ข้อใดเป็นประโยชน์ของกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกต้องที่สุด

เทคโนโลยีอวกาศ

เมื่อ :

วันจันทร์, 25 มกราคม 2564

         ในคืนที่ดาวเต็มฟ้า เรามักมองดวงดาวที่สวยงามและได้เพียงสังเกตแสงระยิบระยับของดวงดาวด้วยตาเปล่า แต่หากเราต้องการรู้ลักษณะของดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ที่แสนไกลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คงต้องพึ่งอุปกรณ์ของนักดาราศาสตร์ นั่นคือ กล้องโทรทรรศน์ ในบทเรียนนี้เราจะได้ศึกษาลักษณะและหลักการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจเทคโนโลยีอวกาศที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจากโลกของเรา

ภาพที่ 1 นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า
ที่มา  //www.pexels.com/photo/black-telescope-under-blue-and-blacksky-2034892/, Lucas Pezeta

กล้องโทรทรรศน์ : สมบัติพิเศษที่มากกว่าดวงตามนุษย์

          กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) หรือ กล้องส่องทางไกล เป็นทัศนอุปกรณ์ที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยมีสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ ความสามารถในการรวมแสงที่มากกว่าดวงตาของมนุษย์ ทำให้สามารถสังเกตหรือศึกษาวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลและมีความสว่างน้อยได้ เรียกสมบัตินี้ ว่า “กำลังรวมแสง (Light-Gathering Power)”  สมบัติสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการขยายขนาดภาพของวัตถุ เสมือนการดึงภาพที่อยู่ไกลเข้ามาใกล้ ๆ ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพได้ชัดเจนมากขึ้น เรียกสมบัตินี้ ว่า “กำลังขยาย (Magnification)”  นอกจากนี้กล้องโทรทรรศน์ยังเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรับสัญญาณจากวัตถุท้องฟ้าในช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีขอบเขตกว้างกว่าช่วงที่ดวงตามนุษย์รับรู้ได้ ดังนั้นภาพที่เห็นจากการรับสัญญาณในช่วงสเปกตรัมที่ต่างกัน จะมีลักษณะและรายละเอียดที่แตกต่างกัน  กล้องโทรทรรศน์จึงสามารถใช้ในการถ่ายภาพดวงดาว เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการศึกษาลักษณะของดวงดาวเหล่านั้นได้อีกด้วย

 ประเภทของกล้องโทรทรรศน์

          องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กล้องโทรทรรศน์มีสมบัติพิเศษดังกล่าว คือ เลนส์หรือกระจกเว้าที่ทำหน้าที่รวมแสง และเป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้องโทรทรรศน์ เราสามารถแบ่งกล้องโทรทรรศน์ เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์แบบหักเห กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง และกล้องโทรทรรศน์แบบผสม โดยกล้องแต่ละประเภทจะมีส่วนประกอบและหลักการทำงานแตกต่างกัน ตามรายละเอียด ดังนี้  

  1. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเห (Refracting Telescope)

           กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ใช้หลักการรวมแสงโดยใช้เลนส์นูน กล้องชนิดนี้ประกอบด้วยเลนส์นูน 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุ มีขนาดใหญ่ ความยาวโฟกัสมาก (f1) และเลนส์ใกล้ตา มีขนาดเล็ก ความยาวโฟกัสน้อย (f2) เมื่อลำแสงขนานเดินทางผ่านเลนส์ใกล้วัตถุ เกิดการรวมแสงที่ระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เกิดภาพจริงหัวกลับ) ซึ่งเป็นจุดที่เท่ากับความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา จากนั้นแสงเกิดการหักเหผ่านเลนส์ใกล้ตา ทำให้สามารถเกิดภาพเสมือน ขนาดใหญ่ สามารถขยายภาพของวัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ ดังภาพที่ 2 ทั้งนี้ขนาดของภาพขึ้นอยู่กับกำลังขยายของกล้อง ซึ่งหาได้จาก

           กำลังขยาย = ความยาวของเลนส์ใกล้วัตถุ/ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา

ภาพที่  2  เส้นทางเดินของแสงและการเกิดภาพ ในกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง
ที่มา ดัดแปลงจาก //commons.wikimedia.org/wiki/File:Telescope-schematic.png

