วิเคราะห์ swot ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ

การ วิเคราะห์ SWOT คือเทคนิคการวิเคราะห์ จุดอ่อน – จุดแข็ง – โอกาส – อุปสรรค ในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เจ้าของกิจการเห็นภาพรวมของธุรกิจและรู้ว่าควรจะดำเนินกิจการไปในทิศทางใด หลายคนสงสัยว่า แค่เปิดร้านอาหารเล็กๆ จำเป็นต้องทำขนาดนี้เลยหรือ แต่เชื่อเถอะว่า มันคุ้มค่าแน่นอน

 S หรือ Strengths หมายถึง จุดแข็งที่คุณมีแล้วคนอื่นเทียบไม่ติด

ก่อนเปิดร้านอาหารคุณควรหาจุดยืนของตัวเองให้ชัดเจนว่า “คุณเก่งเรื่องอะไร” เช่น ร้านอาหารของคุณ ใครๆ มาก็ต้องสั่งกาแฟดื่ม เพราะทุกคนชื่นชอบในรสชาติที่หอมกรุ่ม เข้มข้นไม่เหมือนเจ้าอื่น ลูกค้าคนไหนได้ดื่มเป็นต้องชม คุณก็ควรชูจุดเด่นในเรื่องนี้ เช่น อาจจะจัด อีเว้นท์เล็กๆ  one “cup” free สร้างสังคมคนรักกาแฟขึ้นในร้าน เป็นต้น

หรือหากร้านอาหารของคุณเด่นเรื่องการบริการ ที่ใครมาเป็นต้องยิ้มกลับไปทุกครั้ง เช่นกัน คุณก็ควรนำข้อนี้มาเป็นจุดเด่น อาจจโพสต์รูปพนักงานยิ้มต้อนรับลูกค้าลงในแฟนเพจ เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์การบริการที่อบอุ่นให้มากขึ้น

แต่หากคุณยังไม่รู้ว่าจุดแข็งของตัวเองคืออะไร ลองสังเกตจาก Feedback ของลูกค้า ว่าเขาพึงพอใจกับร้านอาหารของคุณด้านใดมากที่สุด แล้วนำตรงนั้นมาพัฒนาให้เจ๋งสุดๆ ไปเลย

W หรือ Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนที่คุณต้องพัฒนา

แน่นอนว่ามีจุดแข็ง ย่อมต้องมีจุดอ่อน แต่คุณต้องไม่ยอมให้จุดอ่อนนั้นมาทำให้ธุรกิจคุณต้องพังทลาย เช่น หากร้านอาหารของคุณโดนลูกค้าบ่นเป็นประจำเรื่องการเสิร์ฟอาหารช้า แทนที่เมื่อลูกค้าเร่งที พนักงานก็วิ่งไปในครัว ลัดคิวทำให้ก่อน คุณต้องย้อนกลับไปที่ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงว่าเป็นเพราะอะไร พนักงานในครัวขาดแคลนหรือเปล่า เมนูที่ลูกค้าสั่งซับซ้อน มีขั้นตอนการทำมากไปหรือไม่ อาจจะสอบถามต้นเหตุของปัญหากับเชฟว่าเป็นเพราะอะไร แล้วหาทางแก้ร่วมกัน เพื่อลบจุดอ่อนของร้านออกไปให้หมด

หรือหากร้านอาหารของคุณโดนตำหนิ เรื่องพนักงานบริการไม่ดี หน้าตาบึ้งตึง แทนที่จะไล่บี้กับพนักงานว่าต้องบริการดีๆ หรือสั่งผู้จัดการให้ควบคุมพนักงานให้ได้ คุณลองเรียกพนักงานมาสอบถามถึงสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร ชี้แจงให้เห็นว่ามีคำตำหนิมากน้อยแค่ไหน และคุณเองต้องทำเป็นตัวอย่างด้วย แต่จริงๆ แล้วมีเทคนิคหนึ่งที่ร้านอาหารส่วนใหญ่มักทำ คือ จ้างพนักงานด้วยราคาค่าแรงที่สูงกว่าทั่วไปสักเล็กน้อย (ส่วนใหญ่) จะได้พนักงานที่มีคุณภาพมากกว่า

