ผลเสียของการดัดแปลงพันธุกรรม

เมื่อผักผลไม้จีเอ็มโอ (GMOs) บุกเข้ามาขายในตลาดเมืองไทย ผู้บริโภคต้องเสี่ยงที่จะบริโภคผักผลไม้เหล่านี้อย่างไร สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ชวนอ่านบทความ “ทำไมจึงควรเลี่ยงอาหารจีเอ็มโอ” ด้านล่างนี้

‘จีเอ็มโอ’ คืออะไร

จีเอ็มโอ หรือ GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมายิงเข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่มีคุณลักษณะตามต้องการ เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่อากาศหนาวได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีนของถั่วเหลือง เพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีนจากไวรัสมาใส่ในมะละกอ เพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น

จีเอ็มโอ ‘ผิดธรรมชาติ’ ไหม

ในการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต มียีนและดีเอ็นเอเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ยีนเป็นตัวสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีคุณลักษณะและคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ยีนที่ทำให้ผมดำ ยีนที่ทำให้ทนความหนาวเย็นได้ ยีนที่ทำให้มีปีก เป็นต้น กลไกการทำงานของยีนในสิ่งมีชีวิตนั้นซับซ้อน กว้างใหญ่ไพศาล และเป็นเครือข่ายที่เปราะบาง ยีนตัวเดียวกัน แต่อยู่คนละตำแหน่งในสายยีนก็อาจกำหนดคุณสมบัติที่แตกต่างกันได้ และยีนหนึ่งตัวก็ไม่ได้มีหน้าที่เพียงอย่างเดียว การดัดแปลงยีน (จีเอ็มโอ) คือ การพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตอย่างที่ไม่สามารถเกิดขึ้น ในธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชทั้งหลายบนโลกใบนี้ เนื่องจากมนุษย์ไม่มีวันที่จะควบคุมมันได้

จากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนับล้าน ๆ ปีที่ผ่านมา มะเขือเทศสามารถผสมพันธุ์กับมะเขือเทศพันธุ์อื่นได้ แต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่มะเขือเทศจะผสมพันธุ์กับปลาหรือคางคก ถั่วเหลืองอาจผสมข้ามพันธุ์ระหว่างถั่วเหลืองด้วยกันเอง แต่ไม่มีวันที่จะผสมพันธุ์กับแบคทีเรีย นี่คือกฎที่ธรรมชาติสรรสร้างขึ้น เพื่อเป็นกำแพงกั้นให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความแตกต่าง หลากหลาย เพื่อความอยู่รอดของโลก แต่การปฏิบัติการดัดแปลงพันธุกรรม (วิศวพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ) คือ การละเมิดกฎธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการบีบบังคับให้ยีนของปลาเข้าไปผสมอยู่ในสตรอว์เบอร์รี่ หรือยีนของแมลงป่องเข้าไปผสมกับมะเขือเทศ

นักวิศวพันธุกรรมนำยีนแปลกปลอมเหล่านี้ใส่เข้าไปโดยการใช้ไวรัสเป็นพาหะ หรือใช้ปืนยิงยีนเข้าไปในเซลล์ของสัตว์ พืช หรือมนุษย์ที่ต้องการดัดแปลงพันธุกรรม การใส่เข้าไปแบบสุ่มเสี่ยงนี้ บ่อยครั้งที่ล้มเหลว ครั้งที่ทำสำเร็จก็ไม่รู้ว่ายีนใหม่จะเข้าไปแทรกตัวอยู่ตรงไหนของสายยีน และจะก่อให้เกิดผลกระทบอื่นนอกเหนือไปจากที่ต้องการหรือไม่

พืชจีเอ็มโอที่มีขายในท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง – ข้าวโพด – มันฝรั่ง – มะเขือเทศ – คาโนล่า – มะละกอ – ฝ้าย

จะกินอาหารจีเอ็มโอดีไหม?

ตั้งแต่เกิดเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นมา ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดกล้ายืนยันได้ว่า อาหารที่มีส่วนประกอบของจีเอ็มโอปลอดภัยต่อการบริโภคในระยะยาว การทดลองในสัตว์ทดลองเป็นเพียงการทดลองระยะสั้น ๆ เมื่อเทียบกับช่วงชีวิตของมนุษย์ที่ยาวถึง 60 – 70 ปี การนำอาหารจีเอ็มโอมาให้มนุษย์รับประทาน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเท่ากับใช้มนุษย์เป็นหนูทดลอง โดยที่พวกเราเองก็ไม่รู้ตัวว่ากินอาหารจีเอ็มโอเข้าไปหรือไม่ ถ้าไม่มีฉลากที่ชัดเจนบอกไว้ หากในอนาคตเกิดผลร้ายต่อสุขภาพขึ้นมา จึงระบุไม่ได้ว่ามาจากการบริโภคอาหารจีเอ็มโออย่างต่อเนื่องหรือไม่

