พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเป็นหลักฐานชั้นใด

    นอกจากพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ดังกล่าวแล้ว พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่มนี้ ยังรวบรวมเอกสารสำคัญ ซึ่งเขียนในสมัยอยุธยา คือ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ อันนับเป็นเอกสารร่วมสมัยเพียงจำนวนน้อยที่หลงเหลืออยู่ โดยพงศาวดารฉบับนี้นอกจากมีความสำคัญในฐานะเอกสารร่วมสมัยแล้ว ยังถือกันว่าบันทึกศักราชไว้ถูกต้องแม่นยำที่สุดอีกด้วย และมักใช้เป็นฉบับสอบเทียบกับฉบับอื่น ๆ และเรื่องราวที่บันทึกคำบอกเล่าเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาโดยผู้คนในสมัยอยุธยา คือ คำให้การชาวกรุงเก่า และ คำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งล้วนเป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะวีรกรรมของสมเด็นพระนเรศวรมหาราช

Title Thumbnail: ที่มา: Facebook เพจ "นครประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา," เป็นภาพพระเจดีย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ก่อนได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม, วันที่เข้าถึง 23 สิงหาคม 2562., Hero Image: วัดมงคลบพิตรก่อนบูรณะ, ที่มา: preciousgang.blogspot.com, วันที่สืบค้น 15 มีนาคม 2561.

First revision: Mar.15, 2018
Last change: Jan.13, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

ก. บทนำ: อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

ภาค 1: หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา:
       ด้วยเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 หลักฐานประเภทเอกสารสูญหายไปเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่าเอกสารที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน มีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น แต่ก็ยังโชคดีที่มีเอกสารจากชาวต่างประเทศมาช่วยไว้มาก โดยเฉพาะชาวยุโรปที่เคยเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา จึงสามารถศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลายได้มากขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากต่างประเทศเหล่านี้.
       การใช้หลักฐานภาษาต่างประเทศนั้น ในด้านหนึ่งถือว่าเป็นข้อดีเพราะสามารถตรวจสอบหลักฐานที่เป็นอิสระจากกันได้มากขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความถูกต้องของการบันทึกหลักฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม อคติ และความรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่บันทึก หากจะนำหลักฐานไปใช้จึงต้องผ่านกระบวนการวิพากษ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงกล่าวได้ว่า การขาดหลักฐานเป็นข้อจำกัดของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา.
       จากการศึกษามาใคร่ขอแบ่งหลักฐานให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ออกเป็น
       หนึ่ง) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ
       สอง) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

       หนึ่ง) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานเอกสารของไทย และหลักฐานเอกสารภาษาต่างประเทศ
       หลักฐานเอกสารของไทย ส่วนใหญ่เป็น:

  • พระราชพงศาวดาร04
  • พงศาวดาร05
  • คำให้การฉบับต่าง ๆ 
  • กฎหมายตราสามดวง 


      หลักฐานเอกสารภาษาต่างประเทศ อาทิ:

  • หนังสือชุดบันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ
  • เอกสารฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา
  • บันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน ฟลีต
  • ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม
  • สำเภาสุลัยมาน


       สอง) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
     อาทิ: โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัง ป้อม วัด สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร เครื่องทองและเครื่องประดับ เรือในขบวนพยุหยาตราชลมารค ฯลฯ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสังคโลก ร่องรอยของอาหารและเครื่องใช้ที่หลงเหลืออยู่ในเรือ ฯลฯ

  • แผนที่กรุงศรีอยุธยาของนานาประเทศ (พม่า และชาวตะวันตก)
  • แผนที่แม่น้ำเจ้าพระยา (เช่นในหนังสือจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ที่บอกชื่อสถานที่ริมฝั่งน้ำ)

