การจัดระเบียบทางสังคม ด้านการศึกษา

สังคมเป็นที่รวมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อมีการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคลเพิ่มมากขึ้นสังคมก็ยิ่งมีความแตกต่างในหลายๆ ด้านเกิดขึ้นความแตกต่างดังกล่าว หากมีการควบคุมและจัดระเบียบของกลุ่มและในสังคมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว สังคมก็อาจสับสนวุ่นวายขึ้นได้


ความหมายของการจัดระเบียบสังคม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การจัดระเบียบสังคม เป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยมีสมาชิกส่วนรวมของสังคมไทยยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกันและสืบทอดจนเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม

สาเหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม

1. สมาชิกในสังคมมีความแตกต่างกัน

2. แต่ละคนมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตน จนเกิดความขัดแย้งได้

ความจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม

1. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีความแตกต่าง ทั้งในทางกายภาพและในทางสังคม

2. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีวัตถุประสงค์และมีความต้องการร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกๆ สังคมสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความต้องการพื้นฐานร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และความต้องการนั้น

3. เพื่อป้องการขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมราบรื่น


วิธีการจัดระเบียบทางสังคม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]


1. บรรทัดฐาน

2. สถานภาพ – บทบาท และการจัดชั้นยศ

3. ค่านิยม

4. การขัดเกลาทางสังคม

5. การควบคุมทางสังคม


องค์ประกอบของการจัดระเบียบ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บรรทัดฐาน

บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ สรุปได้ว่า...

1. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน และได้ประพฤติสืบต่อกันม

2. บรรทัดฐานทางสังคมเป็นระเบียบ กล่าวคือ แบบแผนความประพฤติที่เห็นว่าถูกต้องในสถานการณ์หนึ่งอาจนำไปใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่งไม่ได้

ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน (Folkways) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน เนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด แต่อาจถูกคนอื่นเยาะเย้ย ถากถาง หรือได้รับการนินทา ทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามวิถีชาวบ้าน จนเกิดความเป็นระเบียบทางสังคมในที่สุด

2. จารีต (Mores) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบสัมพันธ์ของสมาชิกเป็นส่วนรวม

3. กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎเกณฑ์ของความประพฤติซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์การทางการเมืองการปกครอง และโดยได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการโดยองค์การของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย

2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร  3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย  4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย

ข้อสังเกตเกี่ยวกับบรรทัดฐาน

1. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสอดคล้องหรือแตกต่างก็ได

2. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได

3. สังคมชนบทมักใช้จารีตมากกว่า ส่วนสังคมเมืองมักใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน


ความสัมพันธ์ของคนในสังคม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สถานภาพ (Status) : ตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคมหรือฐานะทางสังคม (Social Position) ของคนในสังคมที่ถูกกำหนดไว้และดำรงอยู่ 

สถานภาพทางสังคม หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลซึ่งได้มาจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มและของสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดระเบียบสังคม เนื่องจากการกระทำระหว่างสมาชิกในสังคมย่อมเป็นไปตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่

ประเภทของสถานภาพทางสังคม

1) สถานภาพทางสังคมโดยกำเนิด (Ascribed Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกได้รับโดยกำเนิด ที่สำคัญได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ เพศ (ชายหรือหญิง) อายุและสถานภาพอันเกิดจากการเป็นสมาชิกในครอบครัว เหล่านี้นับเป็นสถานภาพโดยกำเนิดทั้งสิ้น

2) สถานภาพทางสังคมโดยความสามารถของบุคคล (Achieved Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่เกิดจากการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสถานภาพโดยถือความสามารถตามเกณฑ์ที่สังคมกำหนด 

3) ผลอันเกิดจากสถานภาพทางสังคม มีดังนี้

(1) ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่

(2) ทำให้เกิดเกียรติยศจากสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกดำรงอยู่

(3) ทำให้เกิดการจัดช่วงชั้นทางสังคม

ที่มาของสถานภาพ

1. สถานภาพที่ติดตัวมา เช่น อายุ, เพศ, ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ 

2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง เช่น สถานภาพระบบเครือญาติ, สถานภาพทางการศึกษา, อาชีพ

หน้าที่ของสถานภาพ

1 . กำหนดบทบาท

2 . ใช้ในการติดต่อร่วมกันใน สังคมขนาดใหญ่ ๆ

3 . ใช้เปรียบเทียบฐานะสูง – ต่ำทางสังคม

บทบาท

บทบาท (Role) : หน้าที่/พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามสถานภาพที่ได้รับ การปฏิบัติบทบาทตามสถานภาพที่เหมาะสมและถูกต้องทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมดำเนินไปได้ด้วยดี

บทบาททางสังคม 1. บทบาททางสังคมเป็นการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดในสถานภาพทางสังคม บทบาทและสถานภาพทางสังคมจะทำให้การกระทำระหว่างกันทางสังคมของสมาชิกดำเนินไปอย่างสอดคล้องกลมกลืน และช่วยให้การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมมีความราบรื่น 2. ความสำคัญของบทบาททางสังคม บทบาททางสังคมก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในสังคมตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนการรับและการให้ประโยชน์ระหว่างกัน

หากปราศจากการกำหนดบทบาททางสังคม รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมคงจะขาดระเบียบแลปราศจากทิศทางแน่นอน

บทบาทขัดกัน

สมาชิกในสังคมแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และการในกระทำอีกบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่งก็ได้ การขัดกันในบทบาทย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ สมาชิกในสังคมต้องตัดสินใจ ตามวาระและโอกาสที่เกิดขึ้น

