ภาษี อากร ในสมัย สมเด็จพระ เอกา ทศ รถ

    

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ            (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๕๓)

๑. สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๔)

     การเมืองการปกครอง

     ๑. เป็นสมัยที่เน้นระเบียบวินัยที่เข้มงวด ปกครองแบบทหาร เนื่องจากเป็นระยะของการฟื้นฟูอาณาจักร

     ๒. ใช้นโยบายการปกครองเป็นแบบการดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง

     ๓. มีการขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ล้านช้าง เชียงใหม่ ลำปางและกัมพูชา ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของไทย

สังคมและเศรษฐกิจ

     เนื่องจากเป็นช่วงของการฟื้นฟูบ้านเมือง ทำให้มีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก คือดัตช์ หรือฮอลันดา ซึ่งมิได้ติดต่อกับรัฐบาลโดยตรงแต่เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักอยุธยา กับบริษัท V.O.C. (Verenigde Oostindische Compagnie หรือ United Dutch East India Company) นโยบายการค้า ของฮอลันดาที่ไม่ได้มุ่งควบคุมเส้นทางการค้าระหว่างเอเชียกับยุโรป เหมือนโปรตุเกส แต่มุ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางระหว่างเมืองต่าง ๆ ในเอเชีย

    

๒. สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

    เป็นสมัยที่กรุงศรีอยุธยามีความเข้มแข็งมากขึ้นและปลอดภัยจากปัญหาการรุกรานจาก ภายนอกทั้งพม่าและเขมร จึงเป็นสมัยที่สืบสานความมั่นคงของอยุธยา ต่อจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

การเมืองการปกครอง

     ๑. ทรงพยายามจำกัดอำนาจของขุนนางทั้งในส่วนกลางและหัวเมือง โดยให้เจ้าเมืองส่ง บัญชีไพร่ใรสังกัดตนเข้ามาในเมืองหลวง หากจำนวนไพร่มีมากกว่าที่แจ้ง ไพร่ในส่วนที่ไม่ได้แจ้งจะต้องถวายแก่พระเจ้าแผ่นดิน

     ๒. ทรงกำหนดให้ขุนนางตำแหน่งสูง ๆ ถวายเงินบริจาคในนามของหน่วยงานตนเมื่อ พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์

สังคมและเศรษฐกิจ

     มีการริเริ่มจัดระเบียบและควบคุมสังคม ปรับปรุงกฎหมายและระบบภาษีอากร

      

สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  (พ.ศ.๒๑๕๔-๒๒๓๑)

     ตั้งแต่ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ เริ่มเกิดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ ในทุกรัชกาล ผู้ที่ครองราชบัลลังก์อยุธยาในช่วงเวลาต่อจากนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น พระโอรสองค์โต หรือพระญาติสนิทเท่านั้น ผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองสูง ก็มีสิทธิขึ้นครองราชย์ได้ ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระเพทราชา

๑. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙)

การเมืองการปกครอง

      รับราชการมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในตำแหน่งออกญาศรีวรวงศ์ ทำหน้าที่ดูแกกิจการต่าง ๆ ในพระราชวัง ในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราชได้เลื่อนเป็น ออกญากลาโหม นอกจากอำนาจทางการเมืองสูงแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีไพร่อยู่ในสำนักมาก เมื่อได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วได้ดำเนินนโยบายทางการเมือง เพื่อเสริมสร้างพระบารมี โดยบั่นทอนอำนาจขุนนาง สับเปลี่ยนตำแหน่งขุนนางบ่อย ๆ รวมทั้งหาเหตุกำจัดขุนนาง ที่มีทีท่าว่าจะมีอิทธิพลต่อราชสำนัก นอกจากนั้นยังโปรดให้ชาวตะวันตก เข้ามาทำให้ในราชสำนัก ที่สำคัญคือ ฮอลันดา ปรากฏหลักฐานว่า ราชสำนักอยุธยา กับบริษัท V.O.C. ต่างก็มีผลประโยชน์เกื้อกันอยู่ โดยบริษัทให้อาวุธ และกองกำลังทหารแก่ราชสำนัก ชาวฮอลันดาก็ได้รับการแต่งตั้งให้มี ยศขุนนางเป็นจำนวนมาก

