องค์ประกอบ ความคิดสร้างสรรค์ 8 ประการ

หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา หรือความคิดง่ายๆ ที่เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

๒. ความคิดคล่องตัว (Fluency) หมายถึง เป็นความคิดในเรื่องเดียวกันที่ไม่ซ้ำกัน ในองค์ประกอบนี้ความคิดจะโลดแล่นออกมามากมาย

๓. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของความคิดที่พยายามคิดได้หลายอย่างต่างๆ กัน เช่น ประโยชน์ของก้อนหินมีอะไรบ้าง หรือความคิดยืดหยุ่นด้านการดัดแปลงสิ่งต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์

๔. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เป็นความคิดที่ต้องทาด้วยความระมัดระวังและมีรายละเอียดที่สามารถทำให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นสมบูรณ์ขึ้นได้ ดาลตัน (Dalton. ๑๙๘๘: ๕-๖) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีองค์ประกอบ ๘ ประการ โดย ๔ องค์ประกอบแรกเป็นความสามารถทางสติปัญญาและ ๔องค์ประกอบหลังเป็นความสามารถทางด้านจิตใจและความรู้สึก ดังนี้

๑. ความคิดริเริ่ม (Originality)

๒. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)

๓. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)

๔. ความประณีตหรือความละเอียดลออ (Elaboration)

๕. ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity)

๖. ความสลับซับซ้อน (Complexity)

๗. ความกล้าเสี่ยง (Risk - taking)

๘. ความคิดคำนึงหรือจิตนาการ (Imagination)

อารี พันธ์มณี กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกลหลายทิศทาง หรือเรียกว่าลักษณะการคิดแบบอเนกนัยหรือการคิดแบบกระจาย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้

๑. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่แตกต่างจากความคิดธรรมดาหรือที่เรียกว่า wild idea เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการนาเอาความรู้เดิมมาคิดดัดแปลง และประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่

. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณที่มากในเวลาที่จำกัด แบ่งออกเป็น

๒.๑ ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่วนั่นเอง

๒.๒ ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational fluency) เป็นความสามารถที่หาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด

๒.๓ ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ

๒.๔ ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด ความคล่องในการคิดมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาเพราะในการแก้ปัญหาจะต้องแสวงหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขหลายวิธี และต้องนำวิธีการเหล่านั้นมาทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้องตามที่ต้องการ