O หรือ Opportunities หมายถึง โอกาสในตลาด

ข้อนี้ต้องอาศัยการติดตามข่าวสารทางการตลาดให้มาก สังเกตดูว่าตอนนี้มีช่องทางใดที่ธุรกิจจะสามารถเติบโตได้บ้าง เช่น หากเทรนด์อาหารสุขภาพกำลังมาแรง พนักงานออฟฟิศหันมาใส่ใจดูแลร่างกายมากขึ้น และร้านอาหารของคุณจำหน่ายของอาหารสุขภาพอยู่พอดี แทนที่จะขายอาหารตามปกติเหมือนเดิม อาจจะเพิ่มบริการส่งตรงถึงออฟฟิศ โดยจัดเป็นคอร์ส กินคลีน 1 สัปดาห์ เป็นต้น และโปรโมทผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งหน้าร้าน ตามอาคารสำนักงานใกล้เคียง หรือในโซเชียลมีเดีย จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างแน่นอน

 T หรือ Threats หมายถึง อุปสรรคที่ท้าทายให้คุณต้องก้าวผ่าน

เช่นกัน เมื่อมีโอกาส ย่อมมีอุปสรรค อุปสรรคในที่นี่แตกต่างจากจุดอ่อนตรงที่ อุปสรรคเป็นปัจจัยภายนอก ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ขณะที่จุดอ่อน เราควบคุมได้

เมื่อมีอุปสรรคเกิดขึ้นแทนที่จะปล่อยไปตามกลไกตลาด คุณควรออกกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นความสำเร็จให้ได้ เช่น จากกระแสอาหารสุขภาพที่กำลังมาแรง ทุกคนเห็นโอกาสในการเติบโตทั้งหมด จึงหันมาร่วมเล่นในตลาดนี้ด้วย จากเดิมที่คุณเป็นร้านอาหารสุขภาพเพียงเจ้าเดียวในละแวกนั้น วันดีคืนดีกลับมีร้านอาหาร เพิ่มขึ้นมาอี 5 ร้าน ทำให้ยอดขายของคุณตกฮวบอย่างควบคุมไม่ได้

แทนที่จะปิดร้านหนี คุณต้องหากลยุทธ์ที่ทำให้ลูกค้าหันกลับมาใช้บริการร้านคุณเหมือนเดิมให้ได้ เช่น การเพิ่มโปรโมชั่นสำหรับสมาชิก เพิ่มบริการเมนูให้หลากหลาย แต่คงคุณภาพเช่นเดิม ปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น รักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้ และขายฐานลูกค้าใหม่ๆ ควบคู่กันไป

การ วิเคราะห์ SWOT ไม่ใช่เรื่องยาก หากเจ้าของร้านอาหารลองทำตาม จะช่วยให้ร้านอาหารของคุณอยู่รอดได้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุ่นแรงแน่นอน

ในปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วทำให้เวลากลายเป็นข้อจำ กัดในการดำ เนินชีวิต เป็นผลให้ให้พฤติกรรมต่างๆ ในแต่ละวันต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับข้อจำ กัดดังกล่าว รวมถึงพฤติกรรมในการบริโภคอาหารก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นกันรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำ ให้การบริโภคอาหารนอกบ้านและการซื้ออาหารสำ เร็จรูปมารับประทานที่บ้านมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยคาดว่าแนวโน้มการรับประทานอาหารนอกบ้านสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะและความเครียดที่มากขึ้นทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น แนวโน้มของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน


ภาพรวมของธุรกิจ


อาหารถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำ เป็นต่อการดำ รงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเจริญรุ่งเรือง หรือตกตํ่าอย่างไร ธุรกิจร้านอาหารมักจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ในปัจจุบันพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี มีผลให้รูปแบบการดำ เนินชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเวลากลายเป็นข้อจำ กัดในการดำ เนินชีวิต ทำ ให้ชีวิตมีความเร่งรีบมากขึ้นพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น รูปแบบการดำ เนินชีวิตที่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำ ให้การบริโภคอาหารนอกบ้านและการซื้ออาหารสำ เร็จรูปมารับประทานที่บ้านมีแนวโน้มสูงขึ้น และยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจหรือการสังสรรค์อีกวิธีหนึ่ง อีกทั้งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นพิษมากขึ้น ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทำ ให้คนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ พยายามแสวงหาความรู้และแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ด้วยแนวทางปฏิบัติดังกล่าว รวมทั้งการพักผ่อนนอนหลับให้เต็มที่นับเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตยืนยาว และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งจะนำ ไปสู่การมีภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดี อีกทั้งในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่กล่าวอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ กำลังเข้ามาสร้างกระแสให้เกิดค่านิยมการบริโภคแบบใหม่ อันจะทำให้เกิดความสับสน และก่อให้เกิดพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ หน่วยงานของรัฐได้พยายามเข้ามาแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยโอกาสทางการตลาดถึงแม้ว่าแนวโน้มของร้านอาหารเพื่อสุขภาพจะได้รับความนิยมสูงขึ้น แต่ร้านอาหารเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่จะเน้นให้บริการอาหารเจ อาหารมังสวิรัติ อาหารชีวจิต และอาหารสำ หรับควบคุมนํ้าหนัก ทำให้ไม่อาจตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยในเวลาเดียวกัน ร้าน ครัวธรรมชาติจึงเล็งเห็นช่องทางในการนำ เสนอร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แบบ


แผนธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพ  ครัวธรรมชาติ


ขอบเขตของธุรกิจ


หากพิจารณาจากการแบ่งประเภทการจัดบริการอาหารและเครื่องดื่ม ร้านครัวธรรมชาติจัดเป็น


ห้องอาหารทั่วๆ ไป แต่จะสร้างความแตกต่างด้วยการเป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง


·       วิสัยทัศน์ (Vision)


เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว


·       พันธกิจ (Mission)


1. เราจะเป็นร้านอาหารที่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และถูกสุขลักษณะซึ่งสอดคล้องกับความต้องการสำ หรับสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว


2. เราจะให้บริการที่เป็นเลิศ และบรรยากาศเป็นกันเอง พร้อมทั้งให้ความรู้ทางด้านโภชนาการที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการสำ หรับทุกคนในครอบครัว


3. เราจะพัฒนาและปรับปรุงไปพร้อมกับความต้องการของลูกค้า


·       เป้าหมาย (Goals)


ร้าน ครัวธรรมชาติกำ หนดเป้าหมายที่รายได้ 10 ล้านบาทสำ หรับปีที่ 1 และมีอัตราการเติบโตของรายได้เท่ากับ 8% ตั้งแต่ปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 โดยมีอัตรากำ ไรสุทธิเป็น 20% ของรายได้แต่ละปีนอกจากนี้ยังมีเป้าหมายระยะยาวที่จะเป็นหนึ่งในใจ (Top of mind) ของลูกค้าเมื่อนึกถึงร้านอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง ซึ่งไว้ใจได้ทั้งในด้านคุณค่าสารอาหาร กระบวนการผลิตและการบริการ


·       คำ ขวัญ (Slogan)


สุขภาพที่ดีของท่าน คือ ความมุ่งมั่นของเรา


·       รูปแบบผลิตภัณฑ์


นำเสนออาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับความต้องการของทุกคนในครอบครัว ซึ่งใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ผ่านการคัดสรรอย่างดี มีคุณค่าครบตามหลักโภชนาการ รสชาติอร่อย ราคายุติธรรม มีรูปแบบการให้บริการที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่นในด้านของความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง ผ่านการสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับทราบถึงคุณ ประโยชน์ของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่นำ มาใช้ในการปรุงอาหาร และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพ


 


 


 


 


การวิเคราะห์โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อนของธุรกิจ (SWOT Analysis)


จุดแข็ง


·       ความต้องการของลูกค้าที่มีต่ออาหารเพื่อสุขภาพ โดยยึดลูกค้าเป็นจุดยืน นำ เสนอในสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และตรงกับความต้องการของลูกค้า


·       ให้ความสำ คัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ การปรุงอาหาร ตลอดจนการบริการภายในร้าน


จุดอ่อน


·       เนื่องจากเป็นร้านใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้า อาจทำ ให้ลูกค้าเข้าใจว่าเหมือนร้านอาหารเพื่อสุขภาพอื่นทั่วไป จึงจำ เป็นต้องสื่อสารให้ลูกค้าทราบถึงความแตกต่างดังกล่าวอย่างชัดเจน


โอกาส


·       ค่านิยมของผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นพิษมากขึ้น ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากมาย


·       หน่วยงานของรัฐกระตุ้นให้ผู้บริโภคคำ นึงถึงการมีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่สนับสนุนให้เห็นความสำ คัญของการมีสุขภาพที่ดี


·       ร้านอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริงในปัจจุบันยังมีน้อยกว่าความต้องการ


อุปสรรค


·       สินค้าทดแทนมีจำ นวนมาก จึงจำ เป็นต้องมีการสร้างความแตกต่างของร้านให้เด่นชัด


·        คู่แข่งทางอ้อมมีจำ นวนมาก อีกทั้งคู่แข่งใหม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย


·       ผู้บริโภคบางส่วนรู้สึกว่าอาหารเพื่อสุขภาพมีรสชาติไม่อร่อย


·       อัตราการหมุนเวียนของลูกค้าสำ หรับธุรกิจร้านอาหารค่อนข้างตํ่าในบางช่วงเวลา


 


 


แนวทางการจัดการธุรกิจ


กลยุทธ์รวม


ใช้กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของ พร้อมทั้งผสมผสานกับกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ที่เน้นความเป็นเลิศทางด้าน และความเป็นเลิศทางด้านการตอบสนองต่อความต้องการของ อันจะนำ ไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าทุกคนเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายตามที่กำ หนดไว้ ร้าน จึงเลือกใช้ส่วนผสมทางการตลาดสำ หรับธุรกิจบริการ 7 ประการ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจำ หน่าย(Place) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) บุคลากร (People) กระบวนการให้บริการ (Process) และลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) และสำ หรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดจะเลือกใช้การโฆษณาทั้งในวิทยุ นิตยสาร และWeb Site ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพ การส่งเสริมการขายภายในร้าน การแจกแผ่นพับใบปลิว รวมทั้งการลงบทสัมภาษณ์ผู้นำ ทางความคิดในด้านการรักษาสุขภาพพร้อมเสนอแนะร้าน ครัวธรรมชาติในนิตยสารเพื่อสุขภาพทั่วไป


การกำ หนดกลยุทธ์


·       กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy) มุ่งทำ ธุรกิจเพียงธุรกิจเดียว คือร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งให้บริการทั้งอาหาร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ รวมทั้งผักผลไม้ปลอดสารพิษ เนื่องจากการทำ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพจำเป็นต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการอย่างแท้จริง เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพของลูกค้า หากร้านสามารถนำ เสนอรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าภายใต้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างแท้จริง ก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจและความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ และความพึงพอใจของลูกค้านี้นำ มาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้จัดจำ หน่ายวัตถุดิบทางหนึ่ง


