วิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม ประโยชน์

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมถูกกำหนดโดยสมาคมภาษาตุรกีเนื่องจากวิทยาศาสตร์ประยุกต์ uygulam ที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ของธรรมชาติมนุษย์และปัญหาสิ่งแวดล้อมและรวบรวมไว้ในหลากหลายสาขา”

พวกเขาเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบจากการอยู่อาศัยหรือชุมชนที่อยู่อาศัย มันเป็นสถานที่ที่สิ่งมีชีวิตตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของพวกเขาเช่นการแพร่กระจายที่พักพิงและโภชนาการ มันรวมองค์ประกอบ 2 ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเทียมที่สร้างขึ้นโดยกำลังคนโดยได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทะเล, ทะเลสาบ, ภูเขา, ทุ่งหญ้า, ที่ลุ่ม, ป่าไม้, บึง, สายน้ำ ฯลฯ ธรรมชาติและบ้านย่านเมืองสวนสาธารณะ ฯลฯ สภาพแวดล้อมที่ประดิษฐ์สร้างพื้นที่อยู่อาศัยและอนุญาตให้สิ่งมีชีวิตในการโต้ตอบ / สื่อสาร สภาพแวดล้อมทางเคมี, ชีวภาพ, กายภาพ, เศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม

ตามกิจกรรมที่ดำเนินการสภาพแวดล้อมแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือการใช้ชีวิตและไม่มีชีวิต สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเป็นเอนทิตีที่แบ่งปันและโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพเดียวกัน ในทางกลับกันสภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตชีวาเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่มีกิจกรรมที่สำคัญเกิดขึ้นในแง่ของคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพเช่นน้ำและดิน

มันถูกจัดประเภทตามธรรมชาติของมันเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมและเป็นท้องถิ่นระดับภูมิภาคระดับชาติและระดับนานาชาติ

ในประเทศของเราให้ความสำคัญกับการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วันนี้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีการป้องกันและควบคุมสิ่งแวดล้อม (อนุปริญญา), สุขภาพสิ่งแวดล้อม (อนุปริญญา) และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ปริญญาตรี)

การป้องกันและควบคุมสิ่งแวดล้อม

การเพิ่มขึ้นของประชากรอุตสาหกรรมการบริโภคที่ไม่ได้สติและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่นมลพิษจำเป็นต้องมีการควบคุม การฝึกอบรมเกี่ยวกับการลดและป้องกันมลภาวะการแก้ปัญหาการปกป้องทรัพยากรใต้ดินและทรัพยากรบนพื้นดินและการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจัดทำโดยฝ่ายป้องกันและควบคุมสิ่งแวดล้อม

อนามัยสิ่งแวดล้อม

ดำเนินการวิจัยและการศึกษาที่จำเป็นเพื่อป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอาหารอาคารน้ำอากาศและอื่น ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่ดำเนินการตรวจสอบ

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรทางธรรมชาติและใต้ดินทั้งหมดที่มีการใช้ลดและกำจัดปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งที่มาใช้อย่างเหมาะสมและเหมาะสมที่สุดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่จะบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน

การเพิ่มขึ้นของการสังเกตในมลพิษของแหล่งน้ำที่จำเป็นสำหรับความต่อเนื่องของอากาศดินและกิจกรรมที่สำคัญของเราความเป็นไปได้ของการสูญเสียทรัพยากรทรัพยากรที่ใช้งานไม่ได้การเจาะชั้นโอโซน, ภาวะโลกร้อนที่จะเริ่มต้น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ เช่นการเพิ่มขึ้นของเซลล์โรคการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายด้วยเหตุผลต่าง ๆ โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- การจัดหาน้ำดื่มการป้องกันมลพิษการส่งผ่านและการบำบัด

- ออกแบบและสร้างเครือข่ายน้ำประปา

- การคัดเลือกการออกแบบการก่อสร้างและการดำเนินงานของสิ่งอำนวยความสะดวกขยะในประเทศและอุตสาหกรรม

- การปล่อยและผลกระทบของน้ำเสียต่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมการจัดทำรายงาน EIA และการติดตามกระบวนการ

- การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง

- การรวบรวมการขนส่งการเก็บการกู้คืนหรือการกำจัดขยะมูลฝอย

- ควบคุมมลพิษทางอากาศและดิน

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมไม่ใช่นิเวศวิทยา มีความแตกต่างที่ร้ายแรงระหว่างระบบนิเวศ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตรวจสอบผลกระทบเชิงลบของกิจกรรมของมนุษย์ในขณะที่นิเวศวิทยาตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับแต่ละอื่น ๆ และสภาพแวดล้อมของพวกเขา

สิ่งแวดล้อมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมหรือนักนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อมคือการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ควรจะเป็น มันไม่ใช่วินัยทางวิชาการที่ต้องศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ เช่นฟิสิกส์เคมีธรณีวิทยาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทุกคนที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อป้องกันการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมล้วน แต่เป็นนักสิ่งแวดล้อม

วันนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นปัญหาของระบบนิเวศและถูก จำกัด ให้กับประชาชน นิเวศวิทยามุ่งเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์ของปัจจัย abiotic และการศึกษาสารอาหารจากบรรยากาศ; กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมุ่งเน้นไปที่การมีปฏิสัมพันธ์กับระบบนิเวศที่แตกต่างกันและปฏิกิริยาเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างไร

         จึงพอเป็นที่ทราบได้แล้วว่า การศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการศึกษาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ อาจเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีหรือเลว สามารถเห็นได้หรือเห็นไม่ได้ สวยงามหรือน่าเกลียด เป็นวัสดุเพื่อใช้ผลิตปัจจัยสี่ หรือปัจจัยสี่โดยตรง ทัศนียภาพ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งนั้น อาจเกี่ยวโดยตรงหรือเกี่ยวข้องโดยทางอ้อมก็ได้ ดังนั้นขอบเขตและสาระในการศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงเป็นการศึกษากว้างขวางมาก  แต่มีหลักการในการกำหนดข้อจำกัดอยู่ที่ต้องศึกษาสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


        สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. : 80) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความจำเป็นและเพิ่มความสำคัญเป็นลำดับมากขึ้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แม้ว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและอายุยืนนานขึ้น หากการการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างไกลแล้ว ย่อมเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสมดุลทางธรรมชาติอย่างมหันต์ เมื่อมองไปข้างหน้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรช่วยเตรียมให้มนุษย์มีความพร้อมที่จะเผชิญกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ข้อที่พึงตระหนัก คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือการทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอย่างสันติร่วมกับผู้อื่น กับสังคมวัฒนธรรม และกับธรรมชาติ
ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางด้านความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลในสังคม รู้จักวิธีการคิดอย่างมีเหตุผล มีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีระบบ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาซึ่งวิธีการคิดนั้นเป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้อยู่ในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
        สุเทพ อุสาหะ (2526 : 10-11) กล่าวว่า คงเป็นที่ยอมรับกันว่า ขณะนี้เราอยู่ในยุคที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญสูงสุด ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเรานั้นเป็นผลมาจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่มีต่อเศรษฐกิจ และการเสาะแสวงหาความรู้นั้นยังไม่เป็นที่เด่นชัดสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ เฮอร์ด (Hurd. 1970 : 13-15) ได้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลผิดพลาดเกี่ยวกับความหมาย และอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีต่อ วัตถุ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ ดังนั้นการให้ความรู้หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นการเตรียมคนเพื่อแก้ปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จะยิ่งเกิดขึ้นมากเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ก็จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่แน่นอนว่าความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาพื้นฐานทั่วไป (general education) จะมีมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าทุกคนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งระดับของการศึกษาของแต่ละคนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความสนใจของแต่ละบุคคล ดังที่ เอกิน (Agin. 1974 : 404) ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่ต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แสดงการแยกสาขาของวิทยาศาสตร์

1. เตรียมนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ
2. ให้พื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับผู้ที่จะประกอบอาชีพ หรือ
วิชาชีพที่อาศัยเทคโนโลยี
3. ให้การศึกษาพื้นฐานเพื่อเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ

ภาพที่ 3 ระดับของกลุ่มบุคคลที่เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

        จากภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่าพลเมืองกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่สุดมีความจำเป็นต้องศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจะเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของพวกเขา ซึ่งประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปได้พอสังเขป ดังนี้คือ
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1. การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันเมื่อมีปัญหา หรือข้อสงสัย
อย่างใดเกิดขึ้นเราต้องใช้เหตุผลเพื่อหาคำตอบหรือแก้ข้อสงสัยต่าง ๆ เสมอมา ในชีวิตประจำวันเราคงจะประสบกับปัญหาในด้านต่าง ๆ ทั้งกับตัวเราเองหรือบุคคลใกล้ชิด การพยายามหาข้อมูล ต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุของปัญหานั้นอย่างมีเหตุผล สามารถทำให้เราแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
        2. วิเคราะห์ปัญหาในสถานการณ์ที่เป็นจริงในชีวิตประจำวันเพื่อการแก้ปัญหา
วิทยาศาสตร์นำบุคคลไปสู่การมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นกระบวนการของการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและการแก้ปัญหา
        3. สร้างคนให้มีกระบวนการคิด มีเหตุมีผล ไม่หลงงมงายในสิ่งที่ไร้สาระ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นที่แต่ละบุคคลจะปรับเอาไปใช้แก้ปัญหาของตน แม้ว่ามันจะชื่อว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์แต่จริง ๆ แล้ว ศาสตร์ไหน ๆ ก็ใช้ได้ทั้งนั้น เรื่องการสังเกต การจดบันทึกและแปรความ การพยากรณ์ สร้างคนให้มีเหตุผล ไม่ให้เชื่อถือโชคลางหรือหลงงมงาย เหล่านี้นำไปใช้ได้ทั้งหมด
         ลิขิต ธีรเวคิน (2535 : 10) กล่าวว่า ประเทศใดก็ตามจะพัฒนาไปเป็นประเทศมหาอำนาจ จะต้องประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ ๆ ห้าตัวแปร และในห้าตัวแปรนั้นตัวแปรสำคัญหนึ่งคือการมีจิตวิทยาอันทันสมัยหมายความว่ามีการคิดแบบมีเหตุมีผล ไม่หลงงมงาย ไม่เชื่ออะไรที่เกิดจากศรัทธาแต่อย่างเดียวพูดง่าย ๆ คือ “มีจิตวิทยาศาสตร์”
        ชัยวัฒน์ คุประตกุล (2528 : 87-88) ได้กล่าวถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ที่สร้างคนให้มีมานะอดทน เป็นคนไม่หลงงมงาย เป็นคนมีเหตุผล เป็นคนที่ไม่ถูกชักจูงไปในทางเสื่อมทรามได้ง่าย ๆ นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยให้สมาชิกในสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานเป็นระบบเป็นทีมหรือเป็นหมู่คณะ ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมส่วนรวมจากพฤติกรรม หรือการกระทำของสมาชิกแม้เพียงคนเดียวหรือกลุ่มหนึ่ง
        จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อสร้างคนให้มีเหตุผล มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น เมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ความเชื่อ งมงาย ความเชื่อในโชคลาง ชะตาราศี ดวง และเรื่องพรหมลิขิตจะจางหายไป ความลุ่มหลงในการพนัน หวังรวยทางลัด และการวิเคราะห์สภาพการณ์หรือปัญหาในชีวิตประจำวันก็จะอยู่ในแนวของเหตุและผล ตามหลักตรรกวิทยาศาสตร์ เป็นคุณลักษณะของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย เป็นสังคมที่เราทุกคนต้องการ เป็นสังคมที่นำมาซึ่งความมีสิทธิ เสรีภาพ อย่างมีเหตุมีผล
        4. ปรับปรุงคุณภาพของชีวิต วิทยาศาสตร์จะเกี่ยวพันกับมนุษย์ทุกคนตลอดชีพ
ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนกระทั่งเข้านอนจะเกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์ คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าวิทยาศาสตร์ได้นำความสุข ความสะดวกสบายมาสู่การดำรงชีวิตในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
