วิวัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 4 ยุค



ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์


1.1.ความนำ

กาบริหารทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานในองค์การ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดการองค์การ การจัดการคนเข้าทำงาน การสั่งการ และการควบคุมในส่วนของการจัดการคนเข้างานนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นศาสตร์ทางวิชาการที่เรียกว่า การบริหารบุคคล (Personel Management or Personel Administration)และพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนา(Development)การประเมินผลพนักงาน(Employee Appraisal)การธำรงรักษา(Maintenance) การจ่ายค่าตอบแทน(Compensation)การจัดสวัสดิการ และการจูงใจในการทำงานด้วยวิธีการต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน การบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อองค์การ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ โดยมีบทบาทสำคัญในการค้นหาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ามาทำงานกับองค์การ มุ่งพัฒนาเพื่อการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ และสงเสริมให้ทรัพยากรมนุษย์มุ่งมั่นทำงานอย่างทุ่มเทให้กับองค์การ

1.2 ความหมายและความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) เดิมเรียกกันว่า การบริหารงานบุคคล แต่เนื่องจากแนวความคิดด้านการบริหารบุคคล แต่เนื่องจากแนวคิดด้านการบริหารบุคคลได้ขยายตัวและพัฒนาขึ้นมาก จึงเห็นกันว่าบุคคลในองค์การไม่ได้เป็นเพียงผู้ถูกบริหารให้ปฎิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น แต่มีฐานะเหมือนเป็นทรัพยากรขององค์การที่มีส่วนริเริ่มส่งเสริมให้องค์การมีการเจริญเติบโต จึงได้มีการนำคำว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์มาใช้แทน

บริหารงานบุคคลที่มีมาแต่เดิม

แนวคิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นการยอมรับมนุษย์ในองค์การว่า เป็นผู้มีความรับผิดชอบ และ มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวเอง หน้าที่หลักของผู้บริหารจึงเป็นการนำศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี ส่งเสริมให้กำลังใจและพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย

กล่าวโดย สรุป การบริหารทรัพยากรมนุษย์จึง หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์ดำเนินการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับให้ปฏิบัติงานในองค์การสามารถเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ เพื่อทุ่มเทการทำงานให้กับองค์การ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

1.ความต้องการขององค์การ โดยมีส่วนร่วมทำให้องค์การเติบโตก้าวหน้ามีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โดยอาศัยกลไกวิเคราะห์งาน การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาการคัดเลือก การบรรจุ การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม การประเมินผล และการจ่ายค่าตอบแทนทั้งนี้เพื่อให้องค์การได้คนที่ดีที่สุดเข้ามาทำงาน

2.ความต้องการของผู้ปฎิบัติงาน โดยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องสามารถตอบสนองความต้องการต่างๆ ของผู้ปฎิบัติงาน ในเรื่องของการดำรงค์ชีวิต การมีความมั่นคง ความรู้สึกปลอดภัย การได้รับการยอมรับ และการประสบความสำเร็จโดยใช้กลไก การขึ้นค่าจ้าง การให้ตำแหน่ง การแก้ไขปัญหาข้อร้องทุกข์ การจัดกิจกรรมสังคม และการทำงานร่วมกันเป็นทีม

1.3 วิวัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

แม้ว่าจะเน้นเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีมานานแล้วนับตั้งแต่มนุษย์ได้เรียนรู้

การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก แต่การศึกษาเป็นระบบก็พึ่งมีมาเมื่อประมาณ 50-60 ปีที่ผ่านมานี่เอง อย่างไรก็ตาม หากจะศึกษาถึงประวัติและวิวัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์แล้ว อาจแบ่งเป็น 6 ยุค คือ 1. ยุคดั้งเดิม การริเริ่มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ ก็คือการบันทึกของโมเสส (Moses) ที่มีอยู่ในคัมภีร์ใบเบิลว่า ได้รับคำแนะนำจาก เจโทร (Jethro)ซึ่งเป็นพ่อตาให้โมเสสสอนให้คนงานรู้จักข้อปฏิบัติและกฎต่างๆที่เข้าต้องปฏิบัติ และที่เขาต้องทำ ทั้งให้จัดบุคคลที่มีความสามรถเป็นผู้ปกครองของบุคคลเหล่านั้น

หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งมาจากประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี ประเทศบาบิโลเนีย เมื่อประมาณ 1,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้นายจ้างให้จ่ายค่าจ้างเป็นผลผลิตต่อแรงงานไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ ส่วนกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ของบาบิโลเนีย ได้กำหนดไว้เมื่อ 604 ปีก่อนคริสต์ศักราชให้นายจ้างจ้างค่าจ้างสำหรับแรงงานผู้หญิงที่ทำงานปั่นด้าย และทอผ้าในอัตราตามผลผลิตของแต่ละคนทำได้

ในประเทศจีนเชื่อว่าได้มีการใช้หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานก่อนคริสต์ศักราช เช่นเดียวกัน เป็นต้นว่าประมาณปี 1,650 ปีก่อนคริสต์ศักราชได้การกล่าวถึงหลักการแบ่งงานกันทำ ก็มีการไหลเวียนของแรงงาน และประมาณ 120 ปีก่อนคริสต์ศักราช จีนได้ใช้ระบบการสอบคัดเลือกบุคคลากรเข้าราชการ โดยกำหนดผู้ได้คะแนนสูงสุดได้รับการบรรจุเข้ารับราชการก่อนเรียงลำดับลงมา นอกจากนี้ ปรัชญาเมธีของจีน เป็นต้นว่า ขงจื้อและอีกหลายๆคน ก็ได้กล่าวถึงเรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไว้มากมาย

ในประเทศกรีก ประมาณ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช โสเครตีส ได้วางหลักเกี่ยวกับการใช้ให้คนเหมาะสมกับงาน และหลักการบังคับบัญชา โดยเน้นว่า ผู้บริหารที่ดีนั้นต้องรู้จักวิธีทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีกำลังใจในการทำงาน มีการเชื่อถือศรัทธา นอกจากนั้นโสเครตีสยังได้วางหลักเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำความผิดและการให้บำเหน็จรางวัลแก่ผู้ทำดีด้วย

การเปลี่ยนแปลงการใช้แรงงานได้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคมโดยในยุคแรกๆ การใช้แรงงานจะเป็นไปในลักษณะของการใช้แรงงานในครอบครัว ต่อมาเป็นยุคสังคมทาส ผู้ชายแรงงานก็คือทาส การบริหารงานเป็นลักษณะเป็นนายกับทาส

การบัญชาให้กับทาสทำงานตามที่นายต้องการ เมื่อสังคมมีความเจริญขึ้น ก็เกิดเป็นสังคมช่างฝีมือ (Handicrafts) มีระบบช่างฝีมือมีความชำนาญเฉพาะด้านเกิดขึ้น เช่น ช่างโลหะ ช่างรองเท้า ช่างแกะสลัก ในระยะนี้จะบุคคลอยู่ 3 พวก พวกแรกคือพวกเป็นเจ้าของ พวกที่สองเป็นพวกช่างผีมือ พวกที่สาม เป็นผู้ฝึกงาน ซึ่งต้องการเป็นช่างฝีมือในอนาคตพวกนี้จะฝึกงานอยู่กับนายจ้าง ระบบนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง เพราะมีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นผู้ฝึกงาน มีการฝึกงานฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือของคน

2.ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์( Scientific Management) ยุคนี้เป็นการพัฒนาระบบการบริหาร โดยนำนำเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์มาใช้ การบริหารงานในยุคนี้เรียกว่ายุคระบบงาน (System of Work ) โดยถือหลักว่าการจัดการระบบงานที่ดีจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน บุคคลสำคัญที่ถือว่าเป็น บิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ คือ Frederick W Taylor ซึ่งเป็นวิศวกรชาวอเมริกัน เทย์เลอร์เห็นว่า การบริหารแบบเดิมนั้นไม่ได้ให้ความสนใจนักว่า คนงานจะทำงานที่เท่าไหนในแต่ละวัน เครื่องมือ วัตถุดิบ และเครื่องจักรต่างๆมักนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่เหมาะสม คนงานอาจจะทำงานอย่างช้าๆก็ได้ เทย์เลอร์จึงเสนอแนะการปรับปรุงการทำงาน โดยประการแรกเขาได้ศึกษาวิธีการเคลื่อนไหวของคนงาน และเวลาในการปฏิบัติงาน ( Time and Motion Study) แล้วนำมาจัดมาตรฐานในการทำงาน(Standardization ) เพื่อที่จะกำหนดได้ว่าคนงานควรทำงานได้เท่ารัยต่อชั่วโมง ต่อ วันหรือต่อหน่วยเวลา ประการที่สอง เทย์เลอร์เสนอให้มีการมอบหมายงานตามหลักความถนัดหรือตามความชำนาญ (Specialization)ให้มากขึ้น ประการที่สามเขาเสนอให้มีการส่งเริมการผลิต โดยใช้ด่าแจ้งแบบจูงใจให้แก่คนงาน

