การสูญเสียที่ประเมินไม่ได้

การเกิดอุบัติเหตุของงานติดตั้งกล้องวงจรปิด

การเกิดอุบัติเหตุของงานติดตั้งกล้องวงจรปิดแต่ละครั้ง ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียแก่โรงงานที่กำลังดำเนินการติดตั้งและบริษัทที่รับติดตั้ง นอกจากในรูปของค่าใช้จ่ายสำหรับคนงานที่ประสบอันตราย ซึ่งสามารถคำนวณเป็นเงินได้โดยตรงจากค่ารักษาพยาบาลค่าทำขวัญหรือเงินทดแทนแล้วบริษัทยังต้องสูญเสียเวลาในการทำงานที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราวและค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก แม้ว่าจะไม่มีผู้บาดเจ็บก็ตาม จากจำนวนเงินทดแทนที่ต้องจ่ายสำหรับการบาดเจ็บล้มตายอันเนื่องมากจากการเกิดอุบัติเหตุ จะเห็นได้ว่าจำนวนเงินทดแทนที่ต้องจ่ายแต่ละปีเป็นตัวเลขที่สูงมากนับว่าเป็นความสิ้นเปลืองที่น่าเสียดายยิ่ง

ความสูญเสียทางตรงและทางอ้อม

เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ความสูญเสียหรือค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุในงานติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้คือ

1.ความสูญเสียทางตรง หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปอันเกี่ยวเนื่องกับผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรง จากการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่

- ค่ารักษาพยาบาล

- ค่าเงินทดแทน

- ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ

- ค่าประกันชีวิต

2.ความสูญเสียทางอ้อม หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ซึ่งส่วนใหญ่จะคำนวณเป็นตัวเงินได้) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทางตรงสำหรับการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ได้แก่

2.1 การสูญเสียเวลาทำงานของ

- คนงาน ช่างติดตั้งหรือผู้บาดเจ็บ เพื่อรักษาพยาบาล

- คนงานอื่นหรือเพื่อนร่วมงานที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราว เนื่องจากต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยการปฐมพยาบาลหรือนำส่งโรงพยาบาล ความอยากรู้อยากเห็นประเภท “ไทยมุง” ตลอดจนคนงานหรือช่างติดตั้งมีความตื่นตกใจและเสียขวัญ

- หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา ตลอดจนเจ้าของกิจการ เนื่องจากต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ สอบสนหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ จัดหาคนงานหรือช่างคนอื่นๆและฝึกสอนให้เข้าทำงานแทนผู้บาดเจ็บ ตลอดจนหาวิธีแก้และป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดซ้ำอีก

2.2 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม เครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับความเสียหาย

2.3 ค่าสวัสดิการต่างๆ ของผู้บาดเจ็บ

2.4 ค่าจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บซึ่งยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าผู้บาดเจ็บจะทำงานยังไม่เต็มที่หรือหยุดงาน

2.5 การเสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงานและบริษัทรับติดตั้งกล้องวงจรปิด

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok.com

การสูญเสีย 8 ประการที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิต

          ในเชิงอุตสาหกรรม สามารถแยกแยะการสูญเสียที่เกิดขึ้นหรือแฝงอยู่ในขบวนการผลิตออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้

1. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
2. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)
3. การสูญเสียที่เกิดจาการรอคอยหรือความล่าช้า (Waiting / Delay)
4. การสูญเสียที่เกิดจากการเก็บวัสดุสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / WIP)
5. การสูญเสียที่เกิดจากการขนส่ง / ขนย้าย (Transportation Loss)
6. การสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต (Process Loss)
7. การสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion Loss)
8. การสูญเสียที่เกิดจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ (Energy In-efficiency)
รายละเอียดของการสูญเสีย

1. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
          การผลิตที่เกินจำนวนที่กำหนดในแผนการผลิต ถือเป็นการผลิตที่มากเกินไปทำให้มีการใช้วัตถุดิบและแรงงานเกินความจำเป็นวัตถุดิบถูกแปรเปลี่ยนเป็นงานคงค้างในสายการผลิต (WIP) ต้องการการขนส่ง เคลื่อนย้าย พื้นที่เก็บรักษา และทำให้คนงานทำงานเกินความจำเป็น

2. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)
         
การทำของเสียไม่ได้สร้างการสูญเสียเฉพาะสถานีงานที่ทำของเสียเท่านั้น แต่นั่นคือการสูญเสียคุณค่างาน เสียเวลาของแรงงานของสถานีก่อนหน้าที่ทำชิ้นงานส่งให้ สูญเสียวัตถุดิบที่ใช้ สูญเสียเวลารอคอยของสถานีงานที่ต้องรับช่วงงานไปทำต่อ

