แผนที่เส้นชั้นความสูง ประเทศไทย

                 Irtimation  �Ըչ�����û���ҳ���  Contour  line  �м�ҹ�ç�˹�ͧ�ش  Spot  elev  ���ͨش  Ground  point  �ͧ�ش��觶�Ҥ���дѺ�ͧ  Spot  elev  ��ҧ�ѹ��ж�ͤ�Ҥ����Ҵ�����ҧ�ش����ͧ����������͡ѹ  �������¡���  Uniform  ����  Plane  slope  ������Һ��Ҥ����Ҵ������  Contour  point  �����������  ����ա�ش��������ҡ  Contour  line  ����ѧ�����繪�鹤����٧�����ͧ���  �������ҡ

เส้นชั้นความสูง คือ เส้นสมมติที่ลากไปตามพื้นภูมิประเทศบนแผนที่ภูมิประเทศ ผ่านจุดที่มีระดับความสูงเดียวกัน ในแผนที่ภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูงแสดงด้วยสีน้ำตาล และมีสีน้ำตาลเข้มในกรณีที่เป็นเส้นชั้น

ความสูงหลัก (Index contour) เส้นชั้นความสูงมีคุณสมบัติดังนี้

– เส้นชั้นความสูงทุกเส้นแสดงค่าระดับความสูงในแนวตั้ง

– เส้นชั้นความสูงทุกเส้นอยู่ในพื้นแนวนอนและระนาบเดียวกัน

– เส้นชั้นความสูงแสดงรูปแบบ และลักษณะภูมิประเทศ

– เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นปิด คือ บรรจบตัวเองเป็นวงๆ ไป แต่ในแผนที่ระวางเดียวอาจไม่ปรากฏเส้นวงปิดที่สมบูรณ์ได้เมื่อนำแผนที่ระวางติดต่อมาต่อเข้าจึงบรรจบเป็นวงปิด

– เส้นชั้นความสูงแต่ละช่วงเส้นอาจจะมีระยะห่างต่างๆ กันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศถ้าหากพื้นที่ลาดชันมากเส้นชั้นความสูงชิดกันมากกว่าภูมิประเทศที่มีความลาดชันน้อย

– เส้นชั้นความสูงโดยทั่วไปไม่ทับกัน ยกเว้นบริเวณที่เป็นหน้าผา

– เส้นชั้นความสูงมักหันด้านหยักแหลมไปยังด้านต้นน้ำ

– ทุกๆ ตำแหน่งบนเส้นชั้นความสูงเดียวกันมีค่าความสูงเท่ากัน

เนื่องจากภูมิประเทศบนพื้นผิวโลกมีลักษณะแตกต่างกันหลายแบบ บริเวณซึ่งเป็นที่สูงชันมีเส้นชั้นความสูงจำนวนมากอยู่ชิดกัน ทำให้ดูสับสนจำเป็นต้องหาวิธีให้ดูง่ายขึ้น โดยการกำหนดเส้นชั้นความสูงหลักขึ้นส่วนบริเวณซึ่งมีความลาดชันน้อยมีเส้นชั้นความสูงห่างกันมาก พื้นที่บางแห่งเป็นแอ่งจำเป็นต้องมีเส้นชั้นความสูงซึ่งมีลักษณะพิเศษออกไปเพื่อที่จะได้สังเกตเห็นได้ง่าย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เส้นชั้นความสูงจึงมีหลายชนิด นักภูมิศาสตร์ได้กำหนดลักษณะและสัญลักษณ์ของเส้นชั้นความสูงออกเป็น 5 แบบ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่สามารถพิจารณาลักษณะภูมิประเทศได้โดยสะดวกและรวดเร็วดังต่อไปนี้ คือ

– เส้นชั้นความสูงหลัก (Index contour) เส้นชั้นความสูงชนิดนี้เป็นเส้นชั้นความสูงหลักบอกค่าระดับความสูงด้วยเลขลงตัว เช่น 100 200 และ 300 เป็นต้น และมีความหนาทึบใหญ่กว่าเส้นชั้นความสูงอื่นๆ จึงสังเกตได้ง่าย และปกติมีตัวเลขกำกับไว้

– เส้นชั้นความสูงแทรก (Supplemental contour) เส้นชั้นความสูงชนิดนี้เป็นเส้นชั้นความสูงแทรกอยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูงรอง เพื่อแสดงความสูงเสริมเพราะบริเวณนั้นมีเส้นชั้นความสูงรองห่างกันมาก เส้นชั้นความสูงแทรกแสดงด้วยเส้นประ ในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 กำหนดเส้นชั้นความสูงแทรกช่วงละ 10 เมตร ดังนั้นแต่ละเส้นชั้นความสูงจึงกำหนดตัวเลขของระดับความสูงไว้ที่เส้นดังตัวอย่างต่อไปนี้ 30 50 70 90 110 130 และ 150 เป็นต้น

