โครงงาน ปลูกผักไร้ดิน อนุบาล

      เรื่อง

เรื่องปลูกผักไอโดรโปนิกส์

จัดทำโดย

                     1 .จิรายุส บุตรพรม เลขที่4

.ณัฐวัฌน์ เวรวรน์ เลขที่10

                     3 .. ณัฐวุฒิ ใจแก้ว เลขที่11

                     4 .ธนภัทร วรจิตร เลขที่12

5 ด.. ศุภกร วิเชียรชัย เลขที่ 26

                     6 .อชิรวัตร พิมพ์อินทร์ เลขที่38

                                     ครูที่ปรึกษาโครงงาน

                                     ครู ภาริดา ทานุมา

    รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์

                                   ประเภทการทดลอง

                                  โรงเรียนอำนาจเจริญ

โครงงานวิทยาศาสตร์

ปลุกผักไอโดโปรนิกส์

                                    ผู้จัดทำ

                     1 .จิรายุส บุตรพรม เลขที่4

.ณัฐวัฌน์ เวรวรน์ เลขที่10

                     3 .. ณัฐวุฒิ ใจแก้ว เลขที่11

                     4 .ธนภัทร วรจิตร เลขที่12

5 ด.. ศุภกร วิเชียรชัย เลขที่ 26

                     6 .อชิรวัตร พิมพ์อินทร์ เลขที่38

คำนำ

โครงงานเรื่องนี้ป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวิยาศาสตร์

เพื่อให้เราได้รู้เข้าใจกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

หากโครงงานนี้ผิดพลาดต้องขออภัย ณ ที่นี่ด้วย

สารบัญ

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

บทที่1บทนำ

บทที่2เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่3อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ

บทที่4ผลการศึกษา

บทที่5สรุปผลอภิปรายผลประโยชน์ที่ได้รับและข้อเสนอแนะ

อ้างอิง

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตที่ปลูกโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์ โดยนำผักกาดผักสลัดมาปลูกเริ่มด้วย เพาะเมล็ดในฟองน้ำแล้วแช่น้ำไว้1สัปดาห์ แล้วจึงนำมาใส่ขวดที่ตัดเตรียมไว้มีธาตุอาหารAและBแล้วสังเกตุบันทึกผล จากผลที่สังเกตุได้ พบว่าผักที่ปลูกโดยไฮโดรโปนิกส์มีการเจริญเติบโตการศึกษา

ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของสารพิษตกค้างในผักสดและผลไม้สดนำเข้าจากต่างประเทศ

ในช่วงระยะเวลาระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2551-2555ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ประเทศไทยได้มีการทำความตกลงเกี่ยวกับเขต

การค้าเสรีกับประเทศต่างๆ เพื่อต้องการทราบว่ามีการตรวจพบสารพิษตกค้างในผักสดและผลไม้สดนำเข้าชนิดใดบ้าง เป็น

จำนวนเท่าใด และมีแหล่งกำเนิดจากประเทศใด พร้อมกับศึกษา กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานสารพิษตกค้าง และการ

ควบคุมตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าผักสดและผลไม้สด

            ผลการศึกษาพบสารพิษตกค้างในผักสดและผลไม้สดนำเข้าจากต่างประเทศในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2555

เป็นผักสดทั้งสิ้น 35 ชนิด นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอังกฤษ และตรวจพบในผลไม้สด

ทั้งสิ้น 18 ชนิด นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พม่า เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์อังกฤษ

สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ซึ่งเป็นผลิตผลที่มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศต่างๆ ทั้งในแถบเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และ

สหรัฐอเมริกาและพบว่าหากมีการเก็บตัวอย่างส่งวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการจำนวนมากขึ้น จะตรวจพบสารพิษตกค้างมีจำนวน

มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าผลไม้สดชนิดเดียวกันแต่นำเข้าจากประเทศที่ต่างกัน อาจพบประเภทของสารพิษตกค้างที่

แตกต่างกัน ด้านการควบคุมพบการทดสอบเบื้องต้นโดยใช้ชุดทดสอบจีทีเทสต์คิด (GT-Test kit) สามารถทดสอบสารพิษ

