ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ มีกี่ส่วน อะไรบ้าง

�к���Ժѵԡ����˹�ҷ��Ѵ�����������Ǵ�������ͪ������������ӧҹ�� ��� �͡Ẻ����繧ҹ��ѡ㹡�����ҧ�к���Ժѵԡ������ ��͹����͡Ẻ�е�ͧ��˹�������¢ͧ�к�����ҡ�͹ ��ѧ�ҡ��鹨е�ͧ���ҧ��š��Է�������ҡ���·����繵�ͧ��㹡�����ҧ�к� �������ҧ�к������š��Է������ըش�����ʹ�㹡�þԨ�ó��к���Ժѵԡ�� 2-3 ��С�� ��С���á���Ԩ�ó�������ʢͧ�к� ��Ժѵԡ�÷��������� ��С�÷���ͧ��͡�ôٷ���Թ����࿫�����ҧ�����Ѻ���������� ��С���ش���¤�͡���¡��ǹ��Сͺ�ͧ�к��͡����ǹ���� � ����֧���������§�����ҧ��ǹ���� � ��鹴��� ���Ǣ�͹������¹�йӤس�������Ǩ�ش����þԨ�óҷ�� 3 ��С�âͧ�к���Ժѵԡ�������ʴ�����ͧ�ͧ�����, ������������м���͡Ẻ�к� ��ҨоԨ�ó�������ʢͧ�к���Ժѵԡ����������ú�ҧ ����������ʷ����ú�ҧ ����֧�Ըյ�ҧ � �����㹡���͡Ẻ�к�

เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ

คุณสมบัติการทำงาน

ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การทำงานแบบ Multi – Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไประหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ โปรแกรม

 

การทำงานแบบ Multi – Tasking

การทำงานแบบ Multi – User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

การทำงานแบบ Multi – User

ประเภทของระบบปฏิบัติการ

        ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS )  

 เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้น ๆ) นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย

  • DOS (Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command- line ซึ่งต้องป้อนข้อมูลทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ ได้ ผลิตขึ้นมาครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS เพื่อใช้กับเครื่องของบริษัทไอบีเอ็ม ภายหลังเมื่อคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นจนเกิดเครื่องที่ผลิตขึ้นมาเลียนแบบอย่างมากมายคล้ายกับเครื่องของไอบีเอ็ม (IBM compatible ) บริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งมีทีมงานที่เคยผลิต PC-DOS ให้กับไอบีเอ็มมาก่อนจึงได้ทำระบบปฏิบัติการแบบใหม่ออกมาเป็นของตนเองและเรียกชื่อใหม่ภายหลังว่า MS-DOS นั่นเอง
  • Windows การทำงานที่ต้องคอยป้อนคำสั่งทีละบรรทัดเพื่อเรียกทำงานในระบบปฏิบัติการแบบ DOS นั้น สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้และความชำนาญเพียงพอ มักจะจดจำรูปแบบคำสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานได้ไม่ค่อยดีนัก บริษัทไมโครซอฟต์จึงได้นำเอาแนวคิดของระบบการใช้งานที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) ซึ่งมีผู้คิดค้นขึ้นก่อนหน้านั้นไม่นานนักมาใช้ในระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Windows เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ใช้และระบบปฏิบัติการสามารถทำงานงานร่วมกันได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการนำเอารูปแบบของสัญลักษณ์ที่เป็นภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนข้อมูลคำสั่งทีละบรรทัดโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจดจำคำสั่งต่าง ๆ ก็สามารถใช้งานได้โดยง่าย   Windows ใช้หลักการแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายๆ รุ่นด้วยกันWindows XP เป็นเวอร์ชันล่าสุดที่ได้มีการพัฒนาและจำหน่ายไปยังทั่วโลก (เวอร์ชันต่อไปที่คาดว่าจะผลิตออกมามีชื่อรหัสว่า Longhorn คาดว่าจะมีการวางจำหน่ายประมาณปี 2006 – 2007)
  • Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่มักใช้กับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของผู้ใช้ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน ( multi-user ) การปรับเปลี่ยนและแก้ไขระบบต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย
  • Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งเน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก รุ่นก่อนหน้านี้จนถึง Mac OS 9 เป็นระบบปฏิบัติการแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร แต่รุ่น OS X (X คือเลข 10 แบบโรมัน) ได้รับการพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการแบบ UNIX แต่ก็ยังเป็นแบบเฉพาะตัวอยู่ คือเครื่องของบริษัทอื่นหรือที่ประกอบขึ้นมาเองไม่สามารถที่จะใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้ได้ เนื่องจากใช้ระบบการประมวลผลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้รูปแบบและการทำงานต่าง ๆ ของ Mac OS X จะมีระบบสนับสนุนแบบ GUI เช่นเดียวกันกับระบบปฏิบัติการ Windows (และความจริงใช้มาก่อน Windows เสียด้วยซ้ำ)
  • Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเปิด ให้ใช้รวมถึงพัฒนาต่อยอดเพื่อแก้ไขชุดคำสั่งต่าง ๆ ได้ฟรี ในปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศได้พยายามส่งเสริมให้มีการใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาการขาดดุลการค้า เนื่องจากการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ (ระบบปฏิบัติการเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่สามารถผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายได้ทั่วโลกเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่น ๆ ซึ่งหากความต้องการในประเทศมีมาก อาจจำเป็นต้องสั่งเข้าในปริมาณที่มากตามไปด้วย) รวมทั้งเพื่อลดปัญหาในประเด็นของความมั่นคงที่จะไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างประเทศ อันได้แก่สหรัฐอเมริกาด้วย  ระบบ Linux พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบ Unix และใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบโอเพ่นซอร์ส (open source ) ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับให้ผู้ใช้สามารถจะพัฒนาและแก้ไขระบบต่าง ๆ ได้เองตามที่ต้องการ มีการผลิตออกมาหลายชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเราก็ได้มีการพัฒนา Linux ออกมาใช้บ้างแล้ว เช่น Linux TLE ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center ) หรือ NECTEC (อ่านว่า “ เนค – เทค” ) เป็นต้น Linux มีทั้งแบบที่ใช้สำหรับงานบนเครื่องสำหรับผู้ใช้คนเดียว และแบบที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครือข่ายเช่นเดียวกันกับระบบปฏิบัติการแบบ Unix

