วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

25654

1.ด.ช.จิตวัฒน์ ตัณฑะตะนัย ม.1/2 เลขที่ 4

2.ด.ญ.ชัญญารัสมิ์ ปิ่นแก้ว ม.1/2 เลขที่ 20

3.ด.ญ.ธวัลรัตน์ ปิ่นทอง ม.1/2 เลขที่ 22

4.ด.ญ.ธิติพร ธำรงวกุล ม.1/2 เลขที่ 23

5.ด.ญ.พศรินทร์ ตรีไพชยนต์ศักดิ์ ม.1/2 เลขที่ 27

เสนอ

อาจารย์พิทยา อึ้งบุญชู

ประเทศไทยมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี การแต่งกาย อาหาร ล้วนเป็นสิ่งที่บบรพบุรุษสั่งสมมาแต่อดีต

วัฒนธรรม 4 ภาค

1) ภาคเหนือ ได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากเมียนมาและไทยใหญ่ พูด(อู้) ภาษาคำเมือง



2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีวัฒนธรรมบางส่วนคล้ายคลึงกับลาวและเขมร พูด(เว้า) ภาษาอีสาน

3) ภาคกลาง
พูดภาษากลาง ตัวอย่างวัฒนธรรมภาคกลาง เช่น บ้านจะมีใต้ถุนสูง หน้าต่างกว้าง

4) ภาคใต้
ได้รับวัฒนธรรมบางส่วนมาจากมาเลเซีย นับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม พูดภาษาใต้ (แหลงใต้)

ที่มาของวัฒนธรรมไทย

๑)สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
เนื่องจากการมีที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์

 ั

๒)อิทธิพลจากพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 เป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่เคารพนับถือ



๓)อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นนอีกศาสนาที่เข้ามาทีบทบาทตั้งแต่สมัยอดีต ทำให้เกิดวัฒนธรรมด้านลัทธิ
ความเชื่อหลายอย่าง


๔)ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
สังคมไทยมมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ก่อนพุทธศตวรรษที่ 17 ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมบางอย่างได้กลายเป็นรากฐานที่สสำคัญของวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน


๕)การรับเอาวัฒนธรรมอื่นมาปรับใช้ วัฒนธรรมภายนอกที่คนไทยรับเอาเข้ามา ปรับใช้ในช่วงแรกจะเป็นวัฒนธรรมอินเดีย และมีการติดต่อกับจีนและชาติตะวันตก

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

๑)เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม ประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์



๒)เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือพิธีกรรม
การกระทำกิจกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินชีวิตในสังคมไทย จะมีการประกอบพิธีกรรมด้วยเสมอ



๓)เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือการกุศล
ตามหลักศาสนา คนไทยนิยมทำบุญในงาน
เทศกาลต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว



๔)เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติเอาวุโส
สังคมไทยมมีความสัมพันธ์ที่ดีงาม โดยยึดหลักอาวุโส คนที่มีอายุน้อยกว่าจะให้ความเคารพผู้ที่อายุมากกว่า

๕)เป็นวัฒนธรรมที่มีการผสมผสาน วัฒนธรรมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นได้รับการผสมผสานทางวัฒนธรรมมาจากสังคมอื่น

๖)เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน
กิจกรรมของสังคมไทยส่วนใหญ่                                                          จะมีการสอดแทรกความสนุกสนานไว้เสมอ

วัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีความน่าสนใจ
หลายอย่าง ซึ่งมีทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างไปจากวัฒนธรรมไทย และเป็นสิ่งที่น่าสนใจและแปลกใหม่
ซึ่งควรที่จะเรียนรู้ไว้

ลักษณะของวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน

ลักษณะของประเทศเพื่อนบ้านนั้น โดยรวมสามารถสรุปได้ดังนี้
1)เป็นวัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรม : ประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้น ส่วนใหญ่จะมีอาชีพการเพาะปลูก เป็นหลักซึ่งผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกมีหลากหลายชนิด โดยมีข้าวเป็นผลผลิตที่สำคัญ วิถีชีวิตของคนในภูมิภาคนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมหลักเป็นหลัก

2)เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน แต่จะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมแบบผสมผสาน เพราะมีผลมาจากการนำวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาปรับใช้ โดยวัฒนธรรมนั้นก็จะแตกต่างกันไปแต่ถ้าประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากแหล่งเดียวกัน ก็จะมีวัฒนธรรมคล้ายกัน   เช่น ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน รับวัฒนธรรมมาจากอิสลามเหมือนกัน ทำให้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

