การนำ เสนอ ความรุนแรงในสื่อประเภทใด ที่มีผลต่อ ความรุนแรง ของวัยรุ่น มาก ที่สุด

พฤติกรรมความรุนแรง เป็นอาการทางจิตเวชหรือไม่?

พฤติกรรมความรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยการกระทำหรือวาจา การทำร้ายร่างกาย การด่าทอเสียดสี ล้วนนำมาซึ่งผลเสียหลายอย่าง ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น พฤติกรรมความรุนแรงยังก่อให้เกิดความอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อีกด้วย หลายคนยังสงสัยอยู่ว่าพฤติกรรมนี้เรียกว่าอาการป่วยทางจิตเวชหรือไม่ สามารถรักษาได้หรือไม่ได้อย่างไร คือที่มาของการนำเสนอข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชโดยเฉพาะ

ทำความเข้าใจ พฤติกรรมความรุนแรง และอาการทางจิตเวช

พฤติกรรมความรุนแรง แสดงออกถึงความก้าวร้าว เช่น ด่าทอเสียดสี ทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงการก่ออาชญากรรม อาจไม่ใช่อาการทางจิตเวชเสมอไป ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของพฤติกรรมส่วนบุคคล ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพฤติกรรมความรุนแรงบางประเภทก็มีสาเหตุมาจากอาการทางจิตเวชได้

พฤติกรรมความรุนแรง มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?

ภาวะทางอารมณ์

เกิดจากการถูกกดดัน หรือถูกรบกวนทางอารมณ์ ทำให้เกิดภาวะโกรธ หงุดหงิด บางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้ ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดจากสาเหตุนี้มักมีเป็นครั้งคราวไม่ใช่ทุกครั้ง และการแสดงออกไม่ถึงขั้นทำร้ายร่างกายผู้อื่น จึงไม่เป็นอันตราย สามารถเกิดได้กับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรค

โรคทางจิตเวช

ผู้ป่วยทางจิตเวชบางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้ในบางกรณี อาจมีสาเหตุมาจากการขาดยา ทำให้มีอาการหวาดระแวง ประสาทหลอน หรือในบางรายมีปัญหาทางด้านอารมณ์บางอย่าง เช่น อารมณ์หงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้า หากมีอาการมาก ๆ อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงได้ รวมถึงโรคสมาธิสั้น ที่อาจทำให้หงุดหงิด และยับยั้งชั่งใจได้ยาก จึงแสดงออกในรูปแบบของพฤติกรรมความรุนแรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรคจิตเวชก็ไม่ได้ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมความรุนแรงเสมอไป

โรคทางกาย

การแสดงพฤติกรรมความรุนแรงอาจมีสาเหตุมาจากภาวะทางร่างกาย ยกตัวอย่าง ผู้ใช้สารเสพติด ได้รับสารที่ไปกระตุ้นอารมณ์ให้เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโรคทางจิตเวช เช่น ประสาทหลอน ทำให้มีพฤติกรรมความรุนแรงเกิดขึ้นได้ หรืออาจเกิดจากโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคทางระบบประสาท ลมชักบางชนิด ที่ทำให้มีอาการพฤติกรรมความรุนแรง

ครอบครัวส่งผลต่อพฤติกรรมรุนแรงได้หรือไม่

การเติบโตในครอบครัวย่อมทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ และถ้าหากเติบโตในครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมักใช้ความรุนแรงอยู่เสมอ เด็กที่เติบโตในครอบครัวนั้นอาจมีพฤติกรรมความรุนแรงเช่นกัน เด็กกลุ่มนี้อาจเลือกใช้พฤติกรรมความรุนแรงในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม เลือกใช้กำลังแก้ไขปัญหา แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเด็กบางคนที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมความรุนแรง ก็อาจหลีกเลี่ยงการใช้พฤติกรรมนี้

การแสดงออกของพฤติกรรมความรุนแรง

  1. การใช้วาจาที่รุนแรง หยาบคาย ด่าทอ เสียดสี รวมถึงการเขียนแสดงความคิดเห็นบนโซเชียลเน็ตเวิร์คด้วยถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เพื่อทำให้อีกฝ่ายเกิดความทุกข์ใจ
  2. การใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญหรือกดดัน ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกกดดันทางจิตใจ
  3. การใช้กำลังประทุษร้ายผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเกิดอันตรายถึงชีวิต

พฤติกรรมความรุนแรง จะเกิดขึ้นกับใคร

  1. สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย วัยรุ่นอาจมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีความอยากลองทำอะไรเสี่ยง ๆ หรืออยากเป็นตัวของตัวเอง และมีการควบคุมหรือยับยั้งชั่งใจต่ำ
  2. กลุ่มคนที่มีความกดดันทางจิตใจบางอย่าง มักสะท้อนออกมาว่า ณ เวลานั้นมีความกดดันเกิดขึ้น และอยากต่อสู้หรือทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถึงความอันตราย เหมือนเป็นการปกป้องตัวเอง
  3. กลุ่มคนที่เป็นโรคหรือภาวะบางอย่าง ทำให้สูญเสียการควบคุม