สังคมและเศรษฐกิจ

     ๑. การติดต่อกับชาติตะวันตก คือ ฮอลันดา ทำให้ฮอลันดาทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง ในการนำสินค้าของอยุธยาเข้าไปขายที่ญี่ปุ่น

     ๒. อยุธยาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบรูณ์ที่ส่งไปปัตตาเวีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า ของฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    

๒. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)

     หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสวรรคต ได้เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่าง เจ้าฟ้าไชย กับพระศรีสุธรรม และพระนารายณ์ ผลคือ พระนารายณ์ซึ่งได้รับการช่วยเหลือ จากขุนนางบางส่วนตลอดจนพวกโปรตุเกสและยุโรปได้รับชัยชนะ

การเมืองการปกครอง

     ๑. การขึ้นครองราชสมบัติของสมเด็จพระนารายณ์สร้างความไม่พอใจให้แก่เชื้อพระวงศ์ และขุนนางบางกลุ่ม ทำให้เกิด "กบฏไตรภูวนาทิตย์" ซึ่งเกิดหลังจากที่พระองค์ครองราชย์เพียง ๒ เดือน

     ๒. เกิดสงครามระหว่างอยุธยากับฮอลันดาขึ้น ฮอลันดาได้นำเรือรบ ๒ ลำ มาปิดปาก อ่าวไทย ในที่สุดอยุธยาต้องยอมทำสมธิสัญญาใน พ.ศ. ๒๒๐๗ และยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น อนุญาตให้ฮอลันดาผูกขาดการค้าหนังสัตว์และอนุญาตให้ฮอลันดาชาติเดียวผูกขาด การค้าทางทะเลระหว่างอยุธยากับจีน นอกจากนี้ยังต้องให้สิทธิภาพนอกอาณาเขตในทางศาล แก่ฮอลันดา เป็นต้น

     ๓. สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้หาทางคานอำนาจฮอลันดา ด้วยการผูกสัมพันธ์ไมตรี กับชาติอื่น ๆ เช่น เปอร์เซีย (อิหร่าน) อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยเฉพาะฝรั่งเศสนับเป็นชาติ ที่มีบทบาทสูงโดยชาติตะวันตกเหล่านี้ได้รับราชการและพระราชทานยศให้อีกด้วย

     ในบรรดาขุนนางต่างชาติ บุคคลสำคัญ คือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น "ออกญาวิชาเยนทร์" เป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางการค้า และการเมืองในเวลาต่อมา

     ๔. ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้มีการแบ่งกลุ่มทางการเมืองออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มสมเด็จพระนารายณ์ ประกอบด้วย ฟอลคอน เจ้าฟ้าอภัยทศ และพระปีย์ กับกลุ่มพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ 

     ก่อนสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะสวรรคตประมาณ ๖ เดือน พระเพทราชาได้วางแผน ยึดราชบัลลังก์ได้สำเร็จ เป็นการเริ่มราชวงศ์ใหม่ คือ "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

สังคมและเศรษฐกิจ

     จากสภาพภูมิศาสตร์ และการเข้ามาชุมนุมของพ่อค้าที่เดินทางมาจาดทุกทิศ ทำให้สภาพ สังคมของอยุธยากลายเป็นแหล่งของการค้าและช่วยสร้างความมั่นคั่งให้แก่ราชสำนัก สินค้าที่สำคัญและสร้างผลกำไรสูง ได้แก่ หนังสัตว์ ดีบุก และพริกไทย เป็นต้น

    

สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๓๑๐)

การเมืองการปกครอง

    ราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประวัติศาสตร์อยุธยา ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่ การเสียกรุงศรีอยุธยา ดังนี้