ในส่วนของการบริหารงานนั้น เทย์เลอร์เห็นว่าควรมีการดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
ก. พัฒนาวิชาการ หรือหลักการทำงานให้ดีขึ้น(Develope principle of work) เพื่อให้ได้วิธีการทำงานที่ดีที่สุด
ข. ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักเกณฑ์คัดเลือก ฝึกหัด สอน และพัฒนาคนงานให้มีคุณสมบัติตรงตามงานที่ปฎิบัติ เพราะในอดีตคนงานจะทำงานด้วยตัวเองการแสวงหาประสบการณ์ไปเรื่อยๆจนพบวิธีที่ดีที่สุดด้วยตนเอง
ค. มีการร่วมมือกับคนงานอย่างจริงใจ เพื่อให้มั่นใจว่างานทั้งหมดได้มีการปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ง. มีการแบ่งงานและแบ่งความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายจัดการ และผู้ปฎิบัติงานอย่างชัดเจน

ในส่วนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น เทย์เลอร์เสนอไว้ว่า

ก. ให้เลือกคนดี หรือคนที่เหมาะสมกับงานที่สุดมาปฎิบัติงาน
ข. จัดการฝึกอบรม และสอนแนะก่อนให้ทำงาน
ค. ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการปฎิบัติงาน

     นอกจากเทย์เลอร์แล้ว ในยุคเดียวกันนี้ได้มีผู้ศึกษาวิธีการบริหารในลักษณะระบบ เช่นเดียวกัน แต่ศึกษาในระบบการบริหาร บุคคลนี้ก็คือ Henry Fayol ซึ่งเป็นวิศวกรและนักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส เฟโยล์ ได้ชี้ว่าหน้าที่ของนักบริหารต้องดำเนินการใน 5เรื่อง คือ การวางแผน(planning) การจัดการองค์การ(Organizing) การบังคับบัญชา(Commanding) การประสานงาน(Co-ordination) และการควบคุม(Controlling) เรียนกย่อว่า POCCC การจัดลำดับหรือขั้นตอนการบริหารงานดังกล่าวนี้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับมากในสมัยนั้น และก็มีผู้นำไปพัฒนาต่อเนื่องออกไปอีก แต่ก็ยังคงเน้นการจัดการเกี่ยวกับงาน หรือระบบงานเป็นหลัก

3). ยุดการบริหารงานตามแนวมนุษย์สัมพันธ์(Human Relations Approach) การบริหารงานในยุคนี้ได้มีการหันเหความสนใจไปที่พฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้นำสำคัญก็คือ Elton Mayo ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยา ทำงานอยู่ฝ่ายงานวิจัยอุตสาหกรรมของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมโยและคณะได้ร่วมกันศึกษา การปฎิบัติงานของคนงานบริษัท Westem Electric Company ใน ค.ศ 1924 ที่เมืองเฮาทอร์น (Howthorm) ในมลรัฐอิลินอยส์ ที่เรียกว่า Howthorn Experience การศึกษาโดยการทดลองของเมโย ได้ใช้คนงานถึง 5,๐๐๐คน มีการทดลองถึง