– เส้นชั้นความสูงประมาณ (Approximate contour) เส้นชั้นความสูงชนิดนี้เป็นเส้นชั้นความสูงที่กำหนดขึ้นเองโดยประมาณ ทั้งนี้เพราะผู้ทำแผนที่ไม่ได้ข้อมูลระดับความสูงที่แท้จริงบริเวณดังกล่าว อาจเป็นเพราะรูปถ่ายทางอากาศซึ่งนำมาใช้เขียนแปลเป็นแผนที่ภูมิประเทศนั้นถูกเมฆบัง ดังนั้นในบริเวณดังกล่าวจึงใช้เส้นประเพื่อประมาณความสูงต่อจากเส้นชั้นความสูงหลัก หรือเส้นชั้นความสูงรอง

– เส้นชั้นความสูงของแอ่ง (Depression contour) เส้นชั้นความสูงชนิดนี้เป็นเส้นชั้นความสูงซึ่งต่ำกว่าบริเวณรอบๆ ของเส้นชั้นความสูงอื่นๆ เส้นชั้นความสูงชนิดนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่มีขีดสั้นๆ ในแนวที่ตั้งได้ฉากกับเส้นชั้นความสูง ปลายของขีดหันไปทางด้านลาดลง

เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

 การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 อ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง (Contour)

เมื่ออ่านค่าพิกัด UTM ในตอนที่ 1 แล้ว ในตอน 2 เราจะอ่านค่าและแปลค่าความสูงจากเส้นชั้นความสูง (Contour) กัน

เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS

 เส้นชั้นความสูงหลัก (Index Contour) จะมีค่าความสูงกำกับ เช่น เส้นชั้นความสูงที่มีค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 100 เมตร 200 เมตร 300 เมตร.... ส่วนเส้นชั้นความสูงที่อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูงหลักจะเป็นเส้นชั้นความสูงแทรก (Supplemental Contour) โดยปกติจะมีค่าความสูงเส้นละ 20 เมตร  

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นประ จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงประมาณ (Approximate Contour) ซึ่งเกิดจากการประมาณค่าขึ้นเองโดยอาจจะเนื่องจากผู้ทำแผนที่ไม่มีค่าระดับความสูงในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงที่เกิดจากการใช้ค่าความสูงโดยรอบ หรือการทำ Interpolation จึงคลาดเคลื่อนสูงไม่ได้ค่าตามมาตรฐานที่กำหนด ในงานทำแผนที่จึงสร้างเส้นชั้นความสูงประมาณเป็นเส้นประ หากทำการ Interpolate ด้วยระบบ GIS ซึ่งผู้ใช้โปรแกรมไม่เข้าใจหลักของขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงแล้ว เส้นชั้นความสูงทุกเส้นจะไม่สามารถแยกได้ว่าเส้นใดควรเป็น ชั้นความสูงโดยประมาณ (Approximate Contour) การนำไปใช้ประโยชน์อาจจะไม่เหมาะสมได้ (จะอธิบายเมื่อมีโอกาสต่อไป)

 

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นขีดสั้นๆตั้งฉากเส้นชั้นความสูง จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงเป็นแอ่ง (Depression Contour) ซึ่งปลายของขีดสั้นๆ จะชี้ลงที่ต่ำ

 

การอ่านค่าจะอ่านตามค่าที่กำกับเส้นชั้นความสูง ซึ่งปกติจะกำกับที่เส้นชั้นความสูงหลัก โดยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่ออ่านค่าที่เส้นชั้นความสูงแทรก

 

การแปลความหมายโดยการอ่านค่าและลักษณะของกลุ่มเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏเด่นชัด คือ

- ยอดเขาหรือเนินเขา เป็นจุดสูงสุดจะเป็นเส้นชั้นความสูงที่มาบรรจบกันเล็กๆ และจะไม่ปรากฏเส้นชั้นความสูงใดซ้อนอยู่ภายในเส้นนั้นอีก

- จมูกเขา เป็นส่วนที่ยื่นออกจากจุดสูงสุดของเนินเขาลาดลงต่ำ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่ามากจะยื่นแหลมออกยังไปเส้นที่มีค่าน้อยหรือยื่นลงสู่ที่ต่ำ

- แนวสันเขา เป็นแนวที่ลากเชื่อมกันจากยอดเขาไปยังอีกยอดเขาหรือไปตามแนวจมูกเขาเชื่อมเข้าหายอดเขาที่ใกล้กันที่สุดสุดถึงยอดเขาสุดท้าย

- ร่องน้ำ เป็นแนวที่เป็นร่องที่น้ำสามารถไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่าน้อยจะยื่นแหลมเขาหาเส้นที่มีค่ามากหรือขึ้นสู่ที่สูง

 

 ตัวอย่างที่สามารถแสดงการอ่านและการแปลความได้ชัด คือ

 

ในการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูง ทำให้สามารถเข้าใจพื้นที่ บริหารจัดการพื้นที่ในภาพรวมได้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง ดิน น้ำ และป่าไม้ ซึ่งการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูงทำให้มองเห็นสภาพทางกายภาพของลุ่มน้ำ ทั้งที่เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่และลุ่มน้ำย่อยๆ ซึ่งคงจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆไป

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 3 ที่ //www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/255-profile-contour-2

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้