    ๑. การขึ้นครองราชสมบัติของสมเด็จพระเพทราชา สร้างความไม่พอใจให้แก่คนหลายกลุ่ม จนเกิดกบฏหลายครั้ง

    ๒. การแย่งชิงอำนาจระหว่างวังหลวงกับวังหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญใน ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เริ่มจากในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ทรงแต่งตั้งหลวงสรศักดิ์เป็นกรมพระราชวังบวรหรือรัชทายาท แต่ก็มีปัญหากระทบกระทั่ง กันเสมอ เมื่อสมเด็จพระเพทราชามีโอรส อันประสูติแด่พระมเหสี ซึ่งเป็นธิดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนามว่า "พระขวัญ" หรือ "พระฟ้าตรัยน้อย" แต่ก็ถูกกรมพระราชวังบวรกับพระโอรสทั้งสอง คือ เจ้าฟ้าเพชรและ เจ้าฟ้าพร ร่วมมือกันวางแผนกำจัดพระขวัญเสีย

     ปัญหาระหว่างวังหลวงและวังหน้าได้เกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเจ้าสรรเพชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ) การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเจ้าฟ้าพรพระอนุชาซึ่งดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวร กับเจ้าฟ้าอภัยพระราชโอรส ซึ่งสมเด็จพระเจ้าท้ายสระต้องการให้ได้ ราชสมบัติ การแย่งชิงราชสมบัติครั้งนี้ทำให้สูญเสียชีวิตผู้คนมาก

     ในปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็ได้เกิดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างพระราชโอรส คือกรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) กับกรมขุนพรพินิต (พระเจ้าอุทุมพร) เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ กรมขุนพรพินิตซึ่งได้รับ การสนับสนุนจากเจ้านายหลายพระองค์ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกที่พระนั่งสรรเพชญ์ปราสาท ทรงพระนาม "สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร" ในขณะที่พระเชษฐากรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ทรงทำ พิธีปราบดาภิเษกที่พระนั่งสุริยาศน์อรินทร์เช่นกัน ทำให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสละ ราชสมบัติและทรงผนวช  ในขณะที่กรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ" หลังจากนั้นได้ทรงประหารชีวิตเจ้านายที่สนับสนุนพระเจ้าอุทุมพร ในขณะเดียวกัน ก็ส่งพระเจ้าอุทุมพรที่ผนวชอยู่ไปลังกา

    ๓. การรุกรานของพม่า ในสมัยราชวงศ์อลองพญา หรือราชวงศ์คองบอง ซึ่งเป็นสงคราม ต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๐๓ แม้ว่าสงครามครั้งนี้พม่าจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะ พระเจ้าอลองพญาทรงประชวร และสวรรคตระหว่างทาง แต่ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ พระอนุชาของพระเจ้าอลองพญา ได้ยกทัพมาโจมตีอยุธยาอีกครั้ง เริ่มจากยึดทวาย มะริด ตะนาวศรี แล้วยกทัพเข้ามาตีเชียงใหม่ ลำพูน และหัวเมืองฝ่ายเหนือ จนในที่สุดพม่าก็สามารถ ยึดกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ในวันอังคาร ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน นพศก พ.ศ. ๒๓๑๐

สังคมและเศรษฐกิจ

    สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและความอุดมสมบรูณ์ของพื้นดิน ทำให้สามารถผลิตอาหาร เลี้ยงผู้คนได้เป็นจำนวนมากจนเหลือส่งไปขายยังต่างประเทศ จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ก็ได้ระบุไว้ว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ขายข้าวแก่ฮอลันดา ฝรั่งเศส และหัวเมืองฝั่งทะเลแถบมลายู มะละกา ชวา ปัตตาเวีย ญวน เขมร มะนิลา ลังกา จีนและญีปุ่น แต่การแย่งชิงอำนาจภายในราชวงศ์ นับเป็นส่วนสำคัญที่ฉุดรั้งความเจริญทางการค้า การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายใน ทำให้ไม่สามารถรวมตัวกันต่อต้านศึกที่พม่ารุกรานภายนอกได้ ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมอยุธยาในตอนปลายให้อยู่ในสภาพ  "บ้านแตกสาแหรกขาด" ในที่สุด

