บริษัทมีความน่าเชื่อถือ ภาษาอังกฤษ

คุยเฟื่องเรื่องกองทุน : ตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ กับตราสารที่ไม่ได้จัดอันดับ ...ความสับสนของตลาดตราสารหนี้ไทย

15 ธันวาคม 2559

          สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสมาอบรมต่อใบอนุญาตผู้ค้าตราสารหนี้กับ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ Thai Bond Market Association  ซึ่งในการมาอบรมครั้งนี้ผมได้รับข้อมูลข่าวสารดีๆ มากมาย ประเด็นหนึ่งที่สะดุดใจผมเป็นพิเศษ คือ เรื่องของปริมาณตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ หรือ Non-rated bond ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 2-3 ปี ก่อนหลายเท่าตัว ประเด็นนี้ทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก็เฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิดเช่นกัน  สำหรับตราสารหนี้ Non-rated ระยะสั้น ถ้านับถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2559 มีปริมาณคงค้างในตลาดประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบกับตลาดตราสารหนี้ทั้งหมดที่มีขนาดรวมกว่า 10 ล้านล้านบาท หรือตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีขนาด 3ล้านล้านบาท ก็ยังถือว่าไม่มากนัก

          แต่สิ่งที่มันผิดปกติสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย คือ เราแทบจะไม่มีตราสารหนี้ Non-investment grade หรือตราสารที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้อยู่เลย คือมีเพียง 2 พันล้านบาทเท่านั้น  แต่กลับมีตราสาร Non-rated ถึงแปดหมื่นล้านบาท  แต่พอไปอ่านคำนิยามคำแปลของตราสาร Non-investment grade แล้วก็เริ่มเข้าใจ เพราะท่านแปลมาจากภาษาอังกฤษตรงตัว ว่า เป็นตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง บางครั้งก็ถูกเรียกว่า junk bond แปลตรงตัวว่า "ขยะ" ไม่สามารถลงทุนได้ กล่าวคือแค่ชื่อก็ขายไม่ได้แล้ว ไม่มีใครเอา ถ้าหากไปดูคำบรรยายที่ครบถ้วนของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ท่านว่ากลุ่มนี้คือ บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่า BBB- ลงมา (คือ BB+ จนถึง C)

          แต่พอมาดูคำบรรยายของตราสาร Non-rated ท่านกลับแปลว่า ตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ ที่ปรึกษาทางการเงินบางแห่งแปลเข้าข้างผู้ออกตราสารว่า ตราสารที่ไม่ต้องได้รับการจัดอันดับ พูดสั้นๆ คือ กลุ่มที่ไม่ได้จัดอันดับ ฟังดูแล้วเสมือนว่าจะดูดีกว่า กลุ่มที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ หรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง  ด้วยเหตุนี้บ้านเราจึงแทบจะไม่มีบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Non-investment grade นี้เลย  ปัจจุบันที่มีอยู่ 2 บริษัทก็เป็นบริษัทเดิมที่เคยเป็นระดับลงทุนได้แต่ถูกลดอันดับลงมา ไม่มีบริษัทใดเลยที่ออกตราสารครั้งแรกในสถานะที่เป็น non-investment grade เช่น BB หรือ BB+

          เพื่อนผมที่เคยอยู่สถาบันการจัดอันดับเคยเล่าให้ฟังว่า ในประเทศไทย หากบริษัทใดได้รับผลการประเมินเบื้องต้นว่าจะได้อันดับความน่าเชื่อถือ ประมาณ BB- ถึง BB+ ก็จะปฏิเสธการรับบริการต่อ และขอให้บริษัทจัดอันดับไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นกับสาธารณะ ปรากฏการณ์นี้ต่างจากตลาดที่พัฒนาแล้วในต่างประเทศมาก เพราะในตลาดเหล่านั้นผู้ออกตราสารจะเลือกที่บอกนักลงทุนว่าตนได้รับการจัดอันดับ BB หรือ BB+ มากกว่าที่จะเป็น Non-rated เพราะในตลาดของเขาการออกตราสาร Non-rated จะถูกตีความว่าแย่กว่า Non-investment grade เสียอีก และต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงมากไม่แพ้กลุ่มที่ได้รับการจัดอันดับระดับ CCC ลงไป

