ฟัน กร่อน ทํา ไง ดี

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่ชัดเจน การรักษาจึงอาจใช้การใส่เครื่องมือเฝือกสบฟันในปากขณะนอนหลับเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสึกกร่อนบดขยี้กันขณะนอนหลับ เนื่องจากเฝือกสบฟันทำมาจากพลาสติกซึ่งช่วยคลุมปลายฟันบนหรือฟันล่างขณะที่เรานอนกัดฟันโดยไม่รู้ตัว

ข้อควรระวัง 

หลังจากรับประทานอาหารที่มีรสจัดเสร็จแล้วไม่ควรแปรงฟันทันที เพราะจะทำให้ฟันสึกกร่อนอ่อนแอลงได้อย่างรวดเร็ว ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ดื่มน้ำหรือบ้วนปากเยอะๆ แทน เพื่อกำจัดเอาค่าความเป็นกรดในปากออกไป

หากผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าตนเองเริ่มมีอาการฟันสึกหรือไม่ แนะนำให้เข้าไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจเช็คและวางแผนการรักษาวิธีที่เหมาะสมกับตนเองเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หลังจากนั้นก็หมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาไม่ให้โรคฟันเกิดการลุกลามถึงขั้นรุนแรงได้

การรักษาความสะอาดช่องปาก และฟันจึงควรทำแบบพอดีไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไปนะคะ วันนี้ศูนย์ทันตกรรม BIDC จะพาทุกคนมาหาคำตอบกันค่ะ ว่า “คอฟันสึก” คืออะไร สาเหตุมาจากอะไร สามารถรักษาได้หรือไม่ และต้องป้องกันอย่างไร

สารบัญความรู้เกี่ยวกับ “คอฟันสึก” [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

คอฟันสึก คืออะไร

Abfraction หรือ คอฟันสึก คือ ภาวะผิดปกติทางฟันชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้คอฟันหรือฟันส่วนที่อยู่ติดกับเหงือกเกิดการกร่อนหรือสูญเสียเนื้อฟันไปบางส่วน โดยเฉพาะผิวฟันด้านที่อยู่ติดกับกระพุ้งแก้มส่วนใหญ่แล้วภาวะคอฟันสึกมักไม่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงใด ๆ ยกเว้นบางกรณีที่อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟัน

ขณะรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ร้อนหรือเย็นจัด คอฟันสึกเป็นภาวะที่มักพบได้ในคนที่มีอายุระหว่าง 20 – 70 ปี แต่จะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยช่วงแรกที่มีภาวะคอฟันสึกเล็กน้อยมักจะไม่พบอาการผิดปกติ แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ภาวะคอฟันสึกอาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นเกี่ยวกับฟันตามมา ทั้งการสูญเสียผิวฟันและชั้นเคลือบฟัน ความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ ไปจนถึงการเกิดภาวะฟันโยก และการสูญเสียฟันได้

ข้อมูลเพิ่มเติม : Abfraction: Symptoms, Causes, and How to Treat (คลิกอ่าน)

สาเหตุการเกิดคอฟันสึกมีอะไรบ้าง

คอฟันสึกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การแปรงฟันที่ผิดวิธี โดยทั่วไปมักแปรงด้านหน้าฟันแบบถูไปมาแรง ๆ ตามแนวนอน จึงเป็นการทำลายคอฟันและเหงือกโดยไม่รู้ตัว วิธีที่ถูกต้องคือ ฟันล่างให้ปัดแปรงขึ้น ฟันบนให้ปัดแปรงลง สวนทางกัน
  • การใช้แปรงฟันที่มีขนแปรงแข็ง เพราะเชื่อว่าแปรงสีฟันที่ดีต้องมีขนแปรงแข็ง จึงจะทำให้แปรงฟันได้สะอาด และยังใช้ได้นาน ๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแปรงบ่อย ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการทำความสะอาดฟันนั้นไม่จำเป็นต้องขัดหรือออกแรงเหมือนขัดภาชนะหรือพื้น
  • รับประทานอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น อาหารที่มีรสเปรี้ยว น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลม
  • การขบเคี้ยวของแข็ง ๆ เช่น กระดูกไก่ ขบผลไม้และถั่วที่มีเปลือกแข็ง หรือชอบขบเคี้ยวประเภทมะขาม มะม่วง ของดองต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ด้านบดเคี้ยวของกรามสึกได้
  • การนอนกัดฟัน คนที่นอนกัดฟันจนเป็นนิสัย มักจะมีฟันกรามสึก

นอกจากสาเหตุข้างต้น ในบางกรณีภาวะคอฟันสึกอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพฟันเพิ่มเติมที่นี่

ภาวะคอฟันสึกรักษาได้หรือไม่

โดยทั่วไป ผู้ป่วยภาวะคอฟันสึกที่ไม่รุนแรงหรือคอฟันเกิดการสึกเพียงเล็กน้อย ทันตแพทย์มักนัดผู้ป่วยมาตรวจฟันเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามอาการเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือทันตแพทย์เห็นว่าควรได้รับการรักษา ทันตแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ สาเหตุ และความเหมาะสมต่อผู้ป่วย โดยวิธีที่ทันตแพทย์อาจพิจารณาใช้ในการรักษา เช่น

