ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

           Kaikaku หรือไคคาคุ แปลคร่าวๆ ตามหลักการลีนได้ว่าเป็นการปรับปรุงแบบถอนรากถอนโคน ซึ่งในกิจกรรมของ TPM นั้นมี Planned Maintenance ที่ใช้กัน โดยจะมุ่งเน้นคือการทำ Zero Breakdownแบบการบำรุงรักษาเชิงประสิทธิผล (Productive Maintenance) เป็นเป้าหมายสำคัญ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ หมายถึงการบำรุงรักษาที่ประหยัดที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักร โดยใช้แนวคิดที่ว่า การควบคุมเครื่องจักรไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมหลังจากการได้ติดตั้งเครื่องจักรเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดนั้น จำเป็นต้องควบคุมในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจก่อนสร้างหรือซื้อเครื่องจักร การออกแบบ การผลิตเครื่องจักรและติดตั้ง

หากจะทำให้เข้าใจง่ายผมจะแบ่งกิจกรรมเป็น 2 อย่าง คือ ไคเซ็น (ปรับปรุง) และโฮเซ็น (ธำรงรักษา) เพื่ออธิบายวัตถุประสงค์แต่ละขั้นตอนการบำรุงรักษา

Hozen Activity (กิจกรรมโฮเซ็น (ธำรงรักษา))

PM     : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) : เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักร จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร หมายความว่า ต้องทำให้มีการเดินเครื่องปกติ

DM     : Daily Maintenance (การบำรุงรักษาประจำวัน) : เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักรหรือเรียกอีกอย่างว่าการบำรุงรักษาประจำวัน เช่น การหล่อลื่น , การขันแน่น , การปรับแต่ง , การตรวจสอบ และการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อตรวจวัดความเสื่อมสภาพ

TBM    : Time Based Maintenance (บำรุงรักษาตามคาบเวลา) : เป็นการบำรุงรักษาที่ดำเนินการเป็นรอบเวลาที่กำหนดตามคาบเวลา

CBM    : Condition Based Maintenance (บำรุงรักษาจากการทำนายสภาพ) : เป็นการบำรุงรักษารูปแบบกำหนดต่อสภาพพยากรณ์การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนเครื่องจักร โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยเครื่อง แล้วทำการคาดคะเนแนวโน้มตามความเป็นไปของการเสื่อมสภาพ

BM      :  Breakdown Maintenance (บำรุงรักษาหลังเกิดขัดข้อง) : เป็นการซ่อมเมื่อเครื่องจักรเสีย ที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและมักจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง

PdM    : Predictive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์) : เป็นการบำรุงรักษาที่ใช้วิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ โดยใช้เครื่องมือวัดต่างๆเพื่อติดตามสภาพเครื่องจักร และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการวางแผนในการซ่อมบำรุง

Kaizen Activity (กิจกรรมไคเซ็น)

CM     :  Corrective Maintenance (บำรุงรักษาเชิงแก้ไข) : เป็นการแก้ไขปรับปรุงวิธีบำรุงรักษาแต่จะหมายถึงการแก้ไขปรับปรุงตัวเครื่องจักรเพื่อที่จะลดความเสียหายจากการเสื่อมสภาพและค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษาลง  กล่าวคือเป็นการปรับปรุง คุณสมบัติของเครื่องจักรให้ดีขึ้นนั่นเอง

MP      : Maintenance Prevention (ป้องกันการบำรุงรักษา) เป็นการป้องกันการบำรุงรักษาจะได้ผลก็ต่อเมื่อมีข้อมูลและประวัติของเครื่องรุ่นแรก ๆ โดยละเอียด  ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่จะช่วยให้การออกแบบหรือการเลือกซื้อเครื่องจักรบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการป้องกันการบำรุงรักษาได้

สุดท้ายนี้ Planned Maintenance ในบริบทของ TPM นั้นจะให้ความสำคัญของการสร้างระบบบริหารเครื่องจักร พร้อมกับการช่วยสนับสนุนการพัฒนาบุคคลากรขององค์กรให้สามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง หรือ Autonomous Maintenance อย่างเป็นระบบ

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร

www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

โรงงานอุตสาหกรรม คือหนึ่งในสถานที่ที่มีการทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการใช้งานเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการทำงานแบบต่อเนื่องนี้อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือเครื่องจักรด้อยประสิทธิภาพลงได้ ทำให้ทุกโรงงานต้องมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance นั่นเอง

Preventive Maintenance คืออะไร 

Preventive Maintenance (PM) คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในโรงงาน ที่ใช้การตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่มีการกำหนดเอาไว้ 

ยกตัวอย่าง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ A มีอายุการใช้งานขั้นต่ำอยู่ที่ 4,500 ชั่วโมง แผนการทำ Preventive Maintenance คือการเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ A ภายใน 4,400 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต แม้ว่าในความเป็นจริง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ A จะสามารถใช้ได้มากกว่า 4,500 ชั่วโมงก็ตามที

ข้อดีและข้อเสียของ Preventive Maintenance

ข้อดี

ทำให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การใช้งาน Preventive Maintenance ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนระยะยาวในการใช้งาน คนในโรงงานรับรู้ว่าอุปกรณ์ใดควรเปลี่ยนเวลาไหน หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากอายุการใช้งาน รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ที่หมดระยะเวลาประกันได้ 