กระบวนการของการปรับปรุงคุณภาพโดยการป้องกันมีดังนี้

1. ค้นหาของเสียก่อนถึงมือลูกค้า

2. หาความถี่ของของเสียที่ตรวจพบ

3. หาสาเหตุของการทำของเสียที่ค้นพบ

4. สาเหตุถูกขจัดให้หมดอย่างถาวร

5. ปรับปรุงการออกแบบของผลิตภัณฑ์


3. การสูญเสียที่เกิดจาการรอคอยหรือความล่าช้า (Waiting / Delay)
          การรอคอย ถือเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาส เพราะสูญเสียรายได้จากการผลิตสินค้าเพื่อขายได้น้อยลงสุญเสียในแง่ของ Man-hours การรอคอย เกิดจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น อาจมีผลมาจากกระบวนการผลิตขาดความสมดุล เนื่องจากการวางแผนที่ไม่ถูกต้อง ความล่าช้าของการส่งวัตถุดิบ / ชิ้นส่วน การใช้เวลานานในการติดตั้งเครื่องจักร เป็นต้น
          เมื่อเกิดปัญหาการรอคอย / ความล่าช้า การแก้ปัญหาคงต้องเริ่มจากการพิจารณาทบทวนขบวนการผลิต เพื่อหาทางลดเวลาการรอคอยหรือความล่าช้าลง การลดเวลาการรอคอย สามารถทาได้โดย
          3.1 วางแผนการทางานในลักษณะขนาน คือ การทางานไปพร้อมๆ กัน
          3.2 วางแผนใช้เครื่องจักรให้ได้ประโยชน์เต็มที่
          3.3 มีแผนบารุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ มีการดูแลทำความสะอาดและความเรียบร้อย เช่น การทำ 5 ส.
4. การสูญเสียที่เกิดจากการเก็บวัสดุสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / WIP)
          สาเหตุที่มีการสะสมสินค้าคงคลังของ WIP ไว้เป็นจำนวนมาก เกิดจาก
          4.1 การวางแผนและกำหนดตารางเวลาทำงานไม่ดี
          4.2 ปัญหาจากการขนส่งระยะไกล
          4.3 ปัญหาการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน
          4.4 ปัญหาจากการเก็บของไม่เป็นระเบียบ
          4.5 ขาดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามมาตรฐาน
          4.6 การผลิตของเสียจำนวนมากทำให้ต้องสต๊อก WIP เผื่อไว้มาก
          ข้อแนะนำสาหรับการลดระดับสินค้าคงคลัง WIP มีดังนี้
          1. แยกและขจัดวัสดุที่ล้าสมัยออกจากพื้นที่เก็บสินค้า สามารถใช้วิธีการ 5 ส. เข้าช่วยได้
          2. อย่าผลิต WIP เกินความต้องการของกระบวนการผลิตต่อไป
          3. อย่าซื้อวัตถุดิบจำนวนมากโดยไม่จาเป็น
          4. พยายามปรับการผลิตเป็นแบบ Small Lots คือผลิตตามคำสั่ง / ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

5. การสูญเสียที่เกิดจากการขนส่ง / ขนย้าย (Transportation Loss)
          การขนส่งที่ไม่จำเป็นถือเป็นการสูญเสียอย่างหนึ่ง อาจก่อให้เกิดความต้องการพื้นที่ในการเก็บของ การใช้เครื่องมือ ใช้แรงงานมากขึ้น จึงเป็นการเพิ่มต้นทุน ดังนั้นการนำระบบอัตโนมัติมาช่วยในกระบวนการผลิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น และช่วยลดการเคลื่อนย้ายโดยคนได้มาก รวดเร็วและลดอุบัติเหตุอันเกิดจากการเคลื่อนย้ายด้วยมือ ทั้งนี้ทำเลที่ตั้งของโรงงานตลอดจนการออกแบบ Layout / ผังโรงงานที่เหมาะสม ก็มีส่วนสาคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย


6. การสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต (Process Loss)
          การสูญเสียในกระบวนการผลิตนั้นมีหลายชนิด จำเป็นต้องอาศัยทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยกันวิเคราะห์และค้นหา โดยเฉพาะข้อเสนอแนะจากฝ่ายผลิต สาเหตุการสูญเสียอาจเกิดจาก
          6.1 การไม่ได้ดูแลรักษาเครื่องจักร
          6.2 การทำงานด้วยมือ มักมีการข้ามขั้นตอนการทำงาน
          ประเด็นที่ต้องพิจารณาค้นหาเพื่อการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น คือ
          1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยออกแบบให้ผลิตได้ง่ายและง่ายต่อการใช้งาน
          2. วิธีการผลิตต้องมีประสิทธิภาพและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด
          3. การใช้วิธีการ 5W&1H มาช่วยในการตรวจเช็คกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด
          4. สร้างแนวคิดสำหรับปรับปรุงโดยใช้วิธีการ ECRS มาช่วยในการหาทางเลือกในการปรับปรุง


7. การสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion Loss)
          ในกระบวนการทำงานจะประกอบไปด้วยการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละท่าต้องใช้เวลา ดังนั้นหากมีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นมาก ก็หมายถึงต้องสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
          เราสามารถแตกกระบวนการทำงานที่เป็นการเคลื่อนไหวออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อวิเคราะห์ และปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นดังนี้

1. Search : การค้นหา เริ่มจากอาการที่มือหรือร่างการคลำวัตถุสิ่งของ และจบลงที่สิ่งของนั้นถูกค้นพบ
2. Select  : การเลือก เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายแตะวัตถุสิ่งของหลายชิ้น และวางสิ่งของชิ้นหนึ่งแยกจากกลุ่ม
3. Grasp  : การคว้ายึด เริ่มจากอาการที่มือหรือร่างกายแตะและคว้ายึดสิ่งของนั้นไว้
4. Reach : การเอื้อมถึง เริ่มจากอาการทีมือหรือร่างการเคลื่อนไหวโดยเข้าถึงตัววัตถุ โดยมิได้ทำอะไรกับสิ่งนั้น
5. Move :  การเคลื่อนที่ เริ่มจากอาการที่มือหรือร่างกายจับวัตถุสิ่งของเพื่อเคลื่อนที่ เปลี่ยนตำเหน่งของ สิ่งของจากเดิม จบลงที่วางสิ่งของนั้นลงใน
ตำแหน่งที่ต้องการจะเคลื่อนมาวาง

6. Hold : การถือ / พักไว้ เริ่มที่วัตถุสิ่งของถูกทำให้เคลื่อนที่มาไว้ในตำแหน่งหนึ่งที่อยู่เฉยๆ และจบลงเมื่อ มีการเคลื่อนที่อีกครั้ง
7. Release load : การปล่อยมือ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายเริ่มคลายการควบคุมยึดวัตถุสิ่งของและปล่อยมือ
8. Position : การจัดวางตำแหน่ง เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายทำให้วัตถุสิ่งของมีการเรียงตัวหรือเปลี่ยนตำแหน่ง
9. Pre-position : การเตรียม คล้ายกับการจัดวางตำแหน่ง แต่เป็นการกระทำที่จัดเรียงชิ้นส่วน /เครื่องมือก่อนใช้งานในที่อีกที่หนึ่ง
10. Inspect : การตรวจ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายรู้สึก /มองเห็นวัตถุสิ่งของและกำหนดคุณภาพของสิ่งของนั้นได้จบลงที่สิ่งของนั้นถูกเห็น /รู้สึกได้ว่าผิดปกติหรือไม่ผิดปกติ
11. Assemble : การประกอบ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบติดเข้าด้วยกันเสร็จเมื่อได้ชิ้นส่วนใหม่ขึ้นมา
12. Disassemble: การแยกชิ้นส่วน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายเริ่มแยกชิ้นส่วนที่เป็นหนึ่งเดียวออกเป็นชิ้นย่อย จบลงเมื่อชิ้นงานถูกแยกส่วนสมบุรณ์
13. Use : การใช้งาน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกาย มีการใช้เครื่องมือและควบคุมเครื่อง จบลงที่การใช้งานและการควบคุมเครื่องมือจบลง
14. Unavoidable Delay : คือความล่าช้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้     

15. Avoidable Delay : ความล่าช้าที่หลีกเลี่ยงได้ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายไม่ทำงาน จากการแปรปรวนไปจากวิธีทำงานมาตรฐาน จบลงเมื่อมีการหันกลับมาทำงานตามมาตรฐานปกติดังเดิม

16. Plan : การวางแผน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายอยู่นิ่งเฉยเนื่องจากผู้ปฏิบัติใช้ความคิดเพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร จบสิ้นเมื่อมีการตัดสินใจทำ

17. Rest to overcome fatigue : การหยุดพักผ่อน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายอยุ่เฉย เกิดจากความเมื่อยล้าจากการทำงานที่เพิ่งเสร็จไปจบลงเมื่อเริ่มมีการทำงานใหม่อีกครั้ง


8. การสูญเสียที่เกิดจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ (Energy In-efficiency)
          พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการผลิต และเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการผลิต ดังนั้น หากการใช้พลังงานในโรงงานไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น  ตัวอย่างของการใช้พลังงานให้มีประสิทธีภาพมีดังนี้ ใช้เครื่องควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ ใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง มีอุปกรณ์ควบคุมค่าดีมานต์/อุปกรณ์ปรับระดับแรงดันไฟฟ้า/อุปกรณ์ควบคุมการใช้พลังงานในระบบแสงสว่าง/บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ มีเครื่องทำความร้อนโดยใช้พลังงานความร้อนจากเครื่องปรับอากาศเป็นต้น


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้