ข้อสังเกต

1. สถานภาพ – บทบาทเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับสังคม

2. ทุกคนย่อมมีสถานภาพของตนเองและมีหลายสถานภาพ

3. สถานภาพบางอย่างเป็นสถานภาพที่ต่อเนื่อง

4. ยิ่งสังคมซับซ้อนเพียงใด บทบาทยิ่งแตกต่างไปมากขึ้นเท่านั้น

5. โดยปกติสถานภาพจะบ่งถึงบทบาทเสมอ แต่ในบางสถานการณ์มีสถานภาพอาจไม่มีบทบาทก็ได้

6. การมีหลายสถานภาพก่อให้เกิดหลายบทบาท บางครั้งก็อาจทำให้เกิดบทบาทที่ขัดแย้ง

ค่านิยม

ค่านิยม (Social Value) : สิ่งที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับและเห็นว่ามีคุณค่า เพราะว่าเป็นความสัมพันธ์ที่สังคมยอมรับ หรือเราอาจจะเรียกว่า “กระแสทางสังคม” ก็ได้ 

ค่านิยมมีทั้งของบุคคล และ ค่านิยมของสังคม

ค่านิยมของสังคม

ค่านิยมของสังคม บางทีเรียกว่า (ระบบคุณค่าของสังคม) หรือ (สัญญาประชาคม)

ค่านิยมของสังคม เป็นหัวใจหรือเป้าหมายที่สังคมปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้น เช่น เสรีภาพ ความรักชาติ ความดี ความยุติธรรม

การขัดเกลาทางสังคม

การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) หมายถึง การถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สมาชิกวิธีการขัดเกลาทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม คือ การปลูกฝังระเบียบวินัย ความมุ่งหวังให้รู้จักบทบาทและทัศนคติ ความชำนาญหรือทักษะ ทั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วยดี การขัดเกลาทางสังคมช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้ และปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมอาชีพหรือสื่อมวลชนต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้การกระทำต่อผู้อื่นเป็นไปอย่างเหมาะสมรู้จักปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีระเบียบเพิ่มขึ้น

1. การขัดเกลาโดยตรง : โดยการบอกว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

2. การขัดเกลาโดยอ้อม : ไม่ได้บอกโดยตรง แต่เราเรียนรู้จากการ กระทำของคนอื่น หรือ ซึมซับจากสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, วิทยุ ฯลฯ

การควบคมทางสังคม

การควบคุมทางสังคม (Social Control)

เป็นกระบวนการทางสังคมในการจัดระเบียบพฤติกรรมมนุษย์/สมาชิกในสังคมให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งการไร้ระเบียบทางสังคม (SocialDisorganization) นอกจากนี้ยังต้องรู้อีกหลายๆ เรื่อง เช่น ปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Phenomena) ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ว่าจะมีแนวโน้มเป็นไปในทางใดและอะไรเป็นปัจจัยผลักดันเป็นต้น และที่สำคัญที่สุดของสังคมได้แก่ วัฒนธรรม=ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในสังคม อันเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับและสืบทอดกันต่อๆ มา

1. การควบคุมทางสังคม หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ทางสังคมที่มุ่งหมายให้สมาชิกของสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม

2. ลักษณะของการควบคุมทางสังคม

1) การควบคุมทางสังคมโดยการจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ การ ยกย่อง ชมเชย ให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ตามสถานภาพและบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ 

2) การควบคุมทางสังคมโดยการลงโทษสมาชิกละเมิดฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่

(1) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนวิถีชาวบ้าน จะได้รับปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสมาชิกผู้อื่น ได้แก่ การถูกติเตียน นินทา

(2) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจารีต จะได้รับการต่อต้านสมาชิกผู้อื่นรุนแรงกว่าผู้ที่ละเมิดวิถีชาวบ้าน เช่น การถูกประชาทัณฑ์ หรือขับไล่ออกไปจากท้องถิ่น

(3) ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะได้รับการลงโทษตามกฎหมายกำหนด โดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมบทลงโทษอย่างชัดเจน

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1.โครงสร้างทางสังคม 

2. การจัดระเบียบทางสังคม 

การจัดระเบียบสังคมมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดระเบียบสังคม.
บรรทัดฐาน (Norns).
สถานภาพ (Status).
บทบาท (Role).
ค่านิยม (Valus).
การควบคุมทางสังคม (Social Control).

การจัดระเบียบทางสังคมมีความหมายว่าอย่างไร

การจัดระเบียบสังคม (Social Organization) มีความหมายใกล้เคียงกับ กฎระเบียบ สังคม (Social Order) หมายถึง การทำให้เกิดความมีระเบียบขึ้นในสังคม โดยการจัดกลุ่มของ สังคมเป็นส่วนย่อยหรือองค์กรเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อย่างมีระบบ โดยมีแบบอย่าง กฎหมาย ระเบียบ หรือประเพณีเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อสังคมจะได้อยู่ ...

การจัดระเบียบคืออะไร

การจัดระเบียบสังคม หมายถึง กระบวนการที่ควบคุมสมาชิกในสังคมหนึ่งๆ เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติใน แนวเดียวกัน การจัดระเบียบสังคมนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม ทาให้แต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน ไป ทั้งนี้เป็นผลมาจากความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ประวัติศาสตร์สภาพภูมิศาสตร์และบรรทัดฐานของสังคม นั้นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างองค์ประกอบ ...

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม

เหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม เพราะว่าต้องการให้สังคมมีความสงบสุข จารีต ถือว่าเป็นกฎของสังคมที่มีอานาจบังคับใช้อย่างเข้มแข็ง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะได้รับ การลงโทษจากสังคมอย่างรุนแรง เช่น ถูกรังเกียรติเหยียดหยาม ถูกต่อตานจากผู้คนในชุมชนไม่คบค้า สมาคมด้วย เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้