สรุป ร่าง พร บ การศึกษาแห่งชาติ 2564 pdf

เผยความสำคัญของ ‘พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ’ กับบทบาทในปฏิรูปการศึกษาผ่านการ ‘กระจายอำนาจ’ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนพัฒนาให้ประเทศไทยยกระดับคุณภาพการศึกษาพร้อมกันได้ทั่วทุกภูมิภาค และสามารถวางแนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน เพื่อรองรับความเป็นไปของโลกในวันนี้ และความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรู้เท่าทัน

รั้วโรงเรียนและกำแพงห้องเรียนที่หายไป

ดร.ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า หนทางที่ประเทศไทยจะไปถึงการปฏิรูปการศึกษาได้ เราจำเป็นต้องมี พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ที่คนทั้งชาติตัดสินใจร่วมกัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 มากว่าสองปี ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ  

ดร.ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

“เราพบว่าโลกเปลี่ยนไปแทบไม่เหลือเค้าเดิมในเวลาแค่สองปี ทั้งวิถีชีวิต ระบบระเบียบต่าง ๆ เราเอาความรู้ชุดเดิมมาใช่ไม่ได้อีกต่อไป ยิ่งเมื่อมองไปที่การศึกษาจะเห็นว่านโยบายต่าง ๆ ไม่ว่าการเปิดปิดโรงเรียน การบริหารจัดการสถานศึกษา หลักสูตรการสอน เครื่องมือเรียนรู้ เวลาเรียน หรือการประเมินผล ล้วนเปลี่ยนไปหมด แล้วสิ่งหนึ่งที่มากับสถานการณ์โควิด-19 และจะอยู่กับเราต่อไปจากนี้ คือรั้วโรงเรียนหรือกำแพงห้องเรียนที่หายไป

“ดังนั้นเมื่อเด็กเรียนได้ทุกที่ที่เขามีความพร้อม ที่ตามมาคือการผลิตพัฒนาครูต้องเปลี่ยนตาม จากเมื่อก่อนที่ครูถูกสร้างมาเพื่อสอนหน้าห้องเรียน แต่วันนี้ครูต้องมีทักษะที่หลากหลายยิ่งขึ้น สามารถเป็นทั้ง Creative, Organizer, Facilitator ในการออกแบบจัดการระบบการสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างเชี่ยวชาญ”

เป้าหมายของการจัดการศึกษาวันนี้ไม่ได้วัดค่าที่ปริญญาหรือเกียรตินิยม แต่มุ่งไปที่ผลลัพธ์คือ ‘อยู่รอด’ และ ‘ปลอดภัย’ หมายถึงผู้เรียนต้องนำความรู้ไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมได้จากทุกที่ และไปทำงานได้ทุกหนทุกแห่ง ด้วยการผสานทักษะชีวิตและความรู้ทางวิชาการที่มีดุลยภาพ นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องมีคุณสมบัติในการปรับตัวได้รวดเร็วตามจังหวะที่เลื่อนไหลของเทคโนโลยี พร้อมเรียนรู้เรื่องการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่จะพัฒนาไปอีกมาก เหล่านี้คือสิ่งที่ต้องวางแนวทางไว้ใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการกระจายอำนาจบริหารจัดการให้ลงไปสู่การตัดสินใจของท้องถิ่น เพื่อรองรับความแตกต่างของผู้เรียน ของบริบทพื้นที่ แล้วการศึกษาจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้คนทุกประเภทพัฒนาตนเองได้ตามความสนใจและความถนัด

ดร.ตวง กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการกระจายอำนาจบริหารไปยังโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการกว่า 2 หมื่นแห่ง มีครูมากกว่า 4 แสนคน มีเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกว่า 3 ร้อยแห่ง จำเป็นจะต้องกำหนดให้โรงเรียนมีสถานะเป็น ‘นิติบุคคล’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคโควิด-19 ที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน

“ยกตัวอย่างการเปิด-ปิดโรงเรียน ณ ตอนนี้เราไม่สามารถพึ่งการจัดการของส่วนกลางได้ต่อไป แต่จำเป็นต้องมีหลายเมนู หลายทางเลือก ตามความพร้อมของแต่ละพื้นที่ ส่วนเรื่องการเรียนการสอน ต้องทำให้ทุกที่เป็นห้องเรียน และเด็กอยากรู้อะไรเขาต้องได้เรียนเรื่องนั้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อโรงเรียนมีอิสระจากระบบวิธีการเดิม เมื่อเด็กไม่ต้องเรียนตามข้อกำหนด 1, 200 ชั่วโมง ไม่ต้องเรียน 6 ปี 4 ปี การจัดการศึกษาจะเปิดช่องให้เขาค้นหาศักยภาพในตัวเอง แล้วช่วยพัฒนาให้ไปจนสุดทางได้ โดยในกระบวนการนี้ ครูจะทำหน้าที่แนะแนวและสนับสนุน   