          จากภาพที่ 2 จะสังเกตได้ว่าหากต้องการสร้างกล้องที่มีกำลังขยายมาก จำเป็นต้องสร้างกล้องที่มีขนาดใหญ่ เพราะกำลังขยายของกล้องสัมพันธ์กับความยาวโฟกัสของเลนส์ และความยาวโฟกัสของเลนส์สัมพันธ์กับความยาวของลำกล้อง เนื่องจากแสงที่มนุษย์รับรู้ได้ (Visible Light) มีความยาวคลื่นเป็นช่วงกว้าง เมื่อแสงเคลื่อนที่และหักเหผ่านเลนส์เดี่ยวจะทำให้เกิดการรวมแสงที่ระยะโฟกัสต่างกัน เรียกว่า เกิดความคลาดสี ดังนั้นเพื่อให้เลนส์นูนของกล้องโทรทรรศน์สามารถรวมแสงในทุกความยาวคลื่นได้ในจุดเดียว เลนส์นูนส์ที่สร้างขึ้นจึงต้องมีสมบัติแก้ความคลาดสี แต่เลนส์ดังกล่าวมีน้ำหนักมาก ราคาแพง ทำให้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ในยุคปัจจุบันนิยมใช้กระจกเว้าแทนเลนส์นูน นอกจากนี้กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงมีสมบัติกำลังรวมแสงน้อยแต่มีกำลังขยายมาก จึงนิยมใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมาก ขนาดเล็ก เช่น ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ แต่ไม่เหมาะสำหรับวัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดใหญ่ แต่สว่างน้อย เช่น เนบิวลาและกาแล็กซี

  1. กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง (Reflecting Telescope)

          กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบนิวตัน  (Newtonian Reflector) ใช้หลักการรวมแสงด้วยกระจกเว้า  โดยติดตั้งกระจกเว้าอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งของ ลำกล้อง เมื่อแสงตกกระทบและรวมแสงที่จุดโฟกัสซึ่งเป็นตำแหน่งตรงกลางของลำกล้องแล้ว  จะมีกระจกเงาราบสะท้อนลำแสงออกสู่เลนส์ใกล้ตา ซึ่งอยู่ด้านข้างของลำกล้อง ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง
ที่มา ดัดแปลงจาก //commons.wikimedia.org/wiki/File:Diagram_Reflector_Newton.svg

          กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง จะไม่ทำให้เกิดปัญหาความคลาดสี การใช้กระจกเว้าทำให้ต้นทุนในการสร้างมีราคาถูก  สามารถสร้างกล้องขนาดใหญ่ได้  หอดูดาวส่วนใหญ่จึงมักใช้กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขนาดใหญ่ มีกำลังรวมแสงสูง สามารถสังเกตวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างน้อยและอยู่ไกลมาก เช่น เนบิวลาหรือกาแล็กซีได้ อย่างไรก็ตามภาพที่ได้จากกล้องชนิดนี้อาจไม่คมชัดเทียบเท่ากับกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง เนื่องจากภาพที่เกิดจากการรวมแสงจากเลนส์นั้นมีความคมชัดและสว่างกว่าการรวมแสงด้วยกระจกเว้า

  1. กล้องโทรทรรศน์แบบผสม (Catadioptic Telescope)

           กล้องโทรทรรศน์แบบผสม เป็นกล้องแบบสะท้อนแสงที่ใช้ทั้งกระจกเว้า กระจกนูน และเลนส์ปรับแก้ภาพ โดยเมื่อลำแสงตกกระทบที่กระจกเว้า ซึ่งถือเป็นกระจกปฐมภูมิ จะเกิดการรวมแสง และไปตกกระทบที่กระจกนูน ซึ่งถือเป็นกระจกทุติยภูมิ จากนั้นลำแสงจะสะท้อนไปยังเลนส์ใกล้ตา และมีเลนส์ปรับแก้ภาพ ชดเชยความโค้งของกระจกนูน โดยเลนส์ปรับแก้ภาพไม่ได้มีผลต่อกำลังรวมแสงและกำลังขยายของกล้อง ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 4 กล้องโทรทรรศน์แบบผสม แบบชมิดท์ แคสสิเกรน ( Schmidt-Cassegrain Telescope )
ที่มา ดัดแปลงจาก //commons.wikimedia.org/wiki/File:Diagram_Reflector_ArgunovCassegrain.svg

          จากการใช้กระจกนูนในการบีบลำแสงดังกล่าว ทำให้กล้องโทรทรรศน์แบบผสมมีขนาดกะทัดรัด ลำกล้องสั้น ติดตั้งสะดวก โดยกล้องชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้สังเกตวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็ก เช่น ดาวเคราะห์ แต่ไม่เหมาะสำหรับวัตถุขนาดใหญ่ เช่น เนบิวลาหรือกาแล็กซี