ตกค้างได้เพียง2กลุ่มคือกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส(Organophosphorous)และกลุ่มคาร์บาเมต(Carbamate) ไม่สามารถ

ทดสอบสารพิษตกค้างในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) และกลุ่มไพรีทรอยด์(Pyrethroid) ได้ส่วนกฎหมายที่

บังคับใช้มีกำหนดโทษในความผิดฐานนำเข้าอาหารผิดมาตรฐานยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ควรมีการแก้ไขบท

กำหนดโทษให้สูงขึ้น ควรมีการควบคุมการนำเข้าผักสดและผลไม้สดให้เข้มงวดมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ

ยาควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น การกำหนดด่านนำเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับการนำเข้า

ผักสดและผลไม้สด เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและดำเนินการในระบบกักกัน การให้ผู้นำเข้าต้องแสดงหนังสือรับรองด้าน

สุขอนามัยโดยเฉพาะสารพิษตกค้างของผักสดและผลไม้สดที่นำเข้า เป็นต้น รัฐควรเพิ่มงบประมาณเป็นค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง

ให้มากขึ้น และประสานกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อพัฒนาชุดทดสอบที่สามารถทดสอบหาสารตกค้างได้ทั้ง 4 กลุ่ม

เพื่อเป็นการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและส่งเสริมให้มีห้องปฏิบัติการ

ที่มีมาตรฐานจำนวนมากขึ้นเพื่อรองรับตัวอย่างที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

คำสำคัญ : การควบคุมการนำเข้า, ผักสดและผลไม้สดนำเข้า, สารพิษตกค้าง

        กิตติกรรมประกาศ

โครงงานเรื่องปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็เพราะได้รับการช่วยเหลือจาก คุณครูภาริดา ทานุมา และ คุณครูสุวีรา สุดาเดช ครูที่ปรึกษาโครงงานที่ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำตลอดเวลาของการดำเนินงานจนทำให้โครงงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

คณะผู้จัดทำขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะเกิดประโยชน์มากที่สุด

บทที่1

ที่มาและความสำคัญ

 ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่โบราณ การปลูกพืชในสมัยก่อนจะใช้วิธีการปลูกพืชในดิน ซึ่งการปลูกพืชในดินก็เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ แต่ก็พบปัญหามากเช่นกัน ซึ่งได้แก่

            1.ปัญหาสภาพอากาศ เช่น ในฤดูแล้ง พื้นดินจะแห้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เป็นอุปสรรคในการเพาะปลูก เพราะการปลูกพืชวิธีนี้ใช้ดินเป็นองค์ประกอบหลัก

            2.ความเสี่ยงในผลผลิต สมัยก่อนการเพาะปลูกนั้นจะทำเพื่อบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือก็นำไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภค บริโภคแทนการใช้เงินซื้อ การเพาะปลูกระบบนี้จึงเป็นการเพาะปลูกแบบพอเพียง จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช แต่ปัจจุบันจุดประสงค์ของการปลูกเปลี่ยนมาเป็นเพื่อการค้า และใช้ระบบการปลูกแบบขยายวงกว้างซึ่งมีความยากลำบากในการป้องกันปัญหาจากศัตรูพืช ดังนั้นจึงมีการนำยาฆ่าแมลงเข้ามาใช้ เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีความสวยงาม และเมื่อนำออกสู่ตลาดจะขายได้ราคาดี แต่การทำเช่นนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปเป็นเวลานาน สารพิษเหล่านี้ก็จะสะสมและตกค้างอยูในร่างกาย

            3.ข้อจำกัดของสถานที่ ขึ้นชื่อว่าการปลูกพืชในดินก็จะต้องปลูกในสถานที่ที่เป็นดิน ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด เช่น แฟลต หรือ อาคารชุด ไม่สามารถเพาะปลูกได้

            จากปัญหาข้างต้นนี้ทำให้มีผู้นำวิธีการปลูกพืชแบบใหม่เข้ามาใช้เพื่อลดปัญหาข้างต้น ซึ่งวิธีการที่ว่านี้ก็คือ “การปลูกพืชแบบไร้ดิน (Soilless Culture)”

