การปกครองแบบพ่อปกครองลูก คือ

แนวคิดระบบพ่อปกครองลูกที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษก็คือ การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้สร้างความชอบธรรมให้แก่อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเซอร์ โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) ซึ่งได้อธิบายว่าพระมหากษัตริย์นั้นมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจไม่ใช่เพราะความศักดิ์สิทธิ์ตามแนวคิดเทวสิทธิ์ หากแต่เป็นเพราะพระองค์ได้สืบทอดสิทธิอำนาจดังกล่าวมาจากอดัมที่เป็นมนุษย์คนแรกที่ทำหน้าที่ปกครองภรรยาของเขา คือ อีฟ และบุตรของเขา ดังนั้นฐานที่มาของอำนาจของพระมหากษัตริย์จึงมาจากสถาบันทางสังคมพื้นฐานนั่นก็คือสถาบันครอบครัวที่มีอดัมเป็นต้นแบบ และในกรณีของราชอาณาจักรก็คือครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีพระมหากษัตริย์ทำหน้าที่เป็นบิดาของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงนั่นเอง (Filmer, 1991 :1-11)

ในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ระบบพ่อปกครองลูก หมายถึง อำนาจเผด็จการอำนาจนิยมที่ทำการควบคุมและชี้นำประชาชน ในเชิงการปกครอง รัฐระบบพ่อปกครองลูกจะจัดหาการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด เช่น การจัดบริการน้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การสาธารณสุข เป็นต้น แต่ก็จะทำการปกครองและควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยกฎระเบียบที่ชัดเจน และเน้นส่งเสริมการพัฒนาประเทศจากทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคง การอธิบายการเมืองระบบพ่อปกครองลูกในยุคหนึ่งจะใช้เพื่อทำความเข้าใจประเทศในกลุ่มสังคมนิยม หรือ Soviet bloc ที่รัฐบาลแทรกแซงการทำงานของกลไกตลาดและควบคุมสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (Melich, 2011: 1196) นอกจากนี้ ระบบพ่อปกครองลูก ยังอาจหมายรวมไปถึงการกำหนดนโยบายแบบ ‘คุณพ่อรู้ดี’ คือ การที่รัฐ หรือ ผู้ปกครองนั้นเชื่อว่าประชาชนอาจไม่เข้าใจว่าผลประโยชน์ที่แท้จริงของตนเองคืออะไร ด้วยฐานคิดเช่นนี้ ทำให้เชื่อว่า ผู้มีอำนาจ หรือ ผู้ปกครองต่างหากที่สมควรเป็นผู้กำหนดนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงให้แก่ประชาชน

สำหรับสังคมไทย คำว่าระบบพ่อปกครองลูกจะถูกใช้แทนการปกครองของรัฐบาลที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในสมัยสุโขทัยนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่า มีข้าราชการเกิดขึ้นแล้วเรียกว่า "ลูกขุน" โดยมีพระมหากษัตริย์เป็น "พ่อขุน" และมีประชาชนเป็น "ท่วย" หรือ "ไพร่ฟ้า" เพราะฉะนั้น กษัตริย์ในฐานะพ่อจึงสามารถใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครองลูกได้ เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง แต่พ่อก็มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองลูกอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การที่พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพาร และประชาชนเปรียบเสมือนลูก ทำให้การปกครองมีลักษณะใกล้ชิดกัน และเมื่อเกิดปัญหาสังคมขึ้น พระมหากษัตริย์จะลงมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเอง “พ่อปกครองลูก” เป็นคำที่ใช้เรียกระบอบการปกครองสมัยสุโขทัย ก่อนที่จะมีการสถาปนาความคิดแบบธรรมราชาและเทวราชา

ในงานศึกษาของ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (2552) งานศึกษาชิ้นสำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทยช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคคณะราษฎร์ไปสู่กลุ่มอำนาจเก่า นำโดยจอมพลสฤษดิ์ที่สถาปนาระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (despotic paternalism) ซึ่งแปลคำว่า Paternalism เป็น “พ่อขุน” หมายถึง รูปแบบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจบารมี และมีความใกล้ชิดกับประชาชนในแบบของพ่อปกครองลูกของตัวเอง ซึ่งการแปลว่า “พ่อขุน” เป็นความพยายามเล่นคำเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองสมัยสุโขทัยแบบ “พ่อปกครองลูก” เพื่อกล่าวว่าการเมืองไทยในยุคจอมพลสฤษดิ์ได้นำหลักการดังกล่าวกลับมาใช้อีกครั้ง การแสดงความเป็นพ่อสามารถทำได้จากการส่งข้าราชการไปเป็นหูเป็นตา หรือลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยียน “ลูก ๆ” ในต่างจังหวัด เพื่อคอยดูแลวิถีชีวิตไม่ว่าจะเรื่องใหญ่ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาการศึกษา เป็นต้น หรือเรื่องเล็ก ๆ เช่น การช่วยแนะนำการดับเพลิง การดูแลถนนให้สะอาดเรียบร้อย และจัดการนักเลงอันธพาล เป็นต้น

  1. Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.
  2. Filmer, Robert (1991). Patriarcha and Other Writings. Cambridge: Cambridge University Press.
  3. Melich, Jiri S. (2011). “Paternalism”. In Kurian, George Thomas et al. The Encyclopedia of Political Science. Washington, D.C.: CQ Press.
  4. ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (2552). ใน พรรณี ฉัตรพลรักษ์, ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (ผู้แปล). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

    สุโขทัยมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือ พ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแทนมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบพ่อปกครองลูก (ปิตุลาธิปไตย) ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น

    2.แบบธรรมราชา

    การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือ กษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรง เกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่าง เดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระ มหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบธรรมราชา ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔

    ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้

    ในแนวราบ

    จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้

    การปกครองรูปแบบใดหมายถึง พ่อปกครองลูก

    ระบบพ่อปกครองลูก (อังกฤษ: Paternalism) เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะการปกครองแบบโบราณที่ผู้ปกครองเป็นเสมือน “พ่อ” และประชาชนเปรียบเสมือน “ลูก” ในทางคำศัพท์จะใช้เรียกแทนพฤติกรรมของบุคคล องค์กร หรือการปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพและความอิสระของประชาชน ในบางความหมายจะใช้แทนการเรียกระบบสังคมที่จำกัดสิทธิของคนบางกลุ่มและให้คน ...

    ใครปกครองแบบพ่อปกครองลูก

    2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากจึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือพ่อจึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่าพ่อขุน 3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นๆเริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้านมีพ่อบ้านเป็นผู้ปกครองหลายบ้านรวมกันเป็นเมืองมีพ่อเมือง

    การปกครองแบบธรรมราชามีลักษณะเป็นแบบใด

    ธรรมราชา” หรือพระมหากษัตริย์ผู้ทำให้ประชาชนสุขใจโดยธรรม เน้นปกครองโดยอาศัย “ธรรมะ” หรือความดีใน 3 ระดับ คือ ประการแรก พระมหากษัตริย์และผู้ปกครองต้องประพฤติธรรม อาทิทศพิธราชธรรม ฯลฯ ประการที่สอง พระมหากษัตริย์ต้องชักนำให้ราษฎรประพฤติธรรม และประการ ที่สาม การเอาชนะประเทศต่างๆ ต้องชนะด้วย “ธรรม” หรือ “ธรรมวิชัย” ไม่ใช่ ...

    การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเกิดขึ้นในสมัยใด

    ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนใน การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้