การ ฝึก ขั้น ที่ 3 พระ สิ ท ธั ต ถะ ทรง ใช้ วิธี บํา เพ็ญ ทุกรกิริยา หมาย ถึง ข้อ ใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเฆี่ยนตนเองเป็นการบำเพ็ญ “ทุกรกิริยา” วิธีหนึ่งที่เริ่มทำกันในช่วงที่เกิดแบล็กเดท

ทุกรกิริยา (บาลี: ทุกฺกรกิริยา; อังกฤษ: self-mortification/ mortification of the flesh) แปลว่า “การกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก”[1] ใช้ในบริบททางศาสนาและจิตวิญญาณ เพื่อหมายถึงการทรมานร่างกายตนเอง เพื่อชำระตนให้บริสุทธิ์จากบาป

“ทุกรกิริยา” อย่างง่ายที่สุดคือการละเว้นจากกิเลสบางอย่าง เช่น การงดดื่มสุรา หรือการเลือกใช้ชีวิตอันสมถะ เช่น ใช้ชีวิตอารามวาสี หรือถ้าเป็น “ทุกรกิริยา” ขั้นรุนแรงอาจจะเป็นการทำร้ายตนเองเช่นโดยการเฆี่ยน แทง หรือกรีดเนื้อหนังเป็นต้น

ศาสนาคริสต์[แก้]

การทำ “ทุกรกิริยา” ในศาสนาคริสต์ มีต้นกำเนิดมาจากบทจดหมายสามฉบับของเปาโลอัครทูตที่กล่าวว่า “เพราะว่าถ้าท่านดำเนินชีวิตตามเนื้อหนังแล้ว ท่านจะต้องตาย แต่ถ้าโดยทางพระวิญญาณ ท่านทำลายกิจการของร่างกาย ท่านก็จะดำรงชีวิตได้” (โรม 8:13)[2] ความคิดเดียวกันนี้สะท้อนในบทเขียนที่ว่า “เหตุฉะนั้นจงประหารอวัยวะของท่านซึ่งอยู่ฝ่ายโลกนี้ คือการล่วงประเวณี การโสโครก ราคะตัณหา ความปรารถนาชั่ว และความโลภ ซึ่งเป็นการนับถือรูปเคารพ” (โคโลสี 3:5)[3] และ “ผู้ที่อยู่ฝ่ายพระเยซูคริสต์ได้ตรึงเนื้อหนังไว้ที่กางเขนพร้อมกับราคะและตัณหาแล้ว” (กาลาเทีย 5:24) [4]

ศาสนาพุทธ[แก้]

ดูบทความหลักที่: บำเพ็ญทุกรกิริยา

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 575
  2. โรม 8:13
  3. โคโลสี 3:5
  4. กาลาเทีย 5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Penance Discussion เก็บถาวร 2009-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

พุทธประวัติ

๑.. พุทธประวัติ

              

                     ๑.๑ การตรัสรู้

เมื่อทรงผนวชแล้ว พระสิทธัตถะโคตมะได้ศึกษาค้นคว้าทางพ้นทุกข์อยู่เป็นเวลา 6 ปี หรือสามารถกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ผู้ฝึกฝนได้อย่างสูงสุด ทรงมีความเพียรเป็นเลิศ จึงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยในช่วงเวลา 6 ปีนี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญกิริยาต่างๆ ที่เป็นการฝึกฝนตน แบ่งเป็นขั้นตอนลำดับได้ดังต่อไปนี้

    

           1. ขั้นที่ 1 ทรงฝึกปฎิบัติโยคะ   ในแคว้นมคธสมัยนั้น มีอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงอยู่ 2 ท่าน ที่สอนฝึกปฎิบัติโยคะ คือ .อาฬารดาบส กาลามโคตร กับ อุทกดาบส รามสูตร พระสิทธัตถะโคตมะทรงไปขอศึกษาและปฎิบัติอยู่กับอาจารย์ทั้งสองจนจบความรู้ของท่านทั้งสองโดยได้สำเร็จฌานสมาบัติ 7 จากอาฬารดาบส และได้ฌานสมบัติขั้นที่ 8 จากอุทกดาบส ก็ทรงทราบด้วยพระองค์เองว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง จึงอำลาอาจารย์ทั้งสองเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์โดยลำพังต่อไป