ประหยัดค่าใช้จ่าย Preventive Maintenance ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้ส่งผลกระทบต่องานและต้นทุนโดยรวมได้ อีกทั้งยังส่งผลให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานได้อย่างยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย 

ข้อเสีย

ข้อมูลไม่ Real-Time สิ่งที่เป็นจุดด้อยมากที่สุดสำหรับ Preventive Maintenance คือปัจจัยด้าน “เวลา” เนื่องจากความเป็นแผนงานที่ตรงไปตรงมา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้การบำรุงรักษาอุปกรณ์บางประเภท ช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันกรณีเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดได้ด้วย 

ใช้เวลาในการบำรุงรักษามากพอสมควร เนื่องจาก Preventive Maintenance จะมีการทำงานตามตารางเสมอ ทำให้ทางโรงงานต้องมีการแบ่งเวลามาทำงานในการบำรุงรักษา ซึ่งบางครั้งเราก็จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซมทั้งๆ ที่เครื่องจักรไม่มีปัญหาใดๆ 

กระบวนการบำรุงรักษาแบบอื่นๆ 

Reactive Maintenance 

การบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) เป็นการ “รอ” เครื่องจักรให้มีอาการพัง ถึงทำการซ่อมแซมให้กลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง การทำงานประเภทนี้จะมีค่าเสียโอกาสและค่าซ่อมที่สูงมากเนื่องจากหากผ่านไปนานๆ เครื่องจักรที่ไม่ได้มีการบำรุงรักษาจะมีโอกาสพังพร้อมกันสูง 

Proactive Maintenance 

การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) คือการประยุกต์หลักการของ Preventive ให้ดียิ่งขึ้นโดยจะเป็นการวางแผนเพื่อเก็บข้อมูลส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร ทั้งชื่อรุ่น แบรนด์ และความเสี่ยงต่างๆ ก่อนทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อดำเนินการซ่อมบำรุงชิ้นส่วนนั้นๆ 

Predictive Maintenance 

การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance) คือการที่โรงงานทำการติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ แบบเรียลไทม์ ทั้งเซนเซอร์ตรวจจับเพื่อวิเคราะห์ความเสียหาย การวัดปริมาณและคุณภาพผลงานที่ออกมาด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อ IoT ทำให้สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าชิ้นส่วนไหนจะต้องบำรุงรักษาอย่างไร โดยปัจจุบัน Predictive Maintenance เป็นอีกรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงเทียบเทียงกับ Preventive Maintenance ทีเดียว

สรุปบทความ

Preventive Maintenance เป็นหนึ่งในกระบวนการบำรุงรักษาในอุตสาหกรรมที่ทุกโรงงานควรให้ความสนใจเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเบื้องต้น ก่อนเข้าสู่ระบบ Predictive Maintenance ที่ปัจจุบันกรรมวิธีนี้สามารถทำได้สะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้นด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Automation และ IoT ทำให้สามารถคาดการณ์และตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในกระบวนการต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความแม่นยำในการประเมินและการบำรุงรักษายิ่งขึ้นไปอีก

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิต หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงไลน์การผลิต ด้วยการวิเคราะห์ไลน์การผลิตของคุณจากหน้างานจริงเพื่อพัฒนาวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและระบบเก็บข้อมูลด้วย IoT

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

ข้อดีของการบำรุงรักษาระบบแบบเชิงป้องกันมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?.
ประหยัดเงินโดยการยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น.
เพิ่มความปลอดภัยและลดโอกาสบาดเจ็บของพนักงาน.
ลดค่าเสื่อมสภาพที่ไม่จำเป็นของอุปกรณ์ต่างๆลง.
ป้องกันอุปกรณ์หลักพังก่อนเวลาอันควร.
ลดขั้นตอนการตรวจสอบและตรวจจับที่ไม่จำเป็นลง.
พร้อมรับมือและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต.

ข้อเสียของ Preventive Maintenance คืออะไร

ข้อเสีย ข้อมูลไม่ Real-Time สิ่งที่เป็นจุดด้อยมากที่สุดสำหรับ Preventive Maintenance คือปัจจัยด้าน “เวลา” เนื่องจากความเป็นแผนงานที่ตรงไปตรงมา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้การบำรุงรักษาอุปกรณ์บางประเภท ช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันกรณีเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดได้ด้วย

Breakdown Maintenance หมายถึงอะไร พร้อมอธิบาย

การซ่อมบำรุงรักษาหลังเหตุขัดข้อง (Break down Maintenance) คือการบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดและหยุดโดยฉุกเฉิน วิธีการนี้ แม้ว่าจะเป็นวิธีการดั้งเดิมในการบำรุงรักษา แต่ยังจำเป็นต้องนำมาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การบํารุงรักษา มีอะไรบ้าง

1. Breakdown maintenance (การซ่อมบำรุงโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย) ... .
2. Planned/ Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน) ... .
3. Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน) ... .
4. Proactive maintenance (การบำรุงรักษาแบบป้องกันล่วงหน้า).

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้