“ระบบการศึกษาใหม่จะมี 3 ส่วนสำคัญคือ 1 ฝ่ายบริหารผู้ทำหน้าที่กำหนดนโยบายของประเทศ 2 เขตพื้นที่การศึกษาผู้ทำหน้าที่ติดตามกำกับนโยบาย และ 3 สถานศึกษาที่จะนำนโยบายไปออกแบบใช้งานและลงมือปฏิบัติ นี่คือการกระจายดุลอำนาจลงไปยังท้องถิ่น เป็นการทำงานเชิงพื้นที่ โดยสถานศึกษาเอง จะมีอำนาจในฐานะนิติบุคคลในการจัดการงานวิชาการ บริหารงานบุคคล บริหารงานทั่วไป และงบประมาณได้อย่างเป็นอิสระ”

การศึกษาต้องสร้างทรัพยากรบุคคลที่ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก

ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า พรบ. การศึกษาแห่งชาติ จำเป็นต้องออกแบบให้รองรับกับวิถีชีวิตของคนในแต่ละยุคสมัย เพราะผู้เรียนคือคนที่จะเติบโตไปเป็นพลเมืองของสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ เช่นที่วันนี้เรากำลังพูดถึงรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งเหมาะสมกับแนวโน้มสังคมโลกที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในการยกร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ คณะทำงานได้มุ่งขับเคลื่อนประเด็นการศึกษาที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทำลายข้อจำกัด โดยส่งต่อส่วนที่ดี แก้ไขส่วนที่จำกัด เพื่อเป้าหมายคือให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ผลักดันสถาบันการศึกษาให้ทำงานได้ด้วยตัวเอง เป็นอิสระ มีทรัพยากรเครื่องมือเพียงพอในการทำงาน มีการกำกับติดตาม และประเมินผลที่มีคุณภาพ

“พรบ. ฉบับนี้ต้องส่งผลกับผู้เรียน ครู การบริหารจัดการองค์กร ในการจัดทำหลักสูตรที่มีสภานโยบายกำกับดูแลการศึกษาทั้งระบบ ครอบคลุมการศึกษาตลอดชีวิตของมนุษย์ เปลี่ยนแปลงคนให้มีทักษะอาชีพ ทักษะวิชาการ พาผู้เรียนไปสู่อนาคตในภายภาคหน้าได้

“นอกจากนี้ยังต้องผลักดันไปถึง พรบ. ฉบับลูก โดยเฉพาะเครื่องมือบริหารจัดการข้อมูลกลาง หรือ ‘Big Data’ ซึ่งรวบรวมข้อมูลของคนทุกวัย ทุกสถานศึกษา ทุกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แหล่งเรียนรู้พัฒนาอาชีพทุกประเภท รวมถึงคนที่ต้องการการศึกษาพิเศษ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเข้าถึงได้และมีข้อมูลตรงกัน โดยมีสภาการศึกษา หรือคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่กำกับดูแล ผลักดัน และเติมชิ้นส่วนจำเป็นลงในช่องว่างที่ขาดหายจนเกิดเป็นภาพรวมของทั้งระบบ”

ดร.อำนาจ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตัวอย่างของการกระจายอำนาจส่วนกลางไปยังเทศบาล อบต. ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณสุขต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า ท้องถิ่นส่วนใหญ่มีความพร้อมและขับเคลื่อนการทำงานอย่างเป็นอิสระได้ ขณะที่ในประเด็นการศึกษา อาจจำเป็นต้องมีตัวช่วย มีการเสริมพลังให้พื้นที่มีศักยภาพเพียงพอในการบริหารจัดการ จนเกิดการศึกษาที่ตรงกับบริบทของพื้นที่และผู้เรียนได้อย่างสมบูรณ์

ข้อมูลสำคัญที่เก็บรวบรวมขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 ระบุว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน โดยอัตรากำลังแรงงาน สัดส่วนคนรู้หนังสือ และอัตราการว่างงานกำลังเพิ่มสูงขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 ขณะที่มีอัตราเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 5 แสนคน ซึ่งลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2555 ที่มีจำนวนประชากรเกิดใหม่ 8 แสนคน ทั้งยังมีแนวโน้มว่าหลังจากนี้จำนวนประชากรเกิดใหม่จะยิ่งลดลงเรื่อย ๆ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2573 ประเทศไทยจะมีประชากรเด็กและวัยรุ่นเหลือเพียง 13.7 ล้านคน นั่นหมายถึงวัยแรงงานที่ลดลง ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ดังนั้นการออกแบบ พรบ. การศึกษา จำเป็นต้องใช้ชุดข้อมูลเหล่านี้ประกอบการพิจารณา เพื่อวางแผนรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