ความคิดสร้างสรรค์
(Creative Thinking)
เรียบเรียงจากบทความเรื่อง การเขียนสร้างสรรค์ โดย พิศมัย อำไพพันธุ์
.................................................................................
Smiths ได้ใช้ความหมายว่าความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถที่จะเชื่อมโยง หรือผสมผสานประสบการณ์เก่าเข้ากับประสบการณ์ใหม่ ผลงานนั้นไม่จำเป็นต้องใหม่ต่อโลกแต่ใหม่สำหรับแต่ละบุคคล
คำว่า Creative Thinking เมื่อแปลเป็นไทยมักจะใช้คำไทยว่า ความคิดสร้างสรรค์ แต่มีอยู่ท่านหนึ่งใช้แตกต่างจากท่านอื่น คือ มล.ตุ้ย ชุมสาย ท่านแปลคำนี้ว่า ความคิดสรรสร้าง โดยให้เหตุผลว่า สรรสร้าง หมายถึง การคัดเลือกเอาความคิดต่าง ๆ ในรูปของจินตนาภาพ (image) มาสร้างขึ้นให้มีกระสวน (Pattern) หรือรูปแบบขึ้นใหม่ การคัดเลือกนั้นคือการคิด ดังนั้นการคัดเลือกเอาความคิดบางประการมาสร้างเป็นกระสวนหนึ่งกระสวนใดขึ้นใหม่ จึงเป็นการเลือกสร้าง มล.ตุ้ย ชุมสาร จึงใช้คำว่า “สรรสร้าง” แทนคำ สรรค์สร้าง หรือสร้างสรรค์ ซึ่งใช้กันทั่วไปในการแปลคำว่า Creative
ความคิดสรรสร้าง หรือพฤติกรรมสรรสร้างอาจปรากฏในรูปคัดเลือกความคิด 2-3 อัน ขึ้นมาสร้างเป็นอะไรอย่างหนึ่งก็ได้ และการที่จะได้ความคิดที่ดีที่สุดเราจะต้องเลือกความคิดที่ถูกต้องรวมกันเข้าเป็นหน่วยได้
Guiford ได้ศึกษาและสรุปพฤติกรรมเกี่ยวกับการคิดว่ามีด้วยกัน 2 แบบ ใหญ่ ๆ คือ การคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) เป็นการคิดทางเดียวเป็นกระบวนการแก้ปัญหาซึ่งแคบ และมีทางเลือกน้อยจนได้วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเท่าที่คัดได้จากสิ่งแวดล้อมของปัญหานั้น จึงเป็นแบบที่เรียกว่า ความคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) โดยต้องใช้เหตุผลอย่างกว้างขวาง อีกแบบหนึ่งคือ การคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking) เป็นการคิดหลายทาง ต้องอาศัยจินตนาการ (Imagination) การแว่บคิด (Intuition) และความตั้งใจจริง
การคิดหลายทางหรือการคิดแบบอเนกนัยนี้เอง Guilford กล่าวว่า เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะต้องประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ คือ
1. ความคล่องในการคิด (Fluency)
2. ความยืดหยุ่น (Flexibility)
3. ความคิดริเริ่ม (Originality)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

1. ความคล่องในการคิด หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน แบ่งออกเป็น
1.1 ความคิดคล่องแคล่วในด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
1.2 ความคิดคล่องด้วนการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในเวลาที่กำหนด
1.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค หรือความสามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
จากการวิจัยพบว่าบุคคลที่มีความคล่องแคล่วด้านการแสดงออกสูงจะมีความคิดสร้างสรรค์
2. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของความคิดแบ่งออกเป็น
2.1 ความคิดยืดที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดให้หลายอย่างอิสระ เช่น คนที่มีความคิดยืดหยุ่นประเภทนี้ จะนึกประโยชน์ของก้อนหินว่า มีอะไรบ้างหลายอย่างในขณะที่คนคิดที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างเท่านั้น
2.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านดัดแปลง (Adaptive Flexibility) คนที่มีความคิดนี้จะคิดได้ไม่ซ้ำกัน เช่น ในข้อ 1 ในเวลา 2 นาทีท่านลองคิดว่า หลอดกาแฟจะทำอะไรได้บ้าง คนที่คิดคล่องจะคิดได้มากในเวลาเท่า ๆ กัน
3. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคิดธรรมดา เป็นความคิดที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ เป็นความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น คนที่เรียนศิลปะการพับกระดาษรู้ความคิดเดิมว่าพับรูปหนึ่งเป็นรูปดอกไม้ เมื่อพลิกกลับอีกด้านเติมหน้าตาก็กลายเป็นรูปสุนัขหรือแมว กระดาษที่พับเป็นสุนัขหรือแมวนั้น จัดว่าเกิดขึ้นจากความคิดดัดแปลงให้เป็นความคิดริเริ่มใหม่ ไม่ซ้ำแบบที่เคยมีอยู่แล้ว เป็นต้น
4. ความละเอียดลออในการคิด ความคิดต่าง ๆ 3 ประการที่เป็นองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ หากปราศจากความคิดละเอียดลออก็ไม่อาจทำให้เกิดผลงานหรือผลผลิตสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ความละเอียดลออในการคิดขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ประสบการณ์ และความสามารถด้วย ผู้มีอายุมากจะมีความละเอียดลออในการคิดมากกว่าผู้มีอายุน้อย เด็กหญิงจะละเอียดลออกว่าเด็กชายและเด็กที่มีความสามารถสูงทางด้านความละเอียดลออ จะเป็นเด็กที่มีความสามารถทางด้านสังเกตสูงด้วย
ในบรรดาความคิดทั้งหลาย ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เกิดการค้นพบสิ่งแปลก ๆ ใหม่เกิดเทคโนโลยีก้าวหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่ครูจะต้องช่วยปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก อีกทั้งช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่แล้วในตัวเด็กให้เจริญสูงสุดอีกด้วย เพราะการเก็บกดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอาจนำไปสู่ปัญหาด้านบุคลิกภาพได้

ธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์
1. ความจริงพื้นฐานข้อแรก คือ ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์โดยกำเนิดแต่มากน้อยต่างกัน แล้วแต่บุคคลและสิ่งแวดล้อม
2. ความคิดสร้างสรรค์สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญา จากการศึกษาของ Getzel และ Jackson พบว่าบุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียวก็ไม่ใช่สิ่งที่จะประกันว่ามีความคิดสร้างสรรค์สูง ทุกคนมีความสามารถทางศิลปะเชิงสร้างสรรค์
จากการศึกษาของ Torrance พบว่า I.Q.Test ไม่สามารถจำแนกบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ ถ้าใช้ I.Q.Test เป็นเกณฑ์สำหรับเลือกเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเสียเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ไปประมาณ 70% ทั้งนี้เพราะไม่สามารถวัดคุณลักษณะของนักสร้างสรรค์ได้
ดังนั้นในการนำหลักพื้นฐานนี้มาสอนภาษา ก็ต้องรู้ว่าภาษาก็เช่นเดียวกันกับความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับระดับเชาวน์ ปัญญา
3. ความคิดสร้างสรรค์เป็นทั้งขบวนการและผลิตผล
4. ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. ความคิดสร้างสรรค์เป็นชุดของคุณลักษณะ ลักษณะนิสัยและค่านิยม
6. ความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิธีการของการเรียนรู้ที่แตกต่างจากวิธีธรรมดาที่สอนกันอยู่ในโรงเรียน

ขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนของการเกิดขึ้นของแนวคิดใหม่ ๆ ในลักษณะริเริ่มสร้างสรรค์ได้รับการศึกษาวิจัยจากประวัติของบุคคลและเหตุการณ์ต่าง ๆ มากพอสมควร พอสรุปได้ว่า มักมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Saturation) คือ สถานการณ์ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ข้อมูล เรื่องราว ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ หรือเรื่องคล้ายคลึงกันจนเต็มอิ่มแล้วรอการดลใจที่จะให้เกิดความคิดออกมา
2. ขั้นพิจารณาไตร่ตรอง (Deliberation) หมายถึง การพินิจพิจารณาตรึกตรองปัญหาอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง แล้วนำมาวิเคราะห์วิจัย เปรียบเทียบดูแล้วลองจัดระบบใหม่ หรือคิดจากแง่มุมต่าง ๆ กัน
3. ขั้นบ่มหรือฟักตัว (Incubation) ถ้าได้พยายามอย่างมากตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว ความคิดยังไม่เกิด ก็หยุดพัก อย่าฝืนความคิด หรือบังคับสมองแต่ตรงข้าม ควรลืมปัญหาเสียชั่วขณะ ไปพักผ่อนหย่อนใจให้สมองสดชื่น อาจจะเกิดความคิดใหม่ ๆ
4. ขั้นความคิดกระจ่างชัด (Illumination) ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า คนเรามีจิตใต้สำนึก (Subconcious) ที่จะช่วยให้เราเกิดความคิดแว่บขึ้นมาในสมอง ผ่านจิตใต้สำนึกทำให้เกิดความสว่างไสวในจิตใจและเกิดแว่บขึ้นมาได้
5. ขั้นทำความคิดให้เป็นจริง (Accomodation) เมื่อเกิดความคิดขึ้นแล้ว ไม่รีบทำให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาโดยเร็ว โดยทำให้ความคิดให้กระจ่างแจ้ง และพิจารณาดูว่าเหมาะสมเข้ากันได้กับปัญหาดังที่คิดไว้แต่แรกหรือไม่ แล้วก็สร้างให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา พร้อมทั้งวางแผนด้านปฏิบัติ เพราะความคิดที่เกิดขึ้นแล้วหากไม่สร้างไม่ทำให้เป็นรูปเป็นร่าง ไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็เหมือนกับไม่เกิดอะไรขึ้นเลย
ท่านผู้รู้เชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ซ่อนอยู่ในขั้นตอนทั้ง 5 ที่กล่าวแล้วและผู้ใดก็ตามที่มีความฉลาดตามสมควรก็อาจมีความคิดริเริ่มได้ ถ้าได้ฝึกฝนให้เกิดขึ้นเสมอ
นอกจาก 5 ขั้นตอนนี้แล้ว หากจะเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้ดีขึ้นก็ต้องพยายามขจัดเครื่องกีดขวางบางประการ เช่น ขนบประเพณี และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความนึกคิดของคนเรา เรามักจะทำอะไรตามความเคยชิน ไม่กล้าที่จะคิดอะไรแปลกใหม่

ลักษณะพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์
อารี รังสินันท์ กล่าวถึง ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ดังนี้
1. อยากรู้อยากเห็น มีความกระหายใคร่รู้เป็นนิจ
2. ชอบแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้า และทดลอง
3. ชอบซักถาม และถามคำถามแปลก ๆ
4. ช่างสงสัย เป็นเด็กที่มีความรู้สึกแปลก ประหลาดใจในสิ่งที่พบเห็นเสมอ
5. ช่างสังเกต มองเห็นลักษณะที่แปลก ผิดปกติ หรือช่องว่างที่ขาดหายไปได้ง่ายและรวดเร็ว
6. ชอบแสดงออกมากว่าจะเก็บกด ถ้าสงสัยสิ่งใดก็จะถามหรือพยายามหาคำตอบโดยไม่รั้งรอ
7. มีอารมณ์ขัน มองสิ่งต่าง ๆ ในแง่มุมที่แปลกและสร้างอารมณ์ขันอยู่เสมอ
8. มีสมาธิดีในสิ่งที่ตนสนใจ
9. สนุกกับการใช้ความคิด
10. สนใจสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
11. มีความเป็นตัวของตัวเอง
ลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวมีในเด็กไทยแต่เดิม มักจะถูกจำกัดว่าเป็น “เด็กซน” และก็มักจะมีคำคล่าวต่อว่า เด็กซนเป็นเด็กฉลาดหรือเด็กซนเป็นเด็กดื้อ ถ้าถูกมองในลักษณะว่าเด็กซนเป็นเด็กฉลาด และได้รับการส่งเสริมอย่างถูกหลักวิชาการ ก็อาจช่วยเสริมสติปัญญาเลิศให้แก่เด็กได้ แต่ถ้าถูกมองว่าเด็กซนเป็นเด็กดื้อ และปฏิบัติต่อเด็กอย่างไม่ถูกวิธี อาจทำลายลักษณะพฤติกรรมสร้างสรรค์ให้ลดน้อยถอยลงไปได้เช่นกัน
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ มักชอบแสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ในด้านต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ อาจจะแสดงออกทางด้านศิลปะ ดนตรี ภาษา หรืออื่น ๆ เราอาจจะดูความสามารถในการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ได้จากสื่อมวลชนที่ส่งเสริมการแสดงออก เช่น โทรทัศน์รายการสำหรับเด็กและเยาวชน ในรายการสโมสรผึ้งน้อย เด็ก ๆ ได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความสามารถทางภาษา ดนตรีและ ศิลปะการแสดง ในสื่อมวลชนอื่น เช่น นิตยสาร วารสารที่เปิดคอลัมน์สำหรับเด็ก เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้