ระยะเวลารอคอย ประกันสุขภาพ ไทยประกันชีวิต

ประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองการเสียชีวิตในทุกกรณี (รวมโรคร้ายแรงด้วย) หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในช่วงระยะเวลารอคอยด้วยโรคร้ายแรง บริษัทประกันจะทำการตรวจสอบประวัติการรักษาโรคหากค้นพบว่าไม่เคยตรวจวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคร้ายแรงมาก่อน บริษัทประกันจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้กับผู้รับประโยชน์ แต่จะไม่มีการจ่ายผลประโยชน์ในกรณีเคลมโรคร้ายแรง ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบว่าเคยมีประวัติการรักษาหรือตรวจพบโรคร้ายแรงมาก่อนทำประกัน บริษัทประกันจะบอกล้างสัญญาประกันภัยและคืนค่าเบี้ยฯ ที่จ่ายมาแล้วทั้งหมดเท่านั้น

หากคนในครอบครัวเสียชีวิตแต่ญาติไม่รู้ว่าทำประกันไว้ที่ไหนบ้าง

สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอตรวจสอบการทำประกันชีวิตได้ โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมคือ สำเนาใบมรณะบัตรของผู้เสียชีวิต และสำเนาบัตรประชาชน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของญาติ เพื่อติดต่อด้วยตนเองที่สำนักงาน คปภ. ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จากนั้นให้ติดต่อบริษัทประกันภายใน 14 วันนับตั้งแต่เสียชีวิต หรือ 7 วันนับตั้งแต่ทราบ

นอกจาก “ระยะเวลารอคอย” แล้ว ยังมีอีกหลายระยะในเล่มกรมธรรม์ ชอบความเคลียร์ชัด ตามไปอ่านที่นี่ คลิก //fwdth.co/3tgJN

ยัง! อย่าเพิ่งหัวร้อนใจร้อนกันตอนนี้ พี่เรนนี่เข้าใจนะว่ากว่าจะเลือกประกันได้สักตัว ก็ต้องศึกษาแผนประกัน แบบอ่านแล้วอ่านอีก หลายคนก็เริ่มของขึ้น...ซื้อประกันแล้วยังต้องรอคุ้มครองอีกหรอ? ใจเย็นๆกันก่อนนะทุกคน ความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของประกันแบบนี้มันมีที่มาที่ไปที่ฟังแล้วก็เมคเซ้นส์อยู่นะเออ ถ้าอยากรู้ว่า “ระยะเวลารอคอย” คืออะไร? มีไว้ทำไม? มาจ้ะเดี๋ยวพี่เรนนี่จะอธิบายให้ฟัง

ระยะเวลารอคอย คืออะไร? ความคุ้มครองเริ่มที่ตรงไหน?
ในภาษาประกัน “ระยะเวลารอคอย” (Waiting Period) คือ ระยะเวลาที่ผู้ซื้อประกันแล้ว แต่ยังเคลมประกันไม่ได้ โดยเริ่มนับให้รอตั้งแต่วันที่บริษัทคุ้มครอง หรือวันที่อนุมัติกรมธรรม์/กรมธรรม์มีผลบังคับ

โดยถ้าดูเป็นไทม์ไลน์ง่ายๆ ในการซื้อประกันไปจนถึงช่วงที่เริ่มคุ้มครอง จะเป็นแบบนี้:


ซึ่งการกำหนดระยะเวลารอคอยจะขึ้นกับแต่ละแผนประกันเลยนะคะ บางตัวก็สามารถคุ้มครองทันทีที่อนุมัติกรมธรรม์ บางตัวก็ต้องมีระยะเวลารอคอยก่อนถึงจะคุ้มครองให้