 ฐานตั้งกล้อง

          อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญต่อการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ คือ ฐานตั้งกล้อง ทั้งนี้เพราะกล้องโทรทรรศน์มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ต้องมีฐานรองรับที่ติดตั้งมั่นคง แข็งแรง ฐานตั้งกล้องแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ฐานระบบขอบฟ้า (Alt-azimuth Mount) มีแกนหมุนได้ 2 แนว คือ แนวระดับ สำหรับปรับค่าตามมุมทิศ (Azimuth) และแกนหมุนแนวดิ่ง สำหรับปรับค่าตามมุมเงย (Altitude) ฐานตั้งกล้องอีกประเภทหนึ่ง คือ ฐานระบบศูนย์สูตร (Equatorial Mount) มีแกนหมุน 2 แนว ตามระบบศูนย์สูตร คือ แกนที่ชี้ไปยังขั้วท้องฟ้า (Polar Axis) จะหมุนตามการเคลื่อนที่ของดาว (แนวตะวันออก – ตะวันตก) อีกแกนหนึ่ง คือ แกนที่หมุนตั้งฉากกับแกนขั้วท้องฟ้า หรือ แกนเดคลิเนชัน (Declination Axis) ซึ่งเป็นการหมุนกล้องตามแนวขั้วฟ้าเหนือ – ใต้  ลักษณะของฐานตั้งกล้องแต่ละประเภทแสดงดังภาพที่ 5

ภาพที่ 5 ฐานตั้งกล้องระบบขอบฟ้าและระบบศูนย์สูตร 
ที่มา ดัดแปลงจาก //commons.wikimedia.org/wiki/File:Astronomy_telescope_on_azimutal_mount-Secretan-P5200297.JPG ,Rama และ //commons.wikimedia.org/wiki/File:Astronomy_telescope_on_equatorial_mount-Carl_Zeiss-P5200294-black.jpg ,Rama 

           กล่าวโดยสรุป ในบทเรียนนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งเป็นทัศนอุปกรณ์ที่นักดาราศาสตร์ ใช้ในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยใช้หลักการรวมแสงเพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุที่มีความสว่างน้อย และขยายขนาดของภาพให้เห็นรายละเอียดของวัตถุที่อยู่ไกลห่างจากโลกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น กล้องโทรทรรศน์ มี 3 ประเภท ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์แบบหักเห แบบสะท้อนแสง และแบบผสม กล้องโทรทรรศน์ถือว่าเป็นเทคโนโลยีอวกาศอย่างหนึ่ง ที่ทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจวัตถุท้องฟ้า และปรากฏการณ์ต่างๆ ทางอวกาศได้ดียิ่งขึ้น

แหล่งที่มา

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LISA).  ประเภทของกล้องโทรทรรศน์.  สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก //www.lesa.biz/astronomy/telescope/telescope-type

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).  หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (e-book).  สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก //www.scimath.org/ebook/sci/sci-sec4/9/eBook/?fbclid=IwAR2viZqLWIyE1m6OxOmdgKcGKbxtTriv1l4ufiPOciXc87DYEvgwrNPX8YA

สมาคมดาราศาสตร์ไทย.  กล้องโทรทรรศน์.  สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก //thaiastro.nectec.or.th/library/article/236/

Nasa Space Place.  How Do Telescopes Work?.  Retrieved January 10, 2020, from //spaceplace.nasa.gov/telescopes/en/ 

Return to contents

ระบบขนส่งอวกาศ

           มนุษย์มีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับตนเองและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ตั้งแต่ใกล้ตัวจนไกลออกไปถึงสิ่งที่อยู่นอกโลก จึงต้องศึกษาค้นคว้า พัฒนา คิดค้น เครื่องมือต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้มนุษย์ได้ข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ ที่จะทำให้สามารถสรุปหรือสร้าง    องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ถูกต้องแม่นยำที่สุด

          ในการศึกษาศึกษาเรื่องอวกาศก็เช่นกัน มนุษย์ต้องอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานเรื่องแรงโน้มถ่วง และต้องนำความรู้ดังกล่าวไปหาคำตอบต่อไปว่า เราจะเดินทางไปอวกาศได้อย่างไร ต้องใช้พาหนะอะไร และออกแบบอย่างไรจึงจะเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกได้

