ขั้น ตอน การ ทํา กิจกรรม 5 ส

  • หน้าแรก

  • How We Work

  • Human Capital Management

  • หลักการ 5 ส.

       กิจกรรม 5 ส. เป็นปัจจัยพื้นฐานการบริหารคุณภาพ ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงานให้เกิดบรรยากาศที่น่าทำงาน เกิดความสะอาดเรียบร้อยในสำนักงาน ถูกสุขลักษณะ ทำให้พนักงานสามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ สร้างทัศนคติที่ดีของพนักงานต่อหน่วยงาน

       กิจกรรม 5 ส. เป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพเป็น กิจกรรมที่ทำแล้วเห็นผลเร็วและชัดเจน นอกจากนั้นกิจกรรม 5 ส. จะเป็นพื้นฐานในการนำวิธีการบริหารใหม่ๆ เข้ามาใช้ในอนาคตต่อไป
5 ส. คืออะไร

       กิจกรรม 5 ส. เป็นแนวคิดการจัดระเบียบเรียบร้อยในที่ทำงานก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดีปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต

  • สะสาง          คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการและขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
  • สะดวก         คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงาน ให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวก และ ปลอดภัย
  • สะอาด         คือ การทำความสะอาด เครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน
  • สุขลักษณะ    คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดีตลอดไป
  • สร้างนิสัย      คือ การอบรม สร้างนิสัยในการปฏิบัติงานตามวินัย ข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

ประโยชน์จากการทำกิจกรรม 5 ส.

1. บุคคลจะทำงานได้รวดเร็วขึ้น
2. เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ จะเกิดขึ้น บุคลากรจะรักหน่วยงานมากขึ้น
3. บุคลากรจะมีระเบียบวินัยมากขึ้น 
4. บุคลากรปฎิบัติตามกฎระเบียบ และคู่มือการปฎิบัติงานทำให้ความผิดพลาดและความเสี่ยงต่าง ๆ ลดลง
5. บุคลากรจะมีจิตสำนึกของการปรับปรุง ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
6. เป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ
7. การไหลเวียนของวัสดุ และ work in process จะราบรื่นขึ้น
8. พื้นที่ทำงานมีระเบียบ มีที่ว่าง สะอาดตา สามารถสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ได้ง่าย
9. การใช้วัสดุคุ้มค่า ต้นทุนต่ำลง

ขั้นตอนในการดำเนินงาน 5 ส.

1.ขั้นเตรียมการ (Perparation)
       เมื่อหน่วยงานจะเริ่มต้นนำกิจกรรม 5 ส.มาใช้ สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการคือ การทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูง และจัดเตรียมแผนการดำเนินกิจกรรม ซึ่งสามารถดำเนินการตามลำดับดังนี้

    1.1 สร้างความเพข้าใจกับผู้บริหารระดับสูง
    1.2 การกำหนดนโยบายการดำเนินกิจกรรม 5 ส. โดยผู้บริหารสูงสุด
    1.3 การกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม 5 ส.
    1.4 ประกาศนโยบายให้ทุกคนทราบอย่างเป็นทางการ
    1.5 อบรมให้ความรู้แก่พนักงานทุกคน
    1.6 ผู้บริหารระดับสูง เยี่ยมชมหน่วยงานที่ได้ดำเนินกิจกรรม 5 ส. อย่างต่อเนื่อง

2.ขั้นเริ่มดำเนินการ (Kick off Project)
       จัดกิจกรรมวันทำความสะอาดใหญ่ (Big cleaning Day) ถือเป็นวันเริ่มต้นของการดำเนินกิจกรรม  กิจกรรมวันทำความสะอาดใหญ่นี้มีความสำคัญและต้องเตรียมการอย่างละเอียดรอบคอบมีการประชุมเตรียมการต่างๆ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

3.ขั้นตอนดำเนินการ (Implementation)

  • แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบ 
  • ทุกพื้นที่จต้องกำหนดแผนปฎิบัติการ หัวข้อต่าง ๆ ที่ควรมีอยู่ในการดำเนินกิจกรรม 5ส. คือ