อย่างเช่นถ้าเราซื้อประกันโควิด-19 ก็มักจะมีระยะเวลารอคอย 14 วัน สมมุติว่าซื้อวันที่ 29 ธ.ค. แล้วกรมธรรม์อนุมัติ/มีผลบังคับวันที่ 1 ม.ค. น้องจะสามารถเคลมประกันได้จริงๆคือตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. เป็นต้นไป แต่ถ้าหากน้องดันเจอแจ๊คพอตตรวจเจอเชื้อโควิด-19 แล้วต้องแอดมิทเข้าโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. นั่นหมายความว่า น้องเป็นโรคที่กำหนดก่อนที่จะครบระยะเวลารอคอย 14 วัน แบบนี้คือโชคร้ายสุดๆ เพราะประกันจะไม่จ่ายนะจ๊ะ ซึ่งในเคสแบบนี้บริษัทจะคืนเบี้ยที่เราจ่ายไปแล้วให้ด้วย

ทำไมต้องมีระยะเวลารอคอย?
ตามจริงแล้วบริษัทประกันมีเงื่อนไขให้คนที่จะทำประกันได้ต้องมีสุขภาพดี ถ้าหากมีโรคอะไรก็ให้แจ้งกับบริษัทตั้งแต่ต้น โดยจะมีผลกับการพิจารณารับประกัน ซึ่งก็แล้วแต่ข้อกำหนดของประกันนั้นๆว่าจะมีข้อยกเว้นบางโรค หรือสามารถกำหนดให้รับประกันแต่เพิ่มเบี้ยประกันได้หรือไม่

ซึ่งวิธีการที่บริษัทประกันให้เรายืนยันว่าสุขภาพดีก็คือให้ไปตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน แต่ในบางแบบประกันจะใช้การกำหนดระยะเวลารอคอยแทนการตรวจสุขภาพ หรือใช้ทั้งสองอย่างไปเลย ดังนั้นหากเราสุขภาพดีจริงก็ไม่น่าจะไปเบิกเคลมก่อนสิ้นสุดระยะเวลารอคอยอะเนอะ (ยกเว้นว่าเจอแจ็คพอร์ต...น้ำตาไหลล)

เอาจริงๆ พี่เรนนี่ก็ไม่ค่อยชอบรอนะเพราะก็จ่ายตังไปแล้วทำไมต้องรออีก แต่ถ้าไม่มีระยะเวลารอคอยแล้วคนป่วยสามารถมาซื้อประกันในราคาเบาๆแล้วเคลมกันหนักๆทันทีทันใด บริษัทประกันคงจะเจ๊งกันระนาว, เบี้ยคงจะแพงหนักกว่านี้อีก, หรืออย่างเลวร้ายสุดก็คือไม่มีบริษัทไหนรับประกันสุขภาพอีกเลย (ม่ายยย พี่เรนนี่จะเอาเงินเก็บไปเที่ยวรอบโลก ไม่ใช่มาจ่ายค่าหมออ)

ดังนั้น ถ้าให้พูดสรุปง่ายๆก็คือ บริษัทประกันต้องการ “รอ” ดูว่าเรา “ป่วย” เป็นโรค “ก่อนทำประกัน” หรือไม่นั่นเองค่ะ และโดยทั่วไปประกันก็จะมีระยะเวลารอคอยตั้งแต่ 30 - 120 วัน แล้วแต่โรคและข้อกำหนดของตัวประกันนั้นๆ

อะไรบ้างที่มีระยะเวลารอคอย?"
จริงๆก็จะมีรายละเอียดยิบย่อยเกี่ยวกับระยะเวลารอคอยตามแต่ละประกันจะกำหนดนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มักจะมีระยะเวลารอคอยมาตรฐานอยู่ เป็นประมาณนี้:
  • ประกันสุขภาพ: ระยะรอคอยอาจแบ่งได้ เป็น 2 แบบคือ
    •    รอคอย 120 วัน สำหรับ:
      • เนื้องอก ถุงน้ำดี หรือมะเร็งทุกชนิด
      • การตัดทอนซิลหรืออดีนอยด์
      • นิ่วทุกชนิด
      • เส้นเลือดขอดที่ขา
      • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
      • ต้อเนื้อหรือต้อกระจก
      • ไส้เลื่อนทุกชนิด
      • ริดสีดวงทวาร
    •    รอคอย 30 วัน: สำหรับโรคทั่วไปที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ทั้ง IPD (ผู้ป่วยในที่แอดมิทในโรงพยาบาล) และ OPD (ผู้ป่วยนอกที่รับยาแล้วกลับบ้าน)
  • ประกันโรคร้ายแรง: มักจะระบุว่ามีระยะรอคอยประมาณ 90 วัน สำหรับโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
  • แสดงว่าต้องรอทุกโรคเลยหรอ?: ก็ไม่จำเป็นนะคะ จริงๆจะแล้วแต่ประกันกำหนด จึงควรต้องอ่านรายละเอียดในกรมธรรม์ให้ดี ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าหากประกันตัวนั้นครอบคลุมการรักษาที่เกิดมาจากอุบัติเหตุ (หรือพูดง่ายๆก็คือมีประกันอุบัติเหตุด้วย) ก็จะคุ้มครองอุบัติเหตุทันทีหลังกรมธรรม์มีผลบังคับ โดยไม่ต้องมีระยะเวลารอคอยค่ะ