ภาพที่ 1 ระบบขนส่งอวกาศกำลังนำยานขนส่งอวกาศออกไปปฏิบัติภารกิจ
ที่มา :  //pixabay.com, Wikilmages

          การส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากพื้นโลกขึ้นสู่อวกาศต้องใช้ความเร็วในการส่งยานอวกาศเพื่อต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลกให้ขึ้นไปโคจรที่ความสูงต่าง ๆ โดยต้องอาศัยจรวดที่มีแรงขับดันและความเร็วสูง ความเร็วของจรวดต้องมากกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที จึงจะสามารถขึ้นไปโคจรรอบโลกในระดับต่ำสุด แต่ถ้าใช้ความเร็วมากกว่านี้จะสามารถสู่อวกาศและโคจรอยู่ในระดับที่สูงขึ้น เช่น ถ้าความเร็วจรวดเป็น 8.66 กิโลเมตรต่อวินาที จะสามารถขึ้นไปโคจรที่ระดับความสูง 1,609 กิโลเมตร และถ้าให้ความเร็วมากกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที ยานอวกาศจะหลุดออกจากวงโคจรของโลก เราเรียกความเร็วนี้ว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape Velocity)

          เราสามารถคำนวณหาความเร็วหลุดพ้นได้จากสูตร  

          เมื่อ Ve  คือ ความเร็วหลุดพ้น

                G  คือ ค่าคงตัวของแรงโน้มถ่วง เท่ากับ 6.67 x 10-11 Nm2. Kg-2

                M  คือ มวลของโลก เท่ากับ 5.98 x 1024 kg

                 r   คือ รัศมีของโลกรวมกับความสูงจากผิวโลก

          จากสูตร เราสามารถคำนวณหาความเร็วหลุดพ้นได้ โดยความเร็วหลุดพ้นของจรวดมีค่าลดลงเมื่อระยะห่างจากโลกมากขึ้น ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงความเร็วหลุดพ้นที่ความสูงต่าง ๆ

ที่มา : หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ( น.158 ), สสวท.

ระบบการขนส่งอวกาศ

          ในการส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ จะต้องอาศัยระบบขนส่งอวกาศ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ

  1. จรวดเชื้อเพลิงแข็ง คือส่วนที่อยู่ขนาบทั้ง 2 ข้างของถังเชื้อเพลิงภายนอก

  2. ถังเชื้อเพลิงภายนอก คือส่วนที่ยานขนส่งอวกาศเกาะอยู่ ซึ่งเป็นถังที่เก็บเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว และออกซิเจนเหลว

  3. ยานขนส่งอวกาศ เป็นส่วนทำหน้าที่เป็นห้องทำงานของนักบิน ห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์ และบรรทุกสัมภาระที่จะไปปล่อยในวงโคจรในอวกาศ ได้แก่ ดาวเทียม หรือชิ้นส่วนของสถานีอวกาศ ในการปล่อยดาวเทียมจะมีการใช้แขนกลยกดาวเทียมไปปล่อยในอวกาศ ซึ่งบังคับด้วยสปริงดีดดาวเทียมออกไปจากห้องบรรทุกสัมภาระ และใช้แขนกลยื่นไปจับดาวเทียมที่ชำรุดเข้ามาเก็บในห้องสัมภาระเพื่อทำการซ่อมต่อไป

ภาพที่  2  ส่วนประกอบของระบบขนส่งอวกาศ
ที่มา : ดัดแปลงจาก //www.pickpik.com/space-shuttle-endeavour-shuttle-space-liftoff-launch-132053 

           เมื่อปล่อยจรวดออกจากฐาน จรวดเชื้อเพลิงแข็งเป็นตัวขับเคลื่อนโดยจะให้ความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น เมื่อถึงระดับหนึ่งจรวดเชื้อเพลิงแข็งทั้งสองแท่งหมดลง ก็จะถูกดีดออกจากถังเชื้อเพลิงภายนอก โดยมีร่มชูชีพพยุงให้ตกลงในทะเล ถังเชื้อเพลิงภายนอกเมื่อจ่ายเชื้อเพลิงหมดก็จะถูกสลัดออกแล้วถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ เหลือแต่ยานขนส่งอวกาศปฏิบัติงานตามภารกิจ เมื่อปฏิบัติภารกิจเรียบร้อยแล้วก็จะนำนักบินอวกาศและนักวิทยาศาสตร์กลับสู่พื้นโลกโดยใช้การร่อนลงจอดคล้ายกลับเครื่องบิน ด้วยเหตุนี้ยานขนส่งอวกาศจึงต้องมีปีกไว้สำหรับสร้างแรงยก แรงต้านทาน และควบคุมท่าทางการบินขณะที่กลับสู่ชั้นบรรยากาศของโลก และมีวัสดุที่ป้องกันความร้อน ที่เกิดจากการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของโลกติดป้องกันไว้ด้านล่างตลอดลำตัวเครื่อง เพื่อไม่ให้ยานลุกไหม้ไปในชั้นบรรยากาศ ยานขนส่งอวกาศสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้แต่ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูงมาก และอาจเกิดความผิดพลาดอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึงที่อาจส่งผลต่อชีวิตของนักบินอวกาศได้