           2. ขั้นที่ 2 ทรงบำเพ็ญตบะ  หลังจากนั้นก็หันมาบำเพ็ญตบะ คือ การทรรมานตนเองให้ลำบาก ด้วยวิธีทรมานตนเองแบบต่างๆที่นักบวชชาวอินเดียนิยมทำกันเป็นจำนวนมากและเชื่อว่าเป็นแนวทางการพ้นทุกข์ทางหนึ่ง ในคัมภีร์พระไตยปิฏกบันทึกไว้ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้สาวกทั้งหลายฟังว่า พระองค์ทรงทำตบะหรือทรมานตนหลายอย่าง เช่น เปลือยกายตากลมและฝน ไม่ฉันปลาฉันเนื้อ กินโคมัย (มูลโค) ยืนเขย่งเท้า ไม่ยอมนั่ง นอนบนหนามแหลมคม ลงไปแช่น้ำเย็นจัดวันละสามเวลา เป็นต้น พระองค์ทรงทรมานตนอย่างอุกกฤษฏ์ปานฉะนี้ ก็ยังไม่ค้นพบทางแห่งความพ้นทุกข์  จึงหันมาเรื่มงานอันเป็นขั้นสุดท้ายของตบวิธี

           3. ขั้นที่ 3 ทรงบำเพ็ญทุกกรกริยา ทุกกรกริยา แปลว่า การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง พระองค์ทรงเล่าไว้ว่า ทรงกระทำเป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้ 3. ขั้นที่ 3 ทรงบำเพ็ญทุกกรกริย

                 3.1  ขั้นที่ 1 กัดฟัน คือ กัดฟันเข้าหากัน เอาลิ้นดุนเพดาน ทำนานๆจนเกิดความร้อนขึ้นในร่างกาย จนเหงื่อไหลออกจากรักแร้

                 3.2 ขั้นที่ 2 กลั้นลมหายใจ คือ กลั้นลมหายใจให้นานที่สุด จนกระทั้งหูอื้อปวดศรีษะ จุกเสียดท้อง ร้อนไปทัั่วสรรพางค์ดุจจนั่งอยู่บนกองไฟ

                 3.3 ขั้นที่ 3 อดอาหาร คือ ค่อยๆลดอาหารลงทีละน้อยๆ ในที่สุดก้ไม่เสวยอะไรเลยเป็นเวลานาน จนกระทั่งร่งกายผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก เวลาเอามือลูบกายเส้นขนก็เลื่อนหลุดออกมาเป็นกระจุก เดินไปไหนก็ซวนเซ เป็นลมแทบสิ้นชีวิต

            เมื่อพระองค์ทรงทำถึงขั้นนี้ก็ยังไม่ตรัสรู้ จึงทรงคิดว่ามิใช่หนทางที่ถูกต้องจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกริยา แล้วหันมาเสวยพระกระยาหารดังเดิม

             พระองค์ทรงตระหนักว่าแนวทางทีทรงทำมาเป็นเวลา 6 ปีเต็ม เป็นแนวทางที่ผิดพลาด ในขณะเดียวกันที่ทรงค้นพบทางสายใหม่ซึ่งเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง จากนั้น พระองค์ทรงดำเนินตามทางสายกลางอันเป็นขั้นสุดท้าย ในระหว่างนี้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ตามมาอุปฐากขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกริยาเห้นพระองค์ทรงกลับมาเสวยพระกระยาหาร จึงเสื่อมศรัทธาหาว่าพระองค์ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว คงไม่มีทางตรัสรู้แน่ จึงพากันปลีกตัวไปอยู่เสียที่อื่น

            4. ขั้นที่ 4 ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต การบำเพ็ญเพียรทางจิต คือทรงคิดค้นหาเหตุผลทางด้านจิตใจนั้นเอง เหตุการณ์ช่วงนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระองค์ทรงเลิกทุกกรกิริยาแล้ว พระองค์ก็ทรงเสด็จไปลำพังไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้าทรงรับข้าว มธุปายาส จากนางสุชาดา ซึ่งนับมาถวายด้วยนึกว่าเป็นเทวดาที่ตนบนบานขอบุตรชายไว้ หลังจากเสวยข้าวมยุปายาสแล้ว ก็ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำ ต่อมาเวลาเย็น พระองค์เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรามายังฝั่งตะวันตก ทรงนำเอาหญ้ากุศะ ( แปลกันว่าหญ้าคา) 8 กำ ที่นายโสตถิยะถวายมาปูลาดเป็นอาสนะ ร โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรงนั่งประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระปฤษฎางค์ (หลัง) พิงต้นโพธิ์ ทรงเข้าสมาธิจนจิตตั้งมั่นแน่วแน่ บรรลณานทั้งสี่ ใช้ณานทั้งสี่เป็น บาท (คือเป็นพื้นฐาน) พิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติและธรรมดาทั้งหลายจนเกิดญาณ ( การหยั่งรู้) ในสื่งทังหลายตามความเป็นจริง