ข้อด้อยของหลักฐานประเภทพระราชพงศาวดาร
หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารมีข้อด้อยอยู่หลายประการ คือ
       ประการแรก เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นหลังเหตุการณ์เป็นเวลานาน ทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง แม้แต่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งถือว่าเชื่อถือได้มากที่สุด ก็เขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับอื่น ๆ ยิ่งเขียนขึ้นหลังจากนั้นมาก.
       ประการที่สอง พระราชพงศาวดารถูกชำระหลายครั้งและไม่ทราบว่าชำระส่วนใดบ้าง ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่ามีการชำระเพราะต้องการ "สร้าง" ประวัติศาสตร์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจ.
       ประการที่สาม การที่เนื้อความหรือแก่นของเรื่องเขียนเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ จึงละเลยการกล่าวถึงราษฎรในสังคม.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับต่าง ๆ
       ส่วนใหญ่มักผ่านการ "ชำระ" โดยผู้ชำระไม่บอกว่าชำระเรื่องใดบ้าง ทุกฉบับเขียนขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ในเนื้อหาเดียวกันเป็นเวลานาน บางฉบับเขียนขึ้นเพื่อรับใช้อำนาจใหม่ที่ขึ้นมาแทนที่อำนาจเก่าสมัยอยุธยา และพงศาวดารก็มีการคัดลอกต่อ ๆ กันมา พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยามีหลายฉบับดังนี้

       1. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (บ้างก็เรียก พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์)


"Luang Prasoet Chronicle of Ayutthaya", ที่มา: commons.wikimedia.org, วันที่เข้าถึง 21 สิงหาคม 2562.
 

       เป็นพระราชพงศาวดารฉบับที่ได้ชื่อว่าแม่นยำมากที่สุดและเชื่อว่าไม่ผ่านการชำระ บันทึกเหตุการณ์สมัยอยุธยาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึงรัชกาลสมเด็จพระนริศ หรือ พระนเรศมหาราช พ.ศ.2147 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้รวบรวมพระราชพงศาวดารฉบับนี้จาก จดหมายเหตุโหร และเอกสารต่าง ๆ จากหอหนังสือเมื่อ พ.ศ.2223.
       พระราชพงศาวดารฉบับนี้ได้ชื่อตามหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (แพ ตาละลักษณ์ เปรียญ) ผู้พบสมุดไทยต้นฉบับจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งและนำมามอบให้หอสมุดวชิรญาณเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2450.
       เนื้อหาของพระราชพงศาวดารที่พบนี้ยังไม่ครบถ้วน เข้าใจว่าเนื้อความคงจะขาดไปหรืออาจจะมีอีกสักเล่มหนึ่ง เพราะกล่าวถึงเหตุการณ์ พ.ศ.2147 เมื่อสมเด็จพระนเรศหรือพระนริศมหาราช ยกพยุหยาตราชลมารค จากป่าโมกและทำพิธีตัดไม้ข่มนามที่ ต.เอกราช ตั้งทัพชัยที่ ต.พระหล่อ และเสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองหลวง ต.ทุ่งดอนแก้ว โดยไม่ได้กล่าวถึงผลของการสงครามในครั้งนี้ ลักษณะการบันทึกเป็นแบบสังเขป คือกล่าวโดยสรุป สั้น และกระชับแต่ได้ใจความ.

       2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอสมุดวชิรญาณ เลขที่ 222, 2/ก 125 จ.ศ.845-846 และพระราชพงศาวดารฉบับหมายเลข 223, 2/ก 104 จ.ศ.801-803 หรือเรียกว่า พงศาวดารฉบับปลีก เป็นพระราชพงศาวดารอีกฉบับที่เชื่อว่าไม่ผ่านการชำระ พระราชพงศาวดารฉบับแรกพบเมื่อ พ.ศ.2514 โดยนายไมเคิล วิเคอรี ต่อมาใน พ.ศ.2521 อุบลศรี อรรถพันธุ์ ค้นพบเนื้อความอีกส่วนหนึ่งที่อ้างว่าต่อกันได้พอดีกับฉบับ 222 ที่พบก่อนหน้านั้น แต่ ไมเคิล วิเคอรี วิเคราะห์ว่า พระราชพงศาวดาร 223 อาจเขียนขึ้นก่อนรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบยศขุนนางก่อนและหลังการปฏิรุปการปกครองในรัชสมัยนั้น อย่างไรก้ดีคุณอุบลศรีได้รวมพระราชพงศาวดารทั้งสองฉบับนี้เข้าด้วยกันในชื่อ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอสมุดวชิรญาณ สันนิษฐานว่าพระราชพงศาวดารฉบับนี้เขียนขึ้นก่อนพระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์.
       เนื้อความเท่าที่เหลืออยู่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะกล่าวถึงเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เหตุการณ์ก่อนที่จะมีพิธีโสกันต์สมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนาถบพิตร ในศักราช 801 ปีมะแม สาระที่น่าสนใจในพระราชพงศาวดารฉบับนี้คือ แสดงให้เหฌนการปกครองแผ่อำนาจของกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือดังที่มีการกล่าวถึงสงครามกับเขมร และการขยายอำนาจไปทางตะวันตก คือ เมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี ซึ่งไม่พบรายละเอียดเช่นนี้ในพระราชพงศาวดารฉบับอื่น