 

2.  ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS )

เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi – user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง

  • Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server )
  • OS/2 Warp Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายอีกรูปแบบหนึ่ง ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นระบบที่ควบคุมเครื่องแม่ข่ายหรือ Server เช่นเดียวกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง และเลิกพัฒนาต่อไปแล้ว
  • Solaris เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (Unix compatible) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกับระบบอื่น

 

3.  ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )

เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

ระบบปฏิบัติการมีส่วนประกอบอะไร

1. องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ สามารถแบ่งได้ ดังนี้ 1. การจัดการโปรเซส (Process Management) 2. การจัดการหน่วยความจา (Memory Management) 3. การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล (Secondary Storage Management) 4. การจัดการระบบอินพุต/เอ้าต์พุต (I/O System Management) 5. การจัดการไฟล์ (File Management) 6. ระบบเครือข่าย (Networking) 7 ...

ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ มีกี่ส่วน อะไรบ้าง *

ภายในระบบปฏิบัติการมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่.
การจัดการไฟล์ (File Management) ... .
การจัดการหน่วยความจำ (Memory Management) ... .
การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล (I/O Device Management) ... .
การจัดการกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU Management) ... .
การจัดการความปลอดภัยของระบบ (Protection System).

วินโดวส์ มีอะไรบ้าง

Windows 1.0. วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 เป็น Windows รุ่นแรก ซึ่งยังไม่ได้รับความนิยม โดยแรกเริ่มถูกเรียกว่า Interface Manager แต่สุดท้ายทางไมโครซอฟท์ก็เลือกที่จะใช้ชื่อ Windows แทนเนื่องจากเรียกและจดจำได้ง่ายกว่า.
Windows 2.0. ... .
Windows 3.0. ... .
Windows NT. ... .
Windows 95. ... .
Windows 98. ... .
Windows 2000 Professional. ... .
Windows Me..

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบใดของระบบคอมพิวเตอร์

เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้