“เมื่อพูดถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานในวันข้างหน้า แน่นอนว่าเราจะมีโรงเรียนลดลง ใช้ครูน้อยลงตามสัดส่วนจำนวนประชากร การเรียนในวันนี้ จึงต้องพัฒนาให้ก้าวทันและตอบสนองอาชีพที่จะเกิดขึ้นตามแนวโน้มของโลก มีการคาดการณ์ว่า(Future of Job Report, 2020) ถึงปี ค.ศ.2025 กลุ่มธุรกิจทั่วโลกกว่า 43% จะปรับลดแรงงานลง แล้วใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาทดแทนมนุษย์ อีก 21% มีแผนขยายแรงงานทักษะพิเศษโดยเฉพาะ และ 34% มีแผนขยายการใช้แรงงานที่ผสมผสาน นี่เป็นโจทย์ว่าเราจะปรับการจัดการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานคุณภาพอย่างไร ทำยังไงให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ซึ่งต้องย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น คือการผลักดัน พรบ. การศึกษาแห่งชาติให้สำเร็จ เพื่อการกระจายอำนาจ ค้นหาทรัพยากรเครื่องมือใหม่ ๆ มาช่วยส่งเสริมบุคคลให้พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ”

ให้อำนาจไปอยู่กับคนในพื้นที่ให้มากที่สุด เพื่อความเปลี่ยนแปลงที่จะนำผลดีมาสู่พื้นที่นั้น

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ต้องมีธรรมนูญการศึกษาเป็นรากฐานการทำงาน ข้อสังเกตหนึ่งคือการร่าง พรบ. การศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบันซึ่งมีความพยายามผลักดันมาแล้ว 5 ปี ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโควิด-19 มาถึง ดังนั้น ตนมองว่าเนื้อหาใน พรบ. ฉบับนี้ จะต้องสามารถกระจายอำนาจได้จริง และสามารถส่งต่อการรองรับไปถึงความเปลี่ยนแปลงใน 5-10 ปีข้างหน้าได้ โดย พรบ. จะต้องเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการเรียนการสอนในทุกพื้นที่ แก้ไขปัญหาของผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ.

ประเด็นต่อมาคือการออก พรบ. ฉบับลูก(Sandbox) ให้มีการทดลองทำจริงในบางพื้นที่ เพื่อให้เกิดบทเรียนภาคปฏิบัติ สามารถมองเห็นจุดอ่อนจุดแข็งที่นำไปขยายผลในเชิงนโยบายระดับประเทศได้ นี่คือส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจ เพื่อการทดลอง ประยุกต์ใช้ และเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้วงจรการศึกษาไม่หยุดนิ่ง

ต่อมาคือความจำเป็นในการนำมาตราเดิมที่มีอยู่แล้วมาผลักดันให้เกิดการใช้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่นบางเรื่องที่แม้ พรบ. ให้อำนาจ แต่ในขั้นตอนการใช้กลับไม่มีผู้นำเสนอ เช่นการปรับอัตราเงินรายหัวของเด็ก ทั้งในงบประมาณเรียนฟรี 15 ปี หรือค่าอาหารกลางวัน ให้สัมพันธ์กับค่าครองชีพที่ขยับขึ้นทุกปี รวมไปถึงการเพิ่มจำนวนศูนย์การศึกษาพิเศษให้สัมพันธ์กับความต้องการของผู้เรียนในพื้นที่ เหล่านี้จำเป็นต้องฝากรัฐบาลในการนำมาใช้ เพราะต่อให้มี พรบ. ที่ดี แต่ถ้ารัฐไม่สามารถเรียกเสียงสนับสนุนจากสังคมให้ผลักดันมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ หรือมาตรการสร้างความเป็นเลิศให้เด็กเยาวชนไทย จนไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ได้ สุดท้ายความเปลี่ยนแปลงก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น

“การปฏิรูปการศึกษาที่สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจ เพื่อให้พื้นที่ต่าง ๆ สามารถออกแบบการศึกษาได้ด้วยตนเอง เราต้องให้อำนาจไปอยู่กับคนในพื้นที่ให้มากที่สุด และมีรายละเอียดที่ทำให้ทุกคนอยากร่วมมือกัน เพื่อความเปลี่ยนแปลงที่จะนำผลดีมาสู่พื้นที่นั้น ๆ”

