ใช้สิทธิบัตรทอง นอกพื้นที่ คลอดลูก

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) เป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นบริการสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน

 

กิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ กรณีตั้งครรภ์มีดังนี้

 

1.บริการฝากครรภ์คุณภาพ

 

- บริการฝากครรภ์คุณภาพ ตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์แนวใหม่ ขององค์การอนามัยโลกหรือตามที่ กรมอนามัยแนะนำ หญิงตั้งครรภ์และสามี (กรณีสามีเฉพาะการ คัดกรองและตรวจ ยืนยันโรคโลหิต จางธาลัสซีเมียและการ มีส่วนร่วมในการดูแล ครรภ์) อย่างน้อย 5 ครั้ง 1) ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ 2) ครั้งที่ 2 อายุ ครรภ์ 13 -< 20 สัปดาห์ 3) ครั้งที่ 3 อายุ ครรภ์ 20 -< 26 สัปดาห์ 4) ครั้งที่ 4 อายุ ครรภ์ 26 -< 32 สัปดาห์ 5) ครั้งที่ 5 อายุ ครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์

 

- การฝากครรภ์แต่ละครั้งจะได้รับบริการดังนี้
1. การทดสอบการตั้งครรภ์
2. การสอบถามข้อมูล
3. การตรวจร่างกาย
4. การประเมินสุขภาพจิต
5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
6. การประเมินเพื่อการส่งต่อ
7. การให้การดูแลรักษา
8. การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัดครั้งต่อไป
9. การบันทึกข้อมูล


1.1 การทดสอบการตั้งครรภ์


- ตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์


1.2 การสอบถามข้อมูล


- สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การเจ็บป่วย ประวัติทางสูติกรรม การตั้งครรภ์ปัจจุบัน


1.3 การตรวจร่างกาย และตรวจครรภ์


- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต

- ตรวจร่างกายทั่วไป ดูภาวะซีด อาการ บวมและอาการเตือนของโรคอื่นๆ

- ตรวจครรภ์ วัดความสูงยอดมดลูก ประเมินอายุครรภ์

- ตรวจสุขภาพช่องปาก ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจฟังเสียงการหายใจ และเสียงหัวใจโดยแพทย์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- ตรวจภายในเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และการติดเชื้อในช่องคลอด เมื่อมีข้อบ่งชี้ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2

- ตรวจอัลตราซาวด์ (ถ้ามี) เพื่อยืนยันอายุครรภ์ จำนวนทารก สัญญาณชีพ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2


1.4 การประเมินสุขภาพจิต


- ประเมินความเครียด คัดกรองโรคซึมเศร้า และปัญหาการดื่มสุรา


1.5 การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการที่จำเป็น


- การตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ (multiple urine dipstick) เพื่อตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย ในทางเดินปัสสาวะ ที่ไม่มีอาการไข่ขาว (โปรตีน) และน้ำตาล

- ตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส (VDRL) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4 (อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์)

- ตรวจการติดเชื้อเอชไอวี (Anti - HIV) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4

- ตรวจคัดกรองพาหะไวรัสตับอักเสบบี ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- ตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) หรือวัดระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือด (HB) หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (HCT) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4

- ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (MCV/OF+DCIP) ถ้าผลคัดกรองเป็นบวก ให้ตรวจคัดกรองสามีต่อ ถ้าผลเป็นบวกทั้งคู่ให้ส่งเลือดตรวจยืนยัน Hb typing/PCR เพื่อกำหนดคู่เสี่ยง การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือเวชปฏิบัติที่กำหนด

- ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ รายที่ผลเป็นบวกให้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ตามแนวทาง เวชปฏิบัติ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือแนวทางเวชปฏิบัติที่กำหนด(หญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป)

- ตรวจหมู่เลือด (ABO และ Rh)


1.6 การให้การดูแลรักษา


- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (dT) ในรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน ฉีดทันทีที่ฝากครรภ์ครั้งแรก โดยฉีดที่ 0, 1 และ 6 เดือนตามลำดับ

- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ช่วงอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป

- รับยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน กินทุกวันตลอดอายุการตั้งครรภ์

- ขัดและทำความสะอาดฟัน ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2 (อายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน)

- การดูแลรักษาหากตรวจพบความผิดปกติ รวมถึงการแก้ไขภาวะทุพ โภชนาการ


1.7 การประเมินเพื่อ การส่งต่อ


- ประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมิน ความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ทุกครั้ง โดยพิจารณาร่วมกับหลักฐานที่พบ จากการฝากครรภ์แต่ละครั้ง หากมีความเสี่ยง หรือมีอาการผิดปกติที่เกินขีด ความสามารถของหน่วยบริการจะได้รับ การส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีขีด ความสามารถสูงกว่า


1.8 การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัด ครั้งต่อไป


- คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการดูแลครรภ์ และการคลอดการเลี้ยงลูก การวางแผนครอบครัว (เข้าโรงเรียนพ่อแม่)

- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อ กรณีมีเลืออก ปวดท้อง หรือ ภาวะฉุกเฉิน หรือต้องการคำแนะนำ

- ซักถามและตอบคภพาม นัดตรวจครั้งต่อไป

- ให้คำปรึกษาก่อน/หลังการตรวจเลือด HIV (ตามความสมัครใจ) โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม

- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อกรณี มีเลือดออกปวดท้องหรือภาวะฉุกเฉิน


1.9 การบันทึกข้อมูล


- รับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 1 เล่ม และนำสมุดบันทึกมาทุกครั้ง

- ผู้ให้บริการบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพ และเวชระเบียนให้ครบ


2. บริการตรวจหลังคลอด


- บริการตรวจหลังคลอด ตามแนวทางที่กรมอนามัยกำหนด อย่างน้อย 3 ครั้ง

- ครั้งที่ 1 ภายหลังคลอดไม่เกิน 7 วัน

- ครั้งที่ 2 หลังคลอด 8-15 วัน

- ครั้งที่ 3 หลังคลอด 16-42

- การสอบถาม ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจ ภายในเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางคลินิก

- ตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าหลังคลอด

- คำแนะนำและบริการวางแผน ครอบครัวตามความสมัครใจ (ยากิน/ ยาฉีดคุมกำเนิด ห่วงอนามัย ยาฝัง คุมกำเนิด การทำหมัน)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้