ชีวิตในอวกาศ

          ขณะที่ยานอวกาศเคลื่อนที่โคจรอยู่รอบโลกโดยไม่ตกมายังผิวโลกนั้น แรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดยานจะสมดุลกับแรงหนีศูนย์กลางที่ยานอวกาศจะหนีจากโลก ในสภาวะเช่นนี้มนุษย์อวกาศและวัตถุอื่น ๆ ในยานอวกาศจะไม่มีแรงดึงตัวเองลงบนพื้นรองรับจึงเสมือนกับไม่มีน้ำหนักหรือที่เรียกว่าอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถจำลองแรงโน้มถ่วงโลกบนยานอวกาศได้  มนุษย์อวกาศจึงต้องปรับร่างกาย และการใช้ชีวิตให้เข้ากับสภาพไร้น้ำหนัก โดยทำการฝึกทำงานในสระน้ำขนาดใหญ่ก่อนที่จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ

ภาพที่ 3 มนุษย์อวกาศฝึกทำงานในสระน้ำ เพื่อปรับร่างกายและการใช้ชีวิตให้เข้ากับสภาพไร้น้ำหนัก
ที่มา : //pxhere.com/th/photo/836641

          ขณะที่อยู่ในยานอวกาศ มนุษย์อวกาศสามารถแต่งตัวเหมือนที่อยู่บนพื้นโลก เนื่องจากยานอวกาศได้ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมือนบนพื้นโลก แต่เมื่อออกไปปฏิบัติภารกิจนอกยานหรือในขณะที่ยานขึ้นสู่อวกาศหรือกลับสู่โลก จะต้องสวมใส่ชุดอวกาศ ชุดอวกาศทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันรังสี เป็นฉนวนควบคุมอุณหภูมิ และบรรจุออกซิเจนสำหรับหายใจและสร้างความกดอากาศ  ชุดอวกาศจึงมีขนาดใหญ่และพองลม

การรับประทานอาหาร ในยุคแรก ๆ นั้น มนุษย์อวกาศจะต้องรับประทานอาหารที่ถูกบดจนมีสภาพกึ่งเหลวโดยการบีบใส่ปากรับประทาน แต่ในยุคปัจจุบันนี้ มนุษย์อวกาศสามารถประกอบอาหารง่าย ๆ โดยนำส่วนประกอบต่าง ๆ ที่บดใส่หลอด มาผสมหรือประกอบอาหารง่าย ๆ บนยานอวกาศได้

          ในการปฏิบัติภารกิจระยะยาวมนุษย์อวกาศจำเป็นต้องทำความสะอาดร่างกาย ในยุคแรกมนุษย์อวกาศต้องอาบน้ำในภาชนะคล้ายถุง เพื่อป้องกันไม่ให้หยดน้ำหลุดลอยไปทั่วยาน แต่ในปัจจุบันมนุษย์อวกาศทำความสะอาดร่างกายโดยใช้สารเหลวที่ไม่ต้องล้างออก เช่นเดียวกับสารเหลวที่ใช้ล้างมือป้องกันเชื้อโรค

          ในการขับถ่าย มนุษย์อวกาศปัสสาวะลงท่อซึ่งจะนำไปรีไซเคิลให้เป็นน้ำบริสุทธิ์เพื่อใช้อุปโภคบริโภคต่อไป โถอุจจาระมีลักษณะคล้ายกับโถส้วมบนเครื่องบินซึ่งใช้ความดันอากาศดูดของเสียออกแทนการใช้น้ำ ชักโครก ของเสียที่ถ่ายออกจะถูกทำให้สลายไปในอวกาศ หรือทำให้แห้งแล้วเก็บกลับมาทิ้งบนโลก