          แต่ด้วยกฎและโครงสร้างระบบการเงินในประเทศไทยที่อยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำและนักลงทุนไล่แสวงหาผลตอบแทน  ประกอบกับยังให้ความไว้วางใจตัวกลางการจัดจำหน่ายตราสารมากกว่าที่จะพึ่งการวิเคราะห์ด้วยตนเอง จึงเกิดปรากฏการณ์ที่ตลาด Non-rated เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมสังเกตุว่านักลงทุนส่วนใหญ่แม้ว่าจะเป็น High Net Worth หรือผู้มีเงินลงทุนสูงก็มิได้มีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะบริษัท Non-rated เหล่านี้  ซึ่งถ้านักลงทุนสามารถทราบคร่าวๆได้ว่างบการเงินของบริษัท Non-rated นั้นสามารถเทียบกลับไปที่ตารางการจัดอันดับได้ BB หรือ B หรือ CCC แล้วหากได้อันดับประมาณนั้นในต่างประเทศเขาให้ผลตอบแทนกันเท่าใดคงจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่ดีไม่น้อยเลยนะครับ

โดย คุณสมิทธ์ พนมยงค์
       ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
       บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด


ช่วงนี้คนเปลี่ยนงานกันเยอะนะครับ แน่นอนว่าตั้งแต่ประเทศเราเกิดกระแสเห่อ AEC มา เรียกได้ว่าบริษัท ห้างร้าน กิจการทุกที่ก็เอาแต่สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษกันทั้งนั้น! ถ้าใครยัง “หวั่นๆ” กับการสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ กดเซฟ Blog นี้ไว้เลยครับ หรือจะพิมพ์แปะฝาบ้านก็ได้ เพราะ Blog นี้ช่วยคุณได้ชัวร์ป๊าบบบบบ! มาเริ่มกันเลยกับคำถามแรกครับ...

- Tell me about yourself. -

- เล่าเรื่องของตัวเองให้ฟังหน่อย -

คำแนะนำ : คำถามนี้เปิดโอกาสให้คุณเล่าเรื่องให้ตัวเองดูดี แต่ควรเล่าอย่างมีชั้นเชิง โดยคุณอาจพูดถึงงานอดิเรกที่คุณทำที่ช่วยสะท้อนแง่มุมดีๆในตัวคุณ เช่น I enjoy going to a marathon running program. ฉันชอบลงวิ่งมาราธอน การที่คุณชอบวิ่งมาราธอนอาจหมายถึงคุณเป็นคนมีความมุ่งมั่น อดทน ชอบความท้าทาย และรักสุขภาพ!

หรือจะบอกว่า In my freetime, I like to go to a volunteering event. ในเวลาว่าง ฉันมักจะชอบไปทำงานอาสาสมัคร การที่คุณชอบทำงานอาสา แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และประสานงานกับผู้อื่นได้ดี เป็นต้น

เมื่อคุณพูดถึงแง่มุมสนุกๆในตัวคุณไปแล้ว คุณอาจกลับมาที่เรื่องงาน โดยใช้ประโยคว่า...

"In addition to those interests and passions”

ในส่วนที่นอกเหนือจากงานอดิเรกความสนใจของผมแล้ว

“my professional life is a huge part of who I am”
การทำงานก็เป็นพาร์ทที่สำคัญที่ทำให้ผมเป็นผมอย่างเช่นทุกวันนี้ครับ

“I'd like to talk a bit about some of the strengths which I would bring to this job."

ผมขอกล่าวถึงจุดแข็งของผมที่ผมสามารถนำมาใช้ในงานตำแหน่งนี้นะครับ

...จากตรงนี้คุณก็สามารถเล่าถึงจุดแข็งและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาได้เลยครับ

ข้อควรระวัง : อย่าพูดมากเกินไป ควรพูดให้สั้น กระชับ ได้ใจความ และไม่ต้องเล่าถึงเรื่องส่วนตัว พ่อแม่พี่น้อง หรืออะไรที่ไม่ได้มีจุดเด่น และอย่าพูดถึงข้อดีเป็นสิบๆข้อ ให้เลือกข้อที่เด่นๆมาพูดจะดีกว่า ควรหลีกเลี่ยงเรื่องศาสนาและการเมืองเพื่อไม่ให้ดูเป็นคนชอบตัดสิน (A judgmental person) ครับ

