์Hadoop ในทางกลับกัน ปริมาณงานแบตช์และสตรีมมิ่งการวิเคราะห์ที่ประมวลผลโดยHadoop ก็สามารถแชร์กับระบบ NoSQL ได้ การเพิ่มขึ้นของระบบNoSQL ที่เข้าคู่กับมูลค่าของBig Data ทำให้องค์กรต่างๆ เริ่มแสวงหาผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีทักษะเกี่ยวกับ NoSQLและ Hadoop เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจาก Big Data ของพวกเขา ดังนั้นการพิจารณาให้ Hadoop เป็นส่วนในการขยายAnalytic Pipeline จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ธุรกิจจำนวนมากคงคุ้นเคยกับฐานข้อมูลประสิทธิภาพสูงที่ปรับให้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ผู้ใช้ปลายทางหรือที่รู้จักกันดีว่า ‘ฐานข้อมูลการวิเคราะห์’ (Analytic Databases) องค์กรเหล่านี้ได้พบว่าการส่งมอบชุดข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขจากHadoop ไปยังฐานข้อมูลที่กล่าวมานั้น เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการปลดปล่อยพลังการประมวลผลของHadoop

4. ใช้แนวทางเชิงโซลูชัน (Solution-Oriented)

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าหลายๆ อย่างได้ถูกสร้างขึ้นในระบบนิเวศ(Ecosystem)Hadoop และยังคงเติบโตในฐานะของแพลตฟอร์มเพื่อการปรับใช้กับองค์กรการผลิต (Production Enterprise) ในส่วนของข้อกำหนดสำหรับความคิดริเริ่มด้านเทคโนโลยีนั้นมีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาและอยู่ในช่วงของการ  "กำลังดำเนินการ" ซึ่ง Hadoopก็ได้แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบใหม่ใน Data Pipeline ที่กว้างขึ้น ผลที่ตามมาก็คือความคิดริเริ่มที่เกี่ยวข้องใหม่ๆนั้นมักจะมีวิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป (Phased Approach)
เมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้แล้ว ผู้ประเมินซอฟต์แวร์ต่างก็รู้ว่าพวกเขาไม่สามารถพบกับอุปกรณ์ที่มีทุกอย่างครบครัน ( Off-the-shelf )เพื่อตอบสนองความต้องการด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ของ Hadoopได้ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบันนี้คำว่า "รองรับอนาคต" (Future-proof) ได้ถูกนำมาใช้มากเกินไปในเรื่องที่เกี่ยวกับBig Data แต่ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ ความสามารถในการขยายระบบและความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการทำงานที่สูงขึ้น ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ควรจะเป็นส่วนสำคัญของแบบสำรวจรายการ (Checklist) ของโครงการทั้งหมด
การแปลงพอร์ตเพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่นผ่านการกระจาย Hadoop ที่แตกต่างกันเป็นจุดเริ่มต้นของศักยภาพที่ดี แต่ความยั่งยืนที่แท้จริงนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มเพื่อความยืดหยุ่นอันสอดคล้องกับนวัตกรรมแบบเปิดที่ขับเคลื่อนระบบนิเวศ(Ecosystem)Hadoop

5: เลือกผู้ขายที่เหมาะสม

กระแสของBig Data ส่งผลให้ผู้ให้บริการโซลูชันหลั่งไหลเข้าพื้นที่ตลาดกันอย่างท่วมท้น แพ็คเกจที่พวกเขาเสนอนั้นอาจแตกต่างกันอย่างหลากหลาย ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องมือทางสถิติอย่างง่ายไปจนถึงแอปพลิเคชันการเรียนรู้เครื่องจักรขั้นสูง
องค์กรจึงควรระบุประเภทข้อมูลที่พวกเขาจะประมวลผลเพื่อเลือกเทคโนโลยีที่รองรับพวกเขา แพลตฟอร์มที่น่าพึงพอใจนั้นจำเป็นต้องเข้ากันได้ดีกับเครื่องมือวิเคราะห์ที่มีอยู่ โดยให้การเข้าถึงกับพนักงานที่พวกเขาต้องการและมีความยุ่งยากน้อยที่สุดต่อเวิร์กโฟลว์
ผู้ให้บริการ NoSQL และ Hadoop บางรายกำลังร่วมมือกันจัดทำข้อเสนอที่ครอบคลุม รวบรวมระบบของพวกเขาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเลื่อนไหลระหว่างระบบโครงสร้างและซอฟต์แวร์ สิ่งนี้ยังช่วยลดความยุ่งยากให้กับลูกค้าเนื่องจากพวกเขาสามารถจัดการกับทุกอย่างได้ในจุดๆ เดียว
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์

องค์ประกอบของข้อมูลขนาดใหญ่มีอะไรบ้าง

สรุปชัด!.
1. Volume (ปริมาณ) ... .
2. Velocity (ความเร็ว) ... .
3. Variety (ความหลากหลาย) ... .
4. Veracity (ความถูกต้อง) ... .
5. Value..

การจัดการข้อมูลที่เป็น Big Data มีองค์ประกอบอะไร บ้าง อธิบายมาโดยละเอียด

Big Data คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีทั้งหมดภายในองค์กรไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลของบริษัท ข้อมูลติดต่อของลูกค้า ข้อมูลติดต่อของผู้ร่วมธุรกิจ.
1. ปริมาณ (Volume) ... .
2. ความหลากหลาย (Variety) ... .
3. ความเร็ว (Velocity) ... .
4. คุณภาพของข้อมูล (Veracity).

การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่มีอะไรบ้าง

การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data. ... .
1) กำหนดกลยุทธ์เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ ... .
2) รู้แหล่งที่มาของข้อมูลขนาดใหญ่ ... .
3) การเข้าถึง จัดการ และจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ... .
4) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ... .
5) ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและใช้ข้อมูลช่วย ... .
1. Data Source แหล่งที่มาของข้อมูล ... .
2. Gateway ช่องทางการเชื่อมโยงข้อมูล.

องค์ประกอบที่สำคัญของข้อมูล (Data) มีอะไรบ้าง

จากภาพ จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบของระบบ Data แบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่.
1. Data Source แหล่งที่มาของข้อมูล ... .
2. Gateway ช่องทางการเชื่อมโยงข้อมูล ... .
3. Storage แหล่งเก็บข้อมูล ... .
4. Analytics การวิเคราะห์ข้อมูล ... .
5. Result/Action การใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้