ดาวเทียมวงโคจรใกล้โลก มีอะไรบ้าง

 เพิ่มคุณภาพและลดต้นทุนข้อมูลเกี่ยวกับโลกและพื้นที่ เอื้อให้การทำอุตสาหกรรมทรัพยากรปฐมภูมิ เกษตรกรรม และธุรกิจที่อาศัยข้อมูลโลกอื่น ๆ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ผู้ผลิตที่ไม่สามารถเข้าถึงก็จะเสียความสามารถการแข่งขัน

ดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีที่อยู่คู่เรามาเนิ่นนาน ว่าแต่ดาวเทียมมีกี่ประเภทกันนะ? การแบ่งประเภทของดาวเทียมนั้นสามารถแบ่งได้หลายแบบ โดยส่วนมากเรามักจะแบ่งตามการใช้งานและตามวงโคจร ในที่นี้จะแบ่งประเภทตามการใช้งาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. ดาวเทียมสื่อสาร (Communication Satellite) 
จุดประสงค์เพื่อการสื่อสารโดยใช้คลื่นความถี่ย่านไมโครเวฟ และเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลาไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรแบบประจำที่ (Geosynchronous Earth Orbit : GEO) แต่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ดาวเทียมในวงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit : LEO) แล้วเช่นกันแต่ต้องใช้ปริมาณดาวเทียมจำนวนมาก 

2. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (Earth Observation Satellite) 
การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม หลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro – Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล สามารถนำมาใช้ในหลายกิจการ เช่น การจัดทำแผนที่ การวางแผนการเกษตร การบริหารจัดการทรัพยากร การวางผังเมือง เป็นต้น ดาวเทียมประเภทนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในวงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit : LEO) จึงสามารถเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดสูงได้ดีกว่าดาวเทียมในวงโคจรอื่น ๆ ที่อยู่สูงกว่า

3. ดาวเทียมบอกตำแหน่ง (Navigation Satellite)
GNSS (Global Navigation Satellite System) คือ ระบบนำทางด้วยดาวเทียม โดยระบบหาตำแหน่งโดยใช้ดาวเทียมที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ Global Positioning Satellite System – GPS นั้นถูกพัฒนาโดยทหารสำหรับการใช้งานในกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เป็นระบบนำร่องให้กับเครื่องบิน และได้มีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น การนำร่องให้เรือเดินสมุทรพาณิชย์ ระบบดาวเทียมนี้ใช้เทคโนโลยีระดับสูงในการระบุตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น GPS (USA), GLONASS (Russia), Galileo (Europe), BeiDou (China), QZSS (Japan), SBAS เป็นต้น ระบบทั้งหมดนี้ใช้วงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit : MEO) 

4. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Satellite)
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด (Infared) ใช้สำหรับการพยากรณ์อากาศ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับงานอุตุนิยมวิทยา มีทั้งดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรประจำที่ (GEO) และวงโคจรระดับต่ำ (LEO) โดยนำข้อมูลจากทั้งสองส่วนมาใช้ในการพยากรณ์อากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ 

5. ดาวเทียมเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Scientific and Research Satellite) 
เป็นดาวเทียมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัย มีทั้งในวงโคจรระดับต่ำ (LEO) และระดับกลาง (MEO) รวมถึงดาวเทียมที่เดินทางไปในอวกาศและดาวดวงอื่นเพื่อการสำรวจ 

ดาวเทียมทั้ง 5 ประเภทนี้ จะถูกนำไปวางไว้ในวงโคจรที่เหมาะสมกับการใช้งาน จะเห็นได้ว่าดาวเทียม บางประเภทสามารถอยู่ได้ในหลายวงโคจร เช่น ดาวเทียมสื่อสาร สามารถอยู่ได้ทั้งในวงโคจรแบบ GEO และ LEO หรือแม้แต่ดาวเทียมเพื่อการอุตุนิยมวิทยาที่มีทั้งในวงโคจรแบบ GEO และ LEO เช่นกัน 

วงโคจรของดาวเทียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 วงโคจรหลัก ดังนี้

1. วงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit : LEO) 
ดาวเทียมที่โคจรอยู่ที่ความสูงจากพื้นโลก ระหว่าง 350 – 2,000 กิโลเมตร แต่ในการใช้งานจริงส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความสูงระหว่าง 500 – 800 กิโลเมตร เนื่องจากดาวเทียมอยู่ใกล้พื้นผิวโลกจึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพรายละเอียดสูงเพราะไม่ต้องใช้กล้องขนาดใหญ่มาก วงโคจรประเภทนี้อยู่ใกล้พื้นผิวโลกมากทำให้ต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจึงไม่เหมาะกับการสื่อสาร (นอกจากจะใช้ดาวเทียมจำนวนมาก) แต่เหมาะกับดาวเทียมเพื่อการสำรวจและจัดทำแผนที่ ดาวเทียมวงโคจรต่ำนิยมใช้วงโคจรขั้วโลก (Polar Orbit) หรือใกล้ขั้วโลก (Near Polar Orbit) โดยดาวเทียมจะโคจรในแนวเหนือ-ใต้ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ดาวเทียมจึงเคลื่อนที่ผ่านเกือบทุกส่วนของพื้นผิวโลก สามารถถ่ายภาพได้ทุกพื้นที่ในโลกแต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้เริ่มมีการพัฒนาดาวเทียมวงโคจรต่ำเพื่อใช้ในการสื่อสารเพิ่มเติมด้วย แต่จำเป็นต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในลักษณะหมู่ดาว (Constellation) 

2. วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit : MEO) 
อยู่ที่ความสูงตั้งแต่ 2,000 กิโลเมตร จนถึง 35,000 กิโลเมตร แต่ในการใช้งานจริงมีเพียงดาวเทียมประเภทบอกตำแหน่ง (Navigation Satellite) เช่น ดาวเทียม GPSGLONASS, GALILEO ซึ่งจะโคจรอยู่ที่ความสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร การที่เลือกใช้วงโคจรในระดับนี้ เนื่องจากความสูงที่ 20,000 กิโลเมตร ทำให้ความเร็วของตัวดาวเทียมไม่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับดาวเทียมในวงโคจรต่ำ แต่ก็ไม่หยุดนิ่งเหมือนดาวเทียมประจำที่ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้สำหรับการส่งสัญญาณเพื่อนำมาใช้ในการประมวลผล

3. วงโคจรประจำที่ (Geosynchronous Earth Orbit : GEO) 
อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กิโลเมตร มีเส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดูเสมือนว่าตัวดาวเทียมลอยนิ่งอยู่เหนือพื้นผิวโลกในตำแหน่งเดิมอยู่ตลอดเวลา จึงถูกเรียกว่า “ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า” (Geo-stationary Earth Orbit : GSO) เนื่องจากดาวเทียมวงโคจรชนิดนี้อยู่ห่างไกลจากโลกและสามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมกับตำแหน่งเหนือพื้นโลกในจุดเดิมตลอดเวลา จึงนิยมใช้สำหรับการสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นวงโคจรที่มีดาวเทียมอยู่หนาแน่นและมีปัญหาในการแย่งชิงตำแหน่งวงโคจร

4. วงโคจรรูปวงรี (Highly Elliptical Orbit : HEO) 
เป็นวงโคจรแบบพิเศษที่ใช้สนับสนุนการสื่อสารสำหรับประเทศที่อยู่แถบขั้วโลกเท่านั้น ไม่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายโดยทั่วไป ประเทศที่ใช้วงโคจรรูปแบบนี้คือประเทศรัสเซีย วงโคจรประเภทนี้จะโคจรในมุมอียง (63.4 องศาจากเส้นศูนย์สูตร) เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณขั้วโลก โดยจะมีความสูงของวงโคจรที่จุดสูงสุด (Apogee) ประมาณ 35,000 – 45,000 กิโลเมตร และจุดต่ำสุดของวงโคจรที่ประมาณ 1,000 กิโลเมตร

Satellite Space

ntsat

ดาวเทียมใดมีวงโคจรใกล้โลก

ดาวเทียม Tsubame ของญี่ปุ่น เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรอยู่ในระดับต่ำที่สุด โดยมีความสูงจากพื้นโลกใกล้สุดที่ระยะประมาณ 167.4 กิโลเมตร เรียบเรียงโดย น.ท.รณชัย วุฒิวิทยารักษ์ ดำเนินการจัดทำโดย ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ

วงโคจรของดาวเทียมมีอะไรบ้าง

3 วงโคจรของดาวเทียม 3.1 วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit "LEO") 3.2 วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO") 3.3 วงโคจรประจำที่ (Geosynchronous Earth Orbit "GEO")

ดาวเทียมในวงโคจร Meo มีทั้งหมดกี่ดวงที่โคจรรอบโลก

GPS เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรอยู่ในระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร เหนือจากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบ ระนาบละ 4 ดวง ...

วงโคจรของดาวเทียม เรียกว่าอะไร

วงโคจรของดาวเทียม (Satellite orbit) ดาวเทียมเคลื่อนที่เป็นวงรอบโลก เรียกว่าวงโคจร” สามารถแบ่ง 2 ประเภทได้ ดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้