                4.1 อาหาร ได้รู้จักวิธีรักษาอาหารไม่ให้บูดเสีย รู้จักคุณค่าของอาหารว่า
มนุษย์เราต้องการ แป้ง ไขมัน โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ อย่างเพียงพอได้อย่างไรและคิดประดิษฐ์อาหารขึ้นได้ เสาะแสวงหาอาหารให้พอเลี้ยงพลโลกจากแหล่งที่มาจากทะเล อากาศ บนพื้นโลก จากทะเล ได้ผลิตเกลือรับประทาน (NaCI) ผลิตไอโอดีนจากสาหร่ายทะเล ซึ่งเอามาทำวุ้นและแยกไอโอดีนออก ได้โปรตีนจากสัตว์และพืชเช่น Algae ในทะเลนำมาเป็นอาหาร
                4.2 เครื่องนุ่งหุ่ม ได้รู้จักสีย้อมผ้า สมัยก่อนมักใช้สีจากพืชมาย้อมผ้า แต่พอถึง ค.ศ. 1856 William Perkin ได้เริ่มใช้สีที่เตรียมจากถ่านหินหรือสีสังเคราะห์ นอกจากนั้นนักเคมียังรู้จักวิธีทำไหมเทียม ทำปลาสติก ทำไนลอน เพื่อทำเสื้อผ้าสวย ๆ ใช้ เช่น และสารสังเคราะห์ใช้แทนยาง เป็นต้น
                4.3 สุขภาพอนามัย แต่ก่อนนี้อัตราคนตายมีมาก แต่ต่อมาจนปัจจุบันอัตรานั้นได้ลดน้อยลงไป ทั้งนี้เพราะกินอาหารดีขึ้น มีที่อยู่อาศัยและน้ำบริโภคดีขึ้น เช่น น้ำประปาก็ต้องใช้ความรู้ของวิชาเคมีทำให้บริสุทธิ์ โดยฆ่าเชื่อโรคด้วย CI2 ทำให้ฟันแข็งโดยเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังมียาใหม่ ๆ ที่ใช้เป็นผลดีเป็นอันมาก เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาพวกซัลฟา ยาสำหรับฆ่าเชื้อโรค การต้นพบยาชา (Anaesthetic) ช่วยให้ศัลยกรรมเป็นผลดียิ่งขึ้น การพบคลอโรฟอร์ม โคเคน ก๊าซหัวเราะ อีเทอร์ (ซึ่งเป็นยาชา) ได้ช่วยชีวิตและบรรเทาความปวดทรมานของคนไข้ไว้เป็นอันมาก
                4.4 ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ มีไม้ขีดไฟที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สบู่ หม้อ
เครื่องภาชนะ เครื่องใช้ไม้สอยที่ทำด้วยโลหะและปลาสติก ก๊าซถ่านหิน รถยนต์ น้ำมัน ผงซักฟอก เครื่องก่อสร้าง เช่นเหล็ก เหล็กกล้า Stainless Steel (Fe + Cr) อะลูมิเนียม ซีเมนต์ คอนกรีต กระจกแตกไม่บาด (Nonsplintered glass) ข้อเสือในเครื่องยนต์ก็ใช้ทำด้วย Alloy ของเหล็ก (เหล็กผสมกับมังกานีส) เป็นต้น
                4.5 การสังเคราะห์ใช้เทียมของจริง ยางเทียม ไหมเทียม การบูร ยาควินนิน ยารักษาโรค แกรฟไฟต์ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น
                4.6 เครื่องอำนวยความบันเทิง เช่น ภาพยนต์ โทรทัศน์ การถ่ายรูป
เป็นต้น เกิดมีขึ้นได้เพราะวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีสอนให้รู้จักการถ่ายรูป วิทยุนั้นก็อาศัยความรู้จากวิทยาศาสตร์ กระดาษ หนังสือ ฟุตบอล ลูกเทนนิส ลูกปิงปอง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลิตพันธุ์ขึ้นมาได้โดยอาศัยมาจากวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น (ทองสุข พงศทัตและคณะ. 2525 : 7-8)
        เสริมพล รัตสุข (2526 : 12) ได้กล่าวถึงความจำเป็นและเหตุผลที่มนุษย์จำเป็นที่จะต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โดยเฉพาะเทคโนโลยี) มาใช้ คือ
        1. มีความต้องการที่จะแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวัน หรือปัญหาในด้าน
การประกอบอาชีพ ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงยกระดับฐานะความเป็นอยู่หรือเพื่อแสวงหากำไรในการค้า ตัวอย่างเช่น เจ้าของโรงงานสนใจที่จะนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ชาวนาสนใจที่จะนำก๊าซชีวภาพมาใช้เพราะต้องการทุ่นเวลาในการไปหาฟืน ชาวนาสนใจที่จะใช้รถไถนาเอนกประสงค์เพราะต้องการเพิ่มผลผลิต เป็นต้น
        2. เล็งเห็นโอกาสในการลงทุน (investment opportunity) เช่นคาดว่าจะมีตลาด
มากสำหรับกะทิสำเร็จรูป จึงต้องการเทคโนโลยีการผลิตกะทิสำเร็จรูป ฯลฯ
