สิทธิในการมีส่วนร่วม หมายถึง

สิทธิ คือ ผลประโยชน์หรืออำนาจอันชอบธรรมที่กฎหมายรับรอง คุ้มครองให้มีทั้งสิทธิเอกชนส่วนบุคคล) และสิทธิมหาชน (สาธารณะ) 

 เสรีภาพ คือ สิทธิที่จะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้โดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ดังนั้นเสรีภาพที่กฎหมายรับรองจึงเป็นสิทธิ

สิทธิชุมชน ที่ประชาชนมีสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่  การจัดการท้องถิ่น การจัดการสิ่งแวดล้อม    การประชาพิจารณ์ เป็นต้น

สิทธิในการดำรงชีวิต ทุกคนมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตได้โดยอิสระตามกฎหมายกำหนด สิทธิดังกล่าวนั้นประกอบด้วย  สิทธิที่จะได้รับการศึกษา การรับข้อมูลข่าวสาร และการฟ้องหน่วยราชการ ฯลฯ

การมีส่วนร่วมของประชาชนคือ การให้โอกาสประชาชนเป็นฝ่ายตัดสินใจกำหนดปัญหาความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง เป็นการเสริมพลังอำนาจให้แก่ประชาชน/กลุ่มองค์กรชุมชนให้สามารถระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ สามารถกำหนดการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามความจำเป็นอย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพัฒนาศักยภาพของประชาชน/ชุมชนในด้านภูมิปัญญา ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการจัดการและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ และประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างมีอิสระ การทำงานต้องเน้นในรูปกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมอย่างชัดเจน เนื่องจากพลังกลุ่มจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานพัฒนาต่างๆ บรรลุสำเร็จตามความมุ่งหมายได้

2.  ประโยชน์ของการมีส่วนร่วม

1. เพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจ (ตรงตามความต้องการ)

2. สร้างฉันทามติ (ลดความขัดแย้ง)

3. เพิ่มความง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ (ความเป็นเจ้าของร่วม)

4. ดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ/ชอบธรรม

ทำไมประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม

1. ประชาชนมีความรู้ ความสามารถ

2. เพื่อแก้ปัญหาสังคม “ปัญหาของเรา”

3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน

4. เพื่อสร้างผู้นำในอนาคต

5. สร้างแนวในการแก้ปัญหาร่วมกัน

การเมืองภาคพลเมือง

การเมืองภาคพลเมือง หมายถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองในเรื่องต่อไปนี้

  1. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
  2. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณชนและชุมชน
  3. การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม และของชุมชนในฐานะสมาชิกหรือผู้นำ
  4. การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งโดยสันติวิธีและมีความรับผิดชอบ
  5. การปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสถานที่ทำงานด้วยความยุติธรรมทั้งในฐานะนายจ้าง ลูกจ้างและเพื่อนร่วมงาน

การที่จะทำให้การเมืองภาคพลเมืองเกิดผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ การมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมที่แสดงออก 3 ลักษณะ ดังนี้

       - เคารพในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

       - เคารพซึ่งกันและกันทางกาย

       - เคารพทางวาจา

       - เคารพในสิทธิของผู้อื่น

       - เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น

       - เคารพในกฎ ระเบียบของสังคม

       - มีเสรีภาพและใช้เสรีภาพในขอบเขต

 2. สามัคคีธรรม

       - รู้จักประสานประโยชน์โดยถือประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชาติเป็นที่ตั้ง

       - ร่วมมือกันในการทำงาน

       - เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

       - รับผิดชอบต่อหน้าที่

       - มีน้ำหนึ่งใจเดียว รักหมู่คณะ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

3. ปัญญาธรรม

       - การไม่ถือตนเป็นใหญ่

       - เน้นการใช้ปัญญา ใช้เหตุผล และความถูกต้องในการตัดสินปัญหา

       - เมื่อมีปัญหาโต้แย้ง ต้องพยายามใช้เหตุผลให้เห็นคล้อยตาม วิธีสุดท้ายคือการออกเสียงหรือใช้เสียงข้างมาก

       - เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลแล้ว วิเคราะห์ประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยสติปัญญา 

