เงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตร

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือสัญญาให้ใช้สิทธิ เป็นสัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้อนุญาต คือคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นเจ้าของสิทธิดังกล่าว โดยได้ให้สิทธิในการใช้สิทธิดังกล่าวแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้ได้รับอนุญาต โดยสิทธิที่ให้ใช้ดังกล่าวนั้นอาจเป็นสิทธิใดๆ ในการใช้งานหรือข้อมูลใดๆ ก็ตาม อันมีมูลค่าหรือไม่มีมูลค่าทางการค้าก็ได้ เช่น สิทธิการใช้เครื่องหมายการค้า สิทธิการใช้ข้อมูลทางการค้า สูตรและกระบวนการผลิต สิทธิบัตร งานอันมีลิขสิทธิ์ หรือความลับทางการค้า โดยคู่สัญญาสามารถตกลงเงื่อนไขและข้อจำกัดการใช้สิทธิต่างๆ เช่น ลักษณะการให้สิทธิ เขตพื้นที่การใช้สิทธิ ระยะเวลาการให้ใช้สิทธิ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การถ่ายทอดองค์ความรู้ (Technology Transfer) ค่าตอบแทน ไม่ว่าค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (Licensing Fee) และค่าสิทธิ (Royalty Fee) การสงวนสิทธิ์ของผู้อนุญาต รวมถึง การเก็บรักษาความลับ และการห้ามค้าแข่งได้อีกด้วย

การนำไปใช้

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับอนุญาตในการใช้สิทธิตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญา ดังนั้น คู่สัญญาต้องระบุให้ชัดเจนว่าขอบเขตของสิทธิที่ให้ใช้นั้น มีอะไรบ้าง รวมและไม่รวมถึงอะไร เพื่อให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตได้ทราบว่าตนจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง และสามารถใช้ได้เพียงใด

โดยที่คู่สัญญาควรตกลงกันถึงการใช้สิทธิด้วยว่าสามารถดำเนินการกับสิทธินั้นอย่างไรได้บ้าง เช่น ผู้รับอนุญาตสามารถ จำหน่าย ทำซ้ำ เผยแพร่ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งเท่านั้น หรือจะใช้อย่างไรก็ได้

นอกจากขอบเขตของสิทธิที่จะให้ใช้แล้ว คู่สัญญาควรตกลงกันให้ชัดเจนด้วยว่าลักษณะของการให้สิทธิเป็นการให้ในลักษณะแบบใด เพื่อคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะได้ทราบถึงข้อจำกัดในการใช้สิทธิดังกล่าว อันได้แก่

  • การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing) กล่าวคือ ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ไม่มีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวภายในอาณาเขตที่กำหนด
  • อนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing) กล่าวคือ ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าว แต่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิให้ผู้อื่น หรือตนเองใช้สิทธิดังกล่าวในอาณาเขตได้อีกด้วย หรือ
  • การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) กล่าวคือ ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวได้ในอาณาเขต แต่ไม่สามารถให้สิทธิแก่บุคคลอื่นอีกได้

ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คู่สัญญายังควรตกลงขอบเขตของการใช้สิทธิต่างๆ เช่น

  • อาณาเขตการใช้สิทธิ โดยคู่สัญญาสามารถตกลงให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวเพียงเฉพาะเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็ได้ เช่น เฉพาะบางจังหวัด ประเทศ ทวีปใดทวีปหนึ่งก็ได้ หรือจะให้สิทธิผู้รับอนุญาตใช้โดยไม่จำอาณาเขตก็ได้
  • ระยะเวลาการให้ใช้สิทธิ โดยคู่สัญญาสามารถตกลงให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าว เพียงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง ที่กำหนดตกลงกันไว้ก็ได้ หรือกำหนดเงื่อนไขหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เป็นเหตุสิ้นสุดการให้ใช้สิทธิก็ได้ หรือจะให้ผู้รับอนุญาตใช้สิทธิโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดก็ได้
  • การอนุญาตช่วงสิทธิให้บุคคลอื่น โดยคู่สัญญาสามารถตกลงให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตมีสิทธินำสิทธิดังกล่าวไปให้สิทธิช่วงต่อ แก่บุคคลอื่นอีกทอดได้หรือไม่ อย่างไร เช่น ห้ามโดยเด็ดขาด อาจทำได้โดยต้องได้รับความยินยอมของผู้อนุญาตล่วงหน้าก่อน หรือสามารถทำได้เองเลย

การให้ใช้สิทธิดังกล่าว อาจมีค่าตอบแทนหรือไม่มีก็ได้ ในกรณีที่มีค่าตอบแทน โดยทั่วไปในสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิมักมีค่าตอบแทนแบ่งเป็น 2 ส่วน ที่ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องชำระให้แก่ผู้อนุญาต ดังต่อไปนี้ โดยที่ ผู้อนุญาตอาจเลือกเพียงค่าตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 อย่างก็ได้

