ขอบเขต ใน การ ทำ โครง งาน

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

 

3. การจัดทำเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์                                                     

            การเขียนเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์นั้นก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าหัวข้อเรื่องที่เรา

จะศึกษานั้นเราจะกำหนดวิธีการทดลองหรือดำเนินการไว้อย่างไร  มีขอบเขตการศึกษาทดลองไว้อย่างไร  เพื่อเป็น

แนวทางให้เราปฏิบัติไปตามที่เรากำหนดไว้  จะทำให้งานที่จัดทำสำเร็จไปด้วยดี

            การจัดทำเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น  เป็นการจัดขึ้นตามแนวคิดของตนเอง หรือกลุ่มคณะที่ทำงาน

ร่วมกัน  เพื่อนำเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้พิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือการอนุมัติให้ดำเนินการได้หรืออนุมัติ

เงินทุนในการสนับสนุนจากงบประมาณของโรงเรียน  ในบางครั้งจะมีหน่วยงานบางหน่วยที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อ

การจัดทำ 

            ดังนั้น  การจัดทำเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์ จำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้  เพื่อการจัดทำสำหรับในระดับ

นักวิทยาศาสตร์ หรือในมหาวิทยาลัย  ก็มีการให้ทุนอุดหนุนในการทำวิจัย

            จึงสรุปได้ว่า เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์ก็คือ การจัดทำโครงงาน นั่นเอง  กล่าวคือ  การที่เราจะจัดทำ

โครงการใดๆ ขึ้นในโรงเรียนเพื่อของบประมาณสนับสนุน เราจะต้องเขียนโครงการขึ้นมา  มีหลักการและเหตุผล 

วัตถุประสงค์ เป้าหมาย  และขอบเขตของโครงการ  แผนการดำเนินการ  ระยะเวลาดำเนินการ สถานที่ดำเนินการ 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นต้น  การทำเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน  มีรูปแบบในการจัดทำคล้าย ๆ กัน

            ในโรงเรียน เค้าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา  เพื่อพิจารณารูปแบบ

ขั้นตอนที่จะศึกษา 

รูปแบบการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์                                                                             

1. ชื่อโครงงาน                                                                                                                     

            ชื่อเรื่องควรจะเขียนให้กะทัดรัด  มีความชัดเจนในตัวเอง  อ่านแล้วเข้าใจง่ายว่าจะศึกษาอะไรบ้าง เช่น

-    การกำจัดน้ำเสียด้วยสาหร่าย

-    การทำกระดาษจากกาบกล้วย

-     การเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้เพาะเลี้ยงไรแดง

            จากตัวอย่างจะเห็นว่าหัวข้อเรื่องเมื่ออ่านแล้วมีความเข้าใจในตัว  มีความเข้าใจว่าจะศึกษาอะไร  อย่างไร 

 แต่ถ้าจะยกตัวอย่างหัวข้อต่อไปนี้  เป็นหัวข้อที่ไม่ดีนัก  เพราะกำหนดขึ้นมาแล้ว  ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจว่าจะศึกษา

เรื่องใด  อย่างไร  เป็นเพียงดึงดูดความสนใจเท่านั้น  ได้แก่

-    ไทรใครไม่คิด..?

-    ติดไม่ติด

-    ไม้เท้ากายสิทธิ์

2.  สาขาวิชา / ประเภทโครงงาน                                                                                               

            ระบุว่า เป็นสาขาเคมี  ชีววิทยา  ฟิสิกส์  ดาราศาสตร์  เกษตร  คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์  เป็นต้น  หรืออาจจะ

บอกประเภทก็ได้ เช่น การทดลอง  สิงประดิษฐ์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  ทฤษฎี  เป็นต้น

3.  คณะนักเรียนที่จัดทำ                                                                                                           

1  ………………............………….. ชั้น…...........………. เลขที่……......……  (หัวหน้ากลุ่ม)

2  ………………............………….. ชั้น…...........………. เลขที่……......……

3  ………………............………….. ชั้น…...........………. เลขที่……......……

4  ………………............………….. ชั้น…...........………. เลขที่……......……

4.  อาจารย์ที่ปรึกษา                                                                                                               

            1 อาจารย์……………………………………........................................…………………..

5. รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์                                                                                

5.1 ที่มาและความสำคัญของหัวเรื่อง                                                                                         

            อธิบายว่าเหตุใดจึงทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในหัวข้อเรื่องนี้  และโครงงานเรื่องนี้มีที่มาและความสำคัญ

อย่างไร  นักเรียนอาจจะอ้างหลักฐานต่าง ๆ ประกอบ  ซึ่งอาจจะเป็นหลักฐาน  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประกอบการ

สนับสนุนด้วยก็ได้  หากเป็นเรื่องดัดแปลงมาจากเรื่องอื่นๆ ต้องแสดงความคิดเห็นด้วยว่า ผู้ที่เคยศึกษามาแล้วนั้น

เขาทำอย่างไร  และในส่วนของเรานั้นทำอย่างไร

5.2   จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษา                                                                           

            เป็นการกำหนดจำเพาะเจาะจงว่าจะศึกษาอะไร  คล้ายๆ กับขอบเขตที่เราจะศึกษา  โดยทั่วไปแล้วไม่ควรจะ

เขียนจุดมุ่งหมายไว้หลายๆ ข้อเกินความจำเป็น  ควรจะมี 1 2 ข้อ  ก็คงเพียงพอ  เพราะว่าเรากำหนดไว้หลายๆ ข้อ

หากเราดำเนินการทดลองจะต้องเป็นไปตามหัวข้อจุดประสงค์ที่เรากำหนดไว้ทุกข้อ  หากทำไม่ครบทุกข้อก็จะทำให้

โครงงานของเราไม่ประสบผลสำเร็จนั่นเอง

5.3  ขอบเขตของการศึกษา                                                                                                      

               เป็นการระบุว่าหัวข้อเรื่องที่เราจะศึกษานี้จะศึกษาในเรื่องใดบ้าง  จะไม่ศึกษาในเรื่องใดบ้าง  ดังนั้นจึง

ต้องระบุขอบเขตไว้เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันว่าจะทำเพียงแค่ที่กำหนดไว้เท่านั้น  ขอบเขตนี้  โดยทั่วไปจะสอดคล้องกับ

จุดมุ่งหมาย  เพียงแต่เป็นการนำจุดมุ่งหมายมาขยายความนั่นเอง

5.4  สมมติฐานของการศึกษา ( ถ้ามี )                                                                                         

            เป็นการคาดคะเนการทดลองของเราที่คาดว่าน่าจะมีผลเป็นอย่างนั้น  เป็นอย่างนี้ไว้ล่วงหน้า  สมมติฐานที่

กำหนดขึ้นมาควรจะมีเหตุมีผล  คือ มีหลักการ  ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มารองรับ และเป็นข้อความที่กำหนดแนวทาง

ให้เราได้ศึกษาทดลองเพื่อการพิสูจน์

5.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                 

            ให้กำหนดเป็นข้อ ๆ  ว่าเรื่องที่เราจะศึกษานี้สามารถประยุกต์  หรือนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง  เช่น

เป็นประโยชน์ด้านการเกษตรต่อเกษตรกร  ในด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการนำไปใช้ในบทเรียนที่

กำลังเรียน  หรือในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

5.6  หลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                

            ให้ระบุว่าหัวข้อเรื่องนี้  นักเรียนได้แนวคิดมาจากหนังสือ  เอกสาร  วารสาร  ในเล่มใด  มีข้อความว่าอย่างไร 

พร้อมกับเขียนบรรณานุกรมของเอกสาร  ไว้เป็นหลักฐานด้วย

5.7  วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า                                                                                                 

             เป็นการกำหนดขั้นตอนที่เราจะศึกษาทดลอง  โดยกำหนดวิธีการทดลอง  ตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของ

การศึกษา  ที่กำหนดไว้ทุกประการ  ให้ระบุถึงวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยว่าจะเก็บอย่างไร  เช่น  เขียนบรรยายข้อมูล

ที่ได้จาการสังเกต  จัดทำรูปแบบ ( ตัวอย่าง )  การเก็บข้อมูลเป็นรูปตาราง  การกำหนดตัวเลข  มีหน่วยวัด  แปลข้อมูล

เป็นกราฟต่าง ๆ ด้วย หรืออาจเก็บข้อมูลโดยการถ่ายภาพ  วาดภาพ  เป็นต้น

5.8 ระยะเวลาและแผนการดำเนินการทำ                                                                                      

            กากำหนดระยะเวลาในการศึกษา  ทดลองเป็นเรื่องสำคัญมาก  กล่าวคือ  เป็นการระบุว่าจะดำเนินการได้ใน

ช่วงเวลาหรือเดือนอะไร  โดยเฉพาะการศึกษาด้านการเกษตร  เกี่ยวกับแมลงซึ่งต้องกำหนดไปตามฤดูกาลที่พบ 

ที่ระบาด  ที่จะศึกษาได้  ถ้าไม่จำเป็นเกี่ยวกับการกำหนดช่วงเวลาก็ควรจะมีเป้าหมายว่า  จะมีการกำหนดเดือนหรือ

วันที่  ที่เราจะศึกษาเป็นช่วงๆ เป็นตอนๆ การกำหนดเช่นนี้  เพื่อให้เราได้มีโอกาสศึกษาที่เป็นไปตามแผนกำหนดการ 

 ทำให้งานที่ทำสำเร็จไปด้วยดี นั่นเอง

5.9  สถานที่โครงงานวิทยาศาสตร์                                                                                            

            ระบุว่า โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ทำในห้องปฏิบัติการทดลองในโรงเรียน  หรือทำนอกสถานศึกษา  เช่น โรงงาน

