วันสําคัญทางพระพุทธศาสนามีประโยชน์อย่างไร

30/07/2563 | 960 |

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา
               
วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
                 ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว  
                  หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป
 

วันวิสาขบูชา
                 
 วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญมาบรรจบกัน คือ
                   1. เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย
                   2. เป็นวันตรัสรู้ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองราชคฤห์
                   3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ สาละโนทยาน เมืองกุสินารา
           หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา เป็นเหตุการณ์ในวันตรัสรู้ ที่พระองค์ทรงพิจารณาอริยสัจ 4 โดยละเอียด จนสามารถหมดกิเลสและอาสวะอย่างสิ้นเชิง หลักธรรมข้ออริยสัจ 4 หรืออริยมรรคมีองค์ 8
                 อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมข้อสำคัญที่เป็นหัวใจหลักของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน

วันอัฏฐมีบูชา
               
 วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า ที่เมืองกุสินารา ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 คือ หลักพุทธปรินิพพาน 7 วัน สำหรับกิจกรรมที่ชาวพุทธควรปฏิบัติในวันนี้คือ ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม เวียนเทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา
                หลักธรรมที่เกี่ยวข้องในวันนั้น คือ หลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง-ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป ทุกขัง-ความเป็นทุกข์ ภาวะบีบคั้นที่ถูกบังคับด้วยการเกิดขึ้นแล้วสลายไปเพราะปัจจัยปรุงแต่ง อนัตตา-สภาวะความไม่มีตัวตนที่เที่ยงแท้แน่นอน
                 หลักไตรลักษณ์เป็นหลักประสานประโยชน์ของความจริงในชีวิตที่เราพึงเห็นได้ตามหลักความจริงด้วยปัญญา

วันอาสาฬหบูชา
             
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถือเป็นวันสำคัญที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
              1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก เรียกว่า ปฐมเทศนา
              2. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์องค์แรกเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ
              3. เป็นวันที่พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นในโลก ครบทั้ง 3 ประการบริบูรณ์
           วันอาสาฬหบูชา มีหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง คือ การแสดงปฐมเทศนาพระพุทธเจ้าโดยพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ได้กล่าวถึงหลักอริยสัจ 4 ที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีหลักสัจธรรมที่ทำให้พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา สัจธรรมข้อนี้ทำให้โกณฑัญญะเข้าใจแจ่มแจ้งในพระธรรม จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

วันเข้าพรรษา
             
วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์กระทำพิธีอธิษฐานเพื่อเข้าอยู่จำพรรษาภายในอารามตลอด 3 เดือน ในช่วงฤดูฝน โดยไม่พักแรมค้างคืนในที่อื่น นอกจากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องไปจริง ซึ่งก็มีข้ออนุญาตตามพระวินัย
               ในการกำหนดวันเข้าพรรษานั้น พระวินัยสงฆ์ได้กำหนดไว้เป็น 2 ภาค ดังนี้ คือ
               1. ปุริมพรรษา คือ วันที่พระสงฆ์ทำพิธีอธิษฐานเข้าจำพรรษาในภาคแรก โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
               2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันที่พระสงฆ์ทำพิธีอธิษฐานเข้าจำพรรษาหลัง เพราะไม่ทันในภาคแรกโดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

การปฏิบัติตนในเทศกาลเข้าพรรษาของพระภิกษุ
               1. ก่อนวันเข้าพรรษา พระภิกษุต้องเตรียมทำความสะอาดหรือซ่อมแซมเสนาสนะที่จำพรรษา
               2. เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์จะประชุมพร้อมกันที่พระอุโบสถ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้วจะประกอบพิธีอธิษฐานเข้าพรรษ
         3. หลังจากกล่าวคำอธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์จะทำพิธีขอขมาโทษต่อกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ถ้าหากจะมีโทษที่เคยล่วงเกินกันทางกาย วาจา และใจก็ดี ทั้งต่อหน้า และลับหลังก็จะได้อโหสิให้แก่กันและกันเพื่อความบริสุทธิ์ของคณะสงฆ์ที่อยู่ร่วมกัน

สำหรับพุทธศาสนิกชนก็มีข้อปฏิบัติตนคือ
               1. ก่อนวันเข้าพรรษา  ควรช่วยกันบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะของพระภิกษุสงฆ์
               2. จัดหาเครื่องไทยธรรม เช่น ผ้าอาบน้ำฝน เทียนจำพรรษา หรือสิ่งจำเป็นอื่น ๆ สำหรับพระภิกษุแล้วนำไปถวายพระสงฆ์ในวันเข้าพรรษา เป็นต้น
               3. เมื่อวันเข้าพรรษา ควรอธิษฐานเพื่อทำความดีตลอดพรรษา เช่น รักษาศีล ฟังเทศน์ทุกวันพระ เป็นต้น งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด และงดเว้นจากอบายมุขทุกอย่าง

วันออกพรรษา
                 
วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เมื่ออยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว ก็ทำพิธีออกพรรษา ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันปวารณา คำว่า ปวารณา แปลว่า อนุญาตหรือยินยอม หมายความว่า พระภิกษุสงฆ์ซึ่งอยู่ร่วมพรรษา ต่างก็ยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้               
               การทำปวารณาในวันออกพรรษา เป็นพิธีของคณะสงฆ์ โดยมุ่งเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปลดทิฏฐิมานะ ยอมให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ เพื่อให้หมู่คณะมีศีลและข้อปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน  
               สำหรับพุทธศาสนิกชน เมื่อถึงวันออกพรรษาก็ทำบุญตามประเพณี เช่น การทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะ ฟังเทศน์ รักษาศีล เป็นต้นและยังมีประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องปฏิบัติ คือประเพณีตักบาตรเทโว โดยเชื่อตามหลักพุทธประวัติตอนหนึ่งที่กล่าวว่าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ แล้วในพรรษาที่ 7 ได้เสด็จไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา และเมื่อถึงวันออกพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงได้เสด็จลงจากสวรรค์ที่เมืองสังกัสสนครและในวันนี้มีคนไปรอเฝ้ารับเสด็จ เป็นจำนวนมากและได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระพุทธเจ้าด้วย

ที่มา //sites.google.com/site/1arunrat1/hlak-thrrm-thi-keiyw-neuxng-ni-wan-sakhay-thang-phraphuthth-sasna
             

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้