ค่านิยม ในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

๑.ตัวละคร

    -ประพันธ์  คือ  ตัวแทนชายหนุ่มไทยที่ไปศึกษาที่ต่างประเทศและได้ประทับใจในวัฒนธรรมของต่างประเทศอีกทั้งยังเปรียบ “รักไทยเหมือนพ่อแม่ รักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย”เมื่อพบอุไรสาวไทยผู้ทันสมัยมีแนวคิดและมีค่านิยมแบบตะวันตกเต็มที่ประพันธ์จึงดูจะมีความสุขมากขึ้น และทั้งสองได้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด จนอุไรตั้งครรภ์จึงต้องแต่งงานกันโดยเร็ว เวลาผ่านไปประพันธ์ได้รู้ว่าเข้าและอุไรไม่เหมาะสมกันและทั้งคู่ได้หย่ากัน ทำให้ประพันธ์ได้คิดว่า “ผู้หญิงที่เหมาะสมกับเขานั้นไม่ใช่ผู้หญิงที่คร่ำครึอย่างแม่กิมเน้ย หรือทันสมัยอย่างแม่อุไร แต่ควรเป็นผู้หญิงที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นตะวันตก นั้นก็คือ ศรีสมาน

    -อุไร เป็นสาวทันสมัยใจตะวันตก และทำให้ประพันธ์ถูกใจและชื่นชมมาก จึงได้คบหาสมาคมสนิทสนมจนได้แต่งงานกัน หลังจากแต่งงานพฤติกรรมของอุไรก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง อุไรก็ยังไม่ได้ทำหน้าที่แม่บ้านและข่มขู่สามีดูถูกคนอื่น แม้กระทั่งหลังจากแท้งลูกจนถึงกระทั่งไปข้างแรมบ้านชายอื่น ทำให้ประพันธ์ขอหย่าอุไรจึงไปอยู่กับพระยาตระเวนนคร ซึ่งได้เรียกว่าเป็นชายชู้ ต่อมาได้หวนกลับมาขอคืนดีกับประพันธ์อีกเพราะถูกพระยาตระเวนนครทอดทิ้ง แต่ประพันธ์ปฏิเสธ อุไรจึงกลับไปอยู่บ้านพ่อและแต่งงานกับหลวงพิเศษพานิชพ่อค้าผู้มั่งคั่ง

๒.ฉาก

    ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นสูงได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกใหม่ๆ สภาพบ้านเมืองเริ่มมีความเจริญแบบตะวันตก คือ มีถนนหนทาง มีรถยนต์ ห้างร้าน เกิดขึ้นมาก มีการใช้หนังสือพิมพ์ในการสื่อสาร ภาษาไทยที่มีคำทับศัพท์และมีสำนวนภาษาอังกฤษมาปะปนอยู่ เป็นต้น การอ่านเรื่องหัวใจชายหนุ่ม จึงเท่ากับการเข้าไปมีประสบการย้อนยุคร่วมกับคนในสมัยนั้นอีกด้วย

๓.กลวิธีการแต่ง

    หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายขนาดสั้นนำเสนอในรูปแบบจดหมาย นับเป็นการนำเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในวงวรรณกรรมไทย แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องสมมุติ แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้กลวิธีที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง

๔.ทัศนกวี

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระราชดำริของพระองค์ผ่านทางตัวละครต่างๆ เช่น ทรงให้ประพันธ์แสดงทัศนะประเพณีคลุมถุงชน การแต่งงานกับผู้หญิงต่างชาติ การมีภรรยาหลายคนเป็นต้น แต่ทัศนะที่ทรงนำเสนอผ่านประพันธ์ ก็หาใช่พระราชดำริของพระองค์เสียทั้งหมด เช่น ทัศนะของประพันธ์ต่อการเต้นรำ เป็นทัศนะของชายหนุ่มที่ขาดประสบการณ์ ไม่สุขุม จึงมองสังคมและวัฒนธรรมอย่างฉาบฉวยและไม่ได้เข้าถึงวัฒนธรรมของต่างชาติอย่างแท้จริง

๕.แนวคิดในการแต่ง

    ทรงมีพระราชดำริว่า “คนไทยควรจะภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกเกินไป  จนละเลยความเป็นไทย  ควรรู้จักเลือกสรรสิงที่เหมาะสมมาเสริมกับความเป็นไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น”

    นวนิยายเรื่องนี้จึงแสดงให้เห็นว่า  การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแต่เปลือกนอก  ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่มีทางจีรังยั่งยืนและผู้หญิงที่ชิงสุกก่อนห่ามและใช้เสรีภาพในทางที่ผิดต้องประสบชะตาชีวิตอย่างไร  ทั้งสองประการนี้เป็นแนวคิดที่ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ต้องการเสนอ 

๖.คุณค่าด้านปัญญาและความคิด

    -รอยต่อวัฒนธรรม ในช่วงที่ประเทศกำลังเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบสมัยใหม่ว่า  เราควร

เลือกรับแต่สิ่งที่ดีและรู้จักปรับใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม  เพื่อให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง

    -ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่  ผูกอู่ตามใจผู้นอน  การแต่งงานต้องตามใจหนุ่มสาว  บิดามารดามีหน้าที่ให้คำแนะนำ  สั่งสอน อบรม ให้ลูกสาวและลูกชายเป็นคนดี  ส่วนเรื่องความรักเป็นเรื่องส่วนตัวของเขาเอง ถ้ามีพื้นฐานดี ความคิดดีแล้ว การตัดสินใจน่าจะมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

    -การศึกษาดี  ช่วยให้คิดดี  ประพันธ์ผู้ที่ได้รับการศึกษาจากชาติตะวันตกแล้วมองสังคมไทยในสิ่งที่ไม่เป็นสากล คือ ไม่ชอบเข้าทำงานโดยใช้เส้นสายอยากทำงานโดยใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง       

                                  เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

สาระที่ ๕  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ตัวชี้วัด :  สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้

     ๑.     วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น

     ๒.    วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต

     ๓.    วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

     ๔.    สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

สาระการเรียนรู้

     ๑.     การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีเรื่องหัวใจชายหนุ่มตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น

     ๒.    การวิจารณ์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเรื่องหัวใจชายหนุ่มเชื่อมโยงกับการเรียนทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต

     ๓.    การวิเคราะห์และประเมินค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีเรื่องหัวใจชายหนุ่มในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

     ๔.    การสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีเรื่องหัวใจชายหนุ่มเพื่อไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

        การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

สาระสำคัญ

        หัวใจชายหนุ่มเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงใช้นามปากกาว่า "รามจิตติ" เพื่อพระราชทานตีพิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔  ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบจดหมาย  ทรงสร้างตัวละครเป็นชายหนุ่ม(นักเรียนนอก) เป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิดที่เห็นว่าสังคมไทยยังล้าหลังตะวันตกในหลายๆ เรื่อง เช่น ประเพณีการคลุมถุงชน  การแต่งกาย  การประพฤติปฏิบัติตัวของหนุ่มสาว  จนได้รับบทเรียนจากการดำเนินชีวิตจึงได้ปรับเปลี่ยนความคิด

แก่นของเรื่อง

       การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทยและรู้จักเลือกวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ให้เหมาะสม

คุณค่าของเรื่อง

        ๑.  ด้านเนื้อเรื่อง  หัวใจชายหนุ่มเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในงานพระราชนิพนธ์  มีแก่นเรื่องชัดเจน   น่าอ่าน  น่าติดตาม  สนุกด้วยลีลาและโวหารอันเฉียบคม  แฝงพระอารมณ์ขัน เช่น การแต่งกายของกิมเน้ยที่แต่งตัวดีแต่มีเครื่องเพชรมากเกินไป

       ๒. ด้านความคิด  เรื่องหัวใจชายหนุ่มมุ่งเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่า นักเรียนนอกในสมัยนั้นเป็นผู้นำ "แฟแช่น" อย่างสุดโต่ง เมื่อปฏิบัติไปแล้วผิดพลาดก็ค้นพบตัวเองว่าต้องหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม  ทำให้ได้คิดว่า  เราควรรับและปรับใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย

       ๓. ด้านความรู้  เรื่องหัวใจชายหนุ่มแสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่เริ่มไว้ผมยาว  ค่อยๆ เลิกนุ่งโจงกระเบน หันมานุ่งผ้าซิ่น   การแสดงละครที่ใช้ชายจริงหญิงแท้  การใช้คำทับศัพท์และสำนวนต่างประเทศเพื่อแสดงความเป็นนักเรียนนอกของคนในสมัยนั้น 

แนวคิด

         หัวใจชายหนุ่มมีเนื้อหาแสดงให้เห็นการรับวัฒนธรรมตะวันตกในสังคมไทย  โดยนำเสนอผ่านชีวิตของหนุ่มนักเรียนอกที่เพิ่งจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ  มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องเพื่อถ่ายทอดความคิดเห็นและสภาพสังคมไทยในขณะนั้น

หัวใจชายหนุ่ม  หมายถึง ความรู้สึก  ความคิด  ทัศนะและอารมณ์ของคนวัยหนุ่ม  เมื่อ ผ่านพ้นวัยนี้ไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา 

สิ่งที่ควรปฏิบัติและศึกษาเพิ่มเติม

     ๑.  การสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มจากจดหมายทั้ง ๑๘ ฉบับ

     ๒.  สังเกตรูปแบบการเขียนจดหมาย การใช้คำขึ้นต้น,คำลงท้ายของจดหมายและรวบรวมนวนิยายที่เขียนในรูปแบบจดหมาย

     ๓.  เมืองดุสิตธานีและหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต

     ๔.  การวิเคราะห์ทัศนคติของนายประพันธ์ที่มีต่อสังคมไทยในด้านการประกอบอาชีพ  การแต่งกาย  สถาบันครอบครัว และการประพฤติปฏิบัติตัวของหนุ่มสาว

     ๕.  รวบรวมคำทับศัพท์และสำนวนต่างประเทศๆ จากเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