    

3.1 รายละเอียดกิจกรรม เป็นการกำหนดกิจกรรมในเรื่อง 5ส. ของพื้นที่ว่ามีอะไรบ้างตามขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม5ส.
     3.2 ระยะเวลาดำเนินการ จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าช่วงใดจะทำอะไร ใช้เวลาเท่าไรในการดำเนินงาน และระยะเวลาสิ้นสุดของแผนเมื่อใด เช่น แผน 1 ปี , แผน 2 ปี
     3.3 ผู้รับผิดชอบ ในแผนควรกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละหัวข้อไว้ด้วย
     3.4 แผนที่ดีควรจะระบุให้ชัดเจนว่าแต่ละขั้นตอนใช้งบประมาณเท่าใด
     3.5 วันที่จัดทำแผน เพื่อให่ทราบว่าแผนการดำเนินการนั้นทำไว้ตั้งแต่เมื่อใด
     3.6 มีการประชุมของสมาชิกที่อยู่ในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ
     3.7 ทุกคนในพื้นที่ต้องทำ 3 ส. แรกในพื้นที่รับผิดชอบรายละเอียดของการทำกิจกรรม
     3.8 จัดให้มีการประเมินความคืบหน้าของการดำเนินกิจกรรม

บทความโดย : คุณอรวรรณ เทพนิยม

Highlight

  • 5 ส. / 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • 5 ส. เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ โรงงาน หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งห้องนอนของตัวเอง
  • 5 ส. ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำความสะอาด แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเมื่อสถานที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงานเช่นกัน

จะว่าไปแล้ว 5 ส. หรือ 5S เป็นหลักการคุ้นเคยที่ทุกองค์กรนำมาประยุกต์ใช้เป็นเรื่องปกติ สังเกตง่าย ๆ ว่าองค์กรไหนมีวัน Big Cleaning Day ก็เท่ากับเริ่มต้นใช้งานเครื่องมือนี้กันบ้างแล้ว

ทว่าสิ่งหนึ่งที่ทุกคนเข้าใจผิดก็คือ 5 ส. ไม่ได้มีประโยชน์แค่การทำความสะอาดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการสร้างพื้นฐานที่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป

ฉะนั้นก่อนฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources : HR) จะจัดอบรบกิจกรรม 5 ส. กับพนักงาน เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการและประโยชน์ที่แท้จริงเสียก่อน

Contents

  • 5 ส. คืออะไร
  • จุดเริ่มต้น 5 ส. ที่หลากหลาย
  • ทำไมต้องทำ 5 ส.
  • การทำ 5 ส. / 5S มีอะไรบ้าง
    • ส – สะสาง (Seiri หรือ Sort)
    • ส – สะดวก (Seiton หรือ Set in Order) 
    • ส – สะอาด (Seiso หรือ Shine) 
    • ส – สุขลักษณะ (Seiketsu หรือ Standardize)
    • ส – สร้างนิสัย (Shitsuke หรือ Sustain)
  • ตัวอย่างการใช้ 5 ส. / 5S ในที่ทำงาน 
  • 5 ส. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • บทสรุป

5 ส. คืออะไร

5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้นทุน (Cost) และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) 

โดยมากนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม ก่อนขยับขยายมาใช้ในทุกประเภทธุรกิจ เพราะเป็นแนวทางที่เป็นระบบ เหมาะสำหรับการนำมาเพื่อปรับปรุงแก้ไขการทำงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน 

มีคนเคยเปรียบเทียบว่า 5 ส.​ เปรียบเสมือนรากต้นไม้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดการพัฒนาองค์กรตามหลักการอื่น เช่น LEAN, ISO, TPM, QCC, Six Sigma, PDCA หรือ Kaizen ฯลฯ 5 ส. จึงเป็นพื้นฐานของหลักการพัฒนาองค์กรทุกระบบก็ว่าได้ 

ฉะนั้นถ้าเรามีรากฐานที่แข็งแรง องค์กรก็จะเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป 

