จดทะเบียนการค้า แผงลอย pantip

ซื้อบ้าน ต้องจดทะเบียนการค้าหรือไม่? คำถามและปัญหาค้างคาใจคนขายของออฟไลน์ หรือแม่ค้าพ่อค้าที่เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กอย่างมาก เพราะอาชีพเหล่านี้ย่อมไม่มีทะเบียนการค้า เหมือนอย่างบริษัทหรือห้างร้านทั่วไป ซึ่งหลายธนาคารมักกำหนดให้ “ทะเบียนการค้า” เป็นเอกสารยืนยันข้อเท็จจริงการทำอาชีพค้าขายแบบลายลักษณ์อักษรชิ้นสำคัญ และยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยช่วยให้อนุมัติสินเชื่อกู้บ้านได้ง่ายขึ้น เหตุนี้เมื่อแม่ค้าไม่มีทะเบียนการค้าความวิตกกังวลจะไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อย่อมเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับความค้างคาใจที่หาคำตอบไม่เจอ

ทะเบียนการค้า กระดาษใบสำคัญของอาชีพขายของ

ทะเบียนการค้ามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทะเบียนพาณิชย์ ความสำคัญของกระดาษใบนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์แสดงความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้า หรือเรียกง่ายๆ เป็นเครื่องมือสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า ประกอบกับยังสามารถนำไปเป็นเอกสารชิ้นสำคัญในการทำธุรกรรมการเงินกับทางธนาคาร รวมไปถึงหลักฐานยื่นภาษีอีกด้วย เหตุนี้เจ้าของกิจการหลายรายจึงเลือกยอมสละเวลาไปสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง หรือฝ่ายการปกครองทุกแห่ง เพื่อจดทะเบียนการค้า

ใครบ้าง ควรจดทะเบียนการค้า

  1. เจ้าของกิจการคนเดียว
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  3. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่มาตั้งสำนักงานในประเทศไทย
  4. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  5. บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

ใครบ้าง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนการค้า

  1. การค้าเร่ หรือแผงลอย
  2. ธุรกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  3. ธุรกิจของนิติบุคคล ซึ่งมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษีกาจัดตั้งขึ้น
  4. ธุรกิจของหน่วยงานทางราชการ
  5. ธุรกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ ธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อ่านเพิ่มเติม พ่อค้า แม่ค้า ก็กู้เงินซื้อบ้านได้ เพียงรู้จักวิธีเตรียมตัว

วิธีแก้ปัญหาไม่มีทะเบียนการค้า แต่แม่ค้าพ่อค้าอยากซื้อบ้าน

แม้แม่ค้าที่เปิดร้านแผงลอยจะได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า แต่ในแง่ของการทำธุรกรรมการเงิน หลายธนาคารมักกำหนดให้ใบทะเบียนการค้าเป็นเอกสารสำคัญในการยื่นกู้ เหตุนี้แม่ค้า พ่อค้า ออฟไลน์จึงพยายามหาวิธีอื่นมาช่วยให้กู้สินเชื่อซื้อบ้าน ในกรณีที่ไม่มีทะเบียนการค้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งมี 3 วิธีดังนี้

  1. เตรียมให้พร้อมเอกสารสั่งซื้อจากคู่ค้า ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสร็จรับเงิน หรือใบอนุญาตประกอบกิจการ หลักฐานชิ้นสำคัญไม่แพ้ใบทะเบียนการค้า เครื่องมือยืนยันอาชีพของพ่อค้าแม่ค้าออฟไลน์
  2. ใช้บัญชีรายรับ เงินเข้า 6 เดือนติด เป็นหลักฐานยืนยืนความมั่นคงของอาชีพขายของออฟไลน์
  3. รูปถ่ายหน้าร้านและจำนวนสินค้าที่ขายได้ อีกหนึ่งข้อบ่งชี้ความสามารถชำระหนี้ของแม่ค้าพ่อค้าออฟไลน์

ที่มา: scbsme.scb.co.th

จากข้อมูลข้างต้น ทะเบียนการค้า เป็นเอกสารที่แม่ค้า พ่อค้าออฟไลน์ ไม่จำเป็นต้องแสวงหามายืนยันกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อให้กู้เงินซื้อบ้านได้ เพราะโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ นั้นมีสูง แม้ว่าจะไม่มีทะเบียนการค้าก็ตาม หากเตรียมเอกสารจัดแจงรายได้ รวมถึงเตรียมเอกสารการกู้อย่างครบถ้วน