5ขั้นตอน คือ
    ขั้นที่หนึ่ง เป็นการทดลองเกี่ยวกับความสว่างโดยตั้งข้อสมมติฐานไว้ว่าถ้าเพิ่มแสงสว่างให้มากขึ้นแล้ว ผลผลิตจะสูงขึ้น การทดลองได้แบ่งคนงานออกเป็น สองกลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มทำงานปกติ โดยมีการเปลี่ยนแปลงระดับแสงสว่างในกลุ่มทดลอง ซึ่งเพิ่มแสงสว่างมากขึ้น และลดแสงสว่างจนเป็นแสงจันทร์ แต่ผลผลิตที่ได้จากกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มปกติ ซึ่งแสดงว่ามีตัวแปรบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงาน
    ขั้นที่สอง เป็นการทดลองวัดผลที่เกิดขึ้นจากความเมื่อยล้า หรือความเหนื่อยในการทำงาน หรือระยะเวลาของการพักผ่อนที่มีผลต่อการผลผลิต ในการทดลองนี้ได้ทดลองกับเด็กหญิงหกคน ซึ่งทำหน้าที่ประกอบชิ้นส่วนของโทรศัพท์ โดยให้ทำงานในห้องทดลองโดยเฉพาะและนำช่วงการพักต่างๆมาใช้ปรากฎว่าผลผลิตสูงขึ้นเช่นเดียวกับสภาพการทำงานที่ดีขึ้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา1ปีของการทดลอง เมื่อเด็กหญิงเหล่านี้กลับมาทำงานปกติ ก็ยังมีผลผลิตในระดับสูงเช่นเดิมซึ่งแสดงว่า ทัศนคติของเด็กที่มีผลต่อประสิทธิภาพของคนงานอย่างมาก
    ขั้นที่สาม เป็นการสัมภาษณ์คนงานกว่า2,000คน เพื่อขอทราบถึงความรู้สึกหรือความเห็นของคน งานที่มีผลต่องานที่ปฏิบัติ รวมทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน การบังคับบัญชา ความคิดเห็นที่มีผลต่อองค์การ และเรื่องอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่คนงาน ได้ผลสรุปว่า กลุ่มคนงานมีการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตขององค์การ คือความสัมพันธ์ของบุคคลภายในองค์การที่เกิดจากการทำงานร่วมกันกลายเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ ถ้ากลุ่มนี้เข้ากันได้ของฝ่ายบริหาร ผลผลิตจะสูงขึ้น แต่ถ้ามีความขัดแย้งกันผลผลิตจะตํ่าลง 

    ขั้นที่สี่ เป็นการทดลองการทำงานเป็นกลุ่ม โดยมีข้อสมมติฐานว่ากลุ่มคนงานต้องการประโยชน์สูงสุดจากการผลิตให้มากที่สุดคนงานเร็วกว่าจะผลักดันคนทำงานช้าให้ทำงานเร็วขึ้น และคนงานที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันจะสร้างบรรทัดฐานสำหรับกลุ่มขึ้นมา ผลการทดลองกับกลุ่มคนงานชาย 50 คนที่ทำหน้าที่ร้อยลวดอุปกรณ์โทรศัพท์ ชี้ให้เห็นว่า คนงานชอบที่จะทำงานในลักษณะเป็นกลุ่ม มากกว่าต่างคนต่างทำ และกลุ่มจะมีการยอมรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้มีฐานะเป็นหัวหน้ากลุ่มที่ไม่เป็นทางการ โดยทุกคนจะมีความรู้สึกร่วมในเรื่องต่างๆทุกเรื่อง

บริหารของหน่วยงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่

  1.นโยบายด้านการสรรหาและการคัดเลือก
  2.นโยบายการจ้างงาน
  3.นโยบายค่าจ้าง
  4.นโยบายการเลื่อนตำแหน่ง
  5.นโยบายการพัฒนาบุคลากร
  6.นโยบายความก้าวหน้าในงาน
  7.นโยบายการพิจารณาความตีความชอบ
  8.นโยบายการจัดการสวัสดิการและการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน
  9.นโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  10.นโยบายด้านแรงงานสัมพันธ์

1.5 บทบาทของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์

ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ควรมีบทบาทในการทำงานใน 4 ด้าน คือ

1.การวางแผน (Planning) โดยมีการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการวางแผนกำลังคน เพื่อป้องกันปัญหาคนล้นงาน หรือการขาดแคลนคนที่ต้องการในอนาคต
2.การจัดการองค์การ (Organizing) เป็นการกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างงาน บุคคล และ วัสดุเครื่องมือต่างๆ โดยโครงสร้างนี้ต้องเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและสามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.การอำนวยการหรือการสั่งการ (Directing ) เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานและมีการกระตุ้นให้สมาชิกในองค์การตั้งใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4.การควบคุม(Controlling) เป็นการควบคุมดูแลว่าฝ่ายต่างๆได้ทำงานตามเป้าหมายและนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่

