เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนคือเงินอะไร

หากเกิดอุบัติเหตุจนพนักงานหรือลูกจ้างบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต จะมี ‘กองทุนเงินทดแทน’ เข้ามาช่วยคุ้มครองดูแล จะมีรายละเอียดและเงื่อนไขอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันครับ

Q&A กองทุนเงินทดแทน

Q : กองทุนเงินทดแทนคือ?

A : กองทุนเงินทดแทน คือกองทุนที่อยู่ดูแลโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง

Q : กองทุนเงินทดแทนต่างกับกองทุนประกันสังคมอย่างไร?

A : กองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมมีความแตกต่างกัน ใน 3 ประเด็นใหญ่ คือ

1. การดูแล : กองทุนเงินทดแทนจะดูแลลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ส่วนกองทุนประกันสังคมจะดูแลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน

2. การจัดเก็บเงินสมทบ : กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบจาก 3 ฝ่ายคือ รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ส่วนกองทุนเงินทดแทนจะจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว 

3. การเข้ารับการรักษา : กองทุนประกันสังคมเมื่อเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้ใช้สิทธิ์ โดยไม่มีการกำหนดค่ารักษาพยาบาลไว้  ส่วนกองทุนเงินทดแทนสามารถรักษาจากสถานพยาบาลใดก็ได้ แต่ต้องสำรองจ่ายไปก่อนหากไม่ได้เป็นโรงพยาบาลที่กองทุนเงินทดแทนทำความตกลงไว้ และมีการกำหนดเพดานค่ารักษาพยาบาลไว้

Q : กิจการใดบ้างที่ยกเว้นไม่ร่วมกองทุนเงินทดแทน

A : มี 7 กิจการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องร่วมกองทุนเงินทดแทน ได้แก่

1. ราชการส่วนกลาง,ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

2. รัฐวิสาหกิจ

3. กิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานในลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย

4. ครู หรือ ครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชน

5. กิจการที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ

6. ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้นมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

7. ลูกจ้างของนายจ้างซึ่งประกอบการค้าเร่หรือการค้าแผงลอย

ดังนั้นตามที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานลูกจ้างจะมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนนี้ แต่หากนายจ้างไม่ได้ขึ้นทะเบียนก็ยังมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 นี้ด้วยเช่นกัน

Q : นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบทบกองทุนเงินทดแทนอย่างไร

A : หลังจากขึ้นทะเบียนนายจ้างภายใน 30 วันนับแต่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป และจ่าย “เงินสมทบประจำปี” ของปีแรกที่ขึ้นทะเบียนนี้ (เอกสารแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง หรือสปส. 1-01 จะรวมอยู่ในชุดเดียวกับการขึ้นทะเบียนประกันสังคม)  

การจ่ายเงินสมทบนั้นนายจ้างจะ “จ่ายเงินสมทบประจำปี” ภายใน 31 มกราคมของทุกปี และจากนั้นนายจ้างต้องรายงานค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมาภายในเดือนกุมภาพันธ์ หากค่าจ้างที่ประมาณไว้น้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่มหรือที่เรียกว่า เรียกว่า “เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง” ภายในเดือนมีนาคม หากค่าจ้างที่ประมาณการสูงกว่าค่าจ้างจริงนายจ้างก็จะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืนไปด้วยเช่นกัน

กรณีจ่ายเงินสมทบเกินเวลาที่กำหนด นายจ้างต้องจ่ายค่าปรับ 3% ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมด้วย

Q : อัตราเงินสมทบคิดอย่างไร?

A : อัตราเงินสมทบจะอยู่ระหว่าง 0.2% – 1.0% ของค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงภัยในการทำงานของแต่ละกิจการ  โดยค่าจ้างรายปีที่นำคำนวณสูงสุดอยู่ที่ 240,000 บาท

Q : สิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทนมีอะไรบ้าง?

A : หากลูกจ้างประสบอุบัติจากการทำงานจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนดังนี้

1. ค่ารักษาพยาบาล : ลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน จะได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ในการรักษาพยาบาล รวมถึงวัตถุที่ทำหน้าที่แทนอวัยวะที่ประสบอุบัติ โดยอัตราที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2,000,000 บาท

2. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ : หากลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุและการรักษาพยาบาลสิ้นสุดแล้ว แต่สภาพร่างกายหรือจิตใจของลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม ต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย จิตใจ หรือฟื้นฟูอาชีพ ลูกจ้างต้องยื่นคำขอเข้ารักการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อสำนักงานประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ซึ่งกฎหมายให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานดังนี้

 – ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ โดยให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการ ไม่เกิน 24,000 บาท

 – ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัดไม่เกินวันละ 100 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 24,000 บาท

 – ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 110,000 บาท โดยคณะกรรมการการแพทย์พิจารณาและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นชอบ

 – ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่รวมแล้วไม่เกิน 160,000 บาท

 – ลูกจ้างจะได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน จะต้องเข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น

3. ค่าทำศพ : ผู้จัดการทำศพของลูกจ้างที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงานจะได้รับค่าทำศพเป็นจำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

4. ค่าทดแทน : เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ์สำหรับการประสบอันตราย เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือสูญหายของลูกจ้าง นอกเหนือจากสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานหรือค่าทำศพ โดยค่าทดแทนนี้ลูกจ้างจะได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังนี้

 – ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป : ลูกจ้างได้รับเงินเป็นรายเดือนทุกเดือนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน สูงสุดไม่เกิน 12,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ไม่เกิน 1 ปี

 – ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย : หลังสิ้นสุดการรักษาลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในร้อยละ 60  ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน  10  ปี

 – ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ : ลูกจ้างที่สูญเสียอวัยวะจนส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้ จะได้รับค่าทดแทนในร้อยละ 60  ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 15  ปี

 – ค่าทดแทนกรณีตายหรือสูญหาย : ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ของลูกจ้างจะรับค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นระยะเวลา 8 ปี

Q : ช่วงเวลาการแจ้งและรับสิทธิ์?

A : ระยะเวลาของการแจ้งและรับสิทธิ์เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติจากการทำงาน มีการกำหนดไว้ดังนี้

 – นายจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายของลูกจ้างภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายของลูกจ้าง

 – หากนายจ้างหรือลูกจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนให้นำใบเสร็จรับเงินของสถานพยาบาล มาเบิกคืนได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่จ่าย

 – ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิต้องยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหาย

Q : กรณีใดบ้างที่สิทธิ์ไม่คุ้มครอง?

A : ระยะเวลาของการแจ้งและรับสิทธิ์เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติจากการทำงาน มีการกำหนดไว้ดังนี้

หากมีการตรวจสอบพบว่า อุบัติเหตุนั้นเกิดจากจากเสพของมึนเมาหรือเสพยาเสพติด รวมถึงมีความจงใจให้เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บ ลูกจ้างจะไม่รับสิทธิ์ในจากการดูแลของกองทุนเงินทดแทนนี้แต่อย่างใด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้