เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า

กรณีที่มีการจดทะเบียน

ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ก็ย่อมได้รับความคุ้มครองในสิทธิต่างๆ คือ สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าในการที่ได้จดทะเบียนไว้มีสิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว ผู้ใดจะแอบอ้าง อาศัยสิทธินั้นไม่ได้ สิทธิในการทำสัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้า

สิทธิในการโอนเครื่องหมายการค้า สิทธิในการฟ้องร้องและเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่มีผู้ละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย จะเห็นได้ว่าเมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการนั้นย่อมได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย

กรณีที่ไม่มีการจดทะเบียน

ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้จดทะเบียน ย่อมมิได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่เป็นผู้คิดค้นออกแบบเครื่องหมายการค้าตัวเอง และนำเครื่องหมายนั้นไปใช้โดยที่ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ในทางกฎหมายก็จะไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งหากมีบุคคลอื่นนำเครื่องหมายการค้าไปจดทะเบียนก่อน จะส่งผลให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้คิดค้นไม่สามารถเป็นผู้ที่มีสิทธิมากกว่าได้เลย แม้ตนจะเป็นผู้คิดค้นก็ตาม

ตัวอย่างเช่น นายตั้มคิดค้นแบรนด์ TOM ขึ้นมาซึ่งเป็นแบรนด์น้ำหอม แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อมานางสาวมินนี่นำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเองก่อนนายตั้ม ทำให้นายตั้มผู้คิดค้นไม่สามารถเป็นผู้มีสิทธิมากกว่านางสาวมินนี่ แม้นายตั้มจะเป็นผู้คิดค้นก็ตาม นางสาวมินนี่จึงเป็นผู้มีสิทธิดีกว่านายตั้ม

อย่างไรก็ดี แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่เจ้าของเครื่องหมายการค้าก็ยังได้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าได้เสมอ ทั้งนี้โดยพิจารณาจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และคำพิพากษาศาลฎีกาดังนี้

1. สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้านั้น ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของตนเองเสมอ เว้นแต่จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้านั้นให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งเจ้าของที่แท้จริงจะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของสิทธิที่ดีกว่าต่อไป แต่หากในขณะนั้นไม่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นให้แก่ผู้ใด เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถแสดงความเป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของตนได้โดยชอบธรรม

2. สิทธิในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้า สามารถขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ตนได้ใช้มาโดยสุจริต ไม่ว่าจะบุคคลอื่นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้แล้วสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ก็ตามมาตรา27 กำหนดให้นายทะเบียนใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่าจะเห็นสมควรรับจดทะเบียนโดยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือเงื่อนไขและข้อจำกัดอื่นที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537)

3. สิทธิคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิร้องคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตาม มาตรา 35 โดยอ้างว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น อันเนื่องมาจากการที่ตนได้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวมาก่อนผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยเฉพาะหากว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยื่นคัดค้านนั้น ได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ด้วยแล้ว หากมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่า มาตรา 41 กำหนดให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นให้แก่ผู้คัดค้านนั้นด้วย

4. สิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามมาตรา 67 กำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใดก็ได้ ภายในห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น หากแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าซึ่งอาจเนื่องมาจากการที่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้น

5. สิทธิในการต่อสู้คดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสามารถยกเอาเหตุจากการที่ตนได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนโดยสุจริตมาเป็นข้อต่อสู้ในคดีที่ถูกฟ้องว่ากระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2501 และ 2277/2520)

6. สิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการลวงขาย มาตรา 46 วรรค 2 เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนมีสิทธิที่จะฟ้องบุคคลใดซึ่งเอาสินค้าของตนไปทำการลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และหากว่าการลวงขายอันไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้า ย่อมถือว่าเป็นการละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งเป็นผลให้เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้อีกด้วย

7. สิทธิดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายซึ่งคุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้า ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ได้บัญญัติความผิดที่เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายใด ๆที่ใช้ในทางการค้า และเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ ดังนี้

7.1 มาตรา 271 “ผู้ใดขายของโดยหลอกลวง ด้วยประการใด ๆให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือจำทั้งปรับ”

 มาตรานี้เป็นการกำหนดความผิดและโทษสำหรับการกระทำต่างๆอันรวมถึงการกระทำในลักษณะลวงขายโดยเอาสินค้าของผู้กระทำผิดไปขายโดยหลอกลวงว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า กล่าวคือเป็นการขายของโดยการหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ โดยอาจมีการหลอกลวงด้วยการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่สินค้าของผู้กระทำผิดก็ได้

7.2 มาตรา272 บัญญัติว่า“ผู้ใด                                                                                           

                                 (1) เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น

                              ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้”

ความผิดตามมาตรา 272(1) นี้หมายถึงการนำเอาสิ่งที่อยู่ในความหมายของคำว่า “เครื่องหมาย”ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งได้แก่ ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นนั้น ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้หรือไม่ก็ตามรวมทั้งกรณีจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกอื่นที่ไม่ตรงกับตัวสินค้านั้นด้วย

7.3 มาตรา 275 “ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักร จำหน่ายหรือเสนอจำหน่าย ซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๒ (๑) ……………ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ”

มาตรานี้ได้กำหนดความผิดและโทษไว้แก่ผู้กระทำผิดโดยอ้อม ในลักษณะการหาประโยชน์จากสินค้าอันเกิดจากการกระทำผิดตามมาตรา 272(1) ได้แก่ การนำเข้าในราชอาณาจักร การจำหน่าย หรือเสนอจำหน่าย ซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อ รูป หรือรอยประดิษฐ์ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในความหมายของเครื่องหมายการค้าด้วย

ที่มา: มนต์ชัย วัชรบุตร,/29 กันยายน 2558,/สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า,/สืบค้นเมื่อ9 มกราคม 2563./จากเว็บไซต์ : //www.dsi.go.th

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้