จุดเริ่มต้น 5 ส. ที่หลากหลาย

ถึงแม้จุดเริ่มต้นของ 5 ส. จะไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ก็มีเรื่องเล่ามากมายที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของหลักการนี้ 

ไล่ตั้งแต่ย้อนกลับไปไกลถึงศตวรรษที่ 16 โดยช่างต่อเรือชาวเวนิส เขาพยายามปรับปรุงกระบวนการต่อเรือให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ใช้เวลาเป็นวันหรือสัปดาห์ ก็ปรับปรุงให้เสร็จภายในไม่กี่ชั่วโมง

บางตำราก็บอกว่าเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาจาก “กิจกรรมทำความสะอาดบ้าน” ในสถานที่ทำงาน เพราะมองว่าออฟฟิศก็เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่ง

แต่สิ่งที่ทำให้ 5 ส. เป็นที่รู้จักในวงกว้างก็คือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศญี่ปุ่น นำทีมโดยบริษัทรถยนต์โตโยต้าที่ประยุกต์แนวคิดของตะวันตกมาสร้างระเบียบหลักการจนกลายเป็นรูปแบบ 5 ส. ตามปัจจุบัน

ขณะที่ประเทศไทย เริ่มต้นใช้ 3 ส. ก่อนในปี 2522 โดยบริษัท เอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด แล้วค่อยประกาศใช้ 5 ส. ครบถ้วนในปี 2524 ก่อนที่บริษัทจะนิยมปฏิบัติตามกันมาจนถึงปัจจุบัน

ทำไมต้องทำ 5 ส.

เพื่อน ๆ เคยหาเอกสารไม่เจอไหม? รู้สึกว่าตัวเองทำงานซ้ำซ้อน? ออฟฟิศวุ่นวายไม่สามัคคี? หรือสภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยขยะ? ฯลฯ

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าเราดำเนินการตามหลัก 5 ส. อย่างเคร่งครัด เพราะ 5 ส. เป็นเครื่องมือที่สร้างความระเบียบเรียบร้อยในองค์กร ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ใคร ๆ ก็สามารถปฏิบัติตามได้

ปัจจัยสำคัญก็คือ การเริ่มต้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร ทั้งพนักงานทั่วไป แม่บ้าน ไปจนถึงผู้บริหารสูงสุด แต่ที่สำคัญมากกว่านั้น ทุกคนจะต้องปฏิบัติจนกลายเป็นเรื่องปกติ เป็นกิจวัตรประจำวัน หรือเป็นวัฒนธรรมองค์กรนั่นเอง

หากทุกคนพร้อมใจปฏิบัติตาม ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหรือการบังคับ 5 ส.​ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด และก่อให้เกิดความสามัคคีในองค์กรอีกทางหนึ่งด้วย

ประโยชน์ และความสำคัญของการใช้ 5 ส.

  • เพิ่มพื้นที่การทำงาน ลดพื้นที่จัดเก็บ
  • เพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานจากสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร
  • เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงาน
  • ลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงในการทำงาน
  • ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้ออุปกรณ์เกินความจำเป็น
  • ลดการสูญหายของอุปกรณ์และเอกสารต่าง ๆ
  • สร้างความสามัคคีแก่พนักงานในการทำงานเป็นทีม
  • สร้างความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าขององค์กรกับพนักงาน
  • สร้างความประทับใจให้แก่คนอื่นที่เข้ามาในพื้นที่

การทำ 5 ส. / 5S มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบ 5 ส. มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป จึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจแต่ละตัวอย่างลึกซึ้งเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

ส – สะสาง (Seiri หรือ Sort)

เริ่มต้นแยกสิ่งที่ต้องการจัดระเบียบให้ชัดเจนระหว่าง “สิ่งจำเป็น” และ “สิ่งไม่จำเป็น” หรือแยกสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่เป็นหมวดหมู่ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือไม่ นับเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เพราะเราต้องกล้าตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าอะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ หรือสปาร์คจอยจริง ๆ ฉะนั้นความรู้สึกเสียดายจึงเป็นอุปสรรคใหญ่ของขั้นตอนนี้