·       กลยุทธ์ระดับธุรกิจ ( Business Level Strategy) เน้นการสร้างความแตกต่าง(Differentiation) จากร้านอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไปโดยการเป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริงตามรูปแบบที่กำ หนดไว้ ซึ่งนอกจากให้บริการอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ยังมีการให้ข้อมูลสารอาหารและข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ


·       กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Level Strategy)  กลยุทธ์คุณภาพที่เหนือกว่า (superior Quality) โดยให้ความสำ คัญกับคุณภาพของอาหารและบริการ ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ การความสะอาด การปรุงอาหารและการบริการนอกจากนี้ยังเน้นการตอบสนองต่อลูกค้า (SuperiorCustomer Responsiveness) โดยการบริการอาหารเพื่อสุขภาพหลากหลายรายการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละประเภท ซึ่งจะพยายามสร้างให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด


แผนการตลาด


การกำ หนดตลาดเป้าหมาย (Targeting)


กลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชากรซึ่งอาศัยอยู่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 10,000.00 บาท ขึ้นไป เน้นกลุ่มที่รับประทานอาหารนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ และเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ (Health – Conscious)


การกำ หนดตำ แหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning)


เลือกวางตนเองในรูปแบบร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะเน้นให้บริการอาหาร และเครื่องดื่มที่มีคุณค่าครบตามหลักโภชนาการ ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล ภายใต้การดูแล ของโภชนาการที่มีประสบการณ์โดยตรงในด้านอาหาร และให้ความสำ คัญในด้านการคัดสรรวัตถุดิบ กระบวนการในการปรุงอาหาร รสชาติ รวมทั้งการให้บริการที่เป็นเลิศ นอกจากนี้ทางร้านได้จัด ประเภทรายการอาหารตามความเหมาะสมสำ หรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม และระบุพลังงานที่จะได้รับจาก อาหารแต่ละรายการ อีกทั้งมีการสื่อสารความรู้ด้านโภชนาการให้ผู้บริโภครับทราบ โดยแทรกเกร็ด ความรู้ล งในสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ใช้ในร้าน เช่น กระดาษรองจาน กระดาษรองแก้ว เป็นต้น และสร้างความมั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างแท้จริงภายใต้บรรยากาศที่เป็นกันเอง ร้านจานสาระจะดำ เนินงานตามที่กำ หนดไว้เพื่อสร้างความแตกต่างอย่างเด่นชัดจากร้านอาหารเพื่อสุขภาพ


กลยุทธ์ทางการตลาด


ร้านอาหารเพื่อสุขภาพเต็มรูปแบบ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีตลาดปัจจุบัน ดังนั้นนโยบายด้านกลยุทธ์จึงจะเน้นให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง (Product Differentiation) โดยสร้างความเหนือกว่าในการสร้างผลประโยชน์ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นแนวทางเดียวกับกลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการที่เน้นให้เห็นถึงความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ (Superior Quality) และ ความเป็นเลิศทางด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า


เป้าหมายทางการตลาด


·       เป้าหมาย 5 ปี ร้านจะมีชื่อเป็นหนึ่งในใจ (Top of mind) ของลูกค้า เมื่อนึกถึงร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่แท้จริง ซึ่งไว้ใจได้ทั้งในด้านคุณค่าสารอาหาร กระบวนการการผลิต และการบริการ


·       เป้าหมาย 1 ปี ทำ ให้ร้านเป็นที่รู้จักในด้านความแปลกใหม่ และโดดเด่นในแง่ของความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความเป็นเลิศทางด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า , ก่อให้เกิดการทดลองใช้บริการ


การกำ หนดส่วนผสมทางการตลาด


·       ผลิตภัณฑ์ (Product)