ความรู้แจ่มแจ้งนั้นได้ปรากฏขึ้นในพระทัยของพระองค์ดุจมองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นความสว่างโพลงภายในที่ปราศจากความสงสัยเคลือบแคลงใดๆ ความรู้นี้ได้ตอบปัญหาที่ทรงค้างพระทัยมาเป็นเวลากว่าหกปี พร้อมกับการเกิดความรู้ด้านกิเลส ที่ทรงสงสัยอยู่ในจิตใจของพระองค์ก็ได้ปลาสนาการไปหมดสิ้นการรู้แจ้งของพระองค์สามารถสรุปเป็นขั้นๆดังนี้

1. ในยามต้น ทรงละลึกชาติหนหลังของพระองค์ได้

2. ในยามที่สอง ทรงได้ตาทิพย์มองเห็นการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายตามผลกรรมที่ได้กระทำไว้

3. ในยามที่สาม ทรงเกิดความรู้แจ้งที่สามารถทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นี้ก็คือ กระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับทุกข์ เรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลารุ่งอรุณของคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เดือนหก ก่อนพุทธศักราช 45 ปี

1..2 การก่อตั้งพระพุทธศาสนา

                              หลังจากตรัสรู้แล้ว ทรงพักผ่อนเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ก็ตัดสินพระทัยออกไปเสด็จสั่งสอนครั้งแรกทีเดียวพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งเกินกว่าจะสอนให้ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสเข้าใจได้ จึงทรงคิดจะไม่ออกไปสั่งสอน แต่ด้วยพระกรุณาธิคุณในน้ำพระทัย ทรงพิจารณาเปรียบเทียบเห็นว่า สัตว์โลกมีระดับปัญญาที่แตกต่างกันดุจดอกบัวระดับต่างๆในสระ ซึ่งบุคคลที่มีสติปัญญาพอจะเข้าใจธรรมมะที่พระองค์ทรงตรัสรู้ยังพอมีอยู่ ดังนั้นจึงตัดสินพระทัยที่จะสั่งสอนธรรมมะให้แก่เวไนยสัตว์ ( บุคคลที่แนะนำสั่งสอนได้) บุคคลกลุ่มแรกที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเทศน์โปรด คือ ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี โดยแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่า “ปฐมเทศนา” มีใจความย่อๆอยู่สี่ตอนดังนี้

                             ตอนต้น ทรงชี้ว่ามีทาง “สุดโต่ง” อยู่สองทางที่ไม่ทำให้พ้นทุกข์คือ การหมกหมุ่นอยู่ในกามทรมานตัวเองให้ลำบาก

                             ตอนที่สอง ทรงแสดง “ทางสายกลาง” หรืออริยมรรคมีองค์แปด ว่าเป็นหนทางนำไปสู่การพ้นทุกข์           

                                            ตอนที่สาม ทรงแสดงอริยสัจ ( ความจริงอันประเสริฐ) ๔ ประการ ที่พระองค์ได้ตรัสรู้

                             ตอนสุดท้าย เป็นการสรุปการเทศนาดังนี้หลังจากการแสดงธรรมจบลง “ โกณทัญญะ” หัวหน้าปัญจวัคคีย์ได้ “ ดวงตาเห็นธรรม” จึงกราบทูลขอบวช ภายหลังปัญจวัคคีย์อีกสี่คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ก็เกิดศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์กราบทูลขอบวชเช่นกัน ต่อมาปัญจวัคคีย์ทั้งห้าได้ฟัง “ อนันตลักขณสูตร” ( พระสูตรว่าด้วยอนัตตา) ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

                                ในเวลาต่อมา ยสกุลบุตร บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีห์พร้อมด้วยสหายและบริวารจำนวน๕๕ คน ได้มากราบทูลขอบวชด้วย เป็นอันว่าในระยะเริ่มแรกนี้ พระพุทธองค์ทรงมีสาวกซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์จำนวน ๖๐ องค์ ซึ่งนับว่ามากพอสมควร จึงทรงส่งท่านเหล่านี้แยกย้านกันออกไปสั่งสอนประชาชนยังแว่นแค้นต่างๆต่อไป

                                 ส่วนพระองค์ก็เสด็จไปโปรดชฎิล ( นักบวชเกล้าผม) สามพี่น้อง พร้อมบริวารจำนวน ๑,๐๐๐ ตน ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ชฎิลทั้งหมดยอมสละความเชื่อถือเดิมกราบทูลขอบวชเป็นสาวกของพุทธองค์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนจนบางส่วนได้บรรลุโสดาบัน บางส่วนได้เข้าถึงพระรัตนตรัย ( ยอมรับนับถือพระพุทธ พระธรมและพระสงฆ์อย่างมั่นคง) ส่วนพระเจ้าพิมพิสารนั้นได้ทรงถวายสวนไผ่ ( วัดเวฬุวัน) ให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