ดร.ไกรยส กล่าวว่า หัวใจของการกระจายอำนาจในระดับพื้นที่ จำเป็นต้องก้าวข้ามอุปสรรค 4 ประการ คือ 1 ‘งบประมาณการศึกษา’ โดยการจัดสรรงบประมาณ หรือการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่แม้จะลงไปถึงเขตพื้นที่และโรงเรียนโดยคำนึงถึงสัดส่วนการกระจายตัวของโรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกล แต่สุดท้ายการเปลี่ยนการศึกษาให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น ก็ต้องทำให้งบประมาณลงไปถึงการปฏิบัติหน้างาน เนื่องจากงบการศึกษาส่วนใหญ่ราว 70-80% ยังอยู่ที่ขั้นตอนบริหาร ไม่เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งตรงนี้ถ้ามีการทำให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงมีการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ ที่แสดงรายจ่ายครัวเรือนในภาพรวม ก็จะช่วยให้ระดับบริหารสามารถกำหนดงบประมาณด้านการศึกษาของประเทศ และได้รับการเสริมเติมและแบ่งเบาภาระครัวเรือนได้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

2 ‘ข้อมูล’ ในยุคที่ข้อมูลคืออำนาจในการตัดสินใจและจัดการทุกอย่าง เราจำเป็นต้องรู้มากกว่าแค่ข้อมูลของเด็กในวันเปิดเทอมวันแรก และวันสุดท้ายก่อนปิดเทอม ว่าเด็กอยู่ที่ไหน มีกี่คน มีเด็กด้อยโอกาสยากจนอยู่ตรงไหนบ้าง เพื่อการจัดสรรทรัพยากรและตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยการรวบรวมข้อมูลที่ยุ่งยากซับซ้อนจากสามสิบกว่าสังกัด จำเป็นต้องทำให้เป็นข้อมุลชุดเดียวที่สามารถส่งต่อและใช้ร่วมกันได้ มีการอัพเดทมากกว่าเทอมละหรือปีละหนึ่งครั้ง การทำเช่นนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลา เอื้อต่อการกระจายอำนาจไปสู่การปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยการจัดเก็บสารสนเทศด้านการศึกษาของเด็กที่ละเอียดเป็นรายบุคคล โรงเรียน เขตพื้นที่ หรือศึกษาธิการจังหวัด จำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการรวบรวม ภายใต้การทำงานร่วมกับส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การวางแผนการศึกษาตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง

3 ‘เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา’ การสืบค้นข้อมูลของ กสศ. พบว่า อัตราการเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตต่อหน่วยของเด็กที่จนที่สุดในระบบการศึกษา มีราคาสูงกว่าแพคเกจที่คนทั่วไปใช้ เนื่องจากการเติมเงินคราวละจำนวนน้อย ข้อมูลนี้ทำให้เห็นว่าถ้าเรามีระบบกำกับดูแลช่วยเหลือ  ในแง่ของการกระจายอำนาจการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการศึกษาของเด็กทุกคนในปัจจุบัน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้มาก

4 ‘การระดมทรัพยากรและความร่วมมือในพื้นที่’ ในช่วงวิกฤตโควิด เราจะเห็นพลังของการกระจายอำนาจในหลายท้องถิ่น ที่เขตพื้นที่ สถานศึกษาและหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัดเข้ามาร่วมระดมกำลังเพื่อช่วยในการจัดการศึกษา โดยหลังจากนี้ ถ้ามีข้อกำหนดว่าอะไรบ้างที่ท้องถิ่นจะทำงานร่วมกับโรงเรียนได้ หรืออะไรบ้างที่โรงเรียนสามารถระดมทรัพยากรด้วยตนเองแล้วขอสิทธิลดหย่อนภาษีได้ โดยหากข้อกำหนดมีความชัดเจนขึ้น นอกจากจะเป็นการกระจายอำนาจแล้ว ยังถือเป็นการกระจายความสามารถในการรับผิดชอบของท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นด้วย

*เรียบเรียงจากเสวนาเรื่อง ‘ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ธรรมนูญการศึกษาของประเทศไทย’ ในการประชุม ร่าง ‘พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กับการกระจายอำนาจทางการศึกษา’

• National Education Bill: The Shift to Educational Decentralization •

กสศ. ดร.ไกรยส ภัทราวาท กระทรวงศึกษาธิการ ดร.ตวง อันทะไชย ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้