ความสำคัญของเวลาและช่วงเวลา 5 ข้อ

ประวัติศาสตร์สากลในความหมายทั่วไป หมายถึง ประวัติศาสตร์ของผู้คนและชาติต่าง ๆ ในโลกตะวันตก (Western World) ซึ่งได้แก่ ผู้คนและชาติในทวีปยุโรป และอเมริกา ประวัติศาสตร์สากลมีช่วงเวลาที่ยาวนาน ย้อนไปเป็นเวลาหลายพันปี เพื่อความสะดวกในการศึกษา นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งเป็นช่วงเลาที่มีลักษณะร่วมกัน เรียกเป็นสมัย คือสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน หรือร่วมสมัย นักประวัติศาสตร์สากล ได้พัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้เรารู้และเข้าใจ เรื่องราวทั้งหลายของผู้คนในอดีตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล การนับและเทียบศักราชสากลและไทย

1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” 2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1 นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้
ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ. พ.ศ. – ๒๓๒๔ = ร.ศ.
จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ.
ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ.

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์
สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย
ยุคหินเก่า มนุษย์ใช้เครื่องมือทำด้วยหินหยาบ ๆ อาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์ เริ่มประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุด เพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา เริ่มจาก ค.ศ. ๑๔๙๒ เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญของโลกมัยใหม่ จนถึง ค.ศ.๑๙๔๕ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มจาก ค.ศ.๑๙๔๕ จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน
ยุคหินใหม่ มนุษย์ใช้เครื่องมือหินที่มีการขูดแต่ง ตั้งถิ่นฐานเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์
ยุคโลหะ มนุษย์ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ เช่น สำริด เหล็ก อยู่เป็นชุมชน

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม – สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน การเทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทย
ประวัติศาสตร์สากล ประวัติศาสตร์ไทย
สมัยโบราณ- อารยธรรมเมโสโปเตเมีย- อารยธรรมอียิปต์- อารยธรรมกรีก- อารยธรรมโรมันสิ้นสุดสมัยโบราณ เมื่อ ค.ศ. ๔๗๖(พ.ศ.๑๐๑๙) สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย- อาณาจักรลังกาสุกะ- อาณาจักรทวารวดี- อาณาจักรโยนกเชียงแสน- อาณาจักรตามพรลิงค์
สมัยกลาง- จักรวรรดิโรมันตะวันออกสิ้นสุด ค.ศ.๑๔๕๓- การสร้างอาณาจักรคริสเตียน- การปกครองในระบบฟิวดัล- การฟื้นฟูเมืองและการค้า- การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ- การค้นพบทวีปอเมริกา สมัยสุโขทัยสมัยอยุธยา
สมัยใหม่- การสำรวจทางทะเล- การปฏิวัติวิทยาศาสตร์- การปฏิวัติอุตสาหกรรม- การปฏิวัติฝรั่งเศส- สงครามโลกครั้งที่ 1-2- สิ้นสุดสมัยใหม่ ค.ศ.1945 สมัยธนบุรี
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยปัจจุบัน- ร่วมสมัย – ปัจจุบัน – ยุคสงครามเย็น- ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (๒๔๘๙ – ปัจจุบัน)

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

กิจกรรมเริ่มต้นโดยผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียน ด้วยการเชื่อมโยงความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับระบบศักราชที่สำคัญ นำเสนอภาพตัวอย่างการใช้ศักราชในหลักฐานต่าง ๆ และร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน ซึ่งส่วนใหญ่นักเรียนจะมีความรู้พื้นฐานจากการเรียนเกี่ยวกับระบบศักราชมาจากชะเน ม.ต้น และตอนเรียนประวัติศาสตร์ไทย ชั้น ม.4 มาบ้างแล้ว ทำให้ครูสามารถสรุปประเด็นและไปต่อได้เร็วขึ้น

จากนั้นครูจึงอธิบายเพิ่มเติมเเพื่อสรุปประเด็นให้นักเรียนมีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับระบบศักราช การคำนวณเวลา และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำกิจกรรมในขั้นต่อไป

จากนั้นจึงเริ่มทำกิจกรรม “เวลานั้น... สำคัญอย่างไร” โดยผู้สอนแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม จากนั้นผู้สอนอธิบายกติกาในการทำกิจกรรม ดังนี้