          มนุษย์อวกาศจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายอยู่เสมอ เพราะการอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักนาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อลีบ เนื่องจากสภาพไร้นำหนักทำให้ไม่ต้องออกแรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายในอวกาศมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ในโรงยิม แต่จะมีสายรั้งร่างกายให้ติดอยู่กับอุปกรณ์ตลอดเวลา

          ยานอวกาศเดินทางอยู่นอกโลกจึงไม่มีกลางวันกลางคืน มนุษย์อวกาศจึงยึดถือเวลาบนโลกในการปฏิบัติงานและพักผ่อน  เวลานอนมนุษย์อวกาศต้องนอนบนเตียงโดยมีสายรัดตัวไม่ให้ลอยหรือการสอดตัวเข้าไปในถุงนอน

ภาพที่ 4 สภาวะไร้น้ำหนักในยานอวกาศ
ที่มา : //www.piqsels.com

แหล่งที่มา

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LISA). กระสวยอวกาศ. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.lesa.biz/space-technology/space-shuttle

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LISA). ชีวิตในอวกาศ. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.lesa.biz/space-technology/spacecraft/life-in-space

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LISA). หลักการส่งยานอวกาศ. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.lesa.biz/space-technology/spacecraft/space-flight

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (e-book). สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.scimath.org/ebook/sci/sci-sec4/9/eBook/?fbclid=IwAR2viZqLWIyE1m6OxOmdgKcGKbxtTriv1l4ufiPOciXc87DYEvgwrNPX8YA

Return to contents

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ

           ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ เกิดจากการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของมนุษยชาติ ทำให้เราได้หลักฐาน ข้อมูลที่เกี่ยวกับเอกภพ เกี่ยวกับโลก และดวงดาวต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจถึงกำเนิดของโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ รวมทั้งปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของเราได้อย่างดี

ภาพที่ 1  ดาวเทียม
ที่มา : //pixabay.com, SpaceX-Imagery

          นักวิทยาศาสตร์ได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา พัฒนาและประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพในช่วงคลื่นต่าง ๆ จากระยะไกล ตลอดจนพัฒนาเครื่องรับและส่งสัญญาณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วนำอุปกรณ์ และเครื่องส่งสัญญาณไปประกอบเป็นดาวเทียม แล้วส่งไปโคจรรอบโลก ทำเราให้สามารถสังเกตเห็นสิ่งต่าง ๆ บนโลกได้จากระยะไกลในเวลาอันรวดเร็ว เราได้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในด้านต่าง ๆ ดังนี้

          1. ด้านการสื่อสาร

          เราใช้ดาวเทียมสื่อสารเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่่งดาวเทียมจะถูกส่งเข้าสู่เส้นทางโคจรอยู่ในแนวศูนย์สูตร โคจรรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง จึงทำให้ดูเหมือนลอยนิ่งอยู่ตลอดเวลา วงโคจรนี้อยู่สูงจากพื้นโลกโดยประมาณ 35,786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก วงโคจรนี้เรียกว่าแถบวงโคจรคลาร์ก (Clarke Belt) ซึ่งเรียกตามชื่อผู้ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือ อาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke)

          มนุษยชาติมีการพัฒนาดาวเทียมเพื่อใช้ประโยชน์ในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2500 รัสเซีย ได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ หลังจากนั้น พ.ศ. 2505 สหรัฐอเมริการ่วมกับอังกฤษ ฝรั่งเศส สื่อสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสำเร็จด้วยดาวเทียมเทลสตาร์ 1 ในขณะเดียวกันรัสเซีย ใช้ดาวเทียมวอลสตอก 3 และ 4 ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และหลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็เริ่มมีการใช้ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นลำดับ ทำให้โลกของเรากลายเป็นโลกไร้พรมแดนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน 

          ประเทศไทยใช้ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมอินเทลแซท (Inteksat – International Telecommunication Satellite Consortium) และดาวเทียมปาลาปา (Palapa) ของประเทศอินโดนีเซีย  โดยใช้สถานีภาคพื้นดินอยู่ที่ อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี เพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ การโทรคมนาคมภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานดาวเทียมในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกเรียกว่าระบบจีพีเอส โดยบอกพิกัดเส้นรุ้งและเส้นแวงของผู้ใช้งานเพื่อใช้ในการนำทาง

ภาพที่  2  สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน
ที่มา : //pixabay.com, Wikilmages