     ๖.  ศึกษาเปรียบเทียบการรับวัฒนธรรมต่างชาติของหนุ่มสาวจากเรื่องหัวใจชายหนุ่มกับหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน 

     ๗.  เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม และตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจ  เช่น เอกลักษณ์ไทยคือหัวใจของชาติ

     ๘.  เขียนจดหมายส่วนตัวถึงเพื่อน เล่าประสบการณ์การเรียน, การทำงานร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนและแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์  

แบบทดสอบ

คำสั่ง   นักเรียนเลือกตอบข้อที่คิดว่าถูกต้องมากที่สุดเพียงข้อเดียว

๑.   เรื่องหัวใจชายหนุ่มเป็นงานเขียนประเภทใด

                ก.   จดหมายเหตุ              

                ข.   นวนิยาย

                ค.   เรื่องสั้น                                                  

                ง.   เรื่องเล่า

๒.  เรื่องหัวใจชายหนุ่มพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์เล่มใด

                 ก.   ลักวิทยา                                          

                 ข.   ดุสิตสมิต                                               

                 ค.   วิทยาจารย์                                           

                 ง.   บางกอกรีคอเดอร์

๓.   ผู้ใดประพันธ์เรื่องหัวใจชายหนุ่ม  

                ก.   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

                ข.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                ค.   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

                ง.    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

๔.   “ชายหนุ่ม” ในจินตนาการของผู้ประพันธ์  มีลักษณะเด่นอย่างไร 

                ก.   หนุ่มนักเรียนนอกที่คลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันตก

                ข.   หนุ่มนักเรียนนอกที่มียึดมั่นในความคิดเป็นตัวเองสูง

                ค.   หนุ่มนักเรียนนอกที่คลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันตกและคบคนที่เปลือกนอก

                ง.   หนุ่มนักเรียนนอกที่คลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันตกจนขาดความเป็นตัวของตัวเอง

๕.  ข้อใดใช้คำว่า “ศิวิไลซ์” ได้ถูกต้อง

                ก.    น้องฉันชอบทำตัวศิวิไลซ์  อะไรก็ไม่ทำ

                ข.    วิภาปฏิเสธความศิวิไลซ์โดยสิ้นเชิง

                ค.    วิธานเขาแต่งตัวได้ศิวิไลซ์มาก

                ง.    บ้านนี้ตกแต่งได้ศิวิไลซ์จริง ๆ

๖.   การแต่งงานโดยที่หนุ่มสาวไม่เต็มใจหรือไม่ยินยอม ตรงกับสำนวนไทยว่าอย่างไร

                ก.   คลุมถุงชน                                              

                ข.   ขมิ้นกับปูน                                     

                ค.   กิ่งทองใบหยก                                   

                ง.    บุพเพสันนิวาส

๗.   “ในส่วนที่หล่อนกับฉันจะกลับดีกันใหม่นั้น  ไม่แลเห็นหนทางที่จะเป็นไปได้  และผลที่จะได้ก็จะมีแต่ความร้อนใจไร้สุขด้วยกันทั้งคู่”

           จากข้อความนี้ ผู้พูดมีความคิดเกี่ยวกับชีวิตคู่ของเขาเป็นอย่างไร

              ก.      เขาสองคนไม่สามารถคืนดีกันได้

              ข.      เขาสองคนเป็นคู่สามีภรรยาที่ไม่เหมาะสม

              ค.      เขาสองคนอยู่ร่วมกันไม่ได้เพราะทั้งสองเป็นคนใจร้อน

              ง.      เขาสองคน ถ้าต้องอยู่ด้วยกันแล้วต้องทะเลาะกันตลอดเวลา

 ๘.   “การที่แม่อุไรได้ผัวใหม่เป็นเนื้อเป็นตัวเสียแล้วเช่นนี้   ทำให้ฉันเองรู้สึกสิ้นความตะขิดตะขวงห่วงใย”  ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า  ผู้พูดมีความรู้สึกอย่างไร  

                ก.   เข้าใจ                                              

                ข.    หมดห่วง

                ค.   ไม่อับอายแล้ว                                       

                ง.    หมดความกังวลใจ                                   

  ๙.  ข้อใดคือสาระสำคัญของเรื่อง

                ก.   เรื่องราวเกี่ยวกับความรักของหนุ่มนักเรียนนอก

                ข.   เรื่องราวการศึกษาในต่างประเทศของหนุ่มนักเรียนนอก

                ค.   เรื่องราวในชีวิตประจำวันที่น่าสนใจของหนุ่มนักเรียนนอก

                ง.   เรื่องราวชีวิตและประสบการณ์ต่างๆ ของหนุ่มนักเรียนนอก

   ๑๐. ข้อใดคือข้อคิดสำคัญจากเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

                ก.   ความรู้สึกที่ทันสมัยของตัวละครเด่น

                ข.   ความคิดแก้ปัญหาระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่

                ค.   ความคิดที่ขัดแย้งระหว่างค่านิยมเก่ากับค่านิยมใหม่

                ง.   สภาพสังคมและค่านิยมที่มีความแตกต่างของคนในสังคม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้