ปัจจุบัน อันตรายต่อสุขภาพที่พบว่าอาจเกิดขึ้นได้จากการบริโภคอาหารจีเอ็มโอ คือ โรคภูมิแพ้ เช่น ในอเมริกาเคยมีกรณีคนที่แพ้บราซิลนัท แล้วมากินถั่วเหลืองจีเอ็มโอที่มียีนของบราซิลนัทโดยไม่รู้ จะเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองนั้นทันที นอกจากนี้ การใส่ยีนแปลกปลอมที่ไม่เคยมีมาก่อนเข้าไปอาจก่อให้เกิดโปรตีนพิษชนิดใหม่ ที่ร่างกายไม่รู้จัก และกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังเป็นห่วงว่าจีเอ็มโออาจกระตุ้นให้ร่างกายดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจากในการผลิตจีเอ็มโอต้องใส่สารต้านทานยาปฏิชีวนะเข้าไป เพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ สมาคมแพทย์อังกฤษเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ให้ใช้สารต้านทานยาปฏิชีวนะในจีเอ็มโอ ขณะที่ ในสหภาพยุโรปออกกฎหมายห้ามใช้สารต้านทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ ปี 2547 แต่พืชจีเอ็มโอที่นำมาผลิตเป็นอาหารอยู่ในท้องตลาดขณะนี้ ยังคงมีสารต้านทานยาปฏิชีวนะเป็นส่วนประกอบอยู่ ขณะที่ ในรายงานเรื่อง “พืชจีเอ็มโอเพื่อใช้ในอาหารกับสุขภาพมนุษย์ (ฉบับปรับปรุง)” ของราชสมาคมอังกฤษเตือนไว้ว่า เด็กทารกเป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูงที่สุดต่อการกินอาหารจีเอ็มโอ เพราะร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ

อันตรายไม่มีวันกลับ

จากการที่จีเอ็มโอเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถขยายพันธุ์และแพร่พันธุ์ได้นั้น เมื่อใดที่มันถูกปล่อยออกไปสู่สภาพแวดล้อม เราจะไม่สามารถจำกัดบริเวณหรือเรียกกลับคืนมาได้ หากพบอันตรายในภายหลัง ตัวอย่างนี้มีให้เห็นจากเรื่องของสารเคมีกำจัดแมลงที่มนุษย์ผลิตเมื่อ 40 ปีที่แล้ว มนุษย์คิดค้นสารเคมี เช่น ดีดีทีขึ้น ในตอนนั้นไม่มีใครรู้ว่าอันตรายของมันคืออะไร แต่ก็นำดีดีทีมาใช้กันอย่างกว้างขวาง ต่อมาอีก 30 ปี จึงค้นพบว่าสารดีดีทีเป็นตัวการทำให้พืช สัตว์ และมนุษย์เกิดการล้มป่วย พิการ หรือเสียชีวิต ทำให้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติออกประกาศห้ามใช้สารดีดีที

กรณีของจีเอ็มโอก็ไม่แตกต่างกัน อาจซ้ำร้ายกว่าตรงที่สารเคมีพิษเหล่านี้แม้จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมหรือในอาหารไปแล้ว แต่เมื่อหยุดใช้ไประยะหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นร้อยปี หรือพันปีก็จะย่อยสลายไปได้ แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตจีเอ็มโอ หากใน 50 ปีข้างหน้าพบว่ามันมีผลร้ายแรงยิ่งกว่าผลที่พบแล้วในปัจจุบัน เราคงไม่สามารถหยุดยั้งการปลูกพืชจีเอ็มโอหรือหาพืชพันธุ์พื้นเมืองที่ไม่มีจีเอ็มโอมาปลูกได้ เพราะพืชหรือสัตว์จีเอ็มโอได้แพร่พันธุ์กลืนกินพืชที่ไม่ใช่จีเอ็มโอไปหมดแล้ว

การครอบงำจากบริษัทข้ามชาติ

มีบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ เพียง 4 – 5 บริษัทเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในเทคโนโลยีการทำจีเอ็มโอ รวมถึงตัวยีน และเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอที่เพาะปลูกกันอยู่ในโลกขณะนี้ ในการทดลองวิจัย บริษัทเหล่านี้อาจบอกว่าเป็นความช่วยเหลือแบบให้เปล่า แต่หากต้องการปลูกเพื่อการค้าจะต้องทำสัญญาทางการค้าและจ่ายเงินตอบแทนให้กับบริษัท เกษตรกรในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาจำนวนมากต้องตกเป็นทาสในที่ดินของตนเอง เนื่องจากปลูกพืชจีเอ็มโอ หรือถูกพืชจีเอ็มโอเข้ามาปนเปื้อนในพืชผลของตน จีเอ็มโอจึงเป็นหนทางให้บริษัทข้ามชาติเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลและครอบครองแหล่งเกษตรกรรมและแหล่งอาหารของเรา