3)เป็นวัฒนธรรมที่มีศาสนาและลัทธิความเชื่อเป็นรากฐาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านมีรากฐาน
ที่สำคัญมาจากศาสนา และลัทธิความเชื่อที่ประชากรส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ ติดต่อกันมาตั้งแต่อดีต

4)เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย
ส่วนใหญ่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มา
อย่างยาวนาน
ซึ่งการที่ไทยเป็นชาติเก่าแก่ ทำให้มีมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมมาก ดังนั้น ถึงจะอยู่พรมแดนติดต่อกัน แต่หลายประเทศก็จะมีเอกลักษณ์
เป็นของตนไม่เหมือนเพื่อนบ้านใกล้เคียง ดังนั้นจึงมีหลายๆอย่างที่เป็นเอกลักษณ์
เฉพาะ
ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านต่างก็มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
โดยก็จะมีบางอย่างคล้ายคลึงกัน ซึ่งสะท้อนได้ว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน มีการแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมอย่างลงตัว ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรานึกถึงบรรพบุรุษของตน

ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรม 

วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน มีทั้งที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมไทย ขณะเดียวกันก็มีความแตกต่างด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

๑) วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นสังคมที่อยู่ในเขตร้อน ลักษณะวัฒนธรรมในการก่อสร้าง
เลยคล้ายคลึงกัน นั่นคือใช้วัสดุที่เป็นไม้สร้างบ้าน ยกพื้นให้สูงขึ้นจากพื้นดิน พื้นบ้านปูด้วยไม้กระดาน เป็นต้น

๒) วัฒนธรรมด้านการนับถือศาสนา ศาสนาสำคัญที่เผยแพร่เข้ามาและได้รับการยอมรับนับถือ
จากกลุ่มคนในภูมิภาค ได้แก่ พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็ดดกศาสนาผู้คนส่วนใหญ่นับถือ ดังนั้นประเพณีของ
ประเทศที่นับถือศาสนานี้นั้น จะมีลักษณะวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน

3)วัฒนธรรมด้านประเพณีและพิธีกรรม หากประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน นับถือศาสนาเดียวกัน
ก็จะมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยบางประเพณีอาจจะไม่เหมือน แต่อาจจะมีต้นแบบมาจากที่เดียวกันทำให้มีบางประเพณีที่คล้ายคลึงกัน

4)วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย
การแต่งกายของผู้คนในภูมิภาคนั้น ถ้าหากไม่นับชุดพื้นเมืองและชุดประจำชาติก็จะแต่งกายไม่ต่างกัน คือ ในสังคมเมืองผู้ชายนิยมสวมเสื้อกับกางเกง ผู้หญิงสวมเสื้อกับกางเกง หรือกระโปรง แต่ใช้ชนบท ส่วนมากผู้หญิงยังนุ่งผ้าซิ่นอยู่

๕) วัฒนธรรมด้านภาษา ประเทศเพื่อนบ้านที่มีภาษาพูดและเขียนคล้ายคลึงกับไทยก็คือลาวเพียงชาติเดียว ส่วนชาติอื่นจะใช้ภาษาของตน ไม่ว่าจะเป็นเมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยที่ภาษาอังกฤษและภาษาจีน
จะเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันได้ทั่วทั้งภูมิภาค

๖) วัฒนธรรมด้านอาหาร ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว พืชผักและเนื้อสัตว์ ที่สามารถหาง่ายได้ในท้องถิ่น การปรุงอาหารส่วนใหญ่จะใช้กะทิและเครื่องเทศเป็นเครื่องปรุงรส

 วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์อันดี

1).วัฒนธรรมทางด้านศาสนา ทุกศาสนานั้นล้วนมีคำสอนสำคัญ ที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือการละเว้นความชั่ว ทำความดี มีจิตใจเมตตา ดังนั้น จึงควรนำวัฒนธรรมทางด้านศาสนามาเป็นแนวทางปฏิบัติตน คือ ไม่กล่าวประเทศเพื่อนบ้านไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือช่วยเหลือเพื่อนบ้าน เป็นต้น

Cr.//www.dmc.tv/pages/latest_update/20110511-

2).วัฒนธรรมทางด้านภาษา ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมนั้นทำให้การใช้ภาษามีความแตกต่างกันตามไปด้วย ซึ่งหากใช้ภาษาที่มีความหมายในทางบวกก็ต้องมีภาษาที่มีความหมายทางลบด้วย ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาระหว่างกัน