รายการอาหาร จัดเป็นสินค้าที่มีการเพิ่มค่า (Potential Product) คือ ไม่เพียงแต่เป็นมื้ออาหารที่รับประทานเพื่อให้อิ่มท้องเท่านั้น แต่ยังเป็นมื้ออาหารที่มีส่วนประกอบที่เหมาะสมกับความต้องการตามหลักโภชนาการสื่อสารให้เห็นถึงคุณค่าสารอาหารที่ร่างกายได้รับจากอาหารแต่ละมื้อรวมถึงประโยชน์และโทษของอาหารที่เกิดจากการบริโภคในปริมาณมากหรือน้อยเกินไปอีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงอันตรายที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เช่น การใช้นํ้ามัน ในการประกอบอาหารที่มากกว่า 1 ครั้ง


 


 


หมวดหมู่รายการอาหาร มีดังนี้


1. อาหารชุดธรรมชาติ (อาหารชุดครบ 5 หมู่)


2. จานเดียว เกี่ยวความอร่อย (อาหารจานเดียว)


3. ของว่าง จานอร่อย


4. อาหารอนาคตเด็กไทย (อาหารสำ หรับเด็ก)


5. หวานน้อย อร่อยมาก (อาหารแนะนำ สำ หรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน)


6. เค็มน้อย อร่อยจัด (อาหารแนะนำ สำ หรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง)


7. แคลเซียมมาก ไม่พรากความอร่อย (อาหารแนะนำ สำ หรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน)


8. ไขมันน้อย อร่อยไม่เลี่ยน (อาหารแนะนำ สำ หรับผู้ควบคุมนํ้าหนักและโรคไขมันในเลือดสูง)


9. ไฟเบอร์เยอะ เจอะความอร่อย (อาหารสำหรับควบคุมนํ้าหนักและโรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่)


10. มังสวิรัติ มัดความอร่อย (อาหารมังสวิรัติ)


11. ชื่นใจ ไม่อัดลม (เครื่องดื่ม)


12. ขนมถ้วยน้อย เรียงร้อยความอร่อย (ของหวาน ผลไม้)


·       ราคา (Price)


กลยุทธ์การตั้งราคาแบบ High – Value Strategy เนื่องจากต้องการกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไป ต้องการคุณภาพของอาหารที่ดีมีประโยชน์เหมาะสมกับตนเองและมั่นใจในความสะอาด


·       ช่องทางการจัดจำ หน่าย (Place)


ใช้ช่องทางการจัดจำ หน่ายเป็นร้านในรูปแบบร้านเดี่ยว (Stand alone) ตั้งอยู่ในอาคารใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ชั้นใน มีอาคารสำ นักงานหนาแน่น ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นวัยทำ งานจำ นวนมาก และ ตั้งอยู่อาคารใกล้พื้นที่วัดที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพ และปริมณฑล ภายในระยะเวลา 5 ปีหากร้านสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำ หนดไว้ ร้านเพิ่มช่องทางการจัดจำ หน่ายอีกหนึ่งรูปแบบ ได้แก่ การส่งถึงที่ โดยร่วมกับบริษัท เอเจนซี่ อื่น ๆ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับอาหารจากภัตตาคารหรือร้านอาหารชื่อดัง แล้วจัดส่งให้แก่ลูกค้าตามสถานที่ที่ลูกค้ากำ หนดไว้ผ่านทางโทรศัพท์ที่กำหนดขึ้น


·       การส่งเสริมการตลาด (Promotion)


การส่งเสริมการตลาดในช่วง 3 เดือนแรก มีจุดประสงค์เพื่อสร้างการรู้จักและเร่งการทดลองใช้


·        ฉลองเปิดตัว รับเครื่องดื่มนํ้าสมุนไพร ฟรี 1 แก้ว ต่อ 1 ท่าน สำ หรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของ ร้าน


·        แจกแผ่นพับโฆษณา ที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง โดยแผ่นพับมีหลายรูปแบบ เช่น ความจำ เป็นของอาหาร อันตรายของการรับประทานอาหารที่ซํ้าซาก และอันตรายของการประกอบอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การใช้นํ้ามันทอดอาหารมากกว่า 1 ครั้ง