ประเทศไทยกับจีเอ็มโอ

จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2546 ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชจีเอ็มโอเพื่อการค้า และยังมีมติ ครม.สั่งระงับการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอระดับไร่นา ประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบจีเอ็มโอเพื่อใช้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง ซึ่งนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกามากที่สุด (ถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริการ้อยละ 75 เป็นถั่วเหลืองจีเอ็มโอ) จากการตรวจสอบของกรีนพีซ พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปในท้องตลาดปนเปื้อนถั่วเหลืองจีเอ็มโอ โดยไม่ได้ติดฉลากให้ประชาชนได้รับทราบ กฎกระทรวงเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ของกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2546 นั้น เป็นกฎข้อบังคับที่หละหลวมมาก คือ กำหนดเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนไว้สูงถึงร้อยละ 5 ถ้ามีจีเอ็มโอต่ำกว่านั้นก็ไม่ต้องติดฉลากบอก

นอกจากนั้น ยังกำหนดให้ติดฉลากต่อเมื่อมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบใน 3 อันดับแรกเท่านั้น หากมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโออยู่ในอันดับที่ 4 ลงไป ก็ไม่ต้องติดฉลาก และถ้ามีวัตถุดิบอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลืองหรือข้าวโพด แต่เป็นวัตถุดิบจีเอ็มโอ เช่น มะละกอจีเอ็มโอ หรือข้าวสาลีจีเอ็มโอ ก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก กฎกระทรวงฉบับนี้จึงไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริงกับผู้บริโภค และไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภค หรือให้สิทธิในการรับรู้และปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอแก่ผู้บริโภคแต่ประการใด

ขณะเดียวกัน บริษัทผลิตอาหารข้ามชาติบางบริษัทใช้มาตรฐานต่างระดับกับประชาชนชาวไทย เนื่องจากประกาศนโยบายปลอดจีเอ็มโอในยุโรป แต่ในประเทศไทยยังยืนยันว่าจะใช้ส่วนประกอบอาหารที่มีจีเอ็มโออยู่ เช่น บริษัท เนสท์เล่ ซึ่งกรีนพีซตรวจพบจีเอ็มโอในซีรีแล็ค อาหารเสริมสำหรับเด็กเล็ก และทารกซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ป้องกันไว้ก่อน

หากดูจากลักษณะภายนอก อาหารจีเอ็มโอไม่ได้แตกต่างจากอาหารทั่วไปแต่อย่างใด หากแต่โครงสร้างของยีนภายในแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และตราบใดที่เรายังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิตมนุษย์หรือไม่ รวมถึงผลกระทบที่เราไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ ถ้าจีเอ็มโอเข้าไปอยู่ในระบบ นิเวศน์และห่วงโซ่อาหาร จึงทำให้เราต้องยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน โดยไม่บริโภคอาหารจีเอ็มโอที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร และปลอดภัยหรือไม่

มีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมมีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร

นอกจากนี้ การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตยังเพิ่มความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของโลก หากสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมได้รับการปล่อยออกสู่ธรรมชาติ อาจทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ หรือการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมในระบบนิเวศ ความสมดุลของห่วงโซ่อาหารอาจถูกทำลายลง อีกทั้ง การดัดแปร ...

พืช GMO ไม่ดียังไง

เกิดการปนเปื้อนสารอันตราย กระบวนการ GMOs ช่วยกำจัดข้อด้อยในพันธุกรรมของพืชและสัตว์ได้ แต่ในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไม่อาจทำให้สิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมปลอดสารพิษได้ 100% เพราะอาจเกิดความบกพร่องเรื่องการควบคุมคุณภาพในระหว่างกระบวนการดัดแปลงพันธุกรรม จึงทำให้มีการตกค้างของสารที่อันตรายต่อสุขภาพได้

ข้อเสียของพันธุวิศวกรรมมีอะไรบ้าง

– เมื่อมีการนำดีเอ็นเอจากไวรัสมาผ่านกระบวนการนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากมีสารพิษเจือปนอยู่ แถมจากการทดลองยังพบว่าหนูที่นำมาทดลองมีระดับภูมิต้านทานในร่างกายลดลง และลำไส้ยังเกิดการบวมแบบผิดปกติอีกด้วย จึงทำให้หลายคนกังวลในแง่ความปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์

ข้อเสียของเทคโนโลยีชีวภาพมีอะไรบ้าง

การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้เกิดความหวาดกลัวในเรื่องความปลอดภัยของมนุษย์และจริยธรรมของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีต่อสาธารณะชน โดยกลัวว่ามนุษย์จะเข้าไปจัดระบบสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความวิบัติทางสิ่งแวดล้อม และการแพทย์ หรืออาจนำไปสู่การขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้