มาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ

กค 0702/6659

ข้อกฎหมาย

มาตรา 86/4 มาตรา 86/4 (3) มาตรา 86/6 และมาตรา 90(12) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

          บริษัท ส. จำกัด (บริษัทฯ) หารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการผลิต จำหน่ายวุ้นเส้น แป้งถั่วเขียว ทั้งค้าส่งและค้าปลีก สินค้าที่ผลิตจะมีรูปลักษณ์และขนาดบรรจุหลายแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้บริโภคในแต่ละโอกาส โดยสินค้าที่ขายจะมีการบรรจุเป็นห่อย่อยๆ รวมบรรจุเป็นกล่องเพื่อสะดวกในการขนส่ง น้ำหนักต่อกล่องขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายไม่เท่ากัน ตัวอย่าง-วุ้นเส้นขนาด 500 กรัม กล่องละ 10 กิโลกรัม ประกอบด้วยห่อย่อยๆ 20 ห่อต่อกล่อง - วุ้นเส้นขนาด 160 กรัม กล่องละ 9.6 กิโลกรัม ประกอบด้วยห่อย่อยๆ 60 ห่อต่อกล่อง - วุ้นเส้นขนาด 80 กรัม กล่องละ 9.6 กิโลกรัม ประกอบด้วยห่อย่อยๆ 120 ห่อต่อกล่อง - วุ้นเส้นขนาด 40 กรัม กล่องละ 9.6 กิโลกรัม ประกอบด้วยห่อย่อยๆ 240 ห่อต่อกล่อง การขายส่งจะขายไปตามร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก (ร้านแผงลอย , ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าทั่วไป) การขายส่งดังกล่าวจะขายเป็นกล่องให้ลูกค้าเพื่อนำไปขายส่งต่อ หรือขายปลีกให้ผู้บริโภคต่อไป ส่วนการขายปลีกจะขายให้ผู้บริโภคโดยตรง เช่น การออกงานแสดงสินค้าและงานเทศกาลต่างๆ การขายหน่วยรถเงินสดที่ทำกิจกรรมแนะนำสินค้าในพื้นที่ที่มียอดขายน้อยและการขายสินค้าให้พนักงาน ณ สถานที่ทำงาน การขายปลีกดังกล่าวจะแบ่งขายเป็นห่อย่อยๆ ในจำนวน 1-100 ห่อ ให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อสำหรับการขายปลีกได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

          

1.กรณีบริษัทฯ ขายวุ้นเส้น แป้งถั่วเขียวดังกล่าว หากเป็นการขายที่บริษัทฯ ทราบโดยชัดแจ้งว่า เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภค หรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไปจึงเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อซึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร

          2.กรณีบริษัทฯ ขายส่งวุ้นเส้น แป้งถั่วเขียวในลักษณะขายส่ง บริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเท่านั้น ซึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปโดยไม่ระบุชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า ตามมาตรา 86/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ทั้งนี้ ตามมาตรา 90(12) แห่งประมวลรัษฎากร

วันที่เอกสาร

20 มีนาคม 2543

เลขที่หนังสือ

กค 0811/2154

ข้อกฎหมาย

มาตรา 86/4, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 ฯ

ข้อหารือ

กรณีบริษัท อ. จำกัด ได้ออกใบกำกับภาษีให้แก่บริษัท จ. (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่
เดือนพฤษภาคม 2541 เป็นต้นไป ต่อมาบริษัทฯได้รับแจ้งว่า ชื่อที่ถูกต้องตามที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 คือ “บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด” จึงหารือว่า คำว่า “
ประเทศไทย” และ “ไทยแลนด์” เป็นสาระสำคัญในใบกำกับภาษีหรือไม่และอนุโลมให้นำใบกำกับภาษี
ดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่ นอกจากนี้ หากบริษัทฯระบุชื่อลูกค้าโดยมีการเว้นวรรค แสดง
เครื่องหมาย จุด หรือลูกน้ำ ไม่ถูกต้องตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ถือเป็นสาระสำคัญหรือไม่
และอนุโลมให้นำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัท อ. จำกัด ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า ซึ่งมีชื่อตามที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 ว่า “บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด” แต่บริษัทฯ ได้ระบุชื่อลูกค้าว่า “
บริษัท จ. (ประเทศไทย) จำกัด”ซึ่งเป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็น
ผู้ประกอบการรายอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4(3) ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 และ
มาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.
2542 ดังนั้น หากใบกำกับภาษีมีรายการอื่นถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด มีสิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้แต่การออกใบกำกับภาษีในคราวต่อไป บริษัทฯต้องระบุชื่อลูกค้าตามที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. กรณีบริษัทฯ ระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์
ผิดพลาด แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ถือว่า
บริษัทฯระบุชื่อครบถ้วนแล้ว ตามมาตรา 86/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4(3) ของ
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 เรื่องหลักเกณฑ์ การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และ
มาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.
2542

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2563

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้