ผู้รับเงินไม่ยอมให้หัก ณ ที่จ่าย

สำหรับผู้ที่เพิ่งจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคล จะมีหนึ่งสิ่งที่แตกต่างไปจากตอนทำธุรกิจในรูปแบบเจ้าของคนเดียว นั่นก็คือการทำบัญชี และเอกสารทางภาษีต่างๆ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางคนอาจสงสัยว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ด้วยหรือ หรือในบางคนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไป ได้รับเงินไม่ครบเต็มจำนวน ก็เกิดคำถามว่าต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยหรือ 

ดังนั้น กิจการส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องเอกสารต่างๆ ที่กิจการจำเป็นต้องใช้ และให้สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้ด้วย เพื่อแบ่งเบาภาระของกิจการ 

 

“ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือการเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง เมื่อมีการจดทะเบียนนิติบุคคล จะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายตามประเภทและอัตราที่กำหนดเพื่อนำส่งสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย”   

 

ใครต้องหัก ใครโดนหัก และทำไมต้องหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือภาษาทางการคือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือการเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้จ่ายที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องหักไว้ก่อนจ่ายเงิน ให้กับผู้รับทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จากนั้นนำเงินที่หักไว้ส่งให้สรรพากรภายในวันที่ 7-15 ของทุกเดือน

หรือเวลากิจการไปใช้บริการ หรือมีลูกจ้างจะต้องมีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย ถ้ากิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย   

และหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะต้องยื่น ภ.ง.ด.3 กับ ภ.ง.ด.53 โดยมีความแตกต่างกันคือ

  • ภ.ง.ด.53 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนิติบุคคล ทั้งบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • ภ.ง.ด.3 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดา เช่น มีการจ้างลูกจ้างรายวันหัก 3% แล้วนำส่ง ภ.ง.ด.3 ให้กับกรมรรพากรในเดือนถัด 

 

 

 

 

โดยการเสียภาษีรูปแบบนี้ จะช่วยลดภาระค่าภาษีของผู้มีรายได้ที่ต้องจ่ายเป็นเงินจำนวนมากเมื่อถึงเวลายื่นภาษี เนื่องจากมีการจ่ายไปบ้างบางส่วนทุกๆครั้งที่ได้รับรายได้ รวมถึงทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้ารัฐโดยตลอด แทนที่จะรอแต่ช่วงต้นปีที่มีการยื่นภาษีเท่านั้น และเป็นการป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีด้วยนั่นเอง

 

ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับเงินตามประเภทที่กำหนด จากผู้จ่ายนิติบุคคล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ถึงแม้ว่าตนเองจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือจดทะเบียนบริษัทแล้วก็ตาม

 

ข้อยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 

หากสินค้าหรือบริการยอดเงินไม่ถึง 1,000 บาทในการจ่ายเงินแต่ละครั้ง ผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี ส่วนผู้รับก็จะได้รับเงินเต็มจำนวนไม่ถูกหัก แต่ถ้าหากมีการจ่ายอย่างต่อเนื่องแม้ยอดเงินแต่ละครั้งจะไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย อยู่ดี เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ต้องจ่ายทุกเดือน ถึงแม้ยอดแต่ละครั้ง ไม่ถึง 1,000 บาท แต่รวมกันหลายยอดแล้วเกิน 1,000 บาท

 

โดนหักเงินไป รู้ได้ยังไงว่าคนหักส่งภาษีให้เราจริง

 

หลังจากผู้มีรายได้ตามประเภทที่กำหนดถูกหัก ณที่จ่ายไปแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าจะมีหลักฐานอะไรที่เป็นการบอกว่าเราถูกหักเงินไปแล้วจริง และเอาไปลดภาษีตอนสิ้นปีได้บ้าง

 

ปกติแล้วผู้จ่ายเงิน หรือผู้ที่มีหน้าที่เป็นคนหักเงิน จะต้องจัดทำและมอบเอกสารที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” (50 ทวิ) เพื่อเป็นหลักฐานในการหักเงินไว้ โดยออกเอกสารให้ผู้รับเงิน 2 ฉบับ รวมถึงต้องเก็บไว้ที่ผู้จ่ายไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 1 ฉบับด้วยเช่นกัน

 

ผู้รับเงิน หรือผู้ที่ถูกหักเงินไป จะใช้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายนี้เพื่อเป็นหลักฐานยื่นแก่สรรพากร เพื่อลดภาษีตามจำนวนที่ถูกหักไประหว่างปี

 

ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

 

สำหรับเจ้าของกิจการในฐานะผู้จ่ายเงิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ส่วนหนึ่ง ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย ดังนี้

 

  • ค่าจ้างและเงินเดือน ถ้าเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต่ำสุด 0% อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณภาษีได้จากบทความ “รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี & ถ้าไม่ยื่นจะเกิดอะไรขึ้น”
  • จ้างทำงานหรือบริการ เช่น นายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม จะใช้วิธีคำนวณเหมือนค่าจ้างและเงินเดือน หักภาษี ณ ที่จ่ายต่ำสุด 0%
  • จ้างบริการวิชาชีพอิสระ บริษัทผู้ว่าจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ซึ่งภาษีในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วย 6 วิชาชีพเท่านั้น คือ 1) โรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม 2) ประณีตศิลป์ 3) สถาปนิก 4) วิศวกร 5) นักบัญชี 6) ทนายความ  
  • จ้างรับเหมาหรือบริการ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างทำนามบัตร จ้างรีวิวสินค้า ทำกราฟิก รวมถึงค่าอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์           
    (ต่างจากจ้างทำงาน หรือบริการ ตรงที่จ้างรับเหมา หรือบริการ ผู้ถูกจ้างจะต้องใช้หรือไปหาอุปกรณ์ของตัวเองมาเพื่อดำเนินการตามสิ่งที่ได้รับการว่าจ้าง)
  • ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์  ถ้าเราเป็นคนถือกุญแจ จะนับเป็นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบริษัทผู้ให้เช่าจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%
  • ค่าโฆษณา หากต้องการทำโฆษณาเพื่อโปรโมตแบรนด์ บริษัทของตนเอง โดยจ้างผ่านบริษัทรับทำโฆษณา เอเจนซี่ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 2%
  • ค่าขนส่ง สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนบริษัท เป็นนิติบุคคลและให้บริการด้านการขนส่ง จะต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่งด้วย ซึ่งจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%

 

ทั้งนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมแบบเจาะลึกเกี่ยวกับรายการและบริการที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายได้จากบทความ “ภาษี หัก ณ ที่จ่าย แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร”

สรุปง่ายๆ ก็คือ ผู้รับเงินตามประเภทต่างๆ ที่กำหนดข้างต้น จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีที่กำหนดแต่ละประเภท ยิ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเยอะเท่าไร เมื่อยื่นภาษีสิ้นปีปรากฏว่ารายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องจ่ายภาษี ก็สามารถยื่นขอเงินคืนได้ หรือในกรณีที่ยื่นภาษีแล้วต้องมีการจ่ายภาษีเพิ่ม ก็จะช่วยให้จ่ายน้อยลงเนื่องจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปบางส่วนแล้ว ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในการจ่ายภาษีของผู้มีรายได้

 

ส่วนผู้ที่จ่ายเงิน ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีทุกครั้งก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับ ถ้าไม่หักหรือยื่นส่งสรรพากรไม่ตรงตามความเป็นจริง จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย และยังมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่ต้องจ่ายหากหักไว้ไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง

PrevPreviousจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนไหน และใครที่ควรจดบ้าง

Nextภาษี หัก ณ ที่จ่าย แต่ละประเภทต่างกันอย่างไรNext

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้