  • ค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (Licensing Fee) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ให้เพียงครั้งเดียว ก่อนการให้ใช้สิทธิ ตามจำนวนเงินที่ผู้อนุญาตกำหนด
  • ค่าสิทธิ (Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ชำระให้ตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น รายเดือน เป็นรายปี โดยอาจกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน หรืออัตราส่วนอ้างอิงตามรายได้/ยอดขายของผู้ได้รับอนุญาต หรือเงื่อนไขอื่นที่คู่สัญญาตกลงกันก็ได้

นอกจากนี้ การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายควรจะลงนามในสัญญา ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็น 2 ฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย โดยเฉพาะการให้ใช้สิทธิในงานหรือข้อมูลที่มีสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร หรือที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน หรือเครื่องหมายจดทะเบียนอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า กฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ทั้งนี้ ในการทำสัญญา นอกจากจะให้คู่สัญญาลงนามในสัญญาให้ครบถ้วน ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัท 2 คนลงนามร่วมกันและประทับตรา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ บุคคล เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคลโดยเอกสารที่เป็นสำเนาและเป็นเอกสารของบุคคล ต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาด้วย ในกรณีที่เจ้าของเอกสารนั้นเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรอง หรือสำเนาเอกสารอื่นใดที่เป็นของนิติบุคคล ผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจะต้องเป็นไปตามผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ลงนามและเงื่อนไขเหมือนกับการลงนามในสัญญา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในกรณีที่สิทธิที่ให้ใช้กันตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธินี้ เป็นสิทธิเกี่ยวกับการใช้ ดังต่อไปนี้

กฎหมายกำหนดให้การให้ใช้สิทธิดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียน การอนุญาตให้ใช้สิทธิและการโอนสิทธิ สำหรับการจดทะเบียนสัญญาให้ใช้สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร และในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 สำหรับการจดทะเบียนสัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้า

นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นการให้สิทธิการใช้สิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ยังต้องไม่เป็นการจํากัดการแข่งขันโดยไม่ชอบธรรม ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียน การอนุญาตให้ใช้สิทธิและการโอนสิทธิ อีกด้วย เช่น

  • การให้ผู้รับอนุญาตชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร หลังจากสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นสิ้นอายุ
  • การกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิสูงเกินสมควร หรือในอัตราที่ไม่เท่าเทียมกัน ในกรณีมีการให้ใช้สิทธิอย่างเดียวกันกับผู้รับอนุญาตหลายราย
  • การบังคับซื้อวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตจากผู้อนุญาต หรือจากผู้จำหน่ายที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือในราคาสูงกว่าปกติ
  • การห้ามซื้อวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตจากผู้ขายที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • การจำกัดปริมาณการผลิต การขาย หรือการจำหน่ายของผู้รับอนุญาต
  • การบังคับขายสินค้าที่ผลิตจากสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรให้แก่ผู้อนุญาตเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนที่ผลิต

อนึ่ง ในกรณีการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ การอนุญาตก็จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมตามกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ด้วย เช่น

  • กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดหาวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตงานที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือจากผู้จำหน่ายที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • กำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ในอัตราที่ไม่เป็นธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราที่กำหนดในการอนุญาตที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดสำหรับผู้รับอนุญาตรายอื่นสำหรับงานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเดียวกัน
  • ผู้อนุญาตมีสิทธิที่จะบอกเลิกการอนุญาตตามอำเภอใจและไม่มีเหตุอันสมควร

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

เงื่อนไขการให้สิทธิของสิทธิบัตรเป็นอย่างไรบ้าง

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ กฎหมายกำหนดว่า จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 อย่าง ดังต่อไปนี้ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยในเอกสารสิ่งพิมพ์ใด ๆ ในทีวี หรือในวิทยุมาก่อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หรือหัตถกรรมได้

เงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรมีอะไรบ้าง

มาตรา ๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบ ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (๒) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ (๓) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

การกําหนดอายุการใช้และการขอต่ออายุสิทธิบัตรกฎหมายกําหนดไว้อย่างไรบ้าง

ก. สำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นระยะเวลา 20 ปี นับแต่วันยื่นคำขอ ข. สำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันยื่นคำขอ การต่ออายุสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีเริ่มแต่ปีที่ห้าของอายุสิทธิบัตร และต้องชำระภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีที่สี่ และชำระค่าธรรมเนียมรายปีต่อไปทุกปี

ข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีอะไรบ้าง

ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คู่สัญญายังควรตกลงขอบเขตของการใช้สิทธิต่างๆ เช่น.
การให้ผู้รับอนุญาตชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร หลังจากสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นสิ้นอายุ.
การกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิสูงเกินสมควร หรือในอัตราที่ไม่เท่าเทียมกัน ในกรณีมีการให้ใช้สิทธิอย่างเดียวกันกับผู้รับอนุญาตหลายราย.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้