·        แจกตารางอาหารหลัก 5 หมู่ฟรี สำ หรับโต๊ะที่มีเด็ก อายุตํ่ากว่า 10 ปี


·       ถามหรือตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ สิ่งที่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หรือการเตรียมอาหารสำ หรับผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยผ่านระบบ Call center


การส่งเสริมการตลาดในระยะหลัง 3 เดือน มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่องและเพื่อเพิ่มอัตราการซื้อซํ้า


·       แจกคูปองเพื่อรับส่วนลดเมื่อทานอาหารครบ 500 บาท โดยจะได้รับส่วนลด 10% ในการรับประทานอาหารครั้งต่อไป และคูปองมีอายุ 1 เดือน (แจกคูปองเฉพาะช่วงเดือนที่ 6 ถึงเดือนที่ 12 ของปีที่ 1)


·       จัดทำบัตรสมาชิกให้ลูกค้าที่มีการรับประทานอาหารตั้งแต่ 1,500 บาท ขึ้นไป หรือ คิดค่าธรรมเนียมค่าสมัครในครั้งแรก 200 บาท ใช้สำหรับในการมาใช้บริการในครั้งต่อไป โดยได้รับส่วนลด 15%


·       การสื่อสารทางการตลาด


·       การให้ข่าว (Publicity) โดยเขียนบทความแฝงโฆษณา (Advertorial) ในนิตยสารชีวจิต และHealth & Cuisine โดยเน้นให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ที่แตก ต่างจากร้านอาหารอื่น เมนูอาหารจานแนะนำ และบรรยากาศของร้าน


·       สัมภาษณ์ผู้นำ ทางความคิด (Exclusive Interview) ในด้านการรักษาสุขภาพโดยการสัมภาษณ์พร้อมนำ เสนอรูปแบบของร้านประกอบบทสัมภาษณ์ เน้นให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากร้านธรรมชาติที่แตกต่างจากร้านอาหารอื่น เมนูอาหารจานแนะนำ และบรรยากาศของร้าน ในนิตยสารสำ หรับผู้หญิง และนิตยสารที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น นิตยสาร) ชีวจิต


·       โฆษณาทางวิทยุคลื่น FM 106.5 MHz (Green Wave) โดยเน้นให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากร้านธรรมชาติที่แตกต่างจากร้านอาหารอื่น


·       ออกโทรทัศน์รายการแนะนำ ร้านอาหาร เช่น รายการหมึกแดง เวิลด์


·       ทำ POP–Banner ใน Web site ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพ


·       แผ่นพับโฆษณา มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง แจกตามโรงพยาบาลเอกชนเพื่อให้ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย หรือผู้ที่ไปเยี่ยมไข้ได้อ่าน โดยแผ่นพับมี หลายรูปแบบ เช่น ความจำ เป็นของอาหาร อันตรายของการรับประทานอาหารที่ซํ้าซาก และอันตรายของการประกอบอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ


·       ภายในร้าน จัดให้มีการสื่อสารเกี่ยวกับคุณค่าสารอาหารชนิดต่างๆ คุณค่าของนํ้าสมุนไพร บนกระดาษรองจาน จาน แก้วนํ้า และเสนอแนะว่าสารอาหารดังกล่าวมีมากในเมนูอะไร โดยจัดทำ ให้สวยงามนำ เสนอด้วยภาษาง่ายๆ และไม่น่าเบื่อ


·       จัดให้มีมุมสำ หรับขายผักผลไม้ปลอดสารพิษในร้าน เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ ทางด้านคุณภาพของอาหารซึ่งรวมถึงวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ


แผนฉุกเฉิน


เนื่องจากธุรกิจร้านอาหารมีคู่แข่งจำ นวนมาก ทั้งยังเข้าและออกจากอุตสาหกรรมง่าย ทำ ให้สภาพการแข่งขันในตลาดเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งร้านอาหารยังเป็นเรื่องของรสนิยมและความชอบส่วนบุคคลซึ่งยากต่อการคาดการณ์ จึงอาจทำ ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ได้โดยเฉพาะในส่วนของจำ นวนลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการทั้งมื้อกลางวันและมื้อเย็น หากน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็จะส่งผลต่อกำ ไรของร้านรวมทั้งกระแสเงินสดด้วย และเงินเดือนพนักงาน ซึ่งหากทางร้านไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วก็จะส่งผลต่อสภาพคล่องของร้าน