หากไม่ได้รับการรักษาพฤติกรรมความรุนแรง จะเป็นอย่างไร

  1. ผลเสียด้านร่างกาย มีอันตรายต่อการใช้ชีวิต เป็นภัยต่อตนเองและผู้อื่น
  2. ผลเสียด้านสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ อาจมีความกดดันเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งมากขึ้น รวมถึงตัวโรคที่ไม่ได้รับการรักษา
  3. ผลเสียด้านกฎหมาย อาจทำให้กลายเป็นคนที่มีคดีติดตัว อันเกิดจากการกระทำที่รุนแรงของตนเอง
  4. ผลเสียด้านสังคม คือสังคมไม่ยอมรับหรือเกลียดชัง

การรักษาพฤติกรรมความรุนแรง

วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ก้าวร้าวรุนแรง ทั้งทางชีวภาพ ทางด้านจิตใจ และทางด้านสังคม จากนั้นประเมินความรุนแรงของอาการ ว่ามีการทำร้ายคนอื่นหรือไม่ บางรายพบว่าพันธุกรรมมีส่วนแต่ไม่เสมอไปหรือบางรายมีความกดดัน ความขัดข้องใจแล้วจัดการไม่เป็น ทำให้แสดงความก้าวร้าว นอกจากนี้ยังพบว่าบางรายมีการเลียนแบบจากสื่อ เป็นต้น จากนั้นทำการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิด

ข้อมูลจาก
อ. นพ.กานต์ จำรูญโรจน์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมคลิปรายการ “พฤติกรรมชอบทำร้ายหรือก่อพฤติกรรมรุนแรงต่อผู้อื่น! : Rama Square ช่วง Daily expert” ได้ที่นี่

ปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่น
            ความรุนแรง การกระทำใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งกาย วาจา จิตใจ และทางเพศ โดยการบังคับขู่เข็น ทำร้ายทุบตี คุกคาม จำกัด กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำ
ประเภทของความรุนแรง
1. ความรุนแรงต่อตนเอง หมายถึง ความตั้งใจและพฤติกรรมที่จะเป็นอันตรายต่อตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย
2.ความรุนแรงระหว่างบุคคล เป็นความรุนแรงที่บุคคลหนึ่งกระทำต่ออีกบุคคลหนึ่ง อาจเรียกว่า "ผู้คุกคาม กับ เหยื่อ" หรือ "ผู้กระกับผู้ถูกกระทำ" ความรุนแรงในกลุ่มนี้เป็นปัญหาใหญ่ในสังคม พฤติกรรมความรุนแรงระหว่างบุคคล
สาเหตุของความรุนแรง
ปัจจัยภายในตัวบุคคล ได้แก่
•ความรู้ เจตคติ และความคิดเกี่ยวกับความรุนแรง เช่น เชื่อว่า การใช้กำลัง หรือใช้คำพูดรุนแรงทำให้คนอื่นเชื่อฟังทำตาม การตีลูกทำให้ลูกได้ดี ผู้ชายมีศักดิ์ศรีใครมาหยามก็ต้องต่อสู้กันให้แพ้ชนะ ฯลฯ
•ขาดทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น ทักษะการสื่อสาร การจัดการกับอารมณ์และความเครียด การจัดการกับความโกรธ การแสดงออกที่เหมาะสม เป็นต้น
•การใช้ยาเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้คนขาดสติยับยั้ง ควบคุมตัวเองไม่ได้
•เคยเห็นการกระทำรุนแรง หรือ เคยเป็นเหยื่อการกระทำรุนแรง
ปัจจัยจากการเลี้ยงดูของครอบครัว
•ขาดความรักความเข้าใจ และการสนับสนุนจากครอบครัว เช่น เมื่อมีปัญหาขาดผู้ใหญ่คอยดูแลให้คำแนะนำช่วยเหลือ
•เติบโตในบ้านที่ใช้ความรุนแรง ทำให้เห็นแบบอย่าง และคิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติในสังคม
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม
•ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม เศรษฐกิจ สังคมเมือง และความแออัดทำให้คนแข่งขันสูง และเกิดความเครียด
•อิทธิพลจากสื่อ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ที่แสดงภาพความรุนแรงต่างๆ                                           
•มาตรฐานทางสังคมที่สนับสนุนพฤติกรรมความรุนแรง เช่น การที่คนที่มีพฤติกรรมความรุนแรงไม่ได้รับการลงโทษ ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติในสังคม
•หาอาวุธได้ง่าย ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่น
1) การก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรง เช่น ปล้นจี้ ทำร้ายร่างกายแล้วชิงทรัพย์ หรือข่มขืนกระทำชำเรา
2) การใช้อาวุธ เช่น ปืน มีด เป็นต้น ทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต มีผลทั้งต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
3) กลุ่มวัยรุ่นระหว่างสถาบันที่ใช้ความรุนแรง เช่ย ยกพวกตีกัน การดักรอทำร้ายกัน การชกต่อยกันระหว่างชมการแสดงดนตรี เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย
ผลกระทบจากความรุนแรงในวัยรุ่น
1) ผลกระทบระยะสั้น ความรุนแรงในวัยรุ่นจะก่อให้เกิดผลกระทบระยะสั้น คือ ขาดความพร้อมในการเรียนหนังสือ การเรียนตกต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน มีความเสี่ยงที่จะต้องหยุดเรียนกลางคัน มีเจตคติต่อต้านสังคม มีความก้าวร้าวและวิตกกังวล ได้รับการปฏิเสธ จากการเข้ากลุ่มเพื่อน
2) ผลกระทบระยะยาว ความรุนแรงในวัยรุ่นจะก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาว คือ การทำผิดกฎหมาย มีประวัติที่มัวหมอง มีคดีติดตัว มีปัญหาเรื่องความประพฤติ ระเบียบวินัยกับโรงเรียนถูกพักการเรียน หรือถูกไล่ออก เกิดความซึมเศร้ารุนแรง เสพสารเสพติดและ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เป็นภาระแก่สังคม แนวทางการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
ระดับบุคคล

