คนแก่ กิน ข้าว ไม่ได้ นอนไม่หลับ

         ถ้าหากครอบครัวไหน ที่มีผู้สูงอายุ คงจะสังเกตเห็นว่า ยิ่งอายุมากขึ้น พฤติกรรมการนอนหลับของคุณตาคุณยายในบ้าน ยิ่งเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เช่น ทั้ง ๆ ที่เข้านอนช้ากว่าคนอื่น แต่กลับเป็นคนที่ตื่นเร็วที่สุด บางทีก็ตื่นขึ้นมากลางดึก นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนกลางวันตื่นตอนกลางคืน นอนหลับข้ามวันข้ามคืน หรือบางที ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ติดต่อกัน 24 ชั่วโมงก็มี คำถามที่สำคัญก็คือ พฤติกรรมเหล่านี้ คือเรื่องปกติของผู้สูงอายุหรือเปล่า?

สารบัญ

สังเกตได้อย่างไรว่า ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ?

         วัยผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง ซึ่งแทบจะเป็นไปในแง่ของการเสื่อมถอย มากกว่าการพัฒนา เช่น การรับรสอาหารแย่ลง ทำให้ทานอาหารได้ไม่อร่อย มีปัญหาในการมองเห็น การได้ยิน แต่ไม่ว่าคนเราจะอายุเท่าไร ระยะเวลาการนอนหลับที่ร่างกายต้องการยังคงเท่าเดิม คือประมาณวันละ 8 ชั่วโมง (อ้างอิงจาก สสส. ) นั่นหมายความว่า หากผู้สูงอายุคนไหนที่มีพฤติกรรมการนอนดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้ามอีกต่อไป 

แต่ไม่ว่าคนเราจะอายุเท่าไร ระยะเวลาการนอนหลับที่ร่างกายต้องการยังคงเท่าเดิม คือประมาณวันละ 8 ชั่วโมง

         หากร่างกายนอนหลับไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ความสามารถในการจำสิ่งต่าง ๆ ลดลง คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดได้ช้าลง และก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล

สาเหตุของพฤติกรรม ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

1.ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ : ถึงแม้จะบอกว่า ผู้สูงอายุยังต้องนอน 8 ชั่วโมงเหมือนวัยอื่น ๆ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อาจจะทำให้ลักษณะการนอนของผู้สูงอายุ เป็นไปตามลักษณะเหล่านี้

  • ความต้องการนอนหลับของร่างกายลดน้อยลง ทำให้ระยะเวลานอนลดลง โดยอาจเข้านอนเร็วตั้งแต่หัวค่ำ และตื่นขึ้นมาตอนตี 2 หรือ ตี3
  • ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอน เพื่อที่จะหลับ และช่วงระยะเวลานอนหลับแบบเคลิ้ม แต่ยังหลับไม่สนิทจะยาวขึ้น ในขณะที่ช่วงระยะเวลาที่หลับสนิทจะลดน้อยลง
  • ตื่นขึ้นบ่อย ๆ กลางดึก

         หากมีพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ให้สังเกตว่าในตอนกลางวัน ผู้สูงอายุมีอาการง่วงนอน อ่อนเพลียหรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่า ผู้สูงอายุหลับได้เพียงพอกับความต้องการของร่ายกาย แม้จะมีพฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนแปลงไป

2.มีปัญหาทางสุขภาพจิต : ผู้สูงอายุบางคน อาจจะมีความเครียด ความกังวล รู้สึกเศร้า และคิดมากจากเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้มีผลต่อการนอนหลับ

3.ความเจ็บป่วยทางร่างกาย : อาการของโรคบางอย่าง อาจะส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องตื่นขึ้นมากลางดึก เช่น ต่อมลูกหมากโต เบาหวาน ที่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกหลาย ๆ ครั้ง ทำให้นอนหลับสนิทได้ยาก หรือบางคนอาจมีอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นตะคริว ท้องผูก แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก

4.การทานยาบางชนิด : การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ อาจจะเกิดจากยาที่จำเป็นต้องรับประทาน ซึ่งมีผลออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง เช่น ยาขยายหลอดลม ยาแก้คัดจมูก ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาไทรอยด์ ยาแก้ชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาสเตียรอยด์ ยารักษาภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

5.พฤติกรรมการใช้ชีวิต : ผู้สูงอายุบางคน มักชอบนอนพักผ่อนในเวลากลางวัน เนื่องจากไม่มีกิจกรรมให้ทำ หรือชอบทานชา กาแฟในปริมาณที่มาก ทำให้ตอนกลางคืนนอนไม่หลับ

ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ทำอย่างไร? : สนใจอ่านบทความต่อ คลิก!

