สิทธิประโยชน์ทางภาษี นิติบุคคล 2564

หลักสูตร

Update กฎหมายภาษีอากร 2564 พร้อมตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษี ก่อนยื่นแบบภ.ง.ด.50”

หัวข้อสัมมนา

1. Update กฎหมายภาษี 2564
2. Update กฎหมาย (e-Payment) และการเสียภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
3. หลักเกณฑ์การใช้ระบบ e-Withholding Tax การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีใหม่ที่นักบัญชีต้องทราบ
4. สรุปประเด็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt)
5. อากรแสตมป์ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - e-Stamp การยื่นขอเสียอากรแสตมป์
    เป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

6. กฎหมาย e-Service การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ
7. ร่างกฎหมาย e-Business การเก็บภาษีออนไลน์ข้ามชาติ
8. การจัดเก็บภาษี e-Commerce
9. e-Donation การบริจาค และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
10. สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ต้องตรวจสอบก่อนกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50

          • รายจ่ายที่ลงได้เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า, 2 เท่า, 3 เท่า
          • รวมมาตรการภาษีเยียวยาผลกระทบ Covid-19 ที่ต้องคำนวณภาษีในปี 2563
          • รายจ่ายปรับปรุง ต่อเติม ของธุรกิจโรงแรมลงรายจ่าย 1.5 เท่า
          • สิทธิประโยชน์จากการลงทุนเครื่องจักรใหม่ ปัญหาการปฏิบัติเพื่อใช้สิทธิการคิดค่าเสื่อมและการลงรายจ่าย
          • การจัดทำรายงานทรัพย์สินและแบบแจ้งโครงการลงทุนฯ
          • กรณีสรรพากรตรวจสอบการใช้สิทธิประโยชน์จากการลงทุนในเครื่องจักรแล้วไม่เข้าเงื่อนไข จะมีผลต่อ
            การลงรายจ่าย การหักค่าเสื่อมอย่างไร และวิธีการลงรายจ่ายเพิ่ม
11. รายจ่ายที่ได้เพิ่มขึ้นทางภาษีบัญชีจะบันทึกอย่างไร ผลกระทบในการคำนวณกำไรสุทธิ
      เพื่อเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50)
12. การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
13. เทคนิคการจัดทำเอกสารให้ถูกต้อง ให้เป็นรายจ่ายได้ไม่ถูกบวกกลับ
14. ทิศทางการตรวจสอบภาษีปี 2564 ในยุคดิจิทัล

          • การตรวจสอบรายได้ผ่านระบบ e-Payment ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
          • รายได้ที่ถึงเกณฑ์จด VAT การตรวจสอบรายได้
          • การออกใบกำกับภาษีและโทษจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอม
15. Update แนวการตรวจสอบ Stock สินค้า
          • การตรวจ STOCK สินค้า
          • วิธีการตรวจสอบ Stock ของสรรพากร
          • การยกยอดสินค้าคงเหลือ ปัญหาบัญชีกับภาษี
16. การตรวจสอบภาษีปี 2564 และประเด็นที่ต้องระวัง!!! อาจถูกตรวจสอบย้อนหลัง
          • ขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุน
          • การระบายของ/ สินค้าของกิจการ

จดหมายข่าวภาษีสำนักกฎหมายธรรมนิติ
DLO’S Tax Newsletter

ฉบับที่ 125 เดือนธันวาคม 2564

กฎหมายใหม่ล่าสุด
1. กำหนดอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
2. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้แก่ SMEs สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ
4. สิทธิประโยชย์ทางภาษีให้แก่บุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
5. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
6. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรายจ่ายในการซื้อชุดตรวจ ATK ให้แก่พนักงาน
7. สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับองค์กรการเงินชุมชนและสถาบันการเงินประชาชน
8. สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม
9. สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีการขาย / โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนหรือได้มาโดยวิธีการซื้อขาย
10. เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขาย

ข่าวภาษี
1. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข
2. ผู้เสียภาษีสามารถยื่นเอกสารให้กรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2562
ระหว่าง     นาย ส. จำกัด     โจทก์
          บริษัท อ.       จำเลย
เรื่อง      รายจ่ายต้องห้าม กรณีรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง

กฎหมายใหม่ล่าสุด
1. กำหนดอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 54 พ.ศ. 2564 กำหนดอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มาโดยหน้าที่ราชการ เพื่อการปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงหรือ DTA และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการเลี่ยงภาษีอากร

รายละเอียดตาม //bit.ly/3H6A3IW

2. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้แก่ SMEs สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 725) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้แก่ SMEs สำหรับเงินได้จำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 1 แสนบาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/30dOcDm

3. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 726) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท / คน / เดือน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/30ga555

4. สิทธิประโยชย์ทางภาษีให้แก่บุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

พระราชกฤษฎีกากำหนดสิทธิประโยชย์ทางภาษีให้แก่บุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ สรุปได้ดังนี้
4.1 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 727) พ.ศ. 2564 กำหนดสิทธิประโยชย์ทางภาษีให้แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ รวมทั้งผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3knwS62

4.2 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 728) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จำนวนร้อยละ 100 ของเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ณ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3H66kjb

4.3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 729) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการให้ดีขึ้นตามจำนวนที่จ่ายจริง ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3kkiZoP

4.4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 730) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ SMEs รายใหม่ สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายและตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3n3mK48

4.5 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 731) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่นอกเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจที่ลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายจริง

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3H8eA2f

5. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 732) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3qwX7ui

6. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรายจ่ายในการซื้อชุดตรวจ ATK ให้แก่พนักงาน

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 733) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID -19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID -19 Antigen test self-test kits) เพื่อใช้สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3qmqI9Z

7. สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับองค์กรการเงินชุมชนและสถาบันการเงินประชาชน

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 734) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เพื่อลดภาระต้นทุนในการเปลี่ยนสถานะขององค์กรการเงินชุมชนในการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินประชาชน และส่งเสริมการออมทรัพย์และบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่สมาชิกของสถาบันการเงินประชาชน

รายละเอียดตาม //bit.ly/3F1yjyS

8. สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564 กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดตาม //bit.ly/3qlqY9a

9. สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีการขาย / โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนหรือได้มาโดยวิธีการซื้อขาย

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 736) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์หรือการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนหรือได้มาโดยวิธีการซื้อขายเพื่อบรรเทาภาระภาษีและจูงใจให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตกลงทำสัญญาซื้อขาย

รายละเอียดตาม //bit.ly/3qqSKRE

10. เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขาย

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 242) กำหนดให้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ใช้บังคับสำหรับการดำเนินการที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ของเดือนภาษีถัดจากวันที่ประกาศในประกาศนี้เป็นต้นไป (เดือนธันวาคม 2564 เป็นต้นไป)

รายละเอียดตาม //bit.ly/3104rnV

ข่าวภาษี
1. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร กรณี
ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า ของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ให้แก่ ศิริราชมูลนิธิ หรือมูลนิธิจุฬาภรณ์ และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าวที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ติดตามรายละเอียดได้จาก //bit.ly/3lJmHJJ

2. ผู้เสียภาษีสามารถยื่นเอกสารให้กรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ออกตามความในประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือบุคคลใด อาจยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนำส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี แบบนำส่งภาษี รายงาน บัญชีพิเศษ บัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่น ๆ ประกอบแบบแสดงรายการ คำร้องคืนภาษีอากร คำอุทธรณ์ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารหรือหนังสืออื่นใดให้กรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ติดตามรายละเอียดได้จาก //bit.ly/3lJmHJJ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2562
ระหว่าง     นาย ส. จำกัด     โจทก์
          บริษัท อ.       จำเลย
เรื่อง      รายจ่ายต้องห้าม กรณีรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง

ประเด็นข้อพิพาท : มูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อตอบแทนในการที่โจทก์ช่วยจำเลยหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่

ข้อเท็จจริง : นาย อ กรรมการคนหนึ่งของจำเลยเรียกโจทก์ไปพบบอกว่า จำเลยจะออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เมื่อวางตลาดแล้วจำเลยจะมีกำไรประมาณปีละ 100 ล้านบาท ซึ่งมีผลให้จำเลยต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 30 ล้านบาท ขอให้โจทก์หาทางเสียภาษีอย่างประหยัด

โจทก์แจ้งนาย อ ว่า โจทก์สามารถทำให้จำเลยเสียภาษีอย่างถูกต้องและน้อยลงได้ หลังจากนั้นโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของจำเลยกับบริษัทอื่น ๆ ในเครือของจำเลยอีก 4 บริษัท พบว่า หากสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้อีกปีละ 39 ล้านบาท ทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยลดลงได้ปีละ 11 ล้านบาท

จำเลยตกลงกับโจทก์ว่า จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 23 ล้านบาท ให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่า จะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ ถ้าการทำหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้เสียภาษีน้อยลงได้ผลและไม่ถูกกรมสรรพากรตรวจพบ

เพื่อให้จำเลยเสียภาษีน้อยลง จำเลยต้องช่วยจ่ายผลขาดทุนให้กับบริษัท ธ และบริษัท ส จำเลยจึงร่วมกับบริษัท พ สร้างหลักฐานว่า ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ธ เพื่อวางแผนการขายเป็นเงิน 30 ล้านบาท และให้บริษัท พ จ่ายเงินจ้างบริษัท ส ทำการวิจัยเกี่ยวกับสินค้าเป็นเงิน 9 ล้านบาท ซึ่งไม่มีการจ้างกันจริง จากการทำเช่นนี้ทำให้กำไรของบริษัท พ. ลดลงไป 39 ล้านบาท สามารถหลบเลี่ยงภาษีในปี 2542 ได้จำนวน 11 ล้านบาท โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 23 ล้านบาทดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยปฏิเสธการชำระเงิน

คำพิพากษา : ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จำเลยสามารถลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากโจทก์ทำหลักฐานว่ามีรายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและนำไปหักออกจากกำไรจากการประกอบกิจการของจำเลย นั้น ถือว่าผิดกฎหมาย ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ สำหรับรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ฉะนั้น โจทก์จึงไม่อาจนำเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่โจทก์กำหนดขึ้นเองไปหักออกจากกำไรสุทธิของจำเลยได้ ซึ่งโจทก์และจำเลยควรรู้ได้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 23 ล้านบาท ให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนในการที่โจทก์ช่วยจำเลยหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตามมาตรา 150 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่โจทก์

ความเห็น : ผู้เขียนเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลฎีกา เนื่องด้วยการเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ก็ล้วนแต่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถนำรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ หรือรายจ่ายที่กฎหมายกำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดและไม่มีลักษณะเป็นการหลบเลี่ยงการเสียภาษี

การที่โจทก์และจำเลยร่วมกันในการสร้างรายจ่ายค่าวางแผนการขายและค่าทำวิจัยให้แก่บริษัท ธ และบริษัท พ โดยไม่มีการจ่ายเงินกันจริง ถือเป็นการสร้างรายจ่ายอันเป็นเท็จหรือรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง อันเป็นข้อที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้อย่างชัดแจ้งตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อนำรายจ่ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ย่อมส่งผลให้การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง อันเป็นการหลบเลี่ยงการเสียภาษีและกระทบต่อผลประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของประเทศ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวน 23 ล้านบาท ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเกิดจากการกระทำดังกล่าว

นางสาวเมษยา สีลาวรรณ

หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมใด ๆ เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร สามารถติดต่อได้ที่
บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
2/2 อาคารภักดี ชั้น 2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
หรือโทรศัพท์ติดต่อได้ที่ 0-2680-9751, 0-2680-9725
Email:

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้