ผลกระทบของรถยนต์ไฟฟ้าต่อสังคม

กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต การเตรียมรับมือกับกับดักปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ระบบสถาบันต่างๆและการเมือง และผลกระทบจากเทคโนโลยีอุบัติใหม่โดยเฉพาะผลกระทบของรถยนต์ไฟฟ้าต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงาน หากรัฐบาลและภาคเอกชนขาดการเตรียมความพร้อมต่อพลวัตของเทคโนโลยีใหม่ๆ ยุทธศาสตร์ที่จะให้ประเทศไทย เป็น Detroit of Asia จะเป็นไปไม่ได้ และ ประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกหากไม่มียุทธศาสตร์ต่อยานยนต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่ การทดแทนรถยนต์เครื่องยนต์แบบเดิมด้วยรถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมาก ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ลดมลพิษทางอากาศ ลดปัญหาภาวะโลกร้อน คุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้น ประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและแรงงานดีขึ้น เกิดโอกาสทางธุรกิจและการจ้างงานใหม่ๆ และช่วยลดการนำเข้าพลังงาน ในเบื้องต้นประเมินว่า เกิดผลประโยชน์ทางมูลค่าเศรษฐศาสตร์ระหว่าง 10,000 ล้านบาทถึง 60,000 ล้านบาท (งานวิจัยของ สวทช จัดทำโดย ทีมวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่า อาจเกิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์สูงถึง 67,437 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าอาจไม่ประสบความสำเร็จในตลาดรถยนต์ในไทยหากไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยมาตรการพิเศษจากภาครัฐ ข้อเสนอ 12 ข้อเพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบและแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียานยนต์ 11.30 น. 2 ต.ค. 2559 มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า การเตรียมรับมือกับกับดักปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ระบบสถาบันต่างๆและการเมือง และผลกระทบจากเทคโนโลยีอุบัติใหม่โดยเฉพาะผลกระทบของรถยนต์ไฟฟ้าต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงาน รัฐบาล ภาคเอกชน ภาควิชาการขณะนี้ยังไม่มีทางออกหรือยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่า ประเทศไทยจะแก้ไขปัญหากับดักเชิงโครงสร้างอย่างไรในระยะยาว ซึ่งปัญหาหลายประการจะทยอยปะทุขึ้นในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าช่วงหนึ่งและ 10-20 ปีข้างหน้าอีกช่วงหนึ่ง โดยที่ระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ในมิติด้านเศรษฐกิจ ไทยจะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันในหลายธุรกิจอุตสาหกรรมรวมทั้งภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นหากไม่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่กำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนทางด้านนวัตกรรม การลงทุนทางด้านการศึกษาและวิจัย ขณะที่ไทยมียอดการเกินดุลการค้าสูงมาก สะท้อนการลงทุนภาคเอกชนกระเตื้องขึ้นช้ามาก เอกชนไม่กล้าลงทุน ไม่สั่งนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ ไม่สั่งนำเข้าเครื่องจักร มีความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจในระดับสูงติดอันดับโลก แรงงานระดับล่างและเกษตรกรรายย่อยมีความยากลำบากทางเศรษฐกิจ มีสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้สูงมาก มิติทางด้านการศึกษา เด็กกว่า 40% ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เด็กไทย 1 ใน 5 ของเด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการต่ำกว่าวัย 2/3 ของครอบครัวไทยไม่สามารถมีเงินส่งลูกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ มีความไม่เสมอภาคทางการศึกษาระหว่างเมืองใหญ่กับชนบทสูงมาก ทรัพยากรมนุษย์ที่อ่อนแอย่อมไม่สามารถแบกรับภาระที่มากขึ้นของโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุในอนาคตได้ดีนัก การปฏิรูปการศึกษาที่ล้มเหลวในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10-11% ของจีดีพี (ตัวเลขจาก Thailand Future Analysis จากผลการศึกษาของ Hanushek and Woessman 2010) กับดักโครงสร้างทางการเมืองในรัฐธรรมนูญใหม่ที่อาจก่อให้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองรอบใหม่ได้ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ได้กล่าวถึง ผลของรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย ว่า หากรัฐบาลและภาคเอกชนขาดการเตรียมความพร้อมต่อพลวัตของเทคโนโลยีใหม่ๆ ยุทธศาสตร์ที่จะให้ประเทศไทย เป็น Detroit of Asia จะเป็นไปไม่ได้ และ ประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกหากไม่มียุทธศาสตร์ต่อยานยนต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นที่ 9 ของโลก โดยผลิตรถยนต์ได้ 2 ล้านคัน (ส่งออก 1.2 ล้านคันและใช้ในประเทศ 8 แสนคัน) นักอนาคตศาสตร์ Tony Seba มองว่ารถยนต์แบบที่ไทยผลิตอยู่นั้นอาจขายไม่ได้เลย ภายใน 5-6 ปีข้างหน้า ตนมองว่าอาจนานกว่านั้นนิดหน่อย (มองในแง่ดี) ประมาณ 5-10 ปี ตลาดหุ้นของไทยนั้นมากกว่า 1/3 ประกอบด้วยมูลค่าหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ถ่านหิน การกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี รวมทั้ง อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มูลค่าหุ้นของธุรกิจอาจได้รับผลกระทบหากอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์และพลังงานไม่ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่และจะมีผลกระทบทางลบต่อตลาดหุ้นโดยรวมด้วย รถยนต์ขับเคลื่อนโดยไฟฟ้านั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่เป็นประโยชน์ได้ดีกว่ารถยนต์ ICE ที่ใช้กันอยู่ ถึง 4-5 เท่า EV หรือ Electric Vehicle นั้นเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า เครื่องก็จะหมุนตัวและให้พลังงานและแรงบิดเต็มที่ทันที ไม่ทำให้เกิดความร้อนมากนัก เกือบจะไม่มีเสียงเลย สามารถสรุปได้จากงานวิจัยทางด้านนี้ว่า EV มีประสิทธิภาพประมาณ 80-90% ในขณะที่ ICE มีประสิทธิภาพ 20% รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV จะเป็น "game changer" หรือ "disruptive technology" ที่ทำให้ ICE สูญพันธุ์ได้ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า กรณีรถยนต์ Tesla นั้นนำไปบรรจุ (ชาร์จ) ไฟฟ้าครั้งหนึ่งวิ่งได้ประมาณ 320-400 กิโลเมตร จะจ่ายค่าไฟประมาณ 4.6 ดอลลาร์หรือประมาณ 150 บาท แต่ในสหรัฐอเมริกาบริษัท Tesla มีแหล่งชาร์จไฟเป็นพันแห่ง (และจะเพิ่มเป็นหลายพันแห่งทั่วประเทศภายในปลายปีหน้า) โดยอาจให้เติมไฟได้โดยไม่คิดเงินเลย ในขณะที่เราเติมน้ำมันรถยนต์เต็มถังครั้งหนึ่งประมาณ 62-63 ดอลลาร์ หรือ ประมาณ 2,000 บาท ยานยนต์ไฟฟ้าสึกหรอน้อยกว่ารถยนต์แบบเดิมมาก ไม่ต้องมีชิ้นส่วนมากมาย ไม่สร้างมลภาวะ ไม่มีมลพิษ เสียงไม่ดัง ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไม่ต้องระบายความร้อน บริษัท Tesla จึงรับประกันเครื่องยนต์ไฟฟ้า 8 ปี โดยไม่จำกัดระยะทาง ดร. อนุสรณ์ "เห็นด้วยกับรัฐบาลในการเปิดเสรีรถยนต์ไฟฟ้าและการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแต่ขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการป้องกันผลกระทบทางลบด้วยโดยเฉพาะต่อการจ้างงานในประเทศ ส่วนผลกระทบด้านบวกจะทำให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆจำนวนมาก รวมทั้งทำให้สภาพแวดล้อมของโลกและของไทยดีขึ้นด้วย ผลการวิจัยจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะการศึกษาในมิติเศรษฐศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า การทดแทนรถยนต์เครื่องยนต์แบบเดิมด้วยรถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมาก ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ลดมลพิษทางอากาศ ลดปัญหาภาวะโลกร้อน คุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้น ประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและแรงงานดีขึ้น เกิดโอกาสทางธุรกิจและการจ้างงานใหม่ๆ และช่วยลดการนำเข้าพลังงาน ในเบื้องต้นประเมินว่า เกิดผลประโยชน์ทางมูลค่าเศรษฐศาสตร์ระหว่าง 10,000 ล้านบาทถึง 60,000 ล้านบาท (งานวิจัยของ สวทช จัดทำโดย ทีมวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่า อาจเกิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์สูงถึง 67,437 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าอาจไม่ประสบความสำเร็จในตลาดรถยนต์ในไทยหากไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยมาตรการพิเศษจากภาครัฐ เนื่องจากราคาไฟฟ้าต้องถูกกว่าราคาน้ำมันมากๆเนื่องจากแบตเตอรี่ยังมีอายุการใช้งานเพียง 8 ปี จะทำให้ราคาขายรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดมือสองตกลงอย่างมาก ฉะนั้นปัจจัยที่กำหนดการขยายตัวของรถยนต์ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับ ราคาน้ำมัน ราคาไฟฟ้า ความยาวนานของอายุการใช้งานและสมรรถนะการจุพลังงานของแบตเตอรี่หรือประสิทธิภาพของแบตเตอรี่" อย่างไรก็ตาม ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต ได้ตั้งข้อสังเกตและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ข้อแรก เสนอรัฐบาลจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาผลกระทบทางบวกทางลบของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม อุตสาหกรรมรถยนต์และธุรกิจต่อเนื่อง ธุรกิจอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ผลกระทบต่อซัพพลายเชน (Supply Chain) และการจ้างงาน อุตสาหกรรมพลังงาน คุณภาพชีวิตของประชาชน สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นคุณภาพอากาศ Global Warming และความแปรปรวนของภูมิอากาศ ข้อสอง การดำเนินนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ควรดำเนินควบคู่กับนโยบายจากการส่งเสริมรถยนต์อีโคคาร์และรถยนต์ประหยัดพลังงานซึ่งได้ดำเนินการก่อนหน้านี้ เพื่อไม่ให้เอกชนที่ได้ดำเนินการลงทุนกับโครงการของรัฐไปแล้วได้รับผลกระทบหรือประคับประคองให้เอกชนสามารถปรับตัวเข้ากับพลวัตเทคโนโลยีอุบัติได้อย่างเหมาะสม ข้อสาม รัฐต้องมีหน่วยงานในการกำกับมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า สถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าและมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่ ข้อสี่ ให้รัฐบาลศึกษาวิจัยและกำหนดมาตรฐานรองรับผลกระทบต่อโครงสร้างการจ้างงาน ตลาดแรงงานและการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน หลักสูตรในสถาบันการศึกษาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ข้อห้า ต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพที่มีความเกี่ยวพันกับภาคเกษตรกรรม (อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน) ข้อหก ต้องมีการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) จะเป็นระบบสำคัญในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเจ็ด ผลกระทบในช่วง 10-20 ปีต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ยังไม่มาก ฉะนั้นในระยะ 10-20 ข้างหน้านี้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนต้องปรับโครงสร้างเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้า ข้อแปด ภาครัฐต้องมีความชัดเจนในทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า เป็นนโยบายและมาตรการที่คงเส้นคงวา ไม่เปลี่ยนกลับไปกลับมา และต้องมีการบูรณาการนโยบายและมาตรการทั้งจากกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ข้อเก้า มาตรการทางภาษีโดยเฉพาะภาษีศุลกากรและการลดอุปสรรคการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจะช่วยดึงดูดให้บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆเข้ามาลงทุนสร้างโรงงาน ข้อสิบ หากต้องการให้อุตสาหกรรมเติบโตควรเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือหรือช่างเทคนิคทั้งหลาย แต่การดำเนินการส่วนนี้ต้องรอบคอบเพราะอาจเกิดผลกระทบต่อแรงงานในประเทศได้ ข้อสิบเอ็ด ควรมีการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค ข้อสิบสอง ควรมีการตั้งเป้าหมายจำนวนยานยนต์ไฟฟ้ารวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งสนับสนุนงานวิจัยด้านแบตเตอรี่และตั้งเป้าหมายการผลิตรถไฟฟ้าในประเทศให้ได้ภายในปี 2560 นอกจากนี้ รัฐบาลต้องมียุทธศาสตร์และแผนงานอย่างชัดเจนในการตอบสนองและเตรียมรับมือต่อผลกระทบจากนวัตกรรมเทคโนโลยีอุบัติใหม่พลิกโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจอุตสาหกรรม (Disruptive Technology) ที่จะส่งผลต่อธุรกิจอุตสาหกรรม ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวิถีชีวิตของผู้คน เช่น ผลกระทบ FinTech ต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจ ผลของเทคโนโลยีเทสลารถยนต์ขับเคลื่อนโดยไฟฟ้าที่ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ พลังงาน การจ้างงานและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี Blockchain ที่มีต่อระบบการเงินและอุตสาหกรรมธนาคารระบบการทำงานและการผลิตต่าง ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า "ขณะนี้เรายังไม่มีความรู้ ไม่มีข้อมูล ไม่มีงานวิจัยมากพอที่จะเข้าใจผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากยานยนต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่ (ไม่ว่าขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้า ขับเคลื่อนโดยพลังงานไฮโดรเจนและยานยนต์ไร้คนขับ) ที่จะมีต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวมเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีเดิม ผลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม อุตสาหกรรมรถยนต์และธุรกิจต่อเนื่อง ธุรกิจอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมพลังงาน คุณภาพชีวิตของประชาชน สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นคุณภาพอากาศ Global Warming และความแปรปรวนของภูมิอากาศ" ทาง สภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จะจัดสัมมนาเพื่อกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์วิจัย เรื่อง ผลกระทบยานยนต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมพลังงาน ในวันที่ 4 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ซึ่งจะได้มีการระดมความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้