สาเหตุ เศรษฐกิจของไทย ตกต่ำ

มาวิเคราะห์ผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ต่อเศรษฐกิจ และ SME ไทย มีอะไรต้องปรับตัวบ้าง จากรายการ “Mission Tonight” Mission to The Moon สัมภาษณ์ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ภาพรวมของเศรษฐกิจไทย และกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก

เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วทางกรุงศรีมองว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจจะค่อย ๆ เติบโตอย่างช้า ๆ แต่ต่อมาก็ได้มีการปรับเปลี่ยนตัวเลขการคาดการณ์มาเรื่อย ๆ จนได้ข้อสรุปว่า GDP ของประเทศไทยจะมีตัวเลขอยู่ที่ติดลบ - 5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวล เพราะมันแปลว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล แต่ในตอนนี้ เศรษฐกิจไทยเริ่มนิ่ง และคาดว่าตัวเลข GDP ไม่น่าจะปรับลดลงไปมากกว่านี้ ซึ่งก็หมายความว่าเป็นทิศทางที่ไม่เลวร้ายกว่าเดิมเว้นแต่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นแบบที่เหนือความคาดหมาย

เมื่อวิกฤต COVID-19 เกิดขึ้น กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอันดับแรก และหนักที่สุดก็คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว เพราะที่ผ่านมาเราทำทุกอย่างเพื่อซัพพอร์ตนักท่องเที่ยวจีนมาโดยตลอด เมื่อนักท่องเที่ยวจีนหายไป เราก็ได้รับผลกระทบกันค่อนข้างหนัก และมันก็จะลามไปในภาคส่วนอื่น ๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ยิ่งประเทศเราประกาศหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเองด้วย ส่งผลกระทบให้ทุกกลุ่มธุรกิจก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

นอกจากนี้การบริโภคภายในประเทศ ถ้าพูดถึงในแง่เศรษฐกิจ ตัวเลข GDP ของกรุงเทพปริมณฑลอยู่ที่ประมาณ 40% ของประเทศ ซึ่งก็แปลว่าการสั่งหยุดกิจกรรมแค่ภายในกรุงเทพฯ ทั้งงานทั้งคนก็หายไปแล้วเกือบครึ่งหนึ่ง ตัวเลขคนทำงานในระบบมีตัวเลขอยู่ที่ 10 กว่าล้านคน และแน่นอนว่าคนทำงานที่อยู่นอกระบบ มีจำนวนที่มากกว่านั้น ถ้าเราปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คนก็ตกงาน ไม่มีกำลังซื้อ แน่นอนว่าการบริโภคมันก็จะหายไป

“การหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เหมือนกับการปิดปาก ไม่ให้เราได้กินอาหาร แต่ถ้าปิดนานเกินไป เราอาจจะไม่อยากกินแล้ว อาจจะเกิดความเคยชิน ซึ่งมันก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาว”

บริษัทที่มีบาลานซ์ชีท (Balance Sheet) แข็งแกร่ง ก็ไม่ได้แปลว่าความเสี่ยงต่ำ

ดูเหมือนว่าธุรกิจหรือบริษัทที่มีงบการเงินที่ดีอาจจะได้เปรียบก็จริง อาจเป็นเพราะว่าบริษัทที่มีงบการเงินที่ดี จะมีความเสี่ยงต่ำกว่า ถ้าบริษัทที่มีงบการเงินไม่ดีจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ซึ่งจะส่งผลให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ เช่น การขอสินเชื่อ ธนาคารก็จะอนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทที่มีความเสี่ยงต่ำ เป็นต้น

แต่เมื่อเกิดวิกฤตแบบนี้ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Systematic Risk คือความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตลาดทั้งระบบ ทำให้ส่งผลกระทบให้กับทุกธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นบริษัทที่มีบาลานซ์ชีท (Balance Sheet) แข็งแกร่ง ก็ไม่ได้แปลว่าความเสี่ยงต่ำซะทีเดียว การบริหารจัดการความเสี่ยง และการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ

แม้ว่าจะเปิดเมืองแล้ว แต่เศรษฐกิจก็ยังไม่ได้กลับมาในทันที

เพราะสิ่งที่คนจะตระหนักมากขึ้นคือ เรื่องของความเสี่ยง หลังจากนี้แม้ว่าจะเปิดเมือง แต่ผู้บริโภคบางส่วนยังต้องใช้เวลา กว่าที่จะมีความกล้ากลับไปใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือกล้ากลับไปทานอาหารที่ร้าน นอกจากนี้กำลังซื้อจากต่างประเทศก็ยังหายไปด้วยเนื่องจากกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น การที่นักท่องเที่ยวจีนยังไม่สามารถกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้

หลังจากที่กลับมาเปิดเมือง ร้านค้า หรือ SME จะต้องปรับตัวเองอย่างมาก เพราะร้านจะยังมี Capacity เท่าเดิม และจะหารายได้ด้วย Business Model เดิมได้น้อยลง ดังนั้นจึงต้องมองหา Revenue Model และ Business Model ใหม่ ๆ ต้องกลับมาคิดว่าลูกค้าอยากได้อะไร และจะตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างไรได้บ้าง โดยดูว่าอะไรคือสิ่งที่คนจะสนใจมากที่สุดหลังจากที่โควิด 19 จบไป (ซึ่งมีผลสำรวจออกมาแล้วว่าเป็นเรื่อง Trust Economy)

และเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาได้ ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากภาครัฐ และคนที่มีกำลังซื้อ ทั้งนี้ต้องออกแบบกลไกการใช้เงินเพื่อฟื้นฟูให้ได้อย่างยั่งยืน และใช้เงินไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

การออกนโยบายจากภาครัฐเพื่อช่วยเหลือธุรกิจต้องเป็นแบบ Personalize

เนื่องจากวิกฤตครั้งนี้ มีผู้ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ดังนั้น นโยบายที่รัฐจะเข้าไปช่วยเหลือ จะทำแบบเดียวไม่ได้ แต่ต้องออกแบบแต่ละนโยบายที่แตกต่างกันตามระดับของผลกระทบ ยกตัวอย่างเช่น

กลุ่มผู้บริโภคที่ยังมีกำลังซื้อ: ได้แก่คนชนชั้นกลางขึ้นไป ลูกจ้างประจำ คนที่ยังไม่ได้ถูก Lay-Off รัฐต้องรีบสร้างแรงจูงใจให้เขาใช้เงิน เช่น นโยบายท่องเที่ยวเพื่อลดหย่อนภาษี เพื่อดึงให้เขาเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่เศรษฐกิจจะแย่จนถึงจุดที่เขาไม่มีกำลังซื้อ

SME หรือ ผู้ประกอบการ: ก่อนหน้านี้ช่วงที่ปิดเมือง ( Lockdown) ต้องให้เงินกู้เพื่อเยียวยาให้ธุรกิจรักษาสภาพคล่องไว้ได้ แต่เมื่อเงินสดสำหรับหมุนเวียนหมดแล้ว เมื่อกลับมาเปิดเมืองหรือดำเนินธุรกิจอีกครั้ง ต้องมีนโยบายสนับสนุนเงินตั้งต้นสำหรับให้ดำเนินธุรกิจต่อได้

เศรษฐกิจโลกกับ Mega Trend

โลกจะถูกเปลี่ยนด้วย Mega Trend 5 ข้อนี้มาตั้งแต่แรก ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพียงเพราะเกิดวิกฤต COVID-19 Mega Trend 5 ข้อ ได้แก่