  • ผู้สอนนำการ์ดข้อมูล 4 อย่างไปวางบนโต๊ะกองกลาง ได้แก่ 1) ปีคริสต์ศักราชที่ตรงกับเหตุการณ์ 2) ปีศักราชอื่น ๆ ที่ตรงกับเหตุการณ์ 3) เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และ 4) ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
  • จากนั้นให้นักเรียนที่เป็นตัวแทนกลุ่มออกมาหยิบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่อยู่บนโต๊ะกองกลาง และให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์จากข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยให้นักเรียนนำการ์ดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ตนได้รับไปเรียงไว้ที่โต๊ะของกลุ่มตนเอง กลุ่มใดที่สามารถสืบค้นและเรียงลำดับเหตุการณ์ได้จำนวนมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะของกิจกรรมนี้

หลังจากนั้น ผู้สอนนำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในกิจกรรมที่เรียงปีที่เกิดเหตุการณ์ และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเหตุการณ์ที่แต่ละกลุ่มเรียง 

จากนั้นผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปกิจกรรมและบทเรียนโดยเน้นไปที่การอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของเวลาและการใช้ศักราชในการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งในขั้นนี้ครูจะให้นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนจากกิจกรรม โดยพูดถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบในกิจกรรม อะไรบ้างที่ทำให้การเรียงลำดับเหตุการณ์ใช้เวลานาน หรือมีความยุ่งยาก สิ่งนี้ส่งผลต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร และด้วยเหตุนี้ทำไมเราจึงต้องรู้และเข้าใจระบบศักราช การเทียบศักราชเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์

จุดเด่น

- กิจกรรมนี้ นักเรียนเริ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนกับมากขึ้น โดยครูเน้นการใช้กระบวนการกลุ่มในการร่วมกันอภิปรายแบบกลุ่มย่อยและนำข้อสรุปมาเป็นของกลุ่ม ทำให้ได้ข้อคิดเก็น ประเด็นที่กว้าง และหลากหลายมากขึ้น

- นักเรียนได้มีโอกาสรู้จักกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ต้องเจอในการเรียนบทต่อ ๆ ไป ซึ่งจะให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงในภาพรวมของเหตุการณ์ต่าง ๆ เบื้องต้น

จุดควรพัฒนา

- ในขั้นของการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากข้อมูลในการ์ดที่มีความหลากหลายมาก จึงทำให้บางห้องการเรียงข้อมูลมีความผิดพลาด ใช้เวลานานซึ่งทำให้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ปีศักราช และยุคสมัยอาจเรียงผิดถูกไปบ้าง แต่ผู้สอนสามารถนำไปประเด็นสู่การอภิปรายเกี่ยวกับสภาพปัญหาแลความจำเป็นในการเทียบศักราชต่อไปได้

- ทักษะการคำนวณพื้นฐานของนักเรียนเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรม และส่งผลต่อการควบคุมเวลาในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนควรกำหนดเวลาการทำกิจกรรมและแสดงว่าที่ชัดเจน จะทำให้นัเกรียนบริหารจัดการเวลาและวางแผนได้ดีขึ้น

ความสําคัญของเวลามีอะไรบ้าง

ความสำคัญของเวลาและช่วงเวลา.
เวลาเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน.
เวลาเป็นสิ่งที่บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หรือหลังเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่นๆ.
เวลาเป็นสิ่งที่บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในเวลาใด และช่วงเวลาใด.

ข้อใดคือความสำคัญของเวลาและช่วงเวลา

ดังนันเวลาและช่วงเวลาจึงมีความสำคัญ ดังนี้ บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น หรือสิ้นสุดในเวลาใด ช่วงเวลาใด บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หรือหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่นๆ

เวลาและช่วงเวลามีความสําคัญต่อการศึกษาอย่างไร

เวลาและช่วงเวลามีความสาคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งนอกจากจะทาให้เข้าใจเหตุการณ์ หรือเรื่องราวที่ศึกษาแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบัน และ อนาคตอีกด้วย 2 ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

เวลาและช่วงเวลาบอกอะไร

วันเวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง เหตุการณ์ที่เกิดขิ้นหรือดำเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลาที่ผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้