ปัจจุบัน การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มีเทคนิคที่คิดค้นใหม่ๆหลากหลายรูปแบบ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการปลูกพืชในน้ำ (water culture) เท่านั้น   บางกรณีมีการใช้วัสดุปลูก (substrate)  ทดแทนดินทั้งหมดและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งเรามักเรียกว่า ซับส์เทรต คัลเจอร์ (substrate culture)หรือมีเดีย คัลเจอร์ (media culture) หรือแอกกรีเกตไฮโดรโปนิกส์ (aggregate hydroponics)  เทคนิคดังกล่าวนิยมเรียกว่า การปลูกโดยไม่ใช้ดิน หรือ การปลูกพืชไร้ดิน (soilless culture)  ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเทคนิคการปลูกพืชในน้ำก็ดี  หรือ  การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์รูปแบบอื่นๆ ก็ดี   บางครั้งก็อาจเรียกรวมๆ ว่า soilless culture แทนคำว่า hydroponics ก็ได้ 

             ไฮโดรโปนิกส์ มีประโยชน์หลักๆ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสำหรับการเติบโตของพืช  แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทำให้กำจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมาก  ประการที่สองก็คือ พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และในบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งในสภาพแวดล้อมและสภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆ  การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรมากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดินจึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช ไม่ต้องจัดการดิน  และยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้  ด้วยเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิมขณะที่ใช้พื้นที่จำกัด   นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำน้อยมากเพราะมีการใช้ภาชนะ หรือระบบวนน้ำแบบปิด  เพื่อหมุนเวียนน้ำ  เมื่อเทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว   นับว่าใช้น้ำเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น

 ด้วยคุณภาพที่กล่าวมาข้างต้น  ทำให้ไฮโดรโปนิกส์มีประโยชน์กับการปลูกพืชที่ไม้ใช่วิธีการแบบเดิมๆ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ได้เสนอมานานแล้วว่า   ไฮโดรโปนิกส์นั้นจะทำให้สถานีอวกาศ หรือ ยานอวกาศ สามารถปลูกพืชไร้ดินได้เอง และคุณสมบัติดังกล่าวนี้ทำให้ไฮโดรโปนิกส์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชโดยการการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด และมีความหนาแน่นสูงสุด การปลูกพืชไร้ดินเป็นการนำสารละบายธาตุอาหารมาละลายโดยใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชเช่นเดียวกับการปลูกพืชในดิน แต่ต่างกันตรงพืชที่ปลูกในดินจะต้องอาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนเป็นรูปของธาตุอาหารซึ่งบางครั้งหากในดินมีธาตุโลหะหนัก เช่นดีบุก ตะกั่ว แคดเมียม ซึ่งเป็นพิษต่อผู้บริโภค จุลินทรีย์ก็เปลี่ยนให้พืชสามารถดูดธาตุที่เป็นพิษเข้าไปได้ แต่ในขณะที่การปลูกพืชไร้ดินเราสามารถควบคุมธาตุที่มีความจำเป็นเฉพาะการเจริญเติบโตของพืชและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเท่านั้น

ผู้จัดทำโครงการเห็นว่าการปลูกผักแบบไร้ดิน เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การเกษตรของบ้านเราสามารถก้าวไกลไปได้อีก อีกทั้งยังสามรถทำได้โดยไม่ต้องมีพื้นที่ที่กว้างขวางมากนัก และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้สนใจที่จะทำการเกษตรในแนวนี้ ทั้งเป็นการช่วยเหลือผู้     บริโภคในอีกทางหนึ่งด้วย เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการรับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษกันมาขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

    วัตถุประสงค์  

            1. เพื่อเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับสารปลูกพืชไร้ดิน

            2. เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำการเกษตร เช่น การไม่มีพื้นที่ทำกิน ความแห้งสภาพดินไม่สมบูรณ์

            3. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรหันมาลดการใช้สารเคมี และยาปราบศัตรูพืช ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ

            4.เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต

  ตังแปร

ตัวแปรต้น การปลูกผักโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์

ตัวแปรตาม การเจริญเติบโตของผักโดยวิธิไฮโดรโปนิกส์

ตัวแปรควบคุม น้ำและปริมาณธาตุอาหารและธาตุอาหารb

ขอบเขตการศึกษา

ผักที่นำมาปลูกคือ ผักบุ้ง

1การปลูกผักโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เพื่อลดพื้นที่ในการเพาะปลูก