ขายของออฟไลน์ต้องการกู้เงินซื้อบ้าน แม้เตรียมเอกสารการกู้ จัดแจงรายได้แล้วแต่เกิดข้อสงสัยว่าจะสามารถขอสินเชื่อกู้เงินซื้อบ้านและได้วงเงินกู้เท่าไหร่ สามารถประมาณยอดเงินกู้ซื้อบ้านได้ผ่าน “เครื่องคำนวณเงินกู้” คลิก

รายได้จากร้านค้าทั้งส่วนที่ได้รับจากลูกค้าและส่วนที่ได้รับจากรัฐ รายได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษีก็ต้องยื่นแบบนำภาษีเงินได้ ส่วนจะเสียภาษีหรือไม่นั้นต้องไปดูกันอีกครั้ง 

หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษี

  • ยื่นภาษีครึ่งปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ยื่นภายในเดือนกันยายน และ
  • ยื่นประจำปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

เกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี

  • คนโสดมีรายได้เกิน 60,000 บาท ต่อปี
  • คนมีคู่สมรส ไม่ว่าจะมีรายได้ฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท

การหักค่าใช้จ่าย

  • หักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง (ต้องมีเอกสาร หลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือ
  • หักเป็นการเหมาในอัตรา ร้อยละ 60

หักลดหย่อนได้ตามที่กฎหมายกำหนด

กำไรจากการทำธุรกิจ

บุคคลธรรมดาสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบคือ

1.หักค่าใช้จ่ายตามอัตราเหมาค่าใช้จ่าย (สูงสุด 60%)

2.หักค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง > คุณจะต้องมีการบันทึกรายการค่าใช้จ่ายและเก็บเอกสารประกอบการลงรายการให้สรรพากรตรวจ

เรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าต้องระวังก็คือ หากมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งให้กรมสรรพากร โดยต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 นำ ส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และ ชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ประโยชน์ของการ จดทะเบียนการค้า ขายอาหาร ช่วยให้ทำธุรกรรมทางการเงินเกี่ยวกับร้านอาหารได้ง่ายมากขึ้น เช่น การกู้-ยืม การจ่ายภาษีอย่างถูกต้องป้องกันการโดนเรียกภาษีย้อนหลัง ทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ตัวร้านสำหรับการ จดทะเบียนการค้า ขายอาหาร

ปัจจุบัน มี ร้านอาหาร ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ ซึ่งปัญหาที่พบคือ ส่วนมากไม่มีการจดทะเบียนการค้า

หรือบางคนเลี่ยงที่จะจดทะเบียนการค้า ซึ่งในความเป็นจริง การจดทะเบียนการค้า สำคัญกับผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างมากในบทความนี้ จะทำให้คุณเข้าใจและอยากจดทะเบียนการค้ากันมากขึ้น

เลือกหัวข้ออ่าน

ทำไมต้องจดทะเบียนการค้า

เมื่อคุณเริ่มมีธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสถานบันเทิง ร้านอาหาร แม้ธุรกิจนั้นจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดไว้ ก็จำเป็นที่จะต้องจดทะเบียนการค้าค่ะ

เพราะการจดทะเบียนการค้า จะทำให้รู้ว่า คุณมีการประกอบกิจการอย่างถูกต้องแล้วนะ มีข้อมูลร้านอาหารอยู่ในระบบจริง ๆ ซึ่งส่วนนี้ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับร้านอาหารของคุณ

รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าของคุณอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น คุณยังสามารถนำทะเบียนการค้าใช้เป็นหลักฐานในการกู้ซื้อบ้านและรถได้

การจดทะเบียนการค้า แตกต่าง กับการจดทะเบียนบริษัท อย่างไร

การจดทะเบียนการค้า

การจดทะเบียนการค้า หรือการจดทะเบียนพาณิชย์ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และเป็นเจ้าของธุรกิจเพียงผู้เดียว ข้อดี คือ คุณทำสิ่งที่ถูกต้องตามที่กฎหมายไทยกำหนด

และคุณสามารถใช้เป็นเอกสารประกอบขอสินเชื่อได้  อีกทั้ง ยังส่งผลให้ร้านอาหารของคุณมีความน่าเชื่อถือ ลูกค้ามั่นใจ เลือกใช้บริการร้านคุณมากขึ้น

การจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ มีเจ้าของธุรกิจหรือผู้ลงทุน 3 คนขึ้นไป เมื่อมีการจดทะเบียนบริษัทแล้ว จะต้องจัดทำบัญชี, ยื่นประกันสังคมให้พนักงาน เป็นต้น

หมายเหตุ สำหรับเรื่องภาษีที่หลายคนสงสัยว่า ถ้าไม่จดทะเบียนการค้า ก็ไม่ต้องเสียภาษีใช่ไหม ความจริงคือ แม้คุณจดทะเบียนการค้า หรือไม่ได้จดทะเบียนการค้า แต่ถ้าคุณมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ก็จำเป็นต้องเสียภาษีอยู่ดีค่ะ

ใครบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า

ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องจดทะเบียนการค้านะคะ ยังมีอีกหลายกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการค้า ได้แก่

  • พ่อค้าแม่ค้าแผงลอย หรือหาบเร่ เพราะว่ามีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง หรือถ้ามีแผงที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่ไม่มีความแน่นอน ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการค้าค่ะ
  • ผู้ประกอบกิจการค้า เพื่อการบำรุงศาสนา และการกุศล
  • กระทรวง ทบวง กรม
  • มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  • กลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียน

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบ ทพ. (คำขอจดทะเบียนพาณิชย์)
  • สำเนาบัตรประชาชน ควรดูวันหมดอายุด้วย
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ภาพถ่ายร้านค้า (ต้องมีภาพถ่ายหน้าร้านด้วย สำคัญมาก)
  • แผนที่ตั้งร้าน
  • ค่าธรรมเนียม 50 บาท

หมายเหตุ เอกสารที่ต้องเตรียม ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ด้วย บางพื้นที่อาจจะมีการเรียกเอกสารเพิ่มเติม และสำหรับที่ตั้งร้าน ถ้าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของที่ตั้งร้าน

หรือ แค่เช่าสถานที่เปิดร้านอาหาร จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือยินยอมใช้สถานที่ประกอบกิจการและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่คุณไปขอใช้สถานที่

อีกกรณี ถ้าคุณไม่สามารถยื่นจดทะเบียนด้วยตนเองได้ จำเป็นต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้า

  1. เข้าเว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือคลิก ในหมวด Hot Service  เลือกดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  2. จากนั้น เลือก ทะเบียนพาณิชย์
  3. คลิกไฟล์ PDF แบบ ทพ. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้เลยค่ะ หรือคลิก 
  4. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เตรียมเอกสารให้พร้อม และนำไปยื่นที่ฝ่ายปกครองตามเขตท้องที่ที่ร้านค้าของคุณตั้งอยู่ได้เลยค่ะ เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาดำเนินการไม่นานค่ะ เพียงเท่านี้ ถือเป็นอันเสร็จ ร้านอาหารของคุณ ก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนทันที

หมายเหตุ หากคุณมีรายได้จากการขายเกิน 1,800,000 บาท จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

READ  5 ความรู้เบื้องต้น สำหรับคนที่อยากเริ่มทำร้านอาหาร

สถานที่ยื่นจดทะเบียนการค้า

สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นจดทะเบียนการค้าได้ที่ ..

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

สำหรับภูมิภาคอื่น ๆ สามารถยื่นจดทะเบียนการค้าได้ที่ ..

  • เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ที่กิจการตั้งอยู่

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องไปจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ประกอบกิจการ หากใครมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945

ถ้าไม่จดทะเบียนการค้า จะเกิดอะไรขึ้น

หากมีธุรกิจของตนเอง และไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนต่อเนื่อง จะโดนปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย

การจดทะเบียนการค้า นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการแล้ว ข้อเสียก็ยังน้อยมากอีกด้วย หากเพื่อน ๆ คนไหนที่มีธุรกิจเป็นของตนเอง

เข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด รีบมาจดทะเบียนการค้ากันนะคะ  ส่วนใครมีข้อสงสัย หรืออยากแชร์ประสบการณ์ สามารถมาพูดคุยกับพวกเราได้เลยค่ะ

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

  • กลยุทธ์ร้านอาหาร, การจัดการร้านอาหาร, การตลาดร้านอาหาร, จดทะเบียนการค้า, ร้านอาหาร, วัตถุดิบอาหาร, เจ้าของร้านอาหาร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้