       3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)06 เชื่อว่าเป็นพระราชพงศาวดารที่น่าจะคัดลอกมาจากฉบับที่บันทึกไว้ในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ หากจะมีการแก้ไขดัดแปลงบ้างก็คงทำเฉพาะบางตอนเท่านั้น พระราชพงศาวดารฉบับนี้มีบานแผนก07 บอกไว้ชัดเจนว่าได้ชำระใน จ.ศ.115708 หรือ พ.ศ.2338 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 แต่อาจจะถูกชำระมาแล้วในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพราะมีบานแผนกใหม่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือว่า "เพียงนี้เรื่องพระเพทราชากับพระเจ้าเสือทำไว้แต่ก่อน บัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้เจ้าพระยาพิพิธพิชัยกระทำเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้า กับพระเพทราชา พระเจ้าเสือ พระบรมโกษฐ์ พระเจ้าพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทำศักราชถัดกันไป"09 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อใช้พระราชพงศาวดารฉบับนี้คือ มีการแก้ไขศักราชทำให้คลาดเคลื่อนไปหลายสิบปี ซึ่งไม่ทราบว่าเหตุใดผู้ชำระจึงแก้ไขเช่นนี้

       4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระพนรัตน์ หรือ ฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชพงศาวดารที่ชำระในสมัย ร.1 ผู้ชำระคือสมเด็จพระพนรัตน์หรือพระพิมลธรรมแห่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นักประวัติศาสตร์คนสำคัญสมัยรัชกาลที่ 1 และสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสได้ชำระต่อจากสมเด็จพระนพรัตน์ บางครั้งเรียกพระราชพงศาวดารฉบับนี้ว่า พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวง เนื่องจากสมเด็จพระพนรัตน์ทรงทำงานเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ร.1

 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนฯ ในสมัย ร.4 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ใน ร.1 ที่มา: popeyemg.blogdpot.com, วันที่เข้าถึง 30 สิงหาคม 2562


       พระราชพงศาวดารนี้ใช้ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เป็นหลัก มีการแก้ไขเพิ่มเติมและแทรกเรื่องใหม่เข้าไป และได้รวม พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ซึ่งพระมหาธรรมธิราชมุนีเขียนไว้เข้าไปด้วย โดยแก้ข้อความตอนท้ายแล้วแต่งต่อลงมาจนถึง พ.ศ.2335.

       หากผู้ศึกษาต้องการทราบเรื่องของสมเด็จพระเพทราชากับสมเด็จพระเจ้าเสือ ควรค้นคว้าจากพระราชพงศาวดารฉบับใด?
       ควรศึกษา พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ช่วงก่อนบานแผนก เพราะมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าข้อความตั้งแต่รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นงานที่ชำระในสมัยกรุงธนบุรี จึงกล่าวถึงสมเด็จพระเพทราชาและสมเด็จพระเจ้าเสือใกล้เคียงความเป็นจริง ส่วนข้อความหลังบานแผนกไปแล้วนั้น เป็นงานที่ชำระใหม่ในสมัย ร.1 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้นำในสมัยนี้ต้องการอธิบายการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา จึงพยายามชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชาจนถึงรัชกาลสุดท้ายพระเจ้าเอกทัศน์ ผู้ปกครองไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม จนทำให้บ้านเมืองต้องล่มสลายในที่สุด
       พระราชพงศาวดารอีกฉบับหนึ่งคือ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) เชื่อว่าเนื้อความตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระยังไม่ได้ถูกชำระ.