2เมล็ดผักบุ้ง                                                          

                             3ระยะเวลา                                     

       บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

โครงงานคืออะไร 

โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆสำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด จะเรียกว่าโครงงานในกลุ่มสาระนั้นๆ 

สำหรับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ คือ 

1. เมื่อนักเรียนเกิดปัญหา 

2. นักเรียนก็ตอบปัญหาชั่วคราว (สมมุติฐาน) 

3. นักเรียนจะต้องออกแบบการทดลอง เพื่อพิสูจน์ปัญหาว่าจริงหรือไม่ 

4. ทำการทดลอง หรือศึกษาค้นคว้าเพื่อสรุปผล 

    4.1 ถ้าคำตอบไม่ตรงกับสมมุติฐาน ก็ตั้งสมมุติฐานใหม่ และทำข้อ ข้อจนเป็นจริง 

    4.2 เมื่อคำตอบตรงกับสมมุติฐาน ก็จะทำให้ได้รับความรู้ใหม่ และเกิดคำถามใหม่ 

5. นำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ 

          ในการที่นักเรียนจะทำโครงงานในกลุ่มสาระใด นักเรียนจะเป็นผู้ที่เลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบ ประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการแปรผล สรุปผล และการเสนอผลงาน โดยตัวนักเรียนเอง อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมที่จัดว่าเป็นกิจกรรมโครงงานจะต้องประกอบด้วย 

1. เป็นกิจกรรมที่มีเนื้อหาสาระตามกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ 

2. นักเรียนจะต้องเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสนใจและระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละวัย 

3. เป็นกิจกรรมที่มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วยในการศึกษาค้นคว้า เพื่อตอบปัญหาที่สงสัย 

4. นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล หรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งแปรผล สรุปผล และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น 

          ในการทำโครงงานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ควรจะมีระยะเวลา และวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนนัก และควรเป็นไปตามระดับสติปัญญาของนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นด้วย 

           การสอนให้นักเรียนได้เรียนการจัดทำโครงงานนั้นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านการฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญและมีความมั่นใจ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองแล้ว ยังให้คุณค่าอื่นๆ คือ 

1. รู้จักตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นคนที่หลงเชื่อ 

งมงายไร้เหตุผล 

2. ได้ศึกษาค้นคว้า หาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการสอน 

ของครู 

3. ทำให้นักเรียนได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเอง 

4. ทำให้นักเรียนสนใจเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ มากยิ่งขึ้น 

5. นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 

ประเภทของโครงงาน 

          เนื่องจากโครงงาน คือ การแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเนื้อหาหรือข้อสงสัยตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด ก็จัดเป็นโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ จึงแบ่งโครงงานตามการได้มาซึ่งคำตอบของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น ประเภท คือ 

1. โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล 

2. โครงงานประเภททดลอง 

3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ 

4. โครงงานประเภททฤษฎี 

โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล 

โครงงานประเภทนี้ ผู้ทำโครงงานเพียงต้องการสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน 

การสำรวจและรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายรูปแบบแล้วแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ เช่น 

๔ สำรวจคำราชาศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

 สำรวจชื่อพืชเศรษฐกิจของจังหวัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา 

และวัฒนธรรม 

๔ สำรวจคำศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 

 สำรวจชนิดของกีฬาท้องถิ่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 

 สำรวจวิธีบวกเลขที่ชาวบ้านนิยมใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 

ในการทำโครงงานประเภทสำรวจข้อมูลไม่จำเป็นต้องมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องนักเรียนเพียงแต่สำรวจรวบรวมข้อมูลที่ได้ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่และนำเสนอ ก็ถือว่าเป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลแล้ว 

โครงงานประเภททดลอง 

ในการทำโครงงานประเภททดลอง ต้องมีการจัดการกับตัวแปรที่จะมีผลต่อการทดลอง ซึ่งมี ชนิด คือ 

1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ หมายถึงเหตุ ของการทดลองนั้นๆ 