แนวทางการมีส่วนร่วม

  1. สนใจติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเมือง
  2. ติดตาม ตรวจสอบการทำงานและพฤติกรรมของนักการเมือง
  3. สนับสนุนผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ดี
  4. ต่อต้านนักการเมืองที่ไม่ดี
  5. ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาประเทศ เช่น เสียภาษี ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
  6. คัดค้านนโยบายที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม โดย

       - ศึกษาข้อเท็จจริงให้ถี่ถ้วน

       - นำเสนอปัญหาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

       - ชุมนุมคัดค้านโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

  7. ร่วมกันปกป้องสิทธิของตนไม่ให้ถูกละเมิด

  8. เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมือง

การเมืองภาคตัวแทน

                การเมืองภาคตัวแทน หมายถึง การปกครองที่ไม่ได้ให้ประชาชนกำหนดนโยบายของรัฐได้โดยตรง แต่ประชาชนจะมอบอำนาจด้วยการเลือกตัวแทนไปใช้อำนาจแทน

                มีข้อเสียคือ เนื่องจากประชาชนไม่ได้กำหนดนโยบายของรัฐโดยตรง ดังนั้นตัวแทนอาจบิดเบือนไม่ได้ใช้อำนาจตามเจตนารมณ์ของประชาชน แต่มีข้อดีตรงที่ประชาชนไม่ต้องยุ่งยาก และข้อดีที่สำคัญที่สุดคือ หากให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจนโยบายของรัฐในบางเรื่องที่ประชาชนไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากได้ ดังนั้น การให้ประชาชนพิจารณาเลือกคนดีที่มีความรู้ดีในเรื่องนั้นๆ ไปตัดสินใจแทนน่าจะประสบผลดีกว่า

                สำหรับการเมืองภาคตัวแทนในประเทศไทย ได้กำหนดให้ประชาชนเลือกฝ่ายนิติบัญญัติแล้วให้ ฝ่ายนิติบัญญัติเลือกฝ่ายบริหาร ดังนั้นระบบนี้จะมีการคานอำนาจถ่วงดุลกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และที่เรียกว่า ประชาธิปไตยทางอ้อมระบบรัฐสภาก็เพราะว่า กำหนดให้รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ)  มีอำนาจมากกว่าฝ่ายบริหาร กล่าวคือ รัฐสภาเป็นผู้เลือกและตรวจสอบฝ่ายบริหาร รวมถึงสามารถปลดฝ่ายบริหารออกได้ (ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ) แต่ก็ให้ฝ่ายบริหารคานอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติได้ด้วยการยุบฝ่ายนิติบัญญัติ (ยุบสภาฯ) แต่มีผลให้ฝ่าบริหารต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย

การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง

                การเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้งการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นสิทธิและหน้าที่ของประชาชน การเลือกตั้งจะบรรลุเป้าหมายของการคัดเลือกตัวแทนของประชาชนเข้าไปออกกฎหมายและเข้าไปบริหารประเทศ รวมทั้งการกลั่นกรองกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นก็ต่อเมื่อประชาชนเข้าใจการเมือง และเข้าใจว่าการเลือกตั้งที่ทุจริตคือบ่อเกิดของการฉ้อราษฎร์บังหลวง ดังนั้นประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งและถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันทำให้การเลือกตั้งสุจริตและเที่ยงธรรม เพื่อให้คนดีเข้าไปพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ

ประชาชนมีส่วนร่วมได้ดังนี้

  1. สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
  2. สอดส่องดูแลการเลือกตั้ง คอยแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ เมื่อพบเบาะแสการทุจริตและการซื้อสิทธิขายเสียง
  3. ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยพร้อมเพรียงกัน
  4. สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบการเลือกตั้ง สามารถทำได้โดยเข้าไปเป็นสมาชิก หรืออาสาสมัครขององค์การเอกชนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรอง และสนับสนุนให้ตรวจสอบการเลือกตั้ง
  5. สำหรับผู้ที่ต้องการจัดการเลือกตั้ง อาจเข้ามามีส่วนร่วมโดยการเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.)  หรือกรรมการนับคะแนนเลือกตั้ง (กนค.) ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.   (2554).  คู่มือการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับผู้นำ  ขั้นความรู้ชั้นสูง  โครงการลูกเสืออาสา กกต. เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ:   สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้