         5. พระราชพงศาวดารกรุงสยาม พระราชพงศาวดารฉบับนี้ถูกชำระโดยฝ่ายวังหน้าสมัย ร.1 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ร.2) เนื้อความกล่าวถึงพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และการดำเนินนโยบายในการขึ้นครองราชย์ของ ร.1 เริ่มต้นเนื้อเรื่องที่การสร้างเมืองสวรรคโลกและพิษณุโลก รวมทั้งเรื่องราวต่าง ๆ ในเมืองทั้งสอง ซึ่งการดำเนินเรื่องเหมือน พงศาวดารเหนือ ที่พระวิเชียรปรีชา (น้อย) ขุนนางในฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเรียบเรียงขึ้นหลังจากชำระพระราชพงศาวดารฉบับนี้แล้ว
          พระราชพงศาวดารกรุงสยาม นี้ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม เพราะเป็นพระราชพงศาวดารฉบับเดียวที่พบในประเทศอังกฤษ โดยมีผู้มอบให้ บริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ประเทสอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2491 ต่อมาศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ไปพบเข้า จึงถ่ายไมโครฟิล์มส่งกลับมาให้กรมศิลปากร.

         6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)10 พระราชพงศาวดารฉบับนี้ผ่านการตรวจและแก้ไขโดยใช้ฉบับพระพนรัตน์เป็นหลัก ข้อความส่วนใหญ่จึงเหมือนกับ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ ยกเว้นข้อความจากปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์จนถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ11 ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเขียนภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงและคงไม่ได้ถูกชำระในสมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นพระราชพงศาวดารฉบับเดียวที่กล่าวถึงเหตุการณ์สมัยปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอย่างค่อนข้างแม่นยำ ในขณะที่ฉบับอื่นคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับหลักฐานชั้นต้น เช่นไม่กล่าวว่าเจ้าฟ้าอภัยเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช.

ที่มา: sites.google.com, วันที่เข้าถึง 31 สิงหาคม 2562.


       นอกจากนี้ยังมี พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่ ร.4 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เรียบเรียงและพระองค์ทรงตรวจแก้ไข นับว่าเป็นพระราชพงศาวดารที่เชื่อถือได้ยากที่สุด เพราะเขียนขึ้นหลังเหตุการณ์มากที่สุด (ทรงร่วมกันแต่งตำนานกรุงสยามเริ่มความตั้งแต่การสร้างกรุงศรีอยุธยามาจนถึงราชวงศ์จักรี) การจะนำมาใช้จึงต้องระมัดระวังมาก

       และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับนายแก้ว มีเนื้อความสั้น ๆ เฉพาะรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (9 ก.ค.2351 - 14 ส.ค.2414), ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 4 กันยายน 2562


        7. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพิมพ์สองเล่ม หรือ พระราชพงศาวกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเลย์ เนื่องจากนายแพทย์แดนบีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley, M.D.)12 มิชชันนารีชาวอเมริกันเป็นผู้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2406 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเนื่องจากพิมพ์เย็บเป็นสองเล่ม จึงเรียกว่า พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพิมพ์สองเล่ม
         ในบานแผนกของพระราชพงศาวดารฉบับนี้บอกให้รู้ว่าเรียบเรียงขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2393 และหมอบรัดเลย์อ้างว่า พระราชพงศาวดารฉบับนี้ได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วโดยพระศรีสุนทรโวหาร (ฟัก) เป็นพระอาลักษณ์ในขณะนั้น
         เนื้อความคล้ายกับ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทุมาศ (เจิม) และ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) แต่ต่างกันในส่วนข้อความตอนปลาย โดยพระราชพงศาวดารฉบับนี้จบลงที่ พ.ศ.2335 ตอน ร.1 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราชยกกองทัพไปช่วยเมืองทวาย.