Cr.//www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020165

3).วัฒนธรรมด้านขนมธรรมเนียมประเพณี ขนมธรรมเนียมประเพณีเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของทุกสังคม เป็นเครื่องมือในการทำให้คนมีจิตใจที่สงบ สดชื่น ดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เพื่อเชื่อความสัมพันธ์ เพราะจะช่วยให้ผู้คนของประเทศต่างๆมีความสนิทสนมรักใครกลมเกลียวกันมากขึ้น

Cr. //www.ceted.org/tutorceted/

4). วัฒนธรรมด้านการศึกษา เป็นอีกอย่างที่เราควรส่งเสริมให้ประชากรของประเทศนั้นได้มีการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นการช่วยสร้างความเจริญงอกงามทางด้านสติปัญญาให้แก่ทุกคน ดังนั้นเราจึงควรส่งเสริมให้ประชากรในประเทศได้มีการศึกษาเรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้านอย่างกว้างขวาง

Cr.//www.commonsenseforpubliceducation.org/page/2/

5).วัฒนธรรมด้านเนติธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมด้านกฎหมายที่มีความสำคัญหรือการกระทำบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ถ้าใครทำเข้าก็เป็นที่รังเกียจของสังคม

วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกัน

1).วัฒนธรรมทางด้านภาษา ไม่ควรนำเอาภาษาของชาติเพื่อนบ้านมาใช้ทำนองล้อเลียน ดูหมิ่นที่กระทำการใดๆไปในทางที่เสียหาย รวมทั้งถ้าไม่แน่ใจและขาดความรู้อย่างเพียงพอในการใช้ภาษานั้นๆแล้ว ก็ไม่ควรนำภาษาของชาติเพื่อนบ้านมาใช้สื่อสาร เพราะอาจทำให้ให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกันก็ได้

2).วัฒนธรรมเกี่ยวกับการปลุกกระแสชาตินิยม    การแสดงออกถึงความรักชาติเป็นสิ่งที่ดี แต่ในบางครั้งก็มีการนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ โดยปลุกกระแสชาตินิยมมีการกล่างอ้างถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ จนนำไปสู่ความเข้าใจผิดกับประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้

3).วัฒนธรรมทางด้านศาสนา ไม่ควรพาดพิงศาสนาอื่น ไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือการกระทำ เพราะจะเป็นต้นเหตุนำไปสู่ความบาดหมางได้ง่าย และเมื่อต้องไปอยู่ในสังคมของคนที่นับถือศาสนาอื่นก็ต้องจะมีส่วนร่วม ไม่กระทำสิ่งใดๆที่ขัดกับบัญญัติของศาสนานั้น

4).วัฒนธรรมด้านความเชื่อและทัศนคติเชิงลบ ไม่ควรดูหมิ่นการกระทำ การแสดงออกหรือนำไปเปรียบเทียบการกระทำต่างๆที่สื่อออกมาแล้วมีความหมายไปในทางเชิงลบ

5).วัฒนธรรมด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เราต้องพึงตระหนักไว้ว่า เรื่องบางอย่างในอีกวัฒนธรรมหนึ่งทำได้ แต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจจะทำไม่ได้ เช่น บริเวณศาสนสถานของบางประเทศไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไป

Cr.//www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=5009&filename=index

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรม

มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายก็เพราะมนุษย์มีวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาปรับปรุงให้เป็นสิ่งของ เครื่องใช้ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม เพื่อใช้ตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และสั่งสมแล้วส่งผ่านไปยังอนุชนรุ่นหลังได้ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต

     Cr. www.dhammajak.net                                   Cr. //www.m-culture.go.th

วัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันบางส่วน หรือที่เรียกว่า “วัฒนธรรมพื้นฐาน”

และแตกต่างกันบางส่วน ความแตกต่างกันนี้เป็นเพราะแต่ละสังคมมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่เหมือนกัน

     วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นภูมิปัญญาที่ผู้คนในแต่ละสังคมในรุ่นก่อนๆ คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาขึ้นจากของเดิม แล้วถ่ายทอดสืบต่อมายังคนรุ่นหลัง

     กล่าวได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อมนุษย์มากนับตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะวัฒนธรรมเป็นแบบแผนที่ดีงามในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมแต่ละสังคมอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อม ความเชื่อ ค่านิยม ของสังคมนั้นๆ แต่วัฒนธรรมของทุกสังคมล้วนสะท้อนวิถีชีวิตที่ดีงามของคนในสังคมนั้น ทำให้ต้องเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อคนรุ่นหลังจะได้รับรู้และสานต่อวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป

ข้อมูล Cr. หนังสือหน้าที่พลเมืองม.1 อักษรเจริญทัศน์ อจก.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้