การรักษาภาวะ ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

  • กำหนดเวลาเข้านอน และเวลาตื่นที่แน่นอน หลีกเลี่ยงการนอนหลับในช่วงเวลากลางวัน โดยเฉพาะช่วงหลัง 15.00 น. ควรใช้เตียงสำหรับการนอนหลับเท่านั้น ไม่ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง และหากถึงเวลาเข้านอน แต่ไม่ง่วง ก็ให้ลุกขึ้นมาหากิจกรรมที่ทำให้ง่วง เช่น อ่านหนังสือ สวดมนต์ ไม่นอนกลิ้งไปมาบนเตียง

  • จัดสภาพแวดล้อมของห้องนอน ให้เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป ห้องนอนที่ไม่มีเสียงดังรบกวน หรือแสงจ้า และก่อนเข้านอน ควรสร้างความผ่อนคลายแก่ร่างกาย ประมาณ 20 – 30 นาที เช่น ฟังเพลงเบา ๆ หรือนั่งสมาธิ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืด ๆ และหากิจกรรมที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวในช่วงเวลากลางวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ว่า นี่คือช่วงเวลากลางวัน และออกกำลังกายในเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วงเย็น สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง ที่ไม่สามารถลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ต้องนอนบนเตียงเป็นส่วนใหญ่ ควรให้คนดูแล จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ในช่วงเวลากลางวัน ควรเปิดม่าน ให้มีแสงสว่าง และตอนกลางคืน ก็จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน เพื่อให้ร่างกายรู้ว่า ตอนนี้เป็นเวลากลางวัน หรือกลางคืน
  • กำหนดเวลาการทานมื้อเย็นในคงที่ สม่ำเสมอ ไม่ทานอาหารอิ่มเกินไป และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเยอะๆ ในช่วงเวลา 4 – 5 ชั่วโมงก่อนนอน ควรจิบเพื่อแก้กระหายเท่านั้น
  • รักษาโดยการใช้ยา เป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญของผู้สูงอายุ ทำงานได้ไม่เหมือนวัยอื่น ทำให้ฤทธิ์ของยาตกค้างอยู่ในร่างกายนานกว่าปกติ และอาจส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่น ๆ ดังนั้น การใช้ยานอนหลับในผู้สูงอายุ ครอบครัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา ไม่ควรซื้อยานอนหลับมาให้ผู้สูงอายุทานเอง

สรุป

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เป็นปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการนอนหลับเป็นเวลาที่ร่างกายจะได้พักผ่อนและฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ซึ่งหากผู้สูงอายุไม่ได้นอนหลับพักผ่อนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอแล้วล่ะก็ จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น ความคิดความอ่านช้าลง อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี ดังนั้น ต้องหันมาดูแลผู้สูงอายุ ให้สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอนะคะ

 

 

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

เหตุใดผู้สูงอายุจึงมีปัญหาการนอนไม่หลับ

การทำงานของร่างกายที่เสื่อมลง ระดับฮอร์โมนที่ลดง โรคประจำตัวที่รบกวนการนอน และการรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด ทำให้การนอนหลับลึกหรือพักผ่อนร่างกายของผู้สูงอายุมีเปอร์เซ็นน้อยกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นลักษณะปกติของผู้สูงอายุ แต่ถ้าหากในผู้สูงอายุรายไหนที่มีความวิตกกังวลอาจส่งผลให้การนอนไม่หลับมีอาการที่หนักขึ้นกว่าเดิม ...

คนแก่กินข้าวไม่ได้ทำไง

ควรให้ผู้สูงอายุหมั่นออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีความเหนื่อย และต้องการพลังงานจากอาหารมากขึ้น คิดเมนูอาหารใหม่ๆ เพื่อดูว่าอะไรถูกปาก และสร้างความอยากอาหารยิ่งขึ้น ควรแยกมื้ออาหารให้ถี่ขึ้นเพื่อชดเชยกับการรับประทานที่น้อยลง

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับควรกินอะไร

4.4 แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มนมอุ่นๆ หรือโอวัลตินก่อนนอน 4.5 แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานมื้อเย็นในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาหารที่ย่อยยากทำให้เกิดการอึดอัดแน่นท้อง นอนไม่หลับ 4.6 แนะนำให้ผู้สูงอายุสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่คับจนเกินไป

ทำไมคนแก่กินข้าวน้อย

ด้วยผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง จึงมีผลทำให้การทานอาหารลดลง เช่น เรื่องกล้ามเนื้อ หรือการเคี้ยวอาหารที่มีประสิทธิภาพลดลง สุขภาพฟันและเหงือกไม่แข็งแรง มีอาการของฟันบิ่น หัก ฟันผุ เหงือกร่น ฟันปลอมหลวม เกิดความเจ็บปวดเมื่อเคี้ยวก็จะเลี่ยงการทานอาหาร ขณะที่บางคนมีภาวะน้ำลายแห้ง ทำให้เวลาเคี้ยวอาหารจะฝืดๆ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้