2. ตัวแปรตาม ซึ่งจะเป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น 

3. ตัวแปรควบคุม หมายถึง สิ่งที่ต้องควบคุมให้เหมือนๆ กัน มิฉะนั้นจะมีผลทำให้ตัวแปรตามเปลี่ยนไป 

4. ตัวแปรแทรกซ้อน ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ ตัวแปรควบคุมนั่นเอง แต่บางครั้งเราจะควบคุมไม่ได้ ซึ่งจะมีผลแทรกซ้อน ทำให้ผการทดลองผิดไป แต่ก็แก้ไขได้โดยการตัดข้อมูลที่ผิดพลาดทิ้งไป 

ตัวอย่างเช่น นักเรียนต้องการศึกษาว่า กระดาษชนิดใดสามารถพับเครื่องร่อนและปาได้ไกลที่สุด 

ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ ชนิดของกระดาษ 

ตัวแปรตาม คือ ระยะทางที่กระดาษเคลื่อนที่ได้ 

ตัวแปรควบคุม คือ แรงที่ใช้ปากระดาษ ความสูงของระยะที่ปา 

ตัวแปรแทรกซ้อน คือ บางครั้งในขณะปามีลมพัดเข้ามา ซึ่งจะทำให้ข้อมูลผิดพลาด เป็นต้น 

โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ 

โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่มาประดิษฐ์หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากมาย ผุ้เขียนจะรวมถึงการเขียนหนังสือ แต่งเพลง สร้างบทละครและอื่นๆ ไว้ในโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้วย เช่น การประดิษฐ์ไม้ปิงปองแบบใหม่ การหาวัสดุมาติดไม้ปิงปองแล้วตีได้ดีขึ้น การแต่งบทประพันธ์ การเขียนหนังสือประกอบการเรียนแทนหนังสือเรียนที่ใช้กันอยู่ การออกข้อสอบเพื่อให้เพื่อนๆ ใช้สอบแทนข้อสอบที่ครูออกข้อสอบ เป็นต้น 

โครงงานประเภททฤษฎี 

โครงงานประเภททฤษฎี เป็นการใช้จินตนาการของตนเองมาอธิบายหลักการหรือแนวความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอธิบายในรูปของสูตรหรือสมการ หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่สามารถอธิบายได้โดยหลักการเดิมๆ 

การทำโครงงานประเภทนี้ ผู้ทำโครงงานจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี จึงสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ จึงไม่เหมาะที่จะทำในระดับนักเรียนมากนัก 

ขั้นตอนในการสอนโครงงาน 

1. การเลือกเรื่องที่จะให้นักเรียนทำโครงงาน 

การที่ครูจะสอนนักเรียนโดยบอกความรู้ให้นักเรียนหรือให้นักเรียนฝึกหาความรู้จากปฏิบัติการ (LAB) เดิมๆ เสมอไปคงจะไม่ถูกต้องนัก ครูควรจะสอนให้นักเรียนได้รับกระบวนการหาความรู้หรือที่เรียกว่า ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งก็ควรจะเป็นการสอนด้วยโครงงาน 

การเลือกหัวข้อโครงงานให้นักเรียนศึกษาง่ายที่สุด คือ ให้นักเรียนไปสำรวจรวบรวมข้อมูลจากเรื่องที่เราจะสอนนักเรียน ตัวอย่างโครงงาน 

รวบรวมลักษณะทั่วไป ส่วนประกอบและบริเวณที่ขึ้นของพืชรอบๆตัว 

รวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างคน สัตว์ และพืช 

รวบรวมคำราชาศัพท์ที่มีใช้ในชีวิตประจำวัน 

รวบรวมลักษณะของเปลือกโลก 

รวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากสินค้า 

2. ออกแบบการทำงาน 

ครูอาจจะนำหัวเรื่องที่เขียนไว้ให้นักเรียนเลือกหัวเรื่องที่จะศึกษา แล้วนำหัวเรื่องที่เราต้องการสอนมาวิเคราะห์ และควรมีแนววิเคราะห์ของผู้สอนเอง แต่อาจใช้แบบวิเคราะห์ตรงๆ ได้ดังนี้ คือ 