อุตสาหกรรม  โรงพยาบาล  ศูนย์วิจัยที่อยู่ใกล้โรงเรียน  หรือสถานที่เก็บข้อมูล ( ภาคสนาม ) ในกรณีที่เป็นโครงงาน

ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล

5.10  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาทดลอง                                                                                  

            การกำหนดวัสดุอุปกรณ์  เป็นการกำหนดคร่าว ๆ ก่อน  ซึ่งอาจจะแยกเป็นประเภท เช่น  ประเภทวัสดุถาวร 

สารเคมี อุปกรณ์การทดลองที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือ  อุปกรณ์ที่มีในห้องปฏิบัติการ  อุปกรณ์ที่ต้องจัดซื้อ 

จัดหา  อุปกรณ์ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  เช่น  กล้องถ่ายรูป  ฟิล์ม  เป็นต้น    

5.11 งบประมาณในการทำ                                                                                                      

            ให้ระบุงบประมาณที่จะใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามข้อ 5.10 โดยระบุเฉพาะที่จะต้อง จัดซื้อ  พร้อมกับรวม

ยอดเงินงบประมาณด้วยว่าควรจะใช้จ่ายสำหรับการทำโครงงานนี้เป็นเงินเท่าใด

5.12  คำชี้แจงเพิ่มเติม ( ถ้ามี )                                                                                                 

5.13  ลงชื่อนักเรียนเจ้าของโครงงาน                                                                                         

                         ตัวอย่างรูปแบบเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์                          

1. ชื่อโครงงาน ................................................................................................

2. สาขาวิชา / ประเภทโครงงาน ......................................................................

3.  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ...............................................................................

4.  คณะนักเรียนที่จัดทำ

1  ...................................................ชั้น................เลขที่............. (หัวหน้ากลุ่ม)

2  ...................................................ชั้น................เลขที่.............

3  ...................................................ชั้น................เลขที่............. 

4  ...................................................ชั้น................เลขที่............. 

5.  อาจารย์ที่ปรึกษา

1.........................................................................................................

6. บทคัดย่อ ( เรื่องที่จะดำเนินการทำ  )

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

7.  จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.........................................................................................................

2.........................................................................................................

8. สมมุติฐาน

1.........................................................................................................

2.........................................................................................................

9.   แนวคิด  ที่มา  และความสำคัญ

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

10. หลักการและทฤษฎี  หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

      ชื่อหนังสือเอกสารอ้างอิง

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงงานนี้

     .....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

12.  อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

13.  งบประมาณที่ใช้ในการทดลอง

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

14.  การกำหนดตัวแปรที่จะศึกษา

ตัวแปรต้น  ( ตัวแปรอิสระ ) ได้แก่ .........................................................

ตัวแปรตาม  ได้แก่ ................................................................................

ตัวแปรควบคุม  ได้แก่ ...........................................................................

15.  วิธีการดำเนินการทดลอง  และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

16.  การวางแผนระยะเวลาทดลอง

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................

ลงชื่อ...............................................................

( ...................................................................... )

หัวหน้ากลุ่ม

ขอบเขตของการทําโครงงานมีอะไรบ้าง

7. ขอบเขตของการทำโครงงาน 8. วิธีดำเนินการ 9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 10. แผนการกำหนดเวลาปฏิบัติงาน.
1. ชื่อโครงงาน ... .
2. ผู้จัดทำโครงงาน ... .
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ... .
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ... .
5. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ... .
6. สมมติฐานของการศึกษา.

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าคืออะไร

ขอบเขตของการศึกษา เป็นการจ ากัดหรือวางกรอบของปัญหา ให้เด่นชัด มากยิ่งขึ้น การจ ากัดขอบเขตของการวิจัยส่วนใหญ่จะจ ากัดในเรื่องของ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เพื่อให้ผู้วิจัยและ ผู้อ่านให้ความสนใจที่ปัญหาได้ตรงประเด็นยิ่งขึ้น ช่วยให้ผลการวิจัย มีความ เป็นปรนัยดียิ่งขึ้น และช่วยให้ข้อสรุปมีความ ...

ระยะการดำเนินงานของโครงงานมีกี่ระยะ อะไรบ้าง

การพัฒนาโครงงานโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะเริ่มต้นของโครงงาน 2. ระยะพัฒนาโครงงาน 3. ระยะนำเสนอโครงงาน 1. ระยะเริ่มต้นโครงงาน ประกอบด้วย การสำรวจสถานการณ์ของปัญหา

การทำโครงงานมีอะไรบ้าง

เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์.
ขั้นสำรวจหรือตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำ ... .
ขั้นศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจทำ ... .
ขั้นวางแผนดำเนินการ ... .
ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ ... .
ขั้นลงมือปฏิบัติ ... .
ขั้นเขียนรายงานโครงงาน ... .
ขั้นเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงาน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้