  1. ด้านการพยากรณ์อากาศ

          เราใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเก็บข้อมูลของสภาพบรรยากาศระดับสูง ทำให้ได้ข้อมูลที่สำคัญทำให้การพยากรณ์อากาศแม่นยำมากขึ้น ข้อมูลและภาพถ่ายจากดาวเทียมที่สามารถถ่ายภาพและส่งสัญญาณข้อมูลสู่ภาคพื้นดินในเวลาจริง (Real Time) ทำให้สามารถสังเกตเห็นการก่อตัว การเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนที่ของพายุที่เกิดขึ้นบนโลก ทำให้การเตือนภัยเป็นไปอย่างทันท่วงที ช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมาก ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา สามารถแบ่งตามวงโคจรออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

          (1) ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Meteorological Satellite) ดาวเทียมชนิดนี้จะอยู่ในตำแหน่งเส้นศูนย์สูตรของโลกมีความสูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กิโลเมตร โคจรรอบโลกใช้เวลา 24 ชั่วโมง ไปพร้อม ๆ กับการหมุนรอบตัวเองของโลก ดาวเทียมชนิดนี้สามารถถ่ายภาพพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั้งทวีปและมหาสมุทร สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ โดยถ่ายภาพซ้ำเพื่อทำการเปรียบเทียบ ดาวเทียมชนิดนี้ได้แก่ GOES,  MTSAT

          (2) ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาวงโคจรใกล้ขั้วโลก (Near Polar Orbiting Meteorological Satellite) เป็นดาวเทียมที่มีระดับความสูงจากพื้นโลกเพียง 850 กิโลเมตร จึงให้ภาพรายละเอียดสูง แต่ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณแคบ ๆ จึงเหมาะสำหรับใช้สังเกตรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศระดับภูมิภาค ดาวเทียมชนิดนี้ได้แก่ NOAA

ภาพที่  3  ภาพถ่ายจากดาวเทียมการก่อตัวของพายุเฮอริเคนเจมินา ( Hurricane Jimena )
ที่มา : //commons.wikimedia.org/wiki/File:Jimena_Aug_30_2003_2025Z.jpg,   NASA

  1. ด้านการสำรวจทรัพยากร

          เราใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ซึ่งเป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำที่มีวงโคจรแบบใกล้ขั้วโลก (Near Polar Orbit) ที่ระยะสูงประมาณ 850 กิโลเมตร ภาพที่ได้จึงมีรายละเอียดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียมทำแผนที่ เพราะครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างกว่า ดาวเทียมชนิดนี้สามารถบันทึกภาพได้ทั้งในช่วงแสงที่ตามองเห็นและรังสีอินฟราเรด จึงสามารถบันทึกภาพได้แม้ในเวลากลางคืนเนื่องจากโลกแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ LandSat, Terra และ Aqua (MODIS Instruments)  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของไทยมีชื่อว่า ธีออส (Theos)  ซึ่งขึ้นสู่วงโคจรจากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี ประเทศรัสเซีย สถานีรับสัญญาณอยู่ที่เขตลาดกระบัง นอกจากสำรวจแหล่งทรัพยากร แล้วข้อมูลที่ได้ยังใช้ประโยชน์เพื่อการเฝ้าสังเกตสภาวะแวดล้อมที่เกิดบนโลก ช่วยเตือนเรื่องอุทกภัย และความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น การตัดไม้ทำลายป่า การทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ รวมไปถึงแหล่งที่มีปลาชุกชุมอีกด้วย

  1. ด้านการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์

           เราใช้ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นดาวเทียมที่มีกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ดาราศาสตร์สำหรับศึกษาวัตถุบนท้องฟ้า ดาวเทียมประเภทนี้มีทั้งประเภทที่โคจรอยู่รอบโลก ประเภทที่โคจรผ่านไปใกล้ดาวเคราะห์ และลงสำรวจดาวเคราะห์  ตัวอย่างของดาวเทียมประเภทนี้ได้แก่  ดาวเทียม MAGELLAN สำรวจดาวศุกร์  ดาวเทียม GALILEO สำรวจดาวพฤหัส เป็นต้น