1. ชื่อเรื่อง 

2. ผู้ทำโครงงาน 

3. ปัญหาหรือเหตุจูงใจในการทำงาน 

4. ตัวแปร (ถ้ามี) ประกอบด้วย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม 

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

6. แหล่งข้อมูลที่นักเรียนจะศึกษา 

7. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษากี่วัน และศึกษาช่วงเวลาใด 

8. นักเรียนต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายใดบ้าง หาจากแหล่งใด 

การลงมือทำโครงงาน 

มีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าอย่างไร ทำอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร 

การเขียนรายงาน 

นักเรียนเขียนรายงานการทำโครงงาน ในรายงานการทำโครงงานอาจเขียนตามหัวข้อที่กำหนด หรือมีสิ่งอื่นที่ต้องการบอให้ทราบ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ 

การนำเสนอโครงงาน 

การนำเสนอโครงงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะสะท้อนการทำงานของนักเรียน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ทำ การตอบข้อซักถาม บุคลิกท่าทาง ท่วงท่า วาจา ไหวพริบปฏิภาณ นักเรียนควรได้รับการฝึกบุคลิกภาพในการนำเสนอให้สง่าผ่าเผย พร้อมทั้งฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ฟังที่มีมารยาทในการฟังด้วย 

การวัดผล ประเมินผล 

ประเมินผลการทำงาน โดยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงาน วัดผลตัวความรู้โดยการซักถาม หรือวิธีการอื่นๆ ควรให้นักเรียนมีการประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อน ครู และผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นๆ ที่มาเยี่ยมชม 

บทบาทของครูที่ปรึกษาโครงงาน 

1. ใช้วิธีการต่างๆ ที่จะกระตุ้นให้นักเรียนคิดหัวข้อโครงงาน 

2. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน 

3. ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด เด็กวัยประถมศึกษาควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่ง 

สำคัญ 

4. ให้กำลังใจในกรณีที่ล้มเหลว ควรแก้ปัญหาต่อไป 

5. ชี้แนะแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ ผู้รู้ เอกสารต่างๆ ในการศึกษาค้นคว้า 

6. ประเมินผลงาน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จัดเวทีให้แสดงความรู้ ความสามารถ 

การนำเสนอผลงานโครงงาน 

การให้นักเรียนผู้ทำโครงงานได้เสนอผลงาน เป็นการเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก เชื่อมั่นในผลงาน ตอบข้อซักถามของผู้สนใจได้ การเสนอผลงานมีหลายลักษณะ คือ 

1. บรรยายประกอบแผ่นใส สไลด์ Power point 

2. บรรยายประกอบแผงโครงงาน 

3. จัดนิทรรศการ 

แนวการประเมินผลโครงงาน 

1. ความคิดสร้างสรรค์ 

2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

3. การนำเสนอด้วยวาจา 

4. การตอบคำถาม 

5. แผงโครงงาน การนำเสนอ 

การเขียนรายงานโครงงาน 

การเขียนรายงานโครงงาน เป็นการเสนอผลงานที่นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้ามาโดยตลอดจนงานเสร็จสมบูรณ์ หัวข้อในการเขียนโครงงานมีดังนี้ 

1. ชื่อโครงงาน 

2. ชื่อผู้ทำโครงงาน / โรงเรียน / พ.ศ. ที่จัดทำ 

3. ชื่อครูที่ปรึกษา 

4. บทคัดย่อ (บอกเค้าโครงอย่างย่อๆ ประกอบด้วย เรื่อง / วัตถุประสงค์ / วิธีการศึกษา / สรุปผล) 

5. กิตติกรรมประกาศ (แสดงความขอบคุณบุคคล หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ) 

6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 

7. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า 

8. สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า 

9. วิธีการดำเนินการ 

10.ผลการศึกษาค้นคว้า 

11.สรุปผล 

12.ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ 

13.เอกสารอ้างอิง

การเพาะปลูกกวางตุ้ง

การเตรียมดิน 

เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นในการเตรียมดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วทำการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายตัวแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วทำการไถพรวนให้ดินละเอียด ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรดก็ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับ pH ของดินให้เหมาะสม ขนาดของแปลงปลูกกว้าง เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร หรือ ตามความเหมาะสม 