    

ความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมรัฐอยุธยา

     รัฐอยุธยาเป็นรัฐที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในเอชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอายุยืนยาวถึง ๔๑๗ ปี ในอดีตมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองท่านานาชาติ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีมติ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ ให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไว้ในบัญชีมรดกโลก ในหน่วยนี้จะยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของวัฒนธรรม รัฐอยุธยา ดังนี้

๑. ด้านพระพุทธศาสนา

     ๑.๑ พระพุทธรูปวัดธรรมิกราช

                                        

                                                          ๔.๑ พระพุทธรูปวัดธรรมิกราช

๑.๒ พระพุทธไตรรัตนายก

                          

                                                         ๔.๒ พระพุทธไตรรัตนายก หรือหลวงพ่อโต

๑.๓ หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร

                    

                                                                  ๔.๓ หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร

๑.๔ พระประธานหน้าวัดพระเมรุ

                       

                                                              ๔.๔ พระประธานหน้าวัดเมรุ

๒.สถาปัตยกรรม

     ๒.๑ สถาปัตรยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น

             เป็นศิลปะที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรมขอมและศิลปะสุโขทัย สังเกตุได้จาก เจดีย์ประธานของวัดมีระเบียงคดล้อมรอบ นิยมสร้างเป็นทรงปรางค์ ดังเช่น วัดพุทธไธสวรรย์ วัดพระราม

                  

                                                                ๔.๕ วัดพุทไธสวรรย์

               

                                                                ๔.๖ วัดพระราม

     ๒.๒ สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง

              ยุคนี้นิยมสร้างลักษณะเจดีย์ทรงระฆังแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม สุโขทัยนอกจากนี้ เจดีย์ วิหาร ของบางวัดยังปรากฏสถาปัตยกรรม เช่น งานประดับลวดลายประเภทดอก ใบ เถาไม้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเชียงใหม่

                   

                                                                 ๔.๗ วัดพระศรีสรรเพชญ์

     ๒.๓ สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย

             ยุคนี้นิยมสร้างเจดีย์เหลี่ยมทรงเจดีย์ไม้สิบสอง รวมถึงเจดีย์ทรงปรางค์ ได้รับอิทธิพลจากขอม งานช่างในสมัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการค้าขายกับต่างประเทศ ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ก่อให้เกิดลักษณะใหม่ ๆ ในงานก่อสร้าง

                

                                                                ๔.๘ วัดไชยวัฒนาราม

๓. ด้านวรรณกรรม

       ในสมัยกรุงศรีอยุธยา นับได้ว่าเป็นยุคทองของวรรณกรรม เช่น "มหาชาติคำหลวง" ที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้น นอกจากนี้ยังมี "กาพย์มหาชาติ" และ "มหาชาติกลอนเทศน์" โดยเนื้อเรื่องเน้นการสั่งสอนให้ทำดีละชั่ว ตามหลักพระพุทธศาสนา จนเกิดเป็นประเพณี "สวดพระมาลัย" ขึ้น และในตอนปลายสมัยอยุธยา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ได้ทรงนิพนธ์ "พระมาลัยคำหลวง" ขึ้น นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมเรื่อง "ลิลิตโองการแช่งน้ำ" ที่เป็นรากฐานของการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แสดงความจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

๔. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี

      ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราชสำนักได้วางแบบแผน ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม หลายอย่าง ซึ่งผสมผสานทั้งทางพุทธ-พราหมณ์ เช่น พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลเดือน ๖ พระรามพิธีจองเปรียงตามพระประทีป (ชักโคม) ในเดือน ๑๒ เป็นต้นเค้าของประเพณีลอยกระทงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้