- Why should we hire you? -

- ทำไมเราต้องจ้างคุณ -

คำแนะนำ : คุณอาจเจอคำถาม “Why should we hire you?” ทำไมเราต้องจ้างคุณ หรือ “What makes you the best fit for this position?” อะไรทำให้คุณคิดว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งนี้ คำตอบที่ควรตอบคือการ “ขายตัวเอง” ให้กับผู้สัมภาษณ์

“จงจำไว้ว่าบริษัทจ้างคน เพื่อมาแก้ปัญหา และคุณคือคนที่จะเข้ามาแก้ปัญหานั้น”

วิธีที่คุณจะตอบคำถามนั้นได้ดีที่สุด คือการทำความเข้าใจรายละเอียดของตำแหน่งที่คุณสมัคร และสกิลที่จำเป็นสำหรับงานนี้ รวมถึงเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของบริษัท ก่อนที่จะนำเสนอเอกลักษณ์หรือจุดเด่นในตัวคุณที่ทำให้คุณเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่น และอธิบายว่าคุณจะสามารถ “เอาชนะ” หรือ “แก้ไขปัญหา” ที่บริษัทมีได้อย่างไร

โดยคุณอาจใช้ประโยคว่า

“I have ……... ability to be an asset to your company.”

ดิฉันมีคุณสมบัติ…...ที่จะสร้างคุณค่าให้กับบริษัทของคุณค่ะ

“Your company provides many services that I have had experience with. I believe that my familiarity with the industry would make me a good fit for this position.”

องค์กรของคุณมีการให้บริการ (หรือสินค้า) ในหลายรูปแบบที่ดิฉันเคยมีประสบการณ์การทำงานด้วยมาก่อน ดิฉันเชื่อว่าความคุ้นเคยที่ดิฉันมีกับธุรกิจในรูปแบบนี้จะทำให้ดิฉันเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ค่ะ

หรือจะกล่าวถึงปัญหา (Pain Point / Problem) ที่บริษัทกำลังมีอยู่ เช่น...

“You have explained that you are looking for a sales executive who is able to effectively manage over a dozen employees.”

จากที่คุณได้อธิบายว่าคุณกำลังมองหาพนักงานขายที่สามารถบริหารลูกทีมหลายคนได้ (บริษัทมีปัญหาในการหาคนมาบริหารฝ่ายขาย)

“In my 15 years of experience as a sales manager, I have developed strong motivational and team-building skills.”

จากประสบการณ์ของดิฉันที่เป็นผู้จัดการฝ่ายขายมา 15 ปี ฉันได้เรียนรู้ทักษะการสร้างทีมและสร้างแรงจูงใจมาเป็นอย่างดีเลยค่ะ

และอาจกล่าวเพิ่มเติมถึงใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลที่ได้รับ เช่น “I was awarded manager-of-the-year for my new managment strategies. If hired, I will bring my leadership abilities and strategies for achieving profit gains to this position.”

ดิฉันได้รับรางวัลผู้จัดการแห่งปี สำหรับกลยุทธ์การบริหารงานรูปแบบใหม่ของดิฉัน ถ้าคุณจ้างดิฉัน ดิฉันจะนำทักษะความเป็นผู้นำและกลยุทธ์ในการทำกำไรมาสู่ที่นี่เองค่ะ!

ข้อควรระวัง : ถ้าคุณถูกถามกลับกันว่า "Why shouldn't we hire you?" ทำไมเราถึงไม่ควรจ้างคุณ คุณไม่ควรตอบกวนๆว่า “ถ้าไม่อยากได้คนเก่ง ก็ไม่ต้องจ้างสิยะ” หรือ “ถ้าคุณไม่อยากได้กำไร ก็ไม่ต้องจ้างดิฉันก็ได้” แต่ให้คุณบอกถึงคุณสมบัติกลางๆ ไม่ดีไม่ร้าย เช่น “ถ้าดิฉันเป็นคนพูดน้อย อาจจะไม่เหมาะกับบริษัทที่เฮฮาอย่างนี้ก็ได้มั้งคะ” เพราะจริงๆแล้วคุณสมบัติ “พูดน้อย” แบบนี้ไม่ได้เป็นคุณลักษณะ (Trait) ที่สร้างความเสียหายให้กับบริษัทแต่อย่างใด