การปลูก 

ในการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งนิยมทำกัน วิธีด้วยกัน คือ 

1. การปลูกแบบหว่านแมล็ดโดยตรง วิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้นก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ ส่วนผสมกับทรายสะอาด ส่วน แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอแล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนาประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร หลังจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ควรทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร 

2. การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว การปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถวโดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วทำการโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึง่ทำการถอนแยกในแถว โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ ต้น 

การดูแลรักษา 

การให้น้ำ เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างพึงพอและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้ 

การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการราดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง

โครงงานคืออะไร 

โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆสำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด จะเรียกว่าโครงงานในกลุ่มสาระนั้นๆ 

สำหรับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ คือ 

1. เมื่อนักเรียนเกิดปัญหา 

2. นักเรียนก็ตอบปัญหาชั่วคราว (สมมุติฐาน) 

3. นักเรียนจะต้องออกแบบการทดลอง เพื่อพิสูจน์ปัญหาว่าจริงหรือไม่ 

4. ทำการทดลอง หรือศึกษาค้นคว้าเพื่อสรุปผล 

    4.1 ถ้าคำตอบไม่ตรงกับสมมุติฐาน ก็ตั้งสมมุติฐานใหม่ และทำข้อ ข้อจนเป็นจริง 

    4.2 เมื่อคำตอบตรงกับสมมุติฐาน ก็จะทำให้ได้รับความรู้ใหม่ และเกิดคำถามใหม่ 

5. นำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ 

          ในการที่นักเรียนจะทำโครงงานในกลุ่มสาระใด นักเรียนจะเป็นผู้ที่เลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบ ประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการแปรผล สรุปผล และการเสนอผลงาน โดยตัวนักเรียนเอง อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมที่จัดว่าเป็นกิจกรรมโครงงานจะต้องประกอบด้วย 

1. เป็นกิจกรรมที่มีเนื้อหาสาระตามกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ 

2. นักเรียนจะต้องเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสนใจและระดับ

ผักสลัด

ผักกาดหอม กรีนโอ๊ค

ลักษณะโดยทั่วไป สลัดกรีนโอ๊ค ใบมีเขียวอ่อน หรือเขียวเข้ม (ตามลักษณะของสายพันธุ์) ขอบใบหยัก เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และยุโรป เป็นพืช ฤดูเดียว มีลำต้นอวบสั้น ช่วงข้อถี่ ใบจะเจริญ จากข้อเป็นกลุ่ม  มีระบบรากแก้วที่สามารถเจริญลงไปในดินได้อย่างรวดเร็ว ช่อดอกเป็นแบบ Panicle สูง 2-4 ฟุต ประกอบด้วย ดอก 10 - 25 ดอกต่อช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบดอกสีเหลือง หรือขาวปนเหลือง ดอกจะบานช่วงเช้า โดยเฉพาะในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ

สภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับ ผักกาดหอมกรีนโอ๊ค เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 10 - 24C  การปลูกในสภาพภูมิอากาศสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูงเหนียว และมีรสขม

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็น กรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทน ต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร    ผักกาดหอมกรีนโอ๊คเป็น พืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่งในจานอาหาร ผักกาดหอมกรีนโอ๊คมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินบี  วิตามินซีสูง อีกทั้งยังมีไฟเบอร์ ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก

https://3.bp.blogspot.com/-8Mf1R9iI1q4/VuW-3kOOvsI/AAAAAAAAD6U/QtFUbE_zwys43PxeuaQqb_-QPTEB7K-sg/s1600/Green-Oak-Review-02.jpg


https://2.bp.blogspot.com/-13MKebnOaqg/VwtdGL5J9CI/AAAAAAAAELM/RTnkINiLtbgi1GKVX-H2BUrzn1IkTyr-g/s1600/Green-Oak-Review-03.jpg

ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดกรีนโอ๊ค (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 1.0 - 1.2 ms/cm

2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm

3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.3 - 1.4 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)

4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 30  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)

6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 31 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง

7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง

8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 

หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ

ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ

4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร

4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอสบัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว

4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

หมายเหตุ  ผักสลัดเป็นพืชทานใบที่มีอายุปลูกสั้น การใช้ปุ๋ยในระดับสูงเกิน 1.5 ms/cm หลังจากผักอายุได้ 30 วันไม่ได้เกิดประโยชน์ใดกับผักสลัดเลย กลับทำให้ผักมีอาการขาดธาตุแคลเซียม (Tipburn) มากขึ้นเพราะเพื่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในระบบมีสูงเกินไป  ช่วงเวลาที่ผักสลัดสะสมอาหารมากที่สุดคือช่วงที่ผักมีอายุได้ประมาณ 10 - 30 วันแรก ซึ่งหลังอายุ 30 วันไปแล้วผักสลัดจะใช้ปุ๋ยน้อยลง ส่วนที่ผักสลัดต้องการมากที่สุดคือ น้ำ

บทที่3

อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน

วัสดุ

1.เมล็ดผัก

2.ขวดน้ำเปล่า

3.คัดเตอร์

4.สลิงค์

5.กระบอกตวงน้ำ

6.ฟองน้ำ

7.ที่เพาะเมล็ด

วิธีดำเนินงาน

1.รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

2. ทำการทดลอง

2.1 นำเมล็ดมาเพาะในฟองน้ำ 2.2นำเมล็ดที่ใส่ในฟองน้ำเเล้ว

นำไปแช่น้ำไว้1สัปดาห์

2.3 สังเกตุการณ์เจริญเติบโตของเมล็ด

2.4 ตัดขวดน้ำเปล่า ขวดขนาด500มิลลิลิตร

2.5 นำน้ำเปล่า500มิลลิลิตรมาใส่ขวดที่ตัดเตรียมไว้

2.6 นำสารอาหารA,B ที่เตรียมไว้มาลงในขวดที่มีน้ำ

เปล่า500มิลลิลิตรขวดละ1.5ซีซี

2.7 นำต้นอ่อนของผักที่เพาะไว้มาลงใส่ขวด

2.8 สังเกตุและบันทึกผล

บทที่4

ผลการทดลอง

จากการปลุกพื้นไฮโดรโปนิกส์ทั้งหหมด2ชนิด พบว่าผักมีการเจริญเติบโตได้ดี การปลูกผักไฮโดรโปนิกพบว่าช่วยลดพื้นที่ในการเพาะปลูก และมีความปลอดภัยในการรับประทาน

ชนิดที่ผักบุ้งผักบุ้งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผักบุ้งต้องใช้น้ำจำนวนมากเพื่อการเจริญเติบโต

ชนิดที่2ผักสลัด ผักสลัดมีการเจริญเติบโตได้ดีถ้ามีความอุดมสมบูณร์ของน้ำ

ผักสลัดใช้รับประทานได้อร่อยมาก และปลูกไม่อยากหนัก

บทที่5

สรุป

จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าผักที่ปลูกโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์มีการเจริญเติบโตที่ดีเทียบเท่ากับการปลูกในดินเพาะปลูกโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์ได้รับสารอาหารA,Bเป็นธาตุอาหารในการเจริญเติบโตและคนที่มีพื้นที่จำกัดสามารถปลูกวิธีนี้ได้เพราะวิธีนี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการปลูกในดินที่ใช้สารเคมี

สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผลในการหาอัตราส่วนครั้งนี้สรุปได้ดังนี้

1.       ปริมาณธาตุอาหาAและBอย่างละ 1.5ซีซี

2.       น้ำเปล่า 500มิลลิลิตร

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.       ได้รู้จักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

2.       ประหยัดพื้นที่ในการปลูกสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย

3.       ลดปริมาณสารเคมีตกค้างในผัก

ข้อเสนอแนะ

การปลูกผักโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์ จะต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่ครบเพื่อความสะดวกในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ซึ่งจะทำให้ผลงานที่ออกมามีความน่าเชื่อถือ เตรียมธาตุอาหาร Aและในอัตราส่วนที่เหมาะสม ให้พืชที่ปลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

อ้างอิง

http://centernongprue.lefora.com/reply/38166536/

http://www.slideshare.net/kasetpcc/ss-10247968