  • Rise of Non-OECD: เศรษฐกิจนั้นขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย แม้ GDP ต่อหัวอาจจะต่ำ แต่เมื่อรวมจำนวนประชากรกลุ่มนี้แล้วขนาดเศรษฐกิจจะใหญ่กว่าคนที่รวย สมัยก่อนของที่เป็น Luxury ก็จะมีกลุ่มเป้าหมายคือ ขายให้เฉพาะกับคนรวย ก็พอที่จะอยู่ได้แล้ว แต่สมัยนี้จะเน้นไปที่ชนชั้นกลาง เพราะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนเยอะ ส่งผลให้มีกำลังซื้อขนาดใหญ่กว่าMajor
  • Aging Sociaty หรือสังคมผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุในอนาคตจะไม่เหมือนในอดีต ผู้สูงอายุในอนาคตจะมีสุขภาพที่ดีขึ้น คนสูงอายุจะไลฟ์สไตล์เหมือน Middle Income Class หรือ Middle Age มากขึ้น ทุกคนไม่ยอมอยู่บ้านเพื่อเลี้ยงหลานแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้ธุรกิจอยู่รอด ผู้ประกอบการต้องไปคิดเรื่องสินค้า และ บริการใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้สูงอายุยุคใหม่
  • Urbanization: ตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงที่เป็น Distancing Urbanization คือสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่ไหนก็ได้ และสามารถเชื่อมต่อกับสังคม เข้าถึงสินค้าต่าง ๆ ได้ โดยผ่านทาง Social Media ซึ่งประเด็นนี้ก็เกิดขึ้นก่อนช่วงวิกฤต COVID-19 แล้ว
  • Rise of Middle Income Class: กลุ่มชนชั้นกลางจะมีจำนวนมากขึ้น ทำให้กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อก็จะเพิ่มมากขึ้น หากย้อนกลับไปดูข้อหนึ่งถึงข้อสามอีกครั้ง จะพบว่าการเป็นผู้สูงอายุ เป็นชนชั้นกลาง อาศัยอยู่ในเมือง มันสามารถบอกอะไรได้หลายอย่างมาก
  • Technology Disruption: นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะมาสร้างมูลค่าให้กับตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี และประเด็นนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดผลิตภัณฑ์เดิม ที่ไม่มีการปรับตัว

;สำหรับคำถามที่ว่า COVID-19 จะเปลี่ยนโลกไหม? สรุปก็คือ Norm เดิม ๆ มันก็ถูกเปลี่ยนไปก่อนหน้านี้แล้ว วิกฤต COVID-19 แค่เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดการปรับตัวเร็วขึ้น”

ภาคเศรษฐกิจที่จะฟื้นกลับมาหลังจบวิกฤตการณ์ Covid-19

ภาคธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้ก่อนคือ ภาคการผลิต ส่วนภาคบริการก็จะฟื้นตัวตามมาทีหลัง เพราะสิ่งที่เป็น Human Contact ก็จะฟื้นได้ยาก ก่อนที่จะเกิด COVID-19 การเชื่อมต่อของมนุษย์มันกว้างมาก สามารถเชื่อมต่อข้ามประเทศได้โดยง่าย แต่ตอนนี้มันไม่สามารถทำได้แล้ว

แม้วิธีแก้เรื่องการแพร่ระบาดของ COVID -19 คือ ปิดประเทศทั้งหมด ซึ่งการปิดประเทศอาจจะไม่เกิดการติดเชื้อ แต่ในความเป็นจริงเราจะปิดประเทศตลอดไปไม่ได้ ฉะนั้นทางออกสำหรับภาคบริการ คือต้องค่อย ๆ คลายทีละปม จะยังไม่เปิดทั้งหมดทันทีเลย ซึ่งเรื่องนี้เป็น Business Model ใหม่ ถ้าต้องการเปิดประเทศ โดยให้ประเทศอื่นมาเที่ยว ก็ควรจะเปิดเป็นคู่ ๆ ก่อน เหมือนที่ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์กำลังทำอยู่ แต่ก็ต้องระวัง เนื่องจากประเทศคู่ของเราอาจจะไปคู่กับประเทศอื่นเช่นกัน

สุดท้ายแล้วรูปแบบของการท่องเที่ยวจะต้องเปลี่ยนไป ดังนั้นจะต้องมี Guideline สำหรับธุรกิจที่เป็นรูปแบบเดียวกัน เช่น ถ้าในโรงแรมมีลูกค้าที่มาจากประเทศที่ไม่มี COVID-19 ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่แน่นอนว่าในโลกความจริง เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักมันก็มีความเสี่ยงพอสมควร ดังนั้นจะต้องกำหนดว่าธุรกิจจะต้องมีการคัดกรองแบบไหน เพื่อให้รองรับลูกค้าได้อย่างปลอดภัย เพราะ COVID-19 จะอยู่กับเราไปอย่างน้อยก็ประมาณสองปี จากการคาดการณ์