ส – สะดวก (Seiton หรือ Set in Order) 

คือการนำสิ่งที่สะสางมาจัดวางอย่างเป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงกระบวนการใช้งานและความปลอดภัย พูดง่าย ๆ ก็คือการนำมาวางในพื้นที่ที่หยิบใช้งานง่าย อาจทำป้ายระบุว่าคืออะไร อยู่หมวดหมู่ไหน หรือเก็บไว้ตรงไหน

ส. 2 จึงเป็นขั้นตอนที่ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ อีกต่อไป

ส – สะอาด (Seiso หรือ Shine) 

คือการทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูตามที่เราเข้าใจนั่นแหละ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่ารื่นรมย์และน่าทำงาน สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อจิตใจพนักงานในรู้สึกดี 

ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นการทำความสะอาดเครื่องจักรโรงงาน ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานให้นานกว่าเดิม

ส – สุขลักษณะ (Seiketsu หรือ Standardize)

สุขลักษณะเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ 3 ส. แรก เราจึงควรปรึกษาหารือว่าอะไรคือมาตรฐานสุขลักษณะที่พนักงานต้องการ เพื่อที่ว่าทุกคนจะได้ปฏิบัติรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามมาตรฐานนั้น ๆ 

และเมื่อองค์กรมีสุขลักษณะที่ดีเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของพนักงานก็จะดีตามไปด้วย

ส – สร้างนิสัย (Shitsuke หรือ Sustain)

ส.​ ตัวสุดท้ายมุ่งไปที่การสร้างระเบียบวินัย หรือสร้างให้เกิดนิสัยขึ้นมาจริง ๆ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและยากที่สุด เพราะคำว่า “นิสัย” ไม่ได้ขึ้นเกิดแค่การทำเพียงครั้งเดียว แต่เกิดจากการหมั่นปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำจนกลายเป็นเรื่องปกติ

สรุปการทำ 5 ส. จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน พัฒนาคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น 

Do You Know?

รู้ไหมว่าปัจจุบันมีการเพิ่มเป็น 6 ส. หรือ 6S คือ ส – เสริมสร้างความปลอดภัย (Safety)มุ่งเน้นไปที่การระบุถึงความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เพื่อควบคุมให้พนักงานทำงานได้อย่างปลอดภัย 

ตัวอย่างการใช้ 5 ส. / 5S ในที่ทำงาน 

5 ส. เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานที่ทำงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ โรงงาน หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งห้องนอนของเราเอง 

และนี่เป็นภาพตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการจัดระเบียบห้องทำงานของช่าง

 

จากภาพจะเห็นว่า ห้องทำงานเดิมเต็มไปด้วยขยะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ปะปนกันไปหมด ซึ่ง 5 ส. เข้ามาจัดระเบียบดังนี้

  • ส – สะสาง: แยกอุปกรณ์และชั้นวางที่ไม่จำเป็นออกไป เหลือไว้แต่สิ่งที่ใช้งานจริง ๆ เท่านั้น
  • ส – สะดวก : จัดหมวดหมู่อุปกรณ์โดยแยกประเภทตามชั้นวาง สีกล่อง ฉลาก และตีเส้นพื้นที่สำหรับทำงาน
  • ส – สะอาด : ทำความสะอาดพื้น โต๊ะ ชั้นวาง อุปกรณ์ และทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น
  • ส – สุขลักษณะ : สภาพแวดล้อมหลังทำความสะอาดดูปลอดโปร่ง เป็นมาตรฐานสุขลักษณะที่ดี
  • ส – สร้างนิสัย : หมั่นรักษาความสะอาดในสภาพแวดล้อมนี้เป็นประจำ

เมื่อสถานที่ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อยแบบนี้ ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงาน ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาอุปกรณ์ที่ต้องการ เวลาเกิดปัญหาก็สามารถจัดการได้ทันที และเมื่อเกิดการปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำ ก็จะส่งเสริมการสร้างนิสัยการมีวินัยต่อไป 