                                 ณ เมืองราชคฤห์นี้เอง มีเด็กหนุ่มสองคนซึ่งเป็นศิษย์ของนักปราชญ์เมธีผู้มีชื่อเสียง ในขณะนั้น คือ อาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร ได้มาขอบวชเป็นสาวก ซึ่งต่อมามีชื่อเรียกในทางพระพุทธศาสนาว่า “ พระสารีบุตร” และ “ พระโมคคัลลานะ” ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธองค์ให้เป็นอัครสาวก โดยพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ส่วนพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ซึ่งทั้งสองท่านได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายในเวลาอันรวดเร็ว

                                 หลังจากการประดิษฐานของพระพุทธศาสนามีความมั่นคงในแค้นมคธได้ไม่นานพระพุทธศานาก็ไปมีศูนย์กลางแห่งใหม่ทีเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยเศรษฐีชื่ออนาถบิณฑิกะได้สร้างวัดพระเชตะวัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าภิกษุสงฆ์ไปประทับอยู่ประจำ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เศรษฐีนีอีกคนหนึ่งก็มีจิตศรัทธาสร้างวัดบุพพารามถวายอีกแห่งหนึ่งด้วย แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ได้ถวายองค์เป็นสาวกพระพุทธเจ้า และเข้าเฝ้าฟังธรรมและทูลถามปัญหาธรรมกับพระพุทธองค์เสมอ

                                  ตลอดเวลา ๔๕ ปี พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่วัดพระเชตะวันบ่อยครั้งและนานกว่าที่อื่นพระองค์ได้ตรัสสอนประชาชนที่วัดพระเชตะวันเป็นส่วนมาก ชีวิตของพระบรมศาสดาเป็นตัวอย่างของบุคคลที่ทำงานเพื่อประโยช์แก่สังคมโลกอย่างอุทิศที่สุด สังเกตจาก “พุทธกิจ ๕ ประการ” ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญเป็นกิจวัตรทุกวัน ทรงมีเวลาพักผ่อนน้อยเหลือเกิน เวลาบรรทมไม่เกิน ๓-๔ ชั่วโมงของแต่ละวัน พระองค์ทรงมีพระโรคประจำพระองค์ คือ “ ปักขันทิกาพาธ” (โรคท้องร่วง) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำทุกกรกริยอดอาหาร ทำให้ระบบลำไส้รวนเรมาโดยตลอด กระนั้นก็ตาม พระองค์ก็ยังเสด็จไปสั่งสอนประชาชนยังแคว้นต่างๆด้วยพระมหากรุณาธิคุณโดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหน้ดเหนื่อยพระวรกายแต่อย่างใด

                                  เมื่อพระชนม์มายุย่างเข้า ๘๐ พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ( สวนสาละ) ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ ท่ามกลางความเศร้าสลดของเหล่าสาวกทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต

                                   พระสรีระของพระบรมศาสดาได้ดับสลายไปแล้ว ยังคงเหลือแต่ “ พระปัจฉิมโอวาท” ที่ตรัสสั่งเหล่าสาวกในวินาทีสุดท้ายว่า “ ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงทำกิจของตนเองและกิจเพื่อผู้อื่นให้พร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

เจ้าชายสิทธัตถะได้บําเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีการใดบ้าง

เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช เมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ได้ศึกษาอยู่ในสำนักของอาจารย์อาฬารดาบส และอุททกดาบสจนสำเร็จ แต่ก็ยังไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงเปลี่ยนวิธีไปเป็น การบำเพ็ญทุกรกิริยา (อ่านว่า ทุก-กะ-ระ-กิ-ริ-ยา) คือ การทรมานร่างกายให้ลำบากด้วยวิธี ต่าง ๆ ดังนี้ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์

การบําเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า มีอะไรบ้าง

การเดินทางมากราบไหว้สักการะถ้ำดงคสิริ นอกจากจะเป็นสิริมงคลแก่พุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นการศึกษาพุทธประวัติก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าด้วย โดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือการทำความเพียรทางกายด้วยการทรมานตนเอง กลั้นลมหายใจ และอดน้ำ-อดอาหาร

ทุกรกิริยาที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบําเพ็ญวาระแรก คืออะไร

ทุกรกิริยา' ๓ อย่าง คือ ๑. กดฟัน และกดลิ้นกับ เพดานปาก 9 ๒. กลันลมหายใจ ๓. อดพระกระยาหาร เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

การบําเพ็ญเพียรทางจิตจนตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเรียกว่าอะไร

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ” จนเวลาผ่านไปจนถึง ... ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้