ทิศทางของนโยบายที่เน้นไปที่การบริโภคสินค้าภายในประเทศ

สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ดี ก็คือการออกนโยบายเพื่อให้เกิดการบริโภคสินค้าและบริการภายในประเทศ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องร่วมพัฒนาสินค้าและบริการไปด้วยเช่นกัน ซึ่งการเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เราทุกคนได้เห็นแล้วว่าเราจะต้องกระจายความเสี่ยงเพราะการทำธุรกิจที่กระจุกไปอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง หรือเน้นพัฒนาไปที่ภาคส่วนใดภาคส่วนเดียวก็จะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

แต่อย่างไรก็ตามลูกค้าต่างชาติที่ต้องการซื้อสินค้าและบริการนอกประเทศตัวเองก็ยังมีอยู่ ดังนั้นในภาพรวมก็จะต้องคิดในเรื่องของ Market Segment ใหม่

แนวโน้วเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง

การคาดการณ์ว่า ช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ค่อนข้างได้รับผลกระทบหนักที่สุดแล้ว และเราก็เกือบจะผ่านไปได้แล้ว แต่ช่วงเวลาที่เหลือก็สำคัญ เพราะฉะนั้นต้องทำนโยบายให้ถูกต้อง ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้นรัฐบาลต้องทำให้ถูกต้อง และรวดเร็ว ผู้ประกอบการเองก็ต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน

โดยให้ถือว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นโอกาสในการปรับตัว และถ้าเราข้ามผ่านช่วงนี้ไปได้ เราจะได้รับบทเรียนที่สำคัญในการทำธุรกิจในอนาคต และถ้าไม่มีวิกฤตนี้เกิดขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ก็ต้องมีอยู่แล้วที่รอให้เราเข้าไปแก้ไข

“ชาร์ลส์ ดาวิน เคยบอกว่า คนที่อยู่รอดไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด แต่เป็นคนที่รู้จักการปรับตัวที่สุด” สิ่งต่าง ๆ จะเป็นยังไงก็อยู่ที่เราปรับตัว และ COVID-19 ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า คนส่วนใหญ่ต้องการอะไร เราก็เรียนรู้จากตรงนั้น แล้วปรับตัว สุดท้ายเราก็จะผ่านมันไปได้ครับ

ข้อใดคือสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ

วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยเลือกใช้ดังต่อไปนี้ 1. ขนาดของการเปิดประเทศ และการพึ่งพาภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 2. การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจการเงิน ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และสถาบันการเงิน

ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540

เหตุการณ์แรกเกิดในปีพ.. 2540 ซึ่งถูกเรียกกันว่า “วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย” หรือที่คนไทยเรียกว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เกิดจากภาครัฐเปิดเสรีด้านการเงินให้ต่างประเทศเข้ามามากเกินไป ทั้งการลงทุนที่แท้จริงและการเก็งกำไรเพื่อความฝันที่จะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 ของเอเชีย โดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงจนเกิดปัญหาฟองสบู่แตกในภาค ...

เหตุการณ์ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อใด

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (อังกฤษ: Great Depression) เป็นเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1929 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และขยายวงไปยังนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ได้ประสบผลกระทบไปด้วย จนเกิดการปฏิวัติสยามในปี ค.ศ. 1932 และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปซึ่งประสบความเสียหาย ...

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและตกต่ำเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นเลยเรามาคำว่ารู้จักกับคำว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือที่เรียกว่า (Stagnation) ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนี้ คือภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตน้อยไปจนถึงไม่เติบโต หรือวัดได้ว่าเติบโตไม่ถึง 2% ต่อปี อีกทั้งสามารถวัดได้จากอัตราการเติบโตของ GDP ที่ลดต่ำลง ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยเติบโตน้อย ก็จะส่งผลให้รายได้ และการบริโภคของประชาชน ราย ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้