5 ส. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

อย่างที่ย้ำในบทความนี้บ่อย ๆ ว่า 5 ส. ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำความสะอาด แต่เป้าหมายที่แท้จริงของมันคือการเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในที่นี้เราจะกล่าวถึงปัจจัยที่จะช่วยให้การประยุกต์ใช้ 5 ส. เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

  • ความรับผิดชอบ – ทุกคนต้องเชื่อมั่นและทำตามหลักการนี้อย่างใจจริง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวหรือทำไปเพราะคนอื่นสั่งให้ทำ ยิ่งถ้าหากร่วมมือร่วมใจกันทุกคนแล้วล่ะก็ การสร้างวินัยก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
  • การแข่งขัน – เป็นการเพิ่มความท้าทายและความตื่นเต้นแก่พนักงาน หลาย ๆ องค์กรจึงมักมีการประกวดกิจกรรม 5 ส. เป็นประจำทุกปี
  • การปรับปรุง – ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นถ้าเราปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราแนะนำว่าอาจใช้หลักการวงจร PDCA (Plan – Do – Check – Action) มาร่วมด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้องค์เติบโตได้อย่างมั่นคงต่อไป

บทสรุป

“A place for everything , and everything in its place”

“มีพื้นที่สำหรับทุกสิ่ง และมีทุกสิ่งภายในพื้นที่”

คือสรุปหลักการของ 5 ส. / 5 S ที่ชัดเจนมากในฐานะเครื่องมือที่ใช้พื้นที่ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ยิ่งในปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้ก็คือการใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลักการ 5 ส. จึงเป็นก้าวแรกที่จะวางรากฐานให้องค์กรของคุณมีระบบระเบียบที่ชัดเจน

ฉะนั้นสิ่งที่องค์กรทุกประเภทต้องถามตัวเองในวันนี้ก็คือ “เราเริ่มดำเนินการตาม 5 ส. แล้วหรือยัง?” 

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบใช่หรือเปล่า?

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดี ๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก

สามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

ที่มา

  • creativesafetysupply
  • 5stoday
  • lcct
  • goodmaterial
  • bananatraining
  • youtube 

ข้อใดคือขั้นตอนแรกของการทำกิจกรรม 5 ส

1.ขั้นเตรียมการ (Perparation) เมื่อหน่วยงานจะเริ่มต้นนำกิจกรรม 5 ส.มาใช้ สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการคือ การทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูง และจัดเตรียมแผนการดำเนินกิจกรรม ซึ่งสามารถดำเนินการตามลำดับดังนี้ 1.1 สร้างความเพข้าใจกับผู้บริหารระดับสูง 1.2 การกำหนดนโยบายการดำเนินกิจกรรม 5 ส. โดยผู้บริหารสูงสุด

วิธีดำเนินกิจกรรม5ส มีขั้นตอนอย่างไร

ตัวอย่างการใช้ 5 ส. / 5S ในที่ทำงาน.
ส – สะสาง : แยกอุปกรณ์และชั้นวางที่ไม่จำเป็นออกไป เหลือไว้แต่สิ่งที่ใช้งานจริง ๆ เท่านั้น.
ส – สะดวก : จัดหมวดหมู่อุปกรณ์โดยแยกประเภทตามชั้นวาง สีกล่อง ฉลาก และตีเส้นพื้นที่สำหรับทำงาน.
ส – สะอาด : ทำความสะอาดพื้น โต๊ะ ชั้นวาง อุปกรณ์ และทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น.

กิจกรรม5ส คืออะไร

กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อ ปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต และด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง

การยกระดับกิจกรรม 5 ส มีลักษณะอย่างไร

กิจกรรม 5 ส เป็นแนวคิดการจัดระเบียบเรียบร้อยในที่ทำงานก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต สะสาง (SERI) คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการและขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป สะดวก (SEITON) คือ การจัดวางสิ่งขอต่าง ๆ ในที่ทำงาน ให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวก และ ปลอดภัย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้