ที่มา คำศัพท์และคำอธิบาย:
01.  ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา: ชุดถาม-ตอบเสริมความรู้สาระประวัติศาสตร์, ผศ.ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ, สำนักพิมพ์สารคดี, พิมพ์ครั้งที่ 1, มี.ค.2560.
02.  อยุธยา: จากสังคมเมืองท่านานาชาติ สู่มรดกโลก ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์, กำพล จำปาพันธ์, สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, พิมพ์ครั้งที่ 1, ต.ค.2559.
03.  รู้เรื่องพระพุทธรูป: ที่มา คติความหมาย ศิลปกรรม ทุกยุคทุกสมัย, รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, สำนักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรกฏาคม 2560.
04.  พระราชพงศาวดารเป็นงานวรรณกรรมทางประวัติศาสตร์ที่กษัตริย์ได้ให้บันทึกหรือรวบรวมเรื่องราวในราชอาณาจักร จึงเป็นงานเขียนเพื่อเทิดพระเกียรติทางอ้อม จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเป็นเพียงบันทึกเรื่องประวัติของราชวงศ์ที่ครองกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการจดจึงไม่ได้มุ่งหมายที่จะจดพัฒนาการแห่งสังคมไทยในรับเอกภาพทั้งมวลตามแบบของประวัติศาสตร์

ตัวอย่างจาร จารึก สมุดไทยดำ, ที่มา: kingkarnk288.wordpress.com, วันที่สืบค้น 12 สิงหาคม 2561.

     ต้นฉบับสมุดไทยดำ บันทึกเรื่องราวพระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรภาษาไทยรูปแบบหนึ่ง

05.  พงศาวดารแตกต่างกับพระราชพงศาวดาร คือ พงศาวดารเน้นเรื่องราวของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ราชอาณาจักร เช่น สงขลา ปัตตานี ฯลฯ และเมืองที่เป็นเพื่อนบ้าน เช่น พม่า มอญ ญวน ฯลฯ ส่วนพระราชพงศาวดาร เน้นการเขียนเรื่องราวของกษัตริย์ที่ศูนย์กลาง คือที่กรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพฯ.
06.  เรียกชื่อตามพันจันทนุมาศ (เจิม) ข้าราชการในกรมเลขาธิการของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่เป็นผู้นำมามอบให้แก่หอสมุดวชิรญาณเมื่อ พ.ศ.2450 สันนิษฐานว่าได้ต้นฉบับมาจากเมืองนครศรีธรรมราช
07.  บานแผนก เป็นคำนาม หมายถึงบัญชีเรื่องหรือสารบาญ
08.  จ.ศ. คือจุลศักราช เป็นศักราชที่พระสังฆราชบุพโสระหัน ชาวพม่า คิดขึ้นใช้ จ.ศ.1 ตรงกับ พ.ศ.1182 ท่านผู้นี้เมื่อสึกจากสมณเพศแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ครองราชย์อยู่ที่เมืองพุกาม ในประเทศไทยมีการใช้จุลศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
09.  ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 39 {ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 (ต่อ) พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)}, (พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, 2512), หน้า 214-215.
10.  เรียกชื่อเป็นเกียรติพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) เนื่องจากบุตรชายของท่านคือนายจิตร เป็นผู้นำมามอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ.2451.
11.  นิธิ เอียวศรีวงศ์, ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา; (กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2521), หน้า 8.
12.  หมอบรัดเลย์, นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley, M.D.) เป็นนายแพทย์มิชชันนารีอเมริกันยุคบุกเบิกที่เข้ามาในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2378 เปิดสำนักงานรักษาคนเจ็บและแจกยารักษาโรคอยู่ที่วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร - ย่านเยาวราช) ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เรือนเช่าของเจ้าพระยาพระคลังใกล้วัดประยุรวงศาวาส

Dan beach Bradley, M.D. ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง: 13 กันยายน 2562  ชาตะ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2347 เมืองมาร์เซลลัส (Marcellus), นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา มรณะ 23 มิถุนายน พ.ศ.2416 จังหวัดพระนคร, สยาม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้