- What are your salary expectations? -

- คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ -

คำแนะนำ : คุณควรศึกษาหาความรู้ว่าสายงานของคุณโดยเฉลี่ยแล้วได้เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขนั้นจะทำให้คุณประเมินตนเองได้ว่าควรเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี แต่สิ่งสำคัญคือ  “อย่ายอมรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าที่คุณตั้งใจ เว้นเสียว่าทางบริษัทอาจชดเชยเป็นผลประโยชน์อื่นๆ” ซึ่งคุณต้องชั่งน้ำหนักเอาเองว่าคุณสามารถเอาชีวิตรอดในเงินเดือนเท่านั้นได้หรือไม่

เรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องที่ต่อรองได้ คุณต้องแฟร์กับตัวเองด้วย ซึ่งคุณสามารถบอกกับผู้สัมภาษณ์ได้ด้วยประโยคตัวอย่างเหล่านี้...

“I understand that positions similar to this one pay in the range of ฿35,000 to ฿45,000. With my experience, I would like to receive something in the range of ฿40,000 to ฿42,000.”

ผมเข้าใจว่าตำแหน่งงานแบบนี้จะจ่ายที่ประมาณ 35,000 - 45,000 บาท ด้วยประสบการณ์ของผม ผมต้องการได้รับค่าตอบแทนที่ 40,000 - 42,000 บาทครับ

หรือ “I would like to be compensated fairly for my experience.” ผมต้องการรับค่าจ้างที่ยุติธรรมสำหรับประสบการณ์ของผมครับ

หรือ “The research I've done indicates that positions like this one pay ฿35,000 to ฿45,000 and something in that range would be acceptable to me as a starting salary.”

จากที่ผมทำการบ้านมา ตำแหน่งนี้จะจ่ายที่ประมาณ 35,000 - 45,000 บาท ดังนั้นถ้าผมได้รับเงินเดือนในช่วงดังกล่าวเป็นเงินเดือนเริ่มต้น ผมคิดว่าผมรับได้ครับ

และ “My salary requirements are flexible, but I do have significant experience in the field that I believe adds value to my candidacy.”

สามารถเจรจาได้ครับ แต่ผมมีประสบการณ์ในสายงานนี้มาอย่างดี ผมเชื่อว่าตรงนี้สามารถนำมาคิดเป็นเงินเดือนของผมได้

ข้อควรระวัง : หลายบริษัทที่คุณไปสัมภาษณ์มักจะพยายามกดเงินเดือนที่คุณเรียกอยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าคุณต้องการตัวเลขใดให้บวกเพิ่มไป 15-20% ก่อนจะเจรจาจะดีกว่านะครับ

- What is your greatest strength? -

- จุดแข็งที่ใหญ่ที่สุดของคุณคืออะไร -

คำแนะนำ : ก่อนสัมภาษณ์คุณควรลิสต์ข้อดี จุดแข็ง สกิล และประสบการณ์ที่คุณมีออกมาก่อน และเลือกมาสัก 3-4 อย่างที่เด่นๆ และเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่คุณสมัครเท่านั้น อย่าพูดอะไรเรื่อยเปื่อยไม่มีโฟกัส เพราะมันจะลดความน่าเชื่อถือของข้อดีที่คุณเล่าไปก่อนหน้า และควรยกตัวอย่างว่าคุณได้ใช้ข้อดีเหล่านั้นทำอะไรมาบ้างในอดีต เพราะหากผู้สัมภาษณ์ถามว่า “คุณจะเอาข้อดีเหล่านั้นมาช่วยบริษัทได้อย่างไร” คุณจะได้คิดออกทันท่วงที

ตัวอย่างที่คุณอาจเอาไปใช้ได้

“I have extremely strong writing skills.” ดิฉันมีประสบการณ์ทางด้านการเขียนที่ดีมากค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้