  • การรักษาด้วยการอุดฟัน โดยเฉพาะกรณีที่ทันตแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยมีอาการเสียวฟัน หรือทำความสะอาดลำบาก
  • การใส่เฝือกสบฟันสำหรับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟัน
  • การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารโพแทสเซียมไนเตรท (Potassium Nitrate) หรือสารซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (Silver Diamine Fluoride) เพื่อช่วยบรรเทาอาการเสียวฟัน
  • การจัดฟันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ
  • การรักษารากฟันร่วมกับการอุดฟัน หรือครอบฟัน เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันในกรณีที่คอฟันสึกถึงโพรงประสาทฟัน

อุดฟันสีเหมือนฟัน

ครอบฟัน

การรักษารากฟัน

นอกจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้ว ทันตแพทย์ยังอาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างร่วมด้วย เช่น หลีกเลี่ยงการแปรงฟันที่รุนแรงเกินไป เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ใช้เจลลดอาการเสียวฟัน รวมถึงแนะนำให้ผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นระยะ

ทั้งนี้ แม้วิธีการรักษาบางอย่างอาจจะช่วยบรรเทาภาวะคอฟันสึก และอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักไม่สามารถช่วยรักษาสภาพฟันที่เกิดการกร่อนหรือการสูญเสียเนื้อฟันบางส่วนให้กลับไปเป็นอย่างเดิมได้

ข้อมูลเพิ่มเติม : บริการทางทันตกรรมแบบครบวงจร ศูนย์ทันตกรรม BIDC (คลิกอ่าน)

ลักษณะคอฟันสึกแบบไหน ที่ควรเข้ารับการรักษา

  • มีอาการเสียวฟัน ขณะรับประทานอาหารเย็น หวาน หรือขณะแปรงฟัน
  • ขาดความสวยงาม เนื่องจากสีและรูปร่างฟันผิดไปจากปกติ
  • รอยสึกของฟันค่อนข้างลึก
  • มักมีเศษอาหารติดบริเวณรอยสึกเป็นประจำ

วิธีการป้องกันฟันสึกมีอะไรบ้าง

  • แปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อน แทนขนแปรงแข็งปานกลาง แปรงให้ถูกวิธี แปรงเบาๆ และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ นาน 2 – 3 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการสึกของฟัน (อาหารที่มีความเป็นกรดสูง) ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรดื่มน้ำหลังจากรับประทานอาหารดังกล่าว เพื่อลดความเป็นกรดในช่องปาก และไม่ควรแปรงฟันทันที เนื่องจากผิวฟันจะมีสภาพอ่อนนุ่มเป็นผลให้ฟันมีการสึกมากขึ้น
  • ใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีโพแทสเซียมหรือสตรอนเทียม เพื่อลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันที่ช่วยลดเสียวฟันมักจะมี คำว่า ‘sensitive’ = เซนซิทีฟ หรือไวต่อความรู้สึกพิมพ์อยู่ในฉลาก
  • ใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟัน ทำความสะอาดบริเวณซอกฟันเป็นประจำ ..อ่านต่อ
  • ตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ทุกๆ 6 – 12 เดือน

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นวิธีการป้องกันคอฟันสึก และปัญหาทางช่องปากที่ดีที่สุด เช่น การแปรงฟันให้ถูกวิธี การเลือกแปรงให้เหมาะสม การใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสมเพื่อป้องกันการเกิดฟันผุ ควรหมั่นดูแลสุขภาพปาก และฟันเป็นประจำ

ฟันกร่อนเกิดจากอะไร

ฟันสักและฟันกร่อนเป็นการสูญเสีนส่วนของผิวหน้าฟันออกไป เกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น การแปรงฟันที่รุนแรง หรือผิดวิธี, การที่มีนิสัยที่ชอบรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด, ชอบเคี้ยวอาหารแข็ง เหนียวเป็นประจำ, นอนกัดฟัน หรือหลายๆ สาเหตุร่วมกัน ทำให้เกิดการสูญเสียผิวหน้าฟันไป เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของฟัน เช่น อาจ ...

คอฟันสึก หายเองได้ไหม

ภาวะคอฟันสึกรักษาได้หรือไม่ โดยทั่วไป ผู้ป่วยภาวะคอฟันสึกที่ไม่รุนแรงหรือคอฟันเกิดการสึกเพียงเล็กน้อย ทันตแพทย์มักนัดผู้ป่วยมาตรวจฟันเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามอาการเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ

ฟันสึกกร่อน เป็นยังไง

ฟันสึก ฟันกร่อน คือ ผิวฟันส่วนใดส่วนหนึ่งได้หลุดหรือกร่อนไปทีละเล็กทีละน้อย ที่ทำให้ดูไม่คงรูปฟันเหมือนเดิม ซึ่งจะพบได้บ่อยในฟันทั้งสองด้านคือ ด้านที่ใช้สำหรับการบดเคี้ยว และคอฟัน คือฟันที่ติดกับแก้มในตำแหน่งรอยต่อระหว่างตัวฟันกับรากฟัน หรือบางทีก็มีฟันสึกด้านในลิ้นบริเวณฟันล่าง

การสึกกร่อนของฟันจะทำให้เกิดอาการแบบใดเมื่อรับประทานอาหารร้อนและเย็น

เกิดอาการเสียวฟัน เมื่อเคลือบฟันเกิดการสึกกร่อน ฟันจึงจะไวต่อความรู้สึกมากขึ้น เช่น เมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น, รับประทานอาหารที่มีรสหวาาน ฟันเริ่มเปลี่ยนสี เมือชั้นเคลือบฟันที่มีสีขาวถูกกัดกร่อน จึงเผยให้เห็นเนื้อฟันด้านใน ทำให้ฟันดูเหลืองขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้