รู้แบบนี้แล้ว เวลาซื้อประกันก็คงโล่งใจไปได้หนึ่งเปลาะ ว่าเรารับรู้และเข้าใจเงื่อนไขของประกันตรงนี้แล้ว ไม่ไปแพนิคอีกเอาทีหลังตอนเบิกไม่ได้ โดยประเด็นระยะเวลาการรอคอยก็เป็นหนึ่งในเงื่อนไขประกันอีกนับสิบๆอย่างที่พี่รู้ว่าน้องไม่เข้าใจ (55+) ยังไงวันหลังเดี๋ยวพี่เรนนี่จะเอามาเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ และถ้าน้องอยากให้ความรู้เรื่องประกันไม่ใช่ศาสตร์ลึกลับอีกต่อไป ก็ติดตามบทความตอนหน้าของพี่เรนนี่ที่เว็บไซต์รีวิวประกันได้เลยนะคะ

บจก. เมืองไทย โบรกเกอร์ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาการให้บริการเว็บไซต์แก่คุณ หากคุณดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง เราถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา close

ประกันสุขภาพ มีระยะรอคอยไหม

ระยะเวลารอคอย หรือ ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ระยะเวลาฟักตัว หรือระยะเวลาในการแสดงอาการของโรค สำหรับประกันสุขภาพโรคทั่วไป ประกันสุขภาพ และประกันชดเชยรายได้ มักจะมีระยะเวลารอคอย 30 วันนับตั้งแต่วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ หรือแล้วแต่แบบประกัน

ประกันสุขภาพมีระยะเวลารอคอยกี่วัน

การซื้อประกันสุขภาพเราจะยังเคลมไม่ได้ในทันที โดยจะมีระยะเวลารอคอย เพื่อที่บริษัทประกันต้องการดูว่าเราป่วยเป็นโรคมาก่อนทำประกันหรือไม่นั่นเอง และโดยทั่วไปกรมธรรม์ก็จะกำหนดระยะเวลารอคอยตั้งแต่ 30 - 120 วัน แล้วแต่โรคและข้อกำหนดของตัวประกันนั้นๆ

เคลมประกันเมืองไทยประกันชีวิตกี่วันได้เงิน

ระยะเวลาดำเนินการ : ประมาณ 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับเอกสารและข้อมูลโดยถูกต้องครบถ้วน หมายเหตุ : เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเรียกร้องค่าชดเชย กรณีบาดเจ็บ/เจ็บป่วย คลิก

ทำไมประกันต้องมีระยะรอคอย

เหตุผลที่ต้องมีระยะเวลารอคอย ก็เพราะว่าบริษัทประกันต้องการป้องกันความเสี่ยงที่จะมีคนที่รู้ว่าตัวเองป่วย แต่ยังไม่ยอมไปรักษา จึงมาขอซื้อประกันก่อน แล้วค่อยไปรักษาเพื่อจะได้เบิกเงินจากประกัน ถ้าบริษัทประกันไม่มีระยะเวลารอคอย คนก็จะรอให้ป่วยก่อนแล้วค่อยซื้อประกันกันหมด ซึ่งก็ถือว่าไม่เป็นธรรมกับบริษัทประกัน โดยระยะเวลารอ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้