การคุ้มครองสวัสดิภาพ มี3 ลักษณะคือ

เด็กเป็นผู้ที่ยังเยาว์วัยทั้งในด้านความคิด การกระทำและประสบการณ์ จึงควรได้รับการปกป้องดูแลและช่วยเหลือ....

           เด็กเป็นผู้ที่ยังเยาว์วัยทั้งในด้านความคิด การกระทำและประสบการณ์  จึงควรได้รับการปกป้องดูแลและช่วยเหลือ  ตามที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. 2546 ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2547 นับเป็นกฎหมายหลักสำคัญที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

          เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครองตามกฎหมาย  ได้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์   แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส   

           1. การสงเคราะห์เด็ก        ในมาตรา 32  ระบุไว้ว่า   เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่            

           (1) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า               

           (2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง

          (3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท

          (4) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

          (5) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

          (6) เด็กพิการ

          (7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก

          (8) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์

          เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตามมาตรา 24 (ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)  ได้รับแจ้ง หรือพบเห็นเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์  จะต้องสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ถ้าเด็กเจ็บป่วยหรือจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือเป็นเด็กพิการต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจแก่เด็กทันที (มาตรา 35)     หากเป็นเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์อาจพิจารณาดำเนินการให้การสงเคราะห์เด็กได้ใน 2 ลักษณะ คือ (มาตรา 33)  

           กรณีที่หนึ่ง    ครอบครัวยังสามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้     ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถอุปการะเลี้ยงดู  อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก  

          กรณีที่สอง  ครอบครัวไม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้     ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กสามารถนำเด็กไปขอรับการสงเคราะห์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เพื่อส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับในระยะแรกก่อนที่จะพิจารณาให้การสงเคราะห์เด็กตามความเหมาะสมในลำดับต่อไป  โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก ได้แก่   

          (1) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 1 เดือน

          (2) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

          (3) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ 

          (4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์

          (5) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือส่งเด็กเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือส่งเด็กศึกษากล่อมเกลาจิตใจโดยใช้หลักศาสนาในวัดหรือสถานที่ทางศาสนาอื่น ที่ยินยอมรับเด็กไว้

          อย่างไรก็ตามการส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ  ครอบครัวอุปถัมภ์  สถานรับเลี้ยงเด็ก  สถานสงเคราะห์  สถานพัฒนาและฟื้นฟูหรือสถานที่ทางศาสนา  ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองโดยความยินยอมดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ หรือยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้   ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจส่งเด็กเข้ารับการสงเคราะห์ตามวิธีการข้างต้น   ทั้งนี้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดต้องฟังรายงานและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในสาชาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และการแพทย์ก่อน  ซึ่งในระหว่างที่เด็กได้รับการอุปการะจากบุคคลหรือองค์กรข้างต้น  พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการด้วยวิธีต่างๆเพื่อให้เด็กสามารถกลับไปอยู่ในความปกครองของผู้ปกครองโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

          หากเด็กที่ได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์แต่ยังอยู่ในสภาพที่จำเป็นจะต้องได้รับการสงเคราะห์ อาจได้รับการสงเคราะห์ต่อไปจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และถ้ามีเหตุจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ต่อตามความจำเป็นและสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเวลาที่บุคคลนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ในกรณีที่ผู้ปกครองรับเด็กกลับมาอยู่ในความดูแล มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำก็ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อเรียกผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการอันใดที่มีลักษณะเป็นการให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก  และให้วางประกันไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลาสองปี ถ้ากระทำผิดทัณฑ์บนให้ริบเงินประกันเข้ากองทุนคุ้มครองเด็ก (มาตรา 39)  ทั้งนี้การให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองหรือการเรียกประกันจะต้องคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองและประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ 

        2. การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก     ในมาตรา 40  ระบุไว้ว่า  เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่

          (1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม

          (2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

          (3) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ    

           2.1 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกทารุณกรรม 

          พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเมื่อได้รับแจ้งหรือพบเห็นพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก  มีอำนาจเข้าตรวจค้นและแยกตัวเด็กจากครอบครัว (มาตรา 41)  โดยจะต้องนำเด็กไปรับการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจโดยเร็วที่สุด และต้องทำการสืบเสาะข้อมูลทางครอบครัวเพื่อประกอบการพิจารณาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก ในระหว่างการสืบเสาะข้อมูลอาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับหรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็จะพิจารณาให้การสงเคราะห์เด็กตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  และถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจจะต้องรีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู

การส่งเด็กไปสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือสถานที่อื่นใด   ในระหว่างการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก  ให้กระทำได้ไม่เกิน 7 วัน ยกเว้นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งขยายระยะเวลาออกไปรวมแล้วได้ไม่เกิน 30 วัน (มาตรา 42)

           กรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ปกครองหรือญาติที่เป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก       ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องนั้นจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก ศาลที่พิจารณาคดีนั้นมีอำนาจกำหนดมาตรการคุมความประพฤติ   ห้ามเข้าเขตกำหนด หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กในระยะที่ศาลกำหนด (มาตรา 43)  และจะสั่งให้ทำทัณฑ์บนตามวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 46 และมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วยก็ได้  (มาตรา 46 ถ้าความปรากฏแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงาน อัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น    ในการพิจารณาคดีความผิดใด   ถ้าศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้องแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น   ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งผู้นั้นให้ทำทัณฑ์บน  โดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินกว่าห้าพันบาท ว่าผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุดังกล่าวตลอดเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่เกินสองปี และจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้   ถ้าผู้นั้นไม่ยอมทำทัณฑ์บนหรือหาประกันไม่ได้ ให้ศาลมีอำนาจ สั่งกักขังผู้นั้นจนกว่าจะทำทัณฑ์บนหรือหาประกันได้ แต่ไม่ให้กักขังเกินกว่า 6 เดือน หรือจะสั่งห้ามผู้นั้นเข้าไปในเขตกำหนด               มาตรา 47 ถ้าผู้ทำทัณฑ์บนตามความใน มาตรา 46 กระทำผิดทัณฑ์บนให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนที่ได้กำหนด ไว้ในทัณฑ์บน)

หากผู้ปกครองหรือญาติของเด็กที่เป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็ก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 81)

           กรณีที่ยังไม่มีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ฟ้องคดีอาญา     แต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมีการกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือพนักงานอัยการจะต้องยื่นคำขอต่อศาล เพื่อออกคำสั่งมิให้กระทำการดังกล่าวโดยกำหนดมาตรการคุมความประพฤติและเรียกประกันด้วยก็ได้  หากศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองเด็กมิให้ถูกกระทำทารุณกรรมอีก  ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้ที่เชื่อว่าจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กมากักขังไว้มีกำหนดครั้งละไม่เกินสามสิบวัน  ทั้งนี้การพิจารณาออกคำสั่งหรือการเรียกประกันจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

              2.2 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

          พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24  (ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) พบเห็นหรือได้รับแจ้งว่ามีเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  (เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย)  ให้สอบถามและดำเนินการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็ก  ประวัติความเป็นอยู่ และความประพฤติของเด็ก (มาตรา 44)  ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็ก ให้กำหนดมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้ 2 วิธีคือ

             วิธีแรก  สำหรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์  ดังนี้ 

           (1) ให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้

          (2) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเดือน ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตาม (1) ได้

          (3) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

          (4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (5) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ  (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (6) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์  (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (7) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือส่งเด็กเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู  หรือส่งเด็กศึกษากล่อมเกลาจิตใจโดยใช้หลักศาสนาในวัดหรือสถานที่ทางศาสนาอื่น ที่ยินยอมรับเด็กไว้   (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง) 

             วิธีที่สอง     มอบตัวเด็กให้ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ยินยอมรับเด็กไปปกครองดูแล และอาจวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองที่รับเด็กไปดูแล ต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้เด็กมีความประพฤติเสียหาย ข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้     

             1. ระมัดระวังมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
             2. ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง
             3. ระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย
             4. ระมัดระวังมิให้เด็กกระทำการใดอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย
             5. จัดให้เด็กได้รับการศึกษาอบรมตามสมควรแก่อายุ สติปัญญาและความสนใจของเด็ก
             6. จัดให้เด็กได้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก
             7. จัดให้เด็กกระทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
          

             หากผู้ปกครองที่รับเด็กไปดูแลไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจะต้องรับเด็กกลับไปดูแลตามวิธีแรก 

          นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจากอบายมุข  ตามมาตรา 45  ห้ามมิให้เด็กซื้อหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หรือเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หากฝ่าฝืนให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามเด็กเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและมีหนังสือเรียกผู้ปกครองมาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือ ว่ากล่าวตักเตือน ให้ทำทัณฑ์บนหรือมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการและระยะเวลาในการจัดให้เด็กทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์  และอาจวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้

          (1) ระมัดระวังมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร

          (2) ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง

          (3) ระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย

          (4) ระมัดระวังมิให้เด็กกระทำการใดอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย

           (5) จัดให้เด็กได้รับการศึกษาอบรมตามสมควรแก่อายุ สติปัญญา และความสนใจของเด็ก

          (6) จัดให้เด็กได้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก

          (7) จัดให้เด็กกระทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

          หากปรากฏว่าผู้ปกครองของเด็กไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนด  พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กอาจให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำก็ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อเรียกผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีกและให้วางประกันไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลา 2 ปี ถ้ากระทำผิดทัณฑ์บนให้ริบเงินประกันเข้ากองทุนคุ้มครองเด็ก

                         ******************************

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. 2546 

เด็กที่จะต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมีลักษณะอย่างไรบ้าง

มาตรา ๔๐ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่ (๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม (๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระท าผิด (๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จ าต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่ก าหนดใน กฎกระทรวง

การคุ้มครองสวัสดิภาพหมายถึงอะไร

ป้องกันบุคคลในครอบครัวจากการกระท าความรุนแรง หรือปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม และก าหนดให้มีการบ าบัด ฟื้นฟู และเยียวยาผู้ถูกกระท า

ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตนตามกฎหมายคุ้มครองเด็กคืออะไร

กฎหมายคุ้มครองเด็กฉบับนี้บังคับใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และนักเรียนนักศึกษา เป็นกฎหมาย ที่ให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือเยียวยาแก้ปัญหา และส่งเสริมความประพฤติเด็ก มิใช่กฎหมายที่กำหนดโทษเอาโทษแก่เด็ก มีสาระสำคัญ กำหนดเป็นหลักการ ในเบื้องต้น ให้ทุกคนปฏิบัติต่อเด็กโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ของเด็ก และไม่เลือก ...

ประเภทของเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ก) เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (มาตรา 32)ได้แก่ 1) เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า 2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง 3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุผลใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้