แผนฉุกเฉินที่ทางร้านเตรียมไว้ในกรณีที่จำ นวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการตํ่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ได้แก่ การตั้งราคาที่แข่งขันได้ในตลาด โดยมื้อกลางวันเน้นบริการอาหารชุดสุดประหยัด ส่วนมื้อเย็นเป็นบริการอาหารพิเศษและรายการอาหารใหม่ นอกจากนี้ยังเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในส่วนของรายการโทรทัศน์และนิตยสารเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากสถานการณ์ดังกล่าวทำ ให้ะกระแสเงินสดของร้านลดตํ่าลงและส่งผลต่อสภาพคล่องของร้าน ทางร้านได้เตรียมการในการขอใช้วงเงินเบิกเกินบัญชีเป็นเงินจำ นวน1,000,000 บาท


แผนในอนาคต


ภายใต้สถานการณ์ปกติ หากรายได้และกำ ไรสุทธิเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ภายหลังจากปีที่5 ทางร้านมีแผนขยายกิจการ ดังนี้


·       ขยายสาขา และขยายธุรกิจโดยใช้การรวมตัวแบบถอยหลัง (Backward Integration) โดยเลือกทำ เลที่ตั้งสาขาใหม่ที่มีบริเวณสำ หรับปลูกผักปลอดสารพิษทั้งการปลูกแบบแปลงดินและแบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงขั้นตอนในการผลิตวัตถุดิบที่นำ มาใช้ในการปรุงอาหาร รวมทั้งสามารถเข้าเยี่ยมชมการปฏิบัติการในแปลงผัก และเลือกซื้อผักจากแปลงผักได้เอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ของร้านอีกทางหนึ่ง


·         เพิ่มบริการส่งถึงที่ (Delivery Service) เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่าง และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุม่ ลูกค้าที่ทำ งานหรือพักอาศัยห่างไกล


แนวทางการประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ


ปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนเมืองและผู้มีการศึกษาจะมีความต้อการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและแสวงหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของตนมากขึ้น ดังนั้นความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเวลาและความเร่งรีบของสังคมเมืองในปัจจุบัน ทำ ให้ผู้บริโภคไม่สามารถประกอบอาหารที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้ ขณะเดียวกันร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งมุ่งให้บริการอาหารเพื่อสุขภาพแบบชีวจิตและอาหารลดความอ้วนซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกคน


ร้าน ครัวธรรมชาติซึ่งเป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แบบ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของทุกคนในครอบครัว เนื่องจากร้านธรรมชาติให้บริการอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ วัตถุดิบผ่านการคัดสรรอย่างมีคุณภาพ กระบวนการผลิตสะอาดถูกสุขลักษณะสามารถตรวจสอบได้ และการบริการที่ดีเยี่ยมโดยพนักงานซึ่งผ่านการอบรมให้มีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยทุกประการ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบถึงประโยชน์และโทษจากการบริโภคอาหารอย่งถูกต้องและเข้าใจง่ายจึงสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคเสมือนหนึ่งประกอบอาหารรับประทานเอง


จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่าร้านมีศักยภาพในการแข่งขันและมีความเป็นไปได้ในธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพในระดับที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีคู่แข่งน้อยรายที่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งรูปแบบการดำ เนินชีวิตของสังคมเมืองมีการขยายตัวมากขึ้น สื่อต่างๆ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นเป็นผลให้ประชาชนใส่ใจในคุณภาพชีวิตของตนมากขึ้น แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพจึงยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้