  1. ด้านการท่องเที่ยว

          การท่องเที่ยวอวกาศถูกเปิดตัวขึ้นมาจากนาซ่า (NASA) และ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ได้แก่ Space X, Blue Origin (Amazon) และ Virgin Galactic แต่ละบริษัทมีรูปแบบการท่องเที่ยวที่นำเสนอแตกต่างกัน เช่น Space X วางแผนจะนำนักท่องเที่ยวขึ้นไปยังอวกาศ จากนั้นบินไปทัวร์ดวงจันทร์ แล้วกลับมายังโลก ระยะทางรวม 640,000 - 800,000 กิโลเมตร มีการคาดการณ์ราคาไว้ราว 10,000,000 บาทต่อคน ส่วน Blue Origin (Amazon) มีรูปแบบการท่องเที่ยวโดยพาขึ้นไปยังอวกาศ สัมผัสชีวิตไร้แรงโน้มถ่วง  1 วัน พร้อมถ่ายเซลฟี่กับโลก ปัจจุบันบริษัททำการทดสอบขึ้นไปและกลับมาลงจอดสำเร็จแล้วหลายครั้ง โดยมีการนำหุ่นจำลองมนุษย์ไว้ด้านในด้วย ต่อไปจะเริ่มการทดสอบด้วยผู้โดยสารจริง ๆ ราคาตั๋ว 7,500,000 - 9,000,000 บาทต่อคนโดยประมาณ แผนการที่วางแผนคาดว่าจะสามารถเปิดท่องเที่ยวอวกาศได้ในหลังปี ค.ศ. 2020 เป็นต้นไป

แหล่งที่มา

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LISA).  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.lesa.biz/earth/atmosphere/weather-forcasting/weather-data/satellites

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).  หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (e-book).  สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.scimath.org/ebook/sci/sci-sec4/9/eBook/?fbclid=IwAR2viZqLWIyE1m6OxOmdgKcGKbxtTriv1l4ufiPOciXc87DYEvgwrNPX8YA

Thai PBS News. เตรียมท่องอวกาศ "นาซา" เตรียมเปิดทัวร์สถานีอวกาศ ปีหน้า. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //news.thaipbs.or.th/content/280710

Praniti Wongkumjan. เที่ยวอวกาศกับ 3 บริษัทดัง SpaceX – Amazon – Virgin คุณจะต้องมีเงินเท่าไร!?.สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.billionmindset.com/spacex-amazon-virgin-travel-space/

Return to contents

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

กล้องโทรทรรศน์ เทคโนโลยีอวกาศ ประเภทของกล้องโทรทรรศน์,ระบบขนส่งอวกาศ, ความเร็วหลุดพ้น, สภาพไร้น้ำหนัก,เทคโนโลยีอวกาศ, ดาวเทียม, การสื่อสาร, การพยากรณ์อากาศ, การสำรวจทรัพยากร, การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ และการท่องเที่ยว

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันศุกร์, 07 กุมภาพันธ์ 2563

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

ข้อใดเป็นประโยชน์ของกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกต้องที่สุด *

สมบัติที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของกล้องโทรทรรศน์คือ "กำลังรวมแสง" (Light-gathering power) กล้องโทรทรรศน์ช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็นวัตถุในห้วงอวกาศที่อยู่ห่างไกล เช่น เนบิวลา กระจุกดาว และกาแล็กซีต่างๆ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากแสงเดินทางมาจากระยะทางที่ไกลมาก ความเข้มของแสงจึงลดลง เลนส์ของ ...

ข้อใดคือการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกต้อง

การทำงานของกล้องโทรทรรศน์อาศัย หลักการหักเหของแสงผ่านเลนส์นูนจำนวน 2 ชุด โดย เลนส์แต่ละชุด ประกอบด้วยเลนส์ 2-3 ชิ้น สร้างจากเนื้อแก้วที่ต่างกัน ประกบกัน เพื่อแก้ความคลาดสี (ถ้าใช้เลนส์เดี่ยว จะให้ภาพขอบวัตถุเป็นสีรุ้ง เนื่องจากแสงแต่ละสีมีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน จึงทำให้

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศมีมากมาย เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เป็นต้น

ประโยชน์ของดาวเทียมคือข้อใด

1) การสื่อสาร ดาวเทียมสื่อสารช่วยให้การติดต่อสื่อสารต่างๆ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศการให้ความบันเทิงต่างๆ ด้านวิทยุสื่อสาร วิทยุโทรทัศน์การส่งข่าวสารถึงกันและกันเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว 2) การค้า การติดต่อสื่อสารทำธุรกิจค้าขายการส่งข่าวถึงกัน โดยตรง เพื่อประโยชน์ในการค้าต่างอาศัยการทำงานจากดาวเทียมสื่อสารทั้งสิ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้