1. เรียนรู้และฝึกฝนตนเองให้เป็นคนใจเย็น มีเหตุผล ฝึกสมาธิ
2. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อย่ายึดตนเองเป็นใหญ่
3. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ให้ความช่วยเหลือคนอื่นๆ เท่าที่จะสามารถทำได้
5. ไม่ตัดสินปัญหาโดยการใช้กำลัง และหลีกเลี่ยงเมื่อถูกผู้อื่นใช้กำลัง
6. ไม่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมทางอินเทอร์เนตมากเกินไป โดยเฉพาะการสนทนาทางอินเทอร์เนต หรือ การแชต (chat) ซึ่งจะนำไปสู่การถูกหลอกลวงไปทำรุนแรงทางเพศได้ง่าย
ระดับครอบครัว
1.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรมีข้อตกลง เรื่อง อำนาจการตัดสินใจเรื่องในครอบครัวโดยไม่ใช้ความรุนแรง
2.มีพฤติกรรมที่แสดงความรัก ความเอื้ออาทร และช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่าง พ่อ แม่ ลูกและคนอื่นๆ ในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
3. มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินชีวิต ตลอดจนกติกาต่างๆ ภายในครอบครัว โดยสมาชิก ทุกคนมีส่วนร่วม
4. สมาชิกในครอบครัวมีความยืดหยุ่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกใน ครอบครัวอย่างปกติ
5. สมาชิกทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของครอบครัว ตามสถานภาพที่ควรจะเป็นรวมทั้งการ แก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดด้วย
6. พ่อแม่ ผู้ปกครองให้การอบรมเลี้ยงดูลูกๆ ไปในแนวทางที่ถูกต้องโดยให้การเอาใจใส่ดูแลลูกๆ อย่างใกล้ชิด
7. พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
8. พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับลูกๆ การลงโทษเมื่อลูกกระทำผิดต้องทำอย่างมีเหตุผล

//www.dek-d.com/board/view/3030410


อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด

๑) สื่อลามก เช่น หนังสือโป๊หนังสือการ์ตูนลามก หนังสือที่มีภาพ โป๊วีซีดีลามกซึ่งสื่อเหล่านี้หาซื้อได้ง่าย และเมื่อวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้เสพสื่อ เหล่านี้แล้ว ก็เป็นเหตุที่จะนาไปสู่การกระทารุนแรงทางเพศได้

เมื่อนักเรียนเห็นคนทะเลาะวิวาท นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไร

ถ้านักเรียนพบเห็นการกระทำความรุนแรงต่อเด็กหรือสตรี นักเรียนควรทำอย่างไร รีบเข้าไปช่วยเหลือ แจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที อยู่เฉย ๆ ไม่ควรเข้าไปยุ่งเพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น

การกระทำในข้อใดจัดเป็นประเภทการกระทำความรุนแรงต่อตนเอง

1. ความรุนแรงต่อตนเอง หมายถึง ลักษณะความรุนแรงที่เกิดจากการที่บุคคลกระทำต่อตนเอง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ พฤติกรรมฆ่าตัวตาย และพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

ข้อใดเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทําความรุนแรง

2.1 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สถานีตำรวจทุกแห่ง 2.2 หน่วยงานภาคเอกชน ที่ให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกกระทำ รุนแรง ได้แก่ - สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี เขตดอนเมือง กทม. - มูลนิธิเพื่อนหญิง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้