        3. เตรียมการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในอนาคตคาดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ทุกปีจะทำให้เกิดความต้องการเครื่องยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซจากถ่านหรือไม้ (wood gasifier) มากขึ้นจึงต้องการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซจากถ่านหรือไม้
        4. การแข่งขันในด้านการตลาดทำให้ต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการ
ผลิตพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ปรับปรุงคุณภาพ ฯลฯ
        ในปัจจุบันจึงกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของประเทศ มีขอบเขตการใช้อย่างกว้างขวาง มีผลให้ชิวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายขึ้น โรคภัยลดลงหรือสามารถแก้ปัญหาได้ การเดินทางและการติดต่อสะดวกและรวดเร็วขึ้น การศึกษาก้าวหน้ากว่าอดีตมากมายนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น
        สุดท้าย โชว์วอลเตอร์(showalter. 1974 : 2) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้รู้วิทยาศาสตร์(scientific literacy) ซึ่งสามารถนำมาเชื่อมโยงกับประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ดังนี้คือ
        1. เข้าใจธรรมชาติความรู้ทางวิทยาศาสตร์
        2. สามารถนำมโนทัศน์ หลักสำคัญ กฎ และทฤษฎีที่เหมาะสมไปใช้อย่างถูกต้อง
        3. สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ และ
การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี
        4. ยึดมั่นในค่านิยมที่มีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์
        5. เข้าใจและซาบซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและ
สังคม
        6. พัฒนาความคิดที่แปลกและน่าพอใจ เกี่ยวกับสังคมได้มากว่าคนอื่น อันเป็น
ผลจากการศึกษาวิทยาศาสตร์ และใฝ่ใจศึกษาอยู่ตลอดเวลา
        7. ได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง

วิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไร

วิทยาศาสตร์ช่วยในการเพิ่มคุณค่าทางสารอาหาร รักษาความสดใหม่และไม่ให้อาหารบูดเสีย สามารถเก็บได้นาน สร้างสารอาหารทดแทน พร้อมทั้งคิดประดิษฐ์และแสวงหาอาหารต่างๆทั้งในพื้นโลก ท้องทะเล อากาศ และอื่นอีกๆมากมาย เรียกได้ว่าวัตถุดิบและอาหารในปัจจุบันนี้มาจากการทดลอง วิจัยและประดิษฐ์ขึ้นมาโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ยิ่ง ...

วิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นสาขาวิชาที่กว้างที่ครอบคลุมในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อความเข้าใจในปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การส่งเสริมความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนที่อยู่รอบตัวเราและการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาที่จะส่งผลต่อความยั่งยืน

วิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมคืออะไร

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หมายถึง "การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ และมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของชนิด ปริมาณ และสัดส่วนของการอยู่ร่วมกันภายในระบบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ"

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร

เทคโนโลยีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งวิธีทางฟิสิกส์ เคมีและชีวภาพ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อเนื่องถึงอนาคต การเลือกใช้เทคโนโลยีการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ย่อมส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้