1.6 เป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

     เป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นก็คือ การมุ่งเพิ่มผลผลิตของคนในองค์การที่นำไปสู่ความสำเร็จขององค์การตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้มุ่งความสำเร็จในตัวเอง แต่เป็นเครื่องมือสำเร็จในตัวเองแต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในหน่วยงานอื่น เช่นจัดการฝึกอบรมพนักงานให้สามารถทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆได้ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การจัดคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาทำงานในเวลาที่หน่วยงานต่างๆต้องการ เป็นต้น
     กิจกรรมของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ จึงเป็นการช่วยให้ฝ่ายบริหารองค์การมีพนักงานหรือคนงานที่มีการพัฒนาใช้ประโยชน์ ประเมินค้า คงอยู่ และทำงานที่กำหนดในจำนวนและฝีมือตามความต้องการ ดังนั้นจึงสามารถแยกงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ออกเป็นดังนี้

1.การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงจำนวนและประเภทของพนักงานที่ต้องการในอนาคต
2.การสรรหาและคัดเลือก เพื่อให้ได้บุคคลประเภทที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ
3.การฝึกอบรมและการพัฒนา ซึ่งรวมถึงการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ การฝึกอบรมในการทำงาน การบรรจุเข้าทำงาน การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่งและการเลิกจ้าง
4.การประเมินผลการทำงาน ซึ่งเป็นการประเมินผลพนักงานได้ปฏิบัติงานได้ผลตามที่กำหนดหรือไม่ หากจำเป็นก็ต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมและมีผลต่อการให้ความดีความชอบด้วย
5.การจ่ายผลตอบแทนในรูปของค่าจ้าง เงินเดือน สวัสดิการและสิ่งจูงใจต่างๆในการทำงาน รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ตามกฎหมาย เช่น การประกันสังคม การจ่ายเงินทดแทนการป้องกันอันตรายในการทำงาน การจ่ายล่วงเวลา เป็นต้น
6.การแรงงานสัมพันธ์ โดยเป็นการกำหนดนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์กับพนักงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน และหากพนักงานมีการจัดตั้งสภาพแรงงาน และมีการเรียกร้องก็จำเป็นต้องจัดความสัมพันธ์กับสภาพแรงงานและจัดผู้เชี่ยวชาญในการเจรจาต่อรอง เพื่อหาข้อยุติ

   งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น แท้จริงเป็นของผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทเพียงเพื่อสนับสนุนผู้บริหารในการประเมินผล พนักงาน และช่วยเหลือในการแก้ปัญหา ดังนั้นผู้บริหารแต่ละคนจึงยังมีหน้าที่ในการวางแผนแผนกำลังคน การเลือกคน การให้คำแนะนำ การปฐมนิเทศ การฝึกอบรมพัฒนา การประเมินผล การจ่ายผลตอบแทน และการจัดกิจกรรมบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ โดยมีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้าช่วยเหลือสนับสนุน ทั้งนี้ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีหน้าที่จัดกิจกรรมที่เป็นส่วนร่วมขององค์การ

1.7 การจัดองค์การในฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

    ในอดีตของการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์อาจแฝงอยู่ในหน่วยงานต่างๆ โดยมิได้มีการแยกออกโดยตรง เช่น อาจรวมอยู่ในฝ่ายธุรการ หรืองานสำนักงาน และให้จัดการมีบทบาทในการบริหารพนักงานของตนเอง แต่ในปัจจุบันงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้รับการยอมรับมากขึ้น จึงมีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเฉพาะ โดยมักเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดขององค์การ และผู้บริหารงานนี้มักมีตำแหน่งสูงถึงรอประธานบริษัทอย่างไรก็ตาม ขนาดของฝ่ายงานนี้จะเป็นไปตามขององค์การ และความรับผิดชอบต่อจำนวนพนักงาน โดยทั่วไปจำนวนพนักงานในฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีสัดส่วน 1 คนต่อพนักงาน 100 คนหน่วยงานย่อยในฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่จะแยกออกตามหน้าที่(Functional base) เช่น การจ้างงาน การจ่ายผลตอบแทน การฝึกอบรมและการพัฒนา งานสุขภาพและความปลอดภัย การแรงงานสัมพันธ์ การรับพนักงานใหม่ งานวินัยและการลงทา เป็นต้น

ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
    นอกจากการแบ่งแยกตามหน้าที่แล้ว ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์อาจกำหนดตามรูปแบบของการให้บริการ (Service base) โดยเน้นด้านบำรุงรักษาพนักงาน และด้านการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

1.8 สรุป การบริหารทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานในองค์การโดยเป็นกระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปและกลยุทย์ในการ แสวงหาคัดเลือก และบรรจุบุคคล ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ปฎิบัติงานในองค์การ รวมถึงการบำรุงรักษาบุคคลในองค์การ ให้สามารถปฎิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ ทั้งโดยให้ตอบสนองความต้องการขององค์การ และความต้องการของผู้ปฏิบัติ งานทั้งสองทาง
     วิวัฒนาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีบันทึกไว้ตั้งแต่ในคัมภีร์ใบเบิลและมีการพัฒนาขึ้นจากหลักของประเทศจีน และประเทศกรีก ต่อมาการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยเป็นไปตามแนวการจัดการแบบวิทยาศาสตร์และตามแนวมนุษย์สมพันธ์ ส่วนในยุคปัจจุบัน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้มีการเน้นการส่งเสริมความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมมากขึ้น ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทการทำงาน เป็น 4 ด้าน คือการวางแผนการจัดองค์การ การอำนวยการหรือการสั่งการ และ การควบคุม โดยมีเป้าหมายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็อาจแบ่งตามหน้าที่ แบ่งตามแบบของการให้บริการ หรือแบ่งโดยยึดบุคคลซึ่งแต่ละองค์การสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม และลักษณะโครงการขององค์การนั้นเอง




อ้างอิงจาก หนังสือการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ผศ.ดร.วิชัย โถสุวรรณจินดา.วิชัย โถสุวรรณจินดา. การบริหารทรัพยากรมนุษย์.— พิมพ์ครั้งที่ 5.— กรุงเทพฯ : ก้าวใหม่, /2556. 

วิวัฒนาการของการบริหารมีกี่ยุค

15 วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) แบ่งออกได้ เป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Era) ยุคมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Era ) ยุคการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral Science Management Era) ยุคการ บริหารเชิงระบบ (Systematic Approach Management Era)

วิวัฒนาการทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความเป็นมาอย่างไร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีวิวัฒนาการมายาวนาน เริ่มตั้งแต่ มนุษย์รู้จักการท างานร่วมกันที่เป็น หลักฐานปรากฏ ผลจากการบริหาร คือ ผลงานการคิดออกแบบและการสร้างพีระมิดแห่งแรกของอียิปต์ ซึ่ง ต้องการความสามารถสูงสุดในการวางแผน การจัดองค์การที่ซับซ้อน ผู้น าที่มีทักษะและรายละเอียดในการประสานงานมากมาย มีความเก่าแก่ อย่างน้อง ...

วิวัฒนาการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกิดขึ้นปีใด

จากแนวคิดการจัดการคุณภาพส่งผลให้เกิดวิวัฒนาการพัฒนาศาสตร์ด้านการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์เริ่มตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1950 จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1960 แนวคิดการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการสนับสนุนจาก Maslow, Argyris และ Herzberg ด้วยการให้คุณค่า แก่คนในองค์กรโดยการส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตในการท างานที่ดีภายใต้หลัก ...

วิวัฒนาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 แนวทางอะไรบ้าง

วิวัฒนาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ วิวัฒนาการในการบริหารบุคคลใน ระบบราชการไทย และในระบบสมัยกรุงสุโขทัยมีลักษณะการบริหารแบบพ่อปกครองลูกเป็นระบบอุปถัมภ์ไม่มี เงินเดือนประจํา มีการเกณฑ์คนเข้ามาทํางานรับราชการเป็นไพร่